หญิงรักร่วมเพศ

หญิงที่มีความสัมพันธ์ทางเพศ และ/หรือความสัมพันธ์แบบรักใคร่กับหญิงด้วยกัน

หญิงรักร่วมเพศ[1] หรือ เลสเบียน (อังกฤษ: lesbian) คือ ผู้หญิงที่รักเพศเดียวกัน[2][3]

ซัฟโฟและเอรินนาในสวนที่มิทิลินี โดย Simeon Solomon

แนวคิดของคำว่า "เลสเบียน" เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผู้หญิงที่มีรสนิยมทางเพศร่วมกันซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ผู้หญิงไม่มีเสรีภาพหรือความเป็นอิสระเช่นเดียวกับผู้ชายในการแสวงหาความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศ แต่ไม่ใช่ว่าพวกเขาจะได้รับการลงโทษที่รุนแรงเช่นเดียวกับชายรักร่วมเพศในบางสังคม แต่ความสัมพันธ์แบบเลสเบียนมักถูกมองว่าไม่เป็นอันตราย เว้นแต่ผู้เข้าร่วมจะพยายามยืนยันสิทธิพิเศษตามประเพณีที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชาย ด้วยเหตุนี้ จึงการจัดทำเอกสารเพียงเล็กน้อยในประวัติศาสตร์เพื่อให้คำอธิบายอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการแสดงออกของการรักร่วมเพศของผู้หญิง เมื่อนักเพศศาสตร์ในยุคแรก ๆ ในช่วงปลายศตรรษที่ 19 ได้มีการจัดหมวดหมู่และอธิบายพฤติกรรมการรักร่วมเพศ ซึ่งถูกกีดกั้นโดยขาดความรู้เกี่ยวกับการรักร่วมเพศหรือลักษณะทางเพศของผู้หญิง พวกเขาที่เป็นเลสเบียนที่มีความโดดเด่นคือผู้หญิงที่ไม่ยึดติดกับบทบาทสถานะเพศของผู้หญิงและกำหนดให้พวกเขาต้องเป็นผู้ป่วยทางจิตอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการกำหนดครั้งนี้ได้ทำให้เกิดกลับตาลปัตรในชุมชนวิทยาศาสตร์ทั่วโลก

ผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศจะตอบสนองต่อการตั้งชื่อด้วยการหลบซ่อนชีวิตความเป็นส่วนตัวของพวกเขาหรือยอมรับสัญลักษณ์ว่าเป็นผู้ที่ถูกขับไล่และสร้างวัฒนธรรมย่อยและเอกลักษณ์ได้ถูกพัฒนาขึ้นในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงเวลาของการกดขี่ทางสังคม เมื่อรัฐบาลได้กดขี่ข่มเหงต่อพวกรักร่วมเพศอย่างแข็งขัน ผู้หญิงได้พัฒนาเครือข่ายเพื่อสร้างสังคมและให้ความรู้ซึ่งกันและกัน เสรีภาพมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มมากขึ้นทำให้พวกเขาค่อย ๆ ตัดสินใจได้แล้วว่าจะสร้างความสัมพันธ์และครอบครัวได้อย่างไร เมื่อคลื่นลูกที่สองของสิทธิสตรี (second wave feminism) และการเติบโตของทุนการศึกษาในประวัติศาสตร์ของสตรีและเรื่องเพศในศตวรรษที่ 20 ผู้หญิงบางคนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศเดียวกันอาจจะปฏิเสธไม่ได้แค่เพียงระบุเอกลักษณ์ว่าเป็นเลสเบียน แต่เป็นพวกรักร่วมสองเพศ ในขณะที่การระบุตัวตนของผู้หญิงคนอื่น ๆ ว่าเป็นเลสเบียน อาจจะไม่สอดคล้องกับรสนิยมทางเพศหรือพฤติกรรมทางเพศของพวกเขา อัตลักษณ์ทางเพศไม่จำเป็นต้องเหมือนกับรสนิยมทางเพศหรือพฤติกรรมทางเพศ เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น ความกลัวที่จะถูกระบุถึงรสนิยมทางเพศของตนในลักษณะของโฮโมโฟเบีย

ภาพลักษณ์ของเลสเบียนในสื่อได้ชี้ให้เห็นว่าสังคมขนาดใหญ่รู้สึกทึ่งไปพร้อมกันและถูกคุกคามโดยผู้หญิงที่ท้าทายบทบาททางเพศของสตรี เช่นเดียวกับความหลงใหลและตกใจกับผู้หญิงที่มีส่วนร่วมกับผู้หญิงคนอื่นได้อย่างโรแมนติก ผู้หญิงที่ยอมรับตัวตนของเลสเบียนจะแบ่งปันประสบการณ์จากมุมมองคล้ายคลึงกับเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ในฐานะที่พวกรักร่วมเพศ พวกเขาจะรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวโดยการแบ่งแยกแบบต่างเพศนิยมและปฏิเสธที่อาจจะเกิดขึ้นจากครอบครัว เพื่อน และคนอื่น ๆ อันเป็นผลมาจากโฮโมโฟเบีย ในฐานะผู้หญิง พวกเธอจะต้องเผชิญหน้ากับความกังวลซึ่งแตกต่างจากผู้ชาย เลสเบียนอาจจะพบปัญหาสุขภาพทางกายหรือทางใจที่แตกต่างกันซึ่งเกิดมาจากการเลือกปฏิบัติแบบอคติและความตึงเครียดของคนส่วนน้อย เงื่อนทางการเมืองและทัศนคติทางสังคมยังส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์แบบเลสเบียนและครอบครัวได้อย่างเปิดเผย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Zimmerman, Bonnie, ed (2003). Lesbian Histories and Cultures: An Encyclopedia, Garland Publishers. ISBN 0-203-48788-5
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง