อีกอร์ สตราวินสกี

อีกอร์ เฟโดโรวิช สตราวินสกี (รัสเซีย: И́горь Фёдорович Страви́нский; อังกฤษ: Igor Stravinsky; 17 มิถุนายน ค.ศ. 18826 เมษายน ค.ศ. 1971) เป็นคีตกวีดนตรีคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวรัสเซีย

สตราวินสกี

สตราวินสกีเป็นบุตรชายของนักร้องชื่อดังแห่งโรงละครหลวง เขาเกิดที่เมืองออรานีนบาม (Oranienbaum) ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนเป็นชื่อ โลโมโนซอฟ (Lomonosov) ใกล้กับนครเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ในประเทศรัสเซีย เขาเรียนด้านกฎหมายกับเปียโน ก่อนที่จะมาเป็นศิษย์ของนีโคไล ริมสกี-คอร์ซาคอฟ บทเพลงชื่อดังชิ้นแรกของเขาได้แก่ วิหคเพลิง (ค.ศ. 1910 ด้วยการจ้างของแซร์จ เดียกิเลฟ เพื่อใช้แสดงในคณะบัลเลต์รัสเซีย ตามมาด้วยเพลง เปทรูชก้า (ค.ศ. 1911) พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ (ค.ศ. 1913) และอุปรากร เรื่อง นกไนติงเกล (ค.ศ. 1914) มีเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับบัลเลต์เรื่อง พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ ทั้งจากท่าเต้น และความไม่เหมือนใครของดนตรีประกอบ ทำให้สตราวินสกีกลายเป็นคีตกวี ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20

สตราวินสกีเสียชีวิตที่นิวยอร์ก ศพของเขาถูกฝังไว้ที่สุสานซาน มิเชลในนครเวนิซ ประเทศอิตาลี

ลักษณะของดนตรี

สตราวินสกีเป็นคีตกวีหนึ่งในสองคนที่ปฏิวัติแนวคิดทางดนตรีของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่างสำคัญ อีกคนหนึ่งคือ อาร์โนลด์ เชินแบร์ก (Arnold Schoenberg) สตราวินสกีมีอิทธิพลอย่างสูงในด้านของแนวคิดเรื่องจังหวะที่ไม่ปกติที่เรียกว่า "อิเร็กกูลาร์ ริทึม" (Irregular Rhythm) แนวคิดทางด้านการใช้บันไดเสียงหลาย ๆ บันไดพร้อมกันที่เรียกว่า "โพลีโทนัลลิตี" (Polytonality) และเป็นผู้นำหนึ่งในสองคนของกระแสดนตรีที่เรียกว่า "นีโอคลาสสิค" (Neo-classicism) (อีกคนคือ พอล ฮินเดมิธ (Paul Hindemith) หลังจากที่เชินแบร์ก เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1951 แล้ว สตราวินสกีได้นำเอาเทคนิคในการประพันธ์ดนตรีที่เรียกว่า "ระบบอนุกรม" หรือ "ซีเรียลิซม์" (Serialism) มาใช้แต่ยึดตามแนวทางที่มีลักษณะเป็นคณิตศาสตร์ในแบบของ เวเบิร์น (Anton Webern) มากกว่า

ดนตรีในลักษณะนีโอคลาสสิค ที่เขาเป็นผู้ปลุกกระแสขึ้นมานั้นส่งอิทธิพลต่อคีตกวีมากมาย เช่น กลุ่มคีตกวีทั้งหก หรือ "เลส์ ซิกซ์" (Les Six) ในฝรั่งเศส นาเดีย บูลองเช (Nadia Boulanger) ครูดนตรีและคีตกวีหญิงชาวฝรั่งเศส ได้สอนวิธีการประพันธ์และลักษณะดนตรีแบบสตราวินสกีให้แก่คีตกวีอเมริกันคนสำคัญ ๆ เช่น แอรอน คอปแลนด์, เวอร์จิล ทอมป์สัน และเอลเลียต คาร์เตอร์ เป็นต้น

รายชื่อผลงาน

บัลเล่ต์

เชมเบอร์มิวสิค

บทเพลงขับร้องประสานเสียง

  • คันตาต้า สำหรับวงขับร้องผสมและเปียโน (ค.ศ. 1904)
  • ราชาแห่งดวงดาว (Zvezdoliki, Le Roi des étoiles) สำหรับวงขับร้องชายและวงดุริยางค์ (ค.ศ. 1912)
  • ปาเตอร์ นอสเตอร์ (ค.ศ. 1926)
  • มิสซา สำหรับวงขับร้องประสานเสียงและวงดับเบิ้ลควินเต็ตเครื่องลม (ค.ศ. 1944-ค.ศ. 1948)
  • แคนติครัม ซากรัม (ค.ศ. 1955)
  • เธรนิ (Threni) (ค.ศ. 1958)
  • คำเทศนา คำบรรยาย และคำสวดอ้อนวอน (ค.ศ. 1961)
  • อับราฮิม กับ อิซาค (ค.ศ. 1963)
  • อินทรอยทัส (ค.ศ. 1965)
  • เรเควียม แคนติเคิ่ล (ค.ศ. 1966)

อุปรากรและการแสดงบนเวที

ผลงานสำหรับวงออเคสตร้า

งานสำหรับเดี่ยวเปียโน

บทเพลงขับร้อง

บรรณานุกรม

  • Oliver, Michael: Igor Stravinsky, Phaidon presss limited (1995)
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง