อาหรับ

(เปลี่ยนทางจาก ชาวอาหรับ)

อาหรับ หรือ ชาวอาหรับ (อาหรับ: عربي, ʿarabi พหูพจน์ العرب al-ʿarab) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์[46] ที่ส่วนใหญ่อยู่ในโลกอาหรับ คำว่า “อาหรับ” ในกลุ่มภาษาเซมิติกแปลว่าทะเลทรายหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย (ส่วนใหญ่ดำรงชีพแบบเร่ร่อน) คำว่า “อาหรับ” จึงหมายถึง “เร่ร่อน” ได้ด้วย ในปัจจุบัน คำนี้หมายถึงผู้ที่มาจากประเทศอาหรับซึ่งมีภาษาพื้นเมืองเป็นภาษาอาหรับ ซึ่งแตกต่างจากคำจำกัดความดั้งเดิมที่มีความหมายครอบคลุมแค่ผู้สืบเชื้อสายจากชนเผ่าแห่งคาบสมุทรอาหรับ[47]

ชาวอาหรับ
عَرَبٌ (อาหรับ)
ประชากรทั้งหมด
ป. 420 ล้านคน[1][2]
ชาวอาหรับพลัดถิ่น ป. 70 ล้านคน[3][4]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 สันนิบาตอาหรับ     350,000,000[5][6]
ชาวอาหรับพลัดถิ่น
 บราซิลป. 20 ล้านคน (รวมเชื้อสายอาหรับ)[7][8]
 ตุรกีป. 5,830,000[9][10]
 ฝรั่งเศสป. 3.3[11] ถึง 5.5[12] ล้านคน มีเชื้อสายแอฟริกาเหนือ (อาหรับหรือเบอร์เบอร์)[13]
 อินโดนีเซีย
  • 87,227[14]
  • (ประชากรประมาณ 4–5 ล้านคน มีเชื้อสายอาหรับ)[15]
 อาร์เจนตินา4,500,000 (เชื้อสายอาหรับ)[16]
 สหรัฐ3,700,000[17]
 โคลอมเบีย3,200,000[18][19][20]
 อิสราเอล1,700,000[21]
 เวเนซุเอลา1,600,000[22]
 อิหร่าน1,500,000[23]
 เม็กซิโก1,500,000[24]
 ชาด1,536,000[25]
 สเปน1,350,000[26][27]
 เยอรมนี1,155,390[28][29]
 ชิลี800,000[30][31][32]
 แคนาดา750,925[33]
 อิตาลีป. 680,000-4,000,000 (ส่วนมากอยู่ในแคว้นซิซิลี)[34]
 สหราชอาณาจักร500,000[35]
 ออสเตรเลีย500,000[36]
 เอกวาดอร์250,000[37]
 ฮอนดูรัส275,000[38][39]
 เบลเยียม800,000
 เนเธอร์แลนด์480,000–613,800[40]
 สวีเดน425,000
 โกตดิวัวร์300,000[41]
 เดนมาร์ก121,000
 เอลซัลวาดอร์100,000[42][43][44]
ภาษา
อาหรับ
ศาสนา
ส่วนมาก:
อิสลามนิกายซุนนี
ส่วนน้อย:
อิสลามนิกายชีอะฮ์, ลัทธิศูฟี, คริสต์, ยูดาห์, บาไฮ

กลุ่มชาติพันธุ์อาหรับไม่ควรถูกสับสนกับชาติพันธุ์อื่นที่มีถิ่นกำเนิดในโลกอาหรับเช่นกัน แต่มีบางกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่อาหรับแต่มีถิ่นกำเนิดในโลกอาหรับระบุว่าเป็นชาวอาหรับผ่านการผสมผสานทางวัฒนธรรมหรือเป็นอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน[45] เช่นเดียวกับบางชุมชนที่แผลงเป็นอาหรับ

คำนี้ยังสามารถครอบคลุมถึงชนชาติที่พูดภาษาอาหรับทั้งหมดที่อาศัยอยู่ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของมอริเตเนียไปจนถึงแอฮ์วอซของอิหร่าน[48] รวมถึงรัฐอาหรับในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แอฟริกาเหนือ จะงอยแอฟริกา หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก (รวมถึงคอโมโรส) และยุโรปใต้ (เช่น แคว้นซิซิลี มอลตา และคาบสมุทรไอบีเรีย) และประชากรจำนวนมากในทวีปอเมริกา ยุโรปตะวันตก อินโดนีเซีย อิสราเอล ตุรกี อินเดีย และอิหร่าน[49] ถึงแม้ว่าศาสนาอิสลามจะเริ่มต้นขึ้นในคาบสมุทรอาหรับ ภาษาในคัมภีร์ของศาสนาอิสลามเป็นภาษาอาหรับ และชาวอาหรับส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ประชากรมุสลิมเพียง 20% เท่านั้นที่เป็นชาวอาหรับ[50]

ชาวอาหรับเป็นชาวเซมิติกเช่นเดียวกับชาวยิว จัดอยู่ในพวกคอเคเซอยด์ ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเก่ากล่าวว่าอับราฮัมมีลูกชาย 2 คน คนโตชื่ออิสไมส์หรืออิสมาอีลเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับ คนที่ 2 ชื่อไอแซกเป็นต้นตระกูลของชาวยิว ก่อนที่มุฮัมมัดจะประกาศศาสนาอิสลามชาวอาหรับจะอยู่กันเป็นเผ่า จงรักภักดีต่อเผ่าของตนมาก วิถีชีวิตของชาวอาหรับมีสองแบบ คือแบบอยู่เป็นหมู่บ้าน มีอาชีพค้าขายและทำการเกษตร อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนเรียกว่าเบดูอิน อาศัยอยู่ในกระโจมเพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก ชาวเบดูอินกับชาวอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานมักดูถูกกัน ไม่ลงรอยกัน หลังจากมุฮัมมัดประกาศศาสนาอิสลาม จึงเกิดความสามัคคีในหมู่ชาวอาหรับ ผู้นับถือศาสนาอิสลามในยุคแรก ๆ มักถูกกลั่นแกล้งและปราบปรามจึงเกิดการทำญิฮาดหรือการต่อสู้เพื่อศาสนาขึ้น

ปัจจุบันประเทศที่จัดว่าเป็นประเทศอาหรับและเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ มีทั้งหมด 22 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย บาห์เรน คอโมโรส จิบูตี อียิปต์ อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ลิเบีย มอริเตเนีย โมร็อกโก โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย โซมาเลีย ซูดาน ซีเรีย ตูนิเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน ในปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในหมู่ชาวอาหรับอยู่ เช่น ความขัดแย้งปาเลสไตน์ ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ในเลบานอน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีและชีอะฮ์ เป็นต้น

ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่เก่ากว่าวัฒนธรรมอาหรับที่เริ่มเผยแพร่ในตะวันออกกลางตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่ออาหรับคริสเตียน เช่น จักรวรรดิกาสนาวิยะห์ เริ่มโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานในทะเลทรายซีเรียและบริเวณลิแวนต์[51][52] ภาษาอาหรับเพิ่มความสำคัญมากขึ้นพร้อมกับการรุ่งเรืองของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในการเป็นภาษาของอัลกุรอาน และวัฒนธรรมอาหรับก็เริ่มเผยแพร่ออกไปพร้อมกับการขยายดินแดนของอิสลาม[53]

หมายเหตุ

อ้างอิง

  • ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์. อาหรับ ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 239 – 241

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง