องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (อังกฤษ: International Union for Conservation of Nature) หรือ ไอยูซีเอ็น (IUCN) ชื่อเต็มว่า องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources)[1] เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยมีส่วนร่วมในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล วิจัย ทำโครงการภาคสนาม ให้การสนับสนุน และจัดการศึกษา ภายใต้ภารกิจ "ชักจูง กระตุ้น และสงเคราะห์สังคมทั่วโลกให้อนุรักษ์ธรรมชาติ และสร้างความเชื่อมั่นว่า การใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยประการใด ๆ จะเป็นไปอย่างเสมอภาคและมีความยั่งยืนทางนิเวศ" ("influence, encourage and assist societies throughout the world to conserve nature and to ensure that any use of natural resources is equitable and ecologically sustainable")[2]

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น)
ประเภทองค์การระหว่างประเทศ
ก่อตั้ง5 ตุลาคม 1948; 75 ปีก่อน (1948-10-05) (ในชื่อ องค์การระหว่างประเทศเพื่อพิทักษ์ธรรมชาติ)
ฟงเตนโบล ประเทศฝรั่งเศส
สถานที่แกลนด์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
บุคคลสำคัญอิงเจอร์ แอนเดอร์เซน (ผู้อำนวยการใหญ่)
จาง ซินเชิ่ง (ประธาน)
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
จุดความสนใจการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
รายได้CHF 114 ล้าน / USD 116 ล้าน (2013)
อาสาสมัคร16,000
พนักงานกว่า 1,000 คน (ทั่วโลก)
สมาชิก1,400 ราย
เว็บไซต์www.iucn.org

หลายสิบปีที่ผ่านมา ไอยูซีเอ็นขยายเป้าหมายออกไปยังการอนุรักษ์ระบบนิเวศ และปัจจุบันได้รวมประเด็นต่าง ๆ ทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าไว้ในโครงการของตนด้วย แต่ไอยูซีเอ็นต่างจากองค์การระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมองค์การอื่น ๆ ตรงที่ไอยูซีเอ็นไม่มีเป้าหมายโดยตรงที่จะระดมการสนับสนุนจากสาธารณชนในการอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่พยายามจะชักจูงกิจกรรมของภาครัฐและภาคเอกชนโดยการให้ข้อมูลข่าวสารและคำแนะนำ ตลอดจนการสร้างแนวร่วม ไอยูซีเอ็นมีชื่อเสียงมากในการประมวลและเผยแพร่บัญชีแดงไอยูซีเอ็นเกี่ยวกับสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (threatened species) ซึ่งมีการประเมินสถานะการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วโลก[3]

ไอยูซีเอ็นมีมีสมาชิกเป็นองค์การรัฐบาลและองค์การนอกรัฐบาลกว่า 1,400 แห่ง คณะกรรมการของไอยูซีเอ็นมีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมโดยสมัครใจกว่า 16,000 คน ไอยูซีเอ็นยังมีพนักงานราว 1,000 คนที่ทำงานเต็มเวลาในประเทศกว่า 50 แห่ง ส่วนไอยูซีเอ็นเองนั้นมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ แกลนด์ สวิตเซอร์แลนด์[3]

ไอยูซีเอ็นมีผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่ ณ สหประชาชาติ และมีอำนาจให้คำปรึกษาแก่สหประชาชาติ ทั้งมีบทบาทในการบังคับใช้อนุสัญญาระหว่างประเทศหลายฉบับเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ไอยูซีเอ็นมีบทบาทในการจัดตั้งกองทุนทั่วโลกเพื่อธรรมชาติ (World Wide Fund for Nature) และศูนย์เฝ้าระวังการอนุรักษ์โลก (World Conservation Monitoring Centre) ไอยูซีเอ็นยังเคยถูกวิจารณ์ที่ให้ความสำคัญแก่ธรรมชาติยิ่งกว่าผู้คนดั้งเดิมในท้องถิ่น ทั้งความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่ไอยูซีเอ็นมีต่อภาคธุรกิจในปัจจุบันนั้นก็เป็นที่ถกเถียงกันมาก[4][5]

ไอยูซีเอ็นจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1948 ระหว่าง ค.ศ. 1948–1956 ใช้ชื่อว่า องค์การระหว่างประเทศเพื่อพิทักษ์ธรรมชาติ (International Union for the Protection of Nature) และระหว่าง ค.ศ. 1990–2008 ใช้ชื่อว่า องค์การสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (World Conservation Union)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง