อันตอน เชคอฟ

อันตอน ปัฟโลวิช เชคอฟ (รัสเซีย: Анто́н Па́влович Че́хов[note 1], อักษรโรมัน: Anton Pavlovich Chyekhov, แปลตรงตัว'ɐnˈton ˈpavləvʲɪtɕ ˈtɕexəf'; 29 มกราคม ค.ศ. 1860[note 2] – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1904[note 3]) เป็นนายแพทย์, นักเขียนเรื่องสั้น และ นักเขียนบทละครคนสำคัญชาวรัสเซีย[3] เชคอฟเขียนบทละครสี่เรื่องที่ถือกันว่าเป็นงานคลาสสิกโดยนักเขียนและนักวิพากษ์วรรณกรรม[4][5] ระหว่างที่ทำงานเขียนเชคอฟก็ยังเป็นนายแพทย์ไปด้วยในขณะเดียวกัน ครั้งหนึ่งเชคอฟเปรียบการเป็นแพทย์กับการเขียนว่า "การแพทย์เป็นภรรยาตามกฎหมายและการเขียนเป็นภรรยาน้อย"[6]

อันตอน เชคอฟ
เชคอฟใน ค.ศ. 1889
เชคอฟใน ค.ศ. 1889
เกิดอันตอน ปัฟโลวิช เชคอฟ
29 มกราคม ค.ศ. 1860(1860-01-29)[1]
ทากันร็อก เขตผู้ว่าการเยคาเตรีโนสลัฟ จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต15 กรกฎาคม ค.ศ. 1904(1904-07-15) (44 ปี)[2]
บาเดินไวเลอร์ แกรนด์ดัชชีบาเดิน จักรวรรดิเยอรมัน
ที่ฝังศพสุสานโนโวเดวิชี มอสโก
อาชีพแพทย์, นักเขียนเรื่องสั้น, นักเขียนบทละคร
ภาษารัสเซีย
สัญชาติรัสเซีย[3]
จบจากมหาวิทยาลัยการแพทย์รัฐแห่งแรกของมอสโก
รางวัลสำคัญรางวัลปุชกิน
คู่สมรสOlga Knipper (สมรส 1901)
ญาติอเล็กซานเดอร์ เชคอฟ (พี่ชาย)
มาเรีย เชคอวา (น้องสาว)
นิโคไล เชคอฟ (พี่ชาย)
มิฮาอิล เชคอฟ (หลานชาย)
Lev Knipper (หลานชาย)
โอลกา เชคอวา (หลานสาว)
Ada Tschechowa (เหลนสาว)
Marina Ried (เหลนสาว)
Vera Tschechowa (ลื่อสาว)

ลายมือชื่อ

เชคอฟหันหลังให้กับโรงละครเมื่อบทละครเรื่อง The Seagull (ไทย: นกนางนวล) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1896 ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า แต่ได้รับการรับรองเป็นอย่างดีเมื่อถูกนำกลับมาแสดงอีกครั้งในปี ค.ศ. 1898 โดยโรงละครศิลปะมอสโคว์ของคอนแสตนติน สตานิสสลาฟสกี (Constantin Stanislavski) ซึ่งต่อมาก็สร้างละคร Uncle Vanya (ไทย: ลุงวานยา) และสร้างละครสองเรื่องสุดท้ายของเชคอฟเป็นครั้งแรก Three Sisters (ไทย: สามศรีพี่น้อง) และ The Cherry Orchard (ไทย: สวนเชอร์รี) งานบทละครสี่ชิ้นนี้เป็นงานที่ท้าทายนักแสดง[7] และผู้ชมเพราะแทนที่จะเป็นการสื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เชคอฟใช้ "บรรยากาศ" (theatre of mood) และ "ฝังชีวิตลงในเนื้อหา" (submerged life in the text)[8] บทละครที่เชคอฟแต่งไม่ได้ซับซ้อน แต่ติดตามได้ง่าย และทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงบรรยากาศที่ติดหูติดตา[3]

ในระยะแรกเชคอฟเขียนเรื่องสั้นเพื่อหารายได้ แต่เมื่อแรงบันดาลใจทางด้านศิลปะเริ่มก่อตัวขึ้น เชคอฟก็เริ่มใช้วิธีใหม่ที่เป็นการปฏิรูปการเขียนเรื่องสั้นสมัยใหม่[9] ความเป็นเอกลักษณ์ของเชคอฟอยู่ที่การเป็นผู้เริ่มใช้วิธีเขียนที่เรียกว่า "การเขียนตามกระแสสำนึก" (stream of consciousness writing) ที่ต่อมานำมาใช้โดยเจมส์ จอยซ์ และนักเขียนแบบวรรณกรรมสมัยใหม่นิยม (Modernist literature) คนอื่นๆ ที่มารวมกับการไม่ยอมสรุปความเห็นทางด้านจริยธรรม ตามธรรมเนียมโครงสร้างของการเขียนวรรณกรรมก่อนหน้านั้น[10] เชคอฟไม่ยอมแก้ตัวแต่อย่างใดในข้อที่ว่าบทละครทีตนเองเขียนเป็นบทละครที่ยากต่อความเข้าใจของผู้อ่าน โดยยืนกรานว่าหน้าที่ของศิลปินคือการตั้งคำถามมิใช่การตอบคำถาม[11]

งานเขียนบางชิ้น

บทละคร

  • On the Harmful Effects of Tobacco (ไทย: เรื่องอันตรายของยาสูบ) (ค.ศ. 1886)
  • Ivanov (ไทย: อิวานอฟ) (ค.ศ. 1887)
  • The Seagull (ไทย: นกนางนวล) (ค.ศ. 1896)
  • The Proposal (ไทย: ขอแต่งงาน) (ค.ศ. 1888-ค.ศ. 1889)
  • Uncle Vanya (ไทย: ลุงวานยา) (ค.ศ. 1899)
  • Three Sisters (ไทย: สามศรีพี่น้อง) (ค.ศ. 1900)
  • The Cherry Orchard (ไทย: สวนเชอร์รี) (ค.ศ. 1904)

เรื่องสั้น

  • The Student (ไทย: นักเรียน) (ค.ศ. 1894)
  • Easter Eve (ไทย: ค่ำวันก่อนอีสเตอร์) (ค.ศ. 1886)
  • The Bet (ไทย: พนัน) (ค.ศ. 1889)
  • The Black Monk (ไทย: พระดำ) (ค.ศ. 1894)
  • An Artist's Story (ไทย: เรื่องของศิลปิน) (ค.ศ. 1896)
  • The Lady with the Dog (ไทย: สตรีกับสุนัข) (ค.ศ. 1899)
  • On Official Duty (ไทย: ทำหน้าที่) (ค.ศ. 1899)
  • In the Ravine (ไทย: ในห้วย) (ค.ศ. 1900)
  • Betrothed (ไทย: คู่หมั้น) (ค.ศ. 1903)

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

ชีวประวัติ
สารคดี
ผลงาน
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง