เคร์ต วิลเดิร์ส

นักการเมืองชาวดัตช์

เคร์ต วิลเดิร์ส (ดัตช์: Geert Wilders; เกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1963) เป็นนักการเมืองชาวดัตช์ เขาเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อเสรีภาพ (Partij voor de Vrijheid – PVV) ตั้งแต่เขาก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2006[1][2] เขาเป็นที่รู้จักจากการวิจารณ์ศาสนาอิสลามและสหภาพยุโรป[3] มุมมองของเขาทำให้กลายเป็นที่ถกเถียงกันทั้งในเนเธอร์แลนด์และต่างประเทศ โดยนับตั้งแต่ ค.ศ. 2004 เขาต้องได้รับการคุ้มกันจากตำรวจติดอาวุธตลอดเวลา[4]

เคร์ต วิลเดิร์ส
วิลเดิร์สใน ค.ศ. 2014
หัวหน้าพรรคเพื่อเสรีภาพ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006
ก่อนหน้าจัดตั้งตำแหน่ง
หัวหน้าพรรคเพื่อเสรีภาพ
ในสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006
ก่อนหน้าจัดตั้งตำแหน่ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
26 กรกฎาคม ค.ศ. 2002
ดำรงตำแหน่ง
25 สิงหาคม ค.ศ. 1998 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2002
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1963-09-06) 6 กันยายน ค.ศ. 1963 (60 ปี)
เวนโล ประเทศเนเธอร์แลนด์
เชื้อชาติดัตช์
พรรคการเมืองพรรคเพื่อเสรีภาพ (ค.ศ. 2006 – ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย (ค.ศ. 1989–2004)
อิสระ (ค.ศ. 2004–2006)
คู่สมรสKrisztina Márfai (สมรส 1992)
ที่อยู่อาศัยเดอะเฮก
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเปิด

วิลเดิร์สได้รณรงค์ให้หยุดในสิ่งที่เขามองเป็น "อิสลามานุวัตรของเนเธอร์แลนด์" เขาเทียบอัลกุรอานด้วยไมน์คัมพฟ์ และรณรงค์ให้แบนหนังสือนี้ในประเทศเนเธอร์แลนด์[5][6] เขาสนับสนุนให้หยุดผู้อพยพจากประเทศมุสลิม[5][7] และสนับสนุนให้ห้ามสร้างมัสยิดใหม่[8] ภาพยนตร์ที่แสดงข้อโต้แย้งเกี่ยวกับศาสนาอิสลามในมุมมองของเขาชื่อ ฟิตนะฮ์ ซึ่งเผยแพร่ใน ค.ศ. 2008 ได้รับความสนใจจากนานาชาติและมีเสียงวิจารณ์อย่างรุนแรง พรรคของเขาก็ถูกฟ้องร้องเนื่องจากมีการใช้เนื้อหาในภาพยนตร์ของเขาโดยไม่ได้รับอนุญาต[9] สื่อกล่าวถึงเขาเป็นผู้อิงสามัญชน[10][11][12] และระบุเป็นพวกขวาจัด[13][14][15] เขาปฏิเสธที่ถูกระบุเป็นผู้มีมุมมองฝ่ายขวาจัด และมองตนเองเป็นพวกเสรีนิยมฝ่ายขวา และยังกล่าวอีกว่าตนไม่ต้องการที่จะ "ถูกเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มฟาสซิสต์ฝ่ายขวาที่ผิด"[16]

ชีวิตช่วงต้นและอาชีพ

วิลเดิร์สเริ่มอาชีพทางการเมืองภายใต้ที่ปรึกษาชื่อ Frits Bolkestein

วิลเดิร์สเกิดในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1963 ที่นครเวนโล จังหวัดลิมบืร์ค[17] เขาเป็นลูกคนสุดท้องจากลูก ๆ 4 คน[18] และเติบโตในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เขาเป็นลูกของพ่อชาวดัตช์และแม่ที่เกิดในอินโดนีเซียสมัยอาณานิคม[19][20] ซึ่งมีภูมิหลังผสมระหว่างดัตช์กับอินโดนีเซีย[21][22] พ่อของเขาทำงานเป็นผู้จัดการบริษัทผลิตสิ่งพิมพ์และถ่ายเอกสารของ Océ[23] และซ่อนตัวจากพวกเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ชอกช้ำมากจนแม้แต่หลังจากนั้นไป 40 ปี เขาก็ยังคงปฏิเสธที่จะเข้าประเทศเยอรมนี[24]

เป้าหมายของวิลเดิร์สหลังจบการศึกษาจากโรงเรียนชั้นมัธยมคือเห็นโลก เนื่องจากเขาไม่มีเงินมากพอที่จะเดินทางไปออสเตรเลีย (สถานที่ที่เขาอยากไป) เขาจึงเดินทางไปอิสราเอลแทน[24] และอาสาสมัครที่โมชาฟ Tomer ในเวสต์แบงก์ปีหนึ่ง[25] เขาเดินทางไปยังประเทศอาหรับเพื่อนบ้านด้วยเงินที่มีและได้รับแรงกระตุ้นจากการที่ภูมิภาคนี้ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย เมื่อเขากลับเนเธอร์แลนด์ เขายังคงความคิดเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้ายของอิสราเอล และ "ความรู้สึกพิเศษของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน" ให้แก่ประเทศ[26]

เดิมเขาทำงานในอุตสาหกรรมประกันสุขภาพ โดยอาศัยที่ยูเทรกต์ ความสนใจในหัวข้อนี้ทำให้เขาเข้าสู่วงการการเมืองในฐานะนักเขียนสุนทรพจน์ของพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย[24][27]

ตำแหน่งทางการเมือง

มุมมองเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม

วิลเดิร์สเป็นที่รู้จักจากการวิจารณ์ศาสนาอิสลาม โดยสรุปความเห็นของเขาด้วยคำพูดว่า "ผมไม่ได้เกลียดมุสลิม ผมเกลียดอิสลาม"[3] Paul พี่ชายของเขา กล่าวอ้างในการให้สัมภาษณ์ว่า ในเรื่องส่วนตัวของเขา วิลเดิร์สไม่มีปัญหากับชาวมุสลิม[28] ถึงแม้ว่าเขาระบุกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงเป็นมุสลิมเพียง 5–15% จากทั้งหมด[29] เขาโต้แย้งว่า "ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า 'อิสลามสายกลาง'" และ "กุรอานยังระบุว่ามุสลิมที่เชื่อกุรอานเพียงบางส่วนถือเป็นพวกนอกศาสนา"[30] เขากล่าวแนะให้มุสลิมควร "ฉีกกุรอานครึ่งหนึ่งถ้าพวกเขาต้องการที่จะอยู่ในเนเธอร์แลนด์" เพราะมันมี "สิ่งที่ไม่ดี" และมุฮัมมัด "... ในสมัยนี้อาจถูกตามล่าในฐานะผู้ก่อการร้าย"[31]

ณ วันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2007 วิลเดิร์สมีความคิดเห็นในจดหมายเปิดผนึก[32]ที่อยู่ใน De Volkskrant หนังสือพิมพ์ดัตช์ ว่ากุรอาน (ซึ่งเขาเรียกว่า "หนังสือฟาสซิสต์") ควรทำให้เป็นหนังสือนอกกฎหมายในเนเธอร์แลนด์เหมือนกับ ไมน์คัมพฟ์ ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์[33] เขาระบุว่า "หนังสือนี้ยุยงให้เกิดความเกลียดชังและการเข่นฆ่า จึงไม่มีที่ยืนในทางกฎหมายของเรา.[34] เขายังกล่าวถึงมุฮัมมัดเป็น "มารร้าย"[25] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 วิลเดิร์สเสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า "ภาษีผ้าเช็ดหัว" ต่อฮิญาบที่หญิงมุสลิมสวมใส่ เขากล่าวแนะว่าผู้หญิงควรจ่ายใบอนุญาต 1000 ยูโร และนำเงินเหล่านั้นไปใช้ในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการปลดปล่อยให้เป็นอิสระของผู้หญิง (women's emancipation)[35][36]

มุมมองเกี่ยวกับอิสราเอล

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง