เดร์ก

เดร์ก (Derg หรือ Dergue; จากอามารา: ደርግ, "คณะกรรมการ" หรือ "สภา"; โอโรโม: Dergii) หรือชื่อทางการ รัฐบาลทหารชั่วคราวแห่งเอธิโอเปีย (อังกฤษ: Provisional Military Government of Ethiopia) เป็นคณะรัฐประหารและรัฐบาลทหารผู้ปกครองประเทศเอธิโอเปียจากปี ค.ศ. 1974 ถึง 1987 ที่ซึ่งเริ่มมีการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลพลเมือง แต่กองทัพยังคงมีตำแหน่งอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1991

รัฐบาลทหารชั่วคราวแห่งรัฐสังคมนิยมเอธิโอเปีย

የኅብረተሰብአዊት ኢትዮጵያ ጊዜያዊ ወታደራዊ መንግሥት (อามารา)
ye-Hebratasabʼāwit Ītyōṗṗyā Gizéyāwi Watādarāwi Mangeśt
1974–1987
ตราของเอธิโอเปีย
ตรา
เพลงชาติĪtyoṗya, Ītyoṗya, Ītyoṗya, qidä mī [1]
ኢትዮጵያ, ኢትዮጵያ, ኢትዮጵያ ቅደሚ
เอธิโอเปีย, เอธิโอเปีย, เอธิโอเปีย จงเป็นหนึ่ง
ที่ตั้งของเอธิโอเปีย
เมืองหลวงอาดดิสอาบาบา
ภาษาทั่วไปภาษาอามารา
การปกครองรัฐเดี่ยว มากซิสต์-เลนนินนิสต์ พรรคเดียว รัฐบาลชั่วคราว ภายใต้กองทัพ
ประธานประเทศ 
• 1974
อามาน อันโดม
• 1974–1977
ทาฟารี เบนที
• 1977–1987
เมินกึสทู ฮัยเลอ มารียัม
สภานิติบัญญัติเชนโก
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
12 กันยายน 1974
21 มีนาคม 1975[2]
• บังคับใช้รัฐธรรมนูญ
22 กุมภาพันธ์ 1987
พื้นที่
1987[3]1,221,900 ตารางกิโลเมตร (471,800 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1987[3]
46,706,229
สกุลเงินบือร์เอธิโอเปีย (ETB)
รหัสโทรศัพท์251
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิเอธิโอเปีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเอธิโอเปีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เอริเทรีย
 เอธิโอเปีย

เดร์กจัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 1974 ภายใต้ชื่อ คณะกรรมการร่วมกองทัพ, ตำรวจ และกองกำลังรักษาดินแดน (อังกฤษ: Coordinating Committee of the Armed Forces, Police and Territorial Army) โดยประกอบขึ้นด้วยเจ้าหน้าที่จากกองทัพเอธิโอเปียและตำรวจภายใต้การนำในระยะแรกของ อามาน อันโดม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อคณะใหม่เป็นทางการว่า คณะกรรมการบริหารโดยกองทัพชั่วคราว (Provisional Military Administrative Council) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1974 และล้มล้างการปกครองของจักรวรรดิเอธิโอเปียรวมถึงจักรพรรดิฮายิเล เซลาสซีขณะเกิดการประท้วงใหญ่ เดร์กได้ทำการยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ในเอธิโอเปียและก่อตั้งรัฐมากซิสต์-เลนนินนิสต์แบบหนึ่งพรรคการเมือง โดยมีคณะล้มล้างการปกครองเป็นพรรคแนวหน้าภายใต้รัฐบาลชั่วคราว การล้มล้างระบอบฟิวดัล, เพิ่มอัตราการรู้หนังสือ, โอนย้ายกิจการต่าง ๆ มาเป็นของรัฐ และการปฏิรูปที่ดินครั้งใหญ่ ซึ่งรวมถึงการจัดสรรนิคมใหม่และการทำเป็นหมู่บ้านจากที่สูงเอธิโอเปียเป็นประเด็นสำคัญของรัฐบาล ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 เมินกึสทู ฮัยเลอ มารียัม ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานและเริ่มแคมเปญการกดขี่ทางการเมือง เรดแทเรอร์ (Qey Shibir) เพื่อกำจัดคู่ตรงข้ามทางการเมือง ส่งผลให้มีผู้ถูกจองจำและประหารชีวิตโดยไม่ผ่านการตัดสินคดีทางกฎหมายหลายหมื่นราย[4]

กระทั่งช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งเอธิโอเปียเผชิญปัญหาหลายประการ ทั้งการฟื้นตัวจากความพยายามบุกรุกดินแดนจากโซมาเลีย, ฤดูแล้ง, การเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ และ ทุพิกขภัยใหญ่ปี 1983–1985 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่าหลายล้านคน[5] นำไปสู่การพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติอย่างหนักและการปะทุขึ้นใหม่ของความขัดแย้งในประเทศ โดยเฉพาะการต่อสู้เรียกร้องเอกราชของเอริเทรีย และสงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพซึ่งเป็นรัฐบาลเอง กลุ่มกบฏ และกองกำลังตามชายแดน ในปี ค.ศ. 1987 เมนกิสทูยุบเลิกเดร์กและก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเอธิโอเปีย ภายใต้การนำของพรรคแรงงาน และรัฐบาลพลเรือนใหม่แต่ยังคงเต็มไปด้วยสมาชิกจากเดร์ก[6] ทั้งฮายิเล เซลาสซี และเดร์ก ได้ย้ายชาวอามาราไปทางใต้ของประเทศเพื่อจัดการและตั้งศูนย์กลางที่นั่น ในระหว่างนั้นก็ได้ทำการกำจัดวัฒนธรรมและภาษาโอโรโมในท้องถิ่น และแทนที่ด้วยอามารา[7][8][9]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง