การเลิกล้มราชาธิปไตย

ในประวัติศาสตร์โลก มีการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายประเทศทั่วโลก การเลิกล้มทำได้ด้วยวิธีหลายแบบ เช่นการปฏิวัติ, การตั้งสาธารณรัฐ, การลงประชามติของประชาชน, การรัฐประหาร หรือจากสงคราม

สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์ได้แก่มุมมองสมภาคนิยมและการต่อต้านระบบชนชั้น การกำจัดระบบคู่แข่งที่อาจต่อต้านระบบอื่นที่จะเข้ามา (เหมือนที่เกิดในประเทศโรมาเนียช่วง ค.ศ. 1947) การต่อต้านสถาบันที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและการสืบทอดแบบกรรมพันธุ์ ความเข้าใจในเรื่องพระมหากษัตริย์ว่าเป็นเรื่องที่ไม่เข้ากับยุคสมัยหรือล้าหลัง และการต่อต้านกษัตริย์หรือราชวงศ์จำเพาะ[1][2] ในอาณานิคมและอดีตอาณานิคมหลายแห่ง การเลิกล้มอิทธิพลกษัตริย์ในรัฐอาณานิคมถือเป็นส่วนหนึ่งของการให้เอกราช ในราชอาณาจักรเครือจักรภพหลายแห่ง มีมุมมองเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันต่างชาติที่ดำเนินการตรงข้ามกับเอกลักษณ์ประจำชาติหรืออธิปไตยของชาติ

  • ปัจจุบัน ประเทศที่ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น เกาหลี, จักรวรรดิจีน และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เป็นต้น
  • บางประเทศ แม้จะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ไปแล้วแต่ก็ได้มีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ เช่น สเปน, สหราชอาณาจักร และกัมพูชา ซึ่งประเทศเหล่านี้เคยมีประวัติศาสตร์ในช่วงที่ไร้กษัตริย์หรือช่วงสาธารณรัฐ จนมีการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ในภายหลัง และพระมหากษัตริย์ก็ทรงกลับมาเป็นประมุขแห่งรัฐเช่นเดิมมาจนถึงปัจจุบัน
  • บางประเทศถึงมีการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์แต่ก็ถูกล้มล้างอีก ทำให้การฟื้นฟูไม่เป็นผลสำเร็จ เช่น กรีซและฝรั่งเศส เป็นต้น

ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีบางประเทศที่มีพระมหากษัตริย์มีขบวนการสาธารณรัฐนิยมสำคัญ เช่นสเปน[3] และออสเตรเลีย[4]

พระบรมวงศานุวงศ์ที่เหลือรอดมาจากการล้มล้างก็ยังคงใช้คำนำหน้าพระนามเป็นพระอิสริยยศที่เคยดำรงอยู่ เช่น เจ้าหญิงเฮวอนแห่งเกาหลี ก็ยังคงใช้คำนำหน้าพระนามหรือพระอิสริยศว่า "จักรพรรดินีแห่งเกาหลี" ยังรอการหวนคืนสู่ราชบัลลังก์ และบางประเทศในปัจจุบันก็มีเสียงเรียกร้องให้ฟื้นฟูราชวงศ์ขึ้นมาใหม่ เช่นที่ สาธารณรัฐเกาหลี, สาธารณรัฐออสเตรีย และสาธารณรัฐฮังการี เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีการสิ้นสุดลงของพระราชวงศ์ที่ไม่ได้เกิดจากรัฐประหารหรือสาเหตุอื่น ๆ แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ของประเทศนั้นไม่มีองค์รัชทายาทหรือผู้สืบทอดราชบัลลังก์ เช่น ซามัว

ประวัติศาสตร์

ตัวอย่างของการล้มล้างพระราชวงศ์เช่น ในปี ค.ศ. 1649 พระราชวงศ์อังกฤษ โดยรัฐสภาแห่งอังกฤษภายใต้การนำของ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ แต่ก็ได้มีการฟื้นฟูภายหลังในปี ค.ศ. 1660 อีกแห่งที่ฝรั่งเศส พระราชวงศ์ฝรั่งเศสถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1792 ในระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส และก็ได้มีการฟื้นฟูในภายหลังหลายครั้งแต่สุดท้ายฝรั่งเศสก็ได้กลายเป็นสาธารณรัฐ , ในปี ค.ศ. 1871 ราชวงศ์จีนอันเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานก็ถูกล้มล้างและพระจักรพรรดิก็ถูกถอดถอน ซึ่งพระจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนก็คือ จักรพรรดิผู่อี๋ โดยการปฏิวัติของ ซุน ยัตเซ็น, สมเด็พระจักรพรรดิโกจงแห่งเกาหลี พระจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเกาหลีก็สูญเสียราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1910 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นเข้ายึดครองเกาหลีและให้พระราชวงศ์ญี่ปุ่นดำรงเป็นพระประมุขแห่งเกาหลีสืบต่อแทน และอีกแห่งหนึ่งนั้นก็คือมองโกเลีย หลังจากพระมหากษัตริย์ได้สวรรคตลง มองโกเลียก็ได้กลายเป็นสาธารณรัฐ

ในปี ค.ศ. 1893 ผู้นำของกระทรวงการค้าต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรฮาวาย ก็ได้ทำการยึดอำนาจจากสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรฮาวาย และได้ก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐจนเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1898, พระราชวงศ์โปรตุเกสก็ถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1910 สองปีหลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าคาร์ลอสที่ 1 แห่งโปรตุเกส

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้เกิดการล้มล้างอำนาจของพระราชวงศ์ทั่วโลกครั้งใหญ่ เช่น ในจักรวรรดิรัสเซียภาวะความอดอยากและยากจนของประเทศจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้ทำให้เกิดการปฏิวัติยึดอำนาจพระราชวงศ์รัสเซีย และได้ก่อให้เกิดลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่เน้นการต้อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งภายหลังได้ทำการสังหารหมู่พระราชวงศ์รัสเซีย ส่วนประเทศที่ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน, จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี, และจักรวรรดิออตโตมาน ในระหว่างสงครามพระราชวงศ์บางแห่งก็มีแผนที่จะประกาศเอกราชและก่อตั้งราชวงศ์เช่น ราชรัฐฟินแลนด์ และที่ ลิทัวเนีย รวมทั้งรัฐในอารักขา และอาณานิคมบางแห่งของจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งทั้งพระมหากษัตริย์แห่งฟินแลนด์และลิทัวเนีย ก็ได้สละราชบัลลังก์ภายหลังการพ้ายแพ้ของเยอรมัน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918

ในปี ค.ศ. 1939 ราชอาณาจักรอิตาลี ก็ได้เข้ายึดครองแอลเบเนียซึ่งได้ทำการล้มล้างพระราชวงศ์แอลเบเนีย และสถาปนาพระราชวงศ์อิตาลีขึ้นเป็นพระประมุขแห่งแอลเบเนีย ตลอดจนพระราชวงศ์ของยุโรปตะวันออก เช่นพระราชวงศ์บัลแกเรีย, ฮังการี และโรมาเนีย ก็ได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อต้านราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย, ฝ่ายสัมพันธมิตร และสหภาพโซเวียต ในขณะที่ฝ่ายอักษะกำลังพ้ายแพ้ในสงคราม แนวร่วมของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งใน ยูโกสลาเวีย และแอลเบเนีย ก็ได้ทำการยึดอำนาจและล้มล้างพระราชวงศ์ของทั้งสองประเทศลง ส่วนลัทธิคอมมิวนิสต์ในบัลแกเรีย, ฮังการี และโรมาเนีย ก็ได้ทำการล้มล้างพระราชวงศ์ของตนโดยกองกำลังอันแข็งแกร่งของสหภาพโซเวียต ที่มีทั้งอาวุธและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากในระหว่างการดำเนินไปของสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่พระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีก็ได้ทำการสลับข้างจากฝ่ายอักษะเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามจากความอนุเคราะห์ของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ถึงอย่างไรก็ตามพระราชวงศ์อิตาลีก็สิ้นสุดลงจากการลงประชามติของประชาชนชาวอิตาลีในปี ค.ศ. 1946 เช่นกัน แต่มีพระมหากษัตริย์แห่งเดียวในโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ถึงแม้จะพ้ายแพ้ในสงคราม แต่พระราชวงศ์ก็มิได้ถูกล้มล้างนั้นคือ สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะแห่งญี่ปุ่น ที่ถึงแม้จะเป็นผู้ให้การต่อต้านการทำสงครามแต่ก็เป็นผู้คุมอำนาจสำคัญของการทำศึกต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ยินยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมญี่ปุ่นแทนการถูกนำตัวไปขึ้นศาลโลกในฐานะอาชญากรสงครามและล้มล้างพระราชวงศ์ญี่ปุ่น แต่ทว่าตระกูลเจ้าชายต่างๆ ในระบบศักดินาได้ถูกทำลายแทน

ในราชอาณาจักรกรีซ สมเด็จพระราชาธิบดีและพระราชวงศ์ก็ถูกเนรเทศโดยกองทัพจากการรัฐประหาร ในปี ค.ศ. 1967 ถึงแม้จะมีการฟื้นฟูในภายหลังแต่ก็ถูกล้มล้างอีกครั้งจากการลงประชามติของประชาชนในปี ค.ศ. 1974

ระบอบราชาธิปไตยในอินเดีย, เคนยา, แทนซาเนีย, แซมเบีย และซิมบับเว ถูกล้มลงไม่นานหลังจากได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในขณะที่เป็นรัฐสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติได้มีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นพระประมุขมาโดยตลอด

ความพยายามในการฟื้นฟูราชวงศ์

นอกจากนี้ยังมีประเทศที่มีความพยายามที่จะฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ของตนเองขึ้นมาอีกครั้งแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นที่ บราซิล ในปี ค.ศ. 1990 รัฐสภาแห่งบราซิลได้มีการลงมติให้มติการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันตกไป ในขณะที่ยังมีความพยายามในการฟื้นฟูพระราชวงศ์ยังคงดำเนินต่อไปในทางภาคตะวันออกของประเทศ ที่บัลแกเรีย พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศ ทรงได้รับเลือกมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ โดยดำรงตำแหน่งตามวาระ 4 ปี เริ่มดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 2001 ถึง ค.ศ. 2005 แต่ท้ายที่สุดก็ไม่ได้มีการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศขึ้นมาแต่อย่างใด ที่ออสเตรเลียเองก็มีปัญหาเกี่ยวกับพระราชวงศ์อังกฤษขึ้นมา เนื่องจากประชาชนบางกลุ่มต้องการให้ออสเตรเลียกลายเป็นสาธารณรัฐ จึงได้ยื่นข้อเสนอเข้ารัฐสภาและก็ได้มีการลงมติของรัฐสภาในเรื่องนี้ ผลที่ออกมาก็คือรัฐสภาของทุกรัฐลงมติให้ออสเตรเลียยังคงใช้ระบอบการปกครองแบบเดิม ที่มีพระประมุขของประเทศยังคงเป็น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ยกเว้นที่เขตนครหลวงแห่งออสเตรเลียที่ผ่านข้อเสนอเท่านั้น ที่แอลเบเนียเองก็ได้มีความพยายามฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกันในปี ค.ศ. 1997 แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ส่วนที่สาธารณรัฐเกาหลี ค.ศ. 2007 สมเด็จพระจักรพรรดินีเฮวอนแห่งเกาหลี ได้ประกาศที่จะฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ภายในประเทศขึ้นมาอีกครั้ง แต่รัฐบาลกลางของเกาหลีก็ยังไม่ได้มีการเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือพิจารณาในกรณีนี้ ซึ่งแนวทางในการฟื้นฟูมีความเป็นไปได้สูงเพราะว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ของเกาหลีเองก็มีบทบาทในการเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนเรื่อยมาตั้งแต่หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคาดการณ์กันว่าสองเกาหลีจะต้องรวมประเทศกันเสียก่อนถึงจะมีการฟื้นฟู และเกาหลีใหม่นี้จะต้องปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่โรมาเนียเองสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศก็มีบทบาทเป็นเป็นศูนย์รวมใจของประชาชน โดยมีการยื่นให้รัฐสภามีการพิจารณาฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นมาอีกครั้ง เช่นเดียวกับที่เซอร์เบียที่พระราชวงศ์ต่างได้สิทธิจากรัฐบาลให้พำนักในพระราชวังในเมืองหลวงและยังคงมีบทบาททางสังคมเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน อีกทั้งพระราชวงศ์ยังปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ มากมายเช่น ด้านสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ซึ่งที่เซอร์เบียนี้เองที่มีความพยายามอย่างมากในการฟื้นฟูพระราชวงศ์เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงเป็นกลุ่มนิยมกษัตริย์

พระมหากษัตริย์ที่ถูกล้มล้าง

ประเทศพระรูปพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายปีหมายเหตุ
ทศวรรษ 1700
ราชอาณาจักรอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ค.ศ. 1707สถาปนาราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
ราชอาณาจักรสกอตแลนด์
ทศวรรษ 1790
ราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรโปแลนด์ พระเจ้าสตาญิสวัฟที่ 2 เอากุสตุสค.ศ. 1795ล้มล้างพระราชวงศ์
เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย
แกรนด์ดัชชีลิทัวเนียแกรนด์ดยุกสตาญิสวัฟ เอากุสตุสที่ 2
ทศวรรษ 1800
ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ พระเจ้าจอร์จที่ 3ค.ศ. 1801รวมกับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ สถาปนาสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ค.ศ. 1806ถูกยุบโดยจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
อาร์ชดัชชีออสเตรียอาร์ชดยุกฟรันทซ์ที่ 2เปลี่ยนเป็นจักรวรรดิออสเตรีย
จักรวรรดิเฮติที่หนึ่ง สมเด็จพระจักรพรรดิฌักที่ 1 แห่งเฮติล้มล้างพระราชวงศ์
ทศวรรษ 1810
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง จักรพรรดินโปเลียนที่ 1ค.ศ. 1814สถาปนาราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ราชอาณาจักรอิตาลีสมเด็จพระเจ้าโปเลียนที่ 1ล้มล้างพระราชวงศ์
เดนมาร์ก–นอร์เวย์ พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6ประกาศแยกราชวงศ์
ราชอาณาจักรเนเปิลส์ สมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 4ค.ศ. 1816สถาปนาราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง
ราชอาณาจักรซิซิลีสมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 3
จักรวรรดิมราฐา สมเด็จพระจักรพรรดิประทับสิงห์ค.ศ. 1818ล้มล้างพระราชวงศ์
ทศวรรษ 1820
ราชอาณาจักรเฮติ พระเจ้าอ็องรีที่ 1 แห่งเฮติค.ศ. 1820ล้มล้างพระราชวงศ์
สหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ พระเจ้าฌูเอาที่ 6ค.ศ. 1822ประกาศแยกราชวงศ์
จักรวรรดิเม็กซิโกที่ 1 สมเด็จพระจักรพรรดิอากุสตินที่ 1 แห่งเม็กซิโกค.ศ. 1823
ทศวรรษ 1830
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสค.ศ. 1830สถาปนาราชอาณาจักรแห่งชาวฝรั่งเศส
สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ค.ศ. 1839ประกาศแยกราชวงศ์
แกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์ก
ทศวรรษ 1840
ราชอาณาจักรแห่งชาวฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศสค.ศ. 1848สถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2
จักรวรรดิซิกข์ ทุลีป สิงห์ค.ศ. 1849ล้มล้างพระราชวงศ์
ทศวรรษ 1850
จักรวรรดิโมกุล จักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ที่ 2ค.ศ. 1857เปลี่ยนเป็นบริติชราช
จักรวรรดิเฮติที่สอง จักรพรรดิโฟสแต็งที่ 1 แห่งเฮติค.ศ. 1859ล้มล้างพระราชวงศ์
ทศวรรษ 1860
ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 2 แห่งซาวอยค.ศ. 1861เปลี่ยนเป็นราชอาณาจักรอิตาลี
ราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง สมเด็จพระเจ้าฟรานซิสที่ 2 แห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสองรวมชาติกับราชอาณาจักรอิตาลี
ราชอาณาจักรลอมบาร์ดี-เวนีเชีย สมเด็จพระราชาธิบดีฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1ค.ศ. 1866รวมชาติกับราชอาณาจักรอิตาลี
ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งฮันโนเฟอร์รวบเข้ากับราชอาณาจักรปรัสเซีย
จักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2 จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งเม็กซิโกค.ศ. 1867
ทศวรรษ 1870
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง จักรพรรดินโปเลียนที่ 3ค.ศ. 1870สถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
รัฐสันตะปาปา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9รวมชาติกับราชอาณาจักรอิตาลี
อาณาจักรรีวกีว โช ไทค.ศ. 1879รวบเข้ากับจักรวรรดิญี่ปุ่น
ราชอาณาจักรซูลู สมเด็จพระราชาธิบดีเคตช์วาโย คามพันเดสงครามอังกฤษ–ซูลู-รวบเข้ากับจักรวรรดิอังกฤษ แต่ยังมีการสืบต่อระบอบราชาธิปไตยในซูลูแลนด์
ทศวรรษ 1880
ราชอาณาจักรตาฮีตี พระเจ้าโปมาเรที่ 5 แห่งตาฮีตีค.ศ. 1880รวบเข้ากับจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส
จักรวรรดิพม่า พระเจ้าธีบอค.ศ. 1885รวบเข้ากับบริติชราช
จักรวรรดิบราซิล จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิลค.ศ. 1889เกิดการปฏิวัติ
ทศวรรษ 1890
ราชอาณาจักรฮาวาย สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวายค.ศ. 1895สถาปนาสาธารณรัฐฮาวาย
ราชอาณาจักรเมรีนา สมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 3 แห่งมาดากัสการ์ค.ศ. 1897รวบเข้ากับจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส
ราชอาณาจักรฟิลิปปินส์ พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13ค.ศ. 1898สถาปนาสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 และ รัฐบาลทหารสหรัฐแห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์
คิวบาถูกยึดโดยสหรัฐ
ปวยร์โตรีโก
ทศวรรษ 1900
อาณาจักรปัตตานี พระยาวิชิตภักดีค.ศ. 1902กลายเป็นมณฑลปัตตานี
รัฐสุลต่านอาเจะฮ์ อลาอุดดิน มูฮัมหมัด ดาอูด ชาห์ที่ 2ค.ศ. 1903รวบเข้ากับหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ สมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2ค.ศ. 1905ประกาศแยกราชวงศ์
วิลายะห์บอสเนีย สุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2ค.ศ. 1908รวบเข้ากับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ราชรัฐบัลแกเรีย เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ที่ 1สถาปนาราชอาณาจักรบัลแกเรีย
ทศวรรษ 1910
ราชอาณาจักรโปรตุเกส สมเด็จพระเจ้าเอ็มมานูเอลที่ 2ค.ศ. 1910เกิดการปฏิวัติ
จักรวรรดิเกาหลี สมเด็จพระจักรพรรดิซุนจงค.ศ. 1910ล้มล้างพระราชวงศ์โดยจักรวรรดิญี่ปุ่นและมีพระราชวงศ์ญี่ปุ่นเป็นประมุขจนถึงปี ค.ศ. 1945
จักรวรรดิจีน สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ค.ศ. 1912การปฏิวัติซินไฮ่ – พระจักรพรรดิถูกถอดถอนโดยขุนศึกและนักสาธารณรัฐนิยม
ราชรัฐแอลเบเนีย เจ้าชายวิลเลี่ยมที่ 1ค.ศ. 1914ถูกล้มล้างลงแต่ก็ได้มีการฟื้นฟูขึ้นในปี ค.ศ. 1928 (ราชอาณาจักรแอลเบเนีย)
คองเกรสโปแลนด์ สมเด็จพระเจ้านิโคลัสที่ 2ค.ศ. 1915ล้มล้างพระราชวงศ์
จักรวรรดิจีน จักรพรรดิหงเซียนค.ศ. 1916ล้มล้างพระราชวงศ์
เมืองสตูล พระยาภูมินารถภักดีกลายเป็นส่วนหนึ่งของสยาม
จักรวรรดิรัสเซีย สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2ค.ศ. 1917การปฏิวัติรัสเซีย
ราชรัฐฟินแลนด์ แกรนด์ดยุกนิโคไลที่ 2สถาปนาราชอาณาจักรฟินแลนด์
ราชอาณาจักรมอนเตเนโกร สมเด็จพระเจ้านิกอลาที่ 1 แห่งมอนเตเนโกรค.ศ. 1918ลงประชามติให้ถอดถอนพระราชาและรวมประเทศเข้ากับราชอาณาจักรเซอร์เบีย
จักรวรรดิเยอรมัน สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2รัฐสมาชิกของจักรวรรดิเยอรมันทั้งหมดพ้ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และจากการปฏิวัติเยอรมัน
ราชอาณาจักรปรัสเซีย
ราชอาณาจักรบาวาเรีย สมเด็จพระเจ้าลูทวิชที่ 3
ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค สมเด็จพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 2
ราชอาณาจักรแซกโซนี สมเด็จพระเจ้าฟรีดริช ออกัสที่ 3
แกรนด์ดัชชีเฮสเซอ สมเด็จพระเจ้าเอิร์นส์ ลุดวิกที่ 1
ราชรัฐบาเดิน สมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 2
ราชรัฐแซก-ไวมาร์-ไอเซนาร์ช สมเด็จพระเจ้าวิลเฮล์ม เอิร์นส์ที่ 1
ราชรัฐแมคเคลนบวร์ก-เชสวริน สมเด็จพระเจ้าฟรีดริช ฟรานส์ที่ 4
ราชรัฐเม็คเคลนบวร์ก-สเตรอลิตส์ สมเด็จพระเจ้าอดอลฟัส เฟรเดอริคที่ 6
รัฐโอลเดนบวร์ก สมเด็จพระเจ้าฟรีดริช ออกัสที่ 2
ดัชชีบรุนส์วิก สมเด็จพระเจ้าเอิร์นส์ ออกัสที่ 1
รัฐอันฮัลต์ สมเด็จพระเจ้าโจอาชิม เอิร์นส์ที่ 1
ดัชชีแซชเซน-โคบูร์กและโกธา สมเด็จพระเจ้าคาร์ล เอ็ดการ์ดที่ 1
รัฐแซก-เมนนิเจน สมเด็จพระเจ้าเบิร์นฮาร์ทที่ 3
ราชรัฐแซก-อัลเทนบวร์ก ดยุคเอิร์นส์ที่ 2
รัฐวัลด์เดค-พีรมอนต์ เจ้าชายฟรีดริชที่ 1
ราชรัฐลิปป์ สมเด็จพระเจ้าลีโอโพลด์ที่ 4
รัฐชควกควมเบิร์ก-ลิปป์ เจ้าชายอดอล์ฟที่ 2
รัฐเชควาร์ทบูร์ก-รูดอลสติตซ์ เจ้าชายกุนเตอร์ วิคเตอร์ที่ 1
รัฐเชควาร์ทบูร์ก-ซอนเดอร์ฮุสเซน
เรอสส์ สายหลัก
เรอสส์ สายรอง
จักรวรรดิออสเตรีย สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1ถูกถอดถอนและล้มล้างพระราชวงศ์
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ราชอาณาจักรฮังการี สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 4แม้จะฟื้นฟูในปี ค.ศ. 1920 แต่ก็เหลือไว้เพียงราชบัลลังก์อันว่างเปล่ากับผู้สำเร็จราชการแทน
ราชอาณาจักรโบฮีเมีย สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 3รวมชาติกับสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1
ราชอาณาจักรฟินแลนด์ สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริค ชาร์ลส์ที่ 1ขึ้นเสวยราชย์ได้1ปี
ราชอาณาจักรลิทัวเนีย สมเด็จพระเจ้ามินดัวกัส
(ว่าที่พระมหากษัตริย์)
ไม่เคยได้ขึ้นเสวยราชย์
ราชอาณาจักรโปแลนด์-ไม่มี (สำเร็จราชการโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทน)ไม่มีผู้สืบทอดราชบัลลังก์
ราชอาณาจักรบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 1รวมชาติกับราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
ราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนีย สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์โลที่ 4รวมชาติกับรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ
ราชอาณาจักรแดลเมเชีย สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 1รวมชาติกับรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ
ราชอาณาจักรกาลิเซียและโลโดเมเรีย สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 1รวมชาติกับสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2
ราชอาณาจักรเซอร์เบีย สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 1เปลี่ยนเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
ทศวรรษ 1920
ราชอาณาจักรอิสลามบูคารา (อุซเบกิสถาน) สมเด็จพระเจ้าโมฮัมเม็ด อาลิม คาห์นค.ศ. 1920
เขตปกครองของข่านแห่งคิวา (อุซเบกิสถาน) สมเด็จพระเจ้าอับดุลเลาะห์ คาห์น
ราชอาณาจักรซีเรีย สมเด็จพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1
ประมุขร่วมกับราชอาณาจักรอิรัก
ค.ศ. 1920ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างจากการพ่ายแพ้ในการปิดล้อมที่ดามัสกัส
ภายหลังได้มีการฟื้นฟู
จักรวรรดิออตโตมัน สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 6ค.ศ. 1922สงครามประกาศอิสรภาพตุรกีจากการตัดสินใจของรัฐบาลอังการาในปี ค.ศ. 1922
ราชอาณาจักรกรีซ สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2ค.ศ. 1924มีการฟื้นฟูพระราชวงศ์ใน ค.ศ. 1935 แต่ต่อมาก็ถูกถอดถอนออกจาพระอิสริยยศอีกครั้งใน ค.ศ. 1974
มองโกเลีย บอจด์ ข่านถูกยึดอำนาจ
ทศวรรษ 1930
ราชอาณาจักรสเปน สมเด็จพระราชาธิบดีอัลฟอนโซที่ 13ค.ศ. 1931ภายหลังได้มีการฟื้นฟูพระราชวงศ์ขึ้นมาอีกครั้ง
ราชอาณาจักรแอลเบเนีย สมเด็จพระราชาธิบดีซ็อกที่ 1ค.ศ. 1939ราชบัลลังก์ถูกยึดโดยพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี หลังจากการรุกรานโดยอิตาลี
ทศวรรษ 1940
ราชอาณาจักรแอลเบเนีย สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3ค.ศ. 1943ทรงสละราชบัลลังก์จากการสงบศึก
ราชอาณาจักรโครเอเชีย สมเด็จพระเจ้าโทมิสลาฟว์ที่ 2ค.ศ. 1943สละราชสมบัติภายหลังจากการบีบบังคับที่ราชอาณาจักรอิตาลีให้การสนับสนุน
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2โค่นล้มโดยนาซีเยอรมัน
ราชอาณาจักรไอซ์แลนด์ สมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 10ค.ศ. 1944การเป็นสหพันธรัฐกับเดนมาร์กสิ้นสุดลง
จักรวรรดิแมนจู สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ค.ศ. 1945สิ้นสุดการปกครองโดยญี่ปุ่น จักรวรรดิกลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐจีน
เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะสิ้นสุดการปกครองโดยญี่ปุ่น
จักรวรรดิเวียดนาม สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยสิ้นสุดการปกครองโดยญี่ปุ่น
ราชอาณาจักรฮังการี-ไม่มี (ผู้สำเร็จราชการแทน)ค.ศ. 1946มติรัฐสภาโดยปราศจากการลงประชามติ
ราชอาณาจักรอิตาลี สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2ผลการลงประชามติ ร้อยละ 54.3 ให้เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย สมเด็จพระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2ผลการลงประชามติ ร้อยละ 95 ให้เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ
ราชอาณาจักรซาราวัก ชาร์ลส์ ไวเนอร์ บรู๊คราชามอบอำนาจให้อังกฤษ
ราชอาณาจักรโรมาเนีย สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1ค.ศ. 1947บังคับให้สละราชสมบัติโดยพวกคอมมิวนิสต์
จักรวรรดิอินเดีย สมเด็จพระจักรพรรดิจอร์จที่ 6ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ สถาปนาสหภาพอินเดียและรัฐปากีสถาน
พม่า พระเจ้าจอร์จที่ 6ค.ศ. 1948สถาปนาสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
เสรีรัฐไอริช พระเจ้าจอร์จที่ 6ค.ศ. 1949การเป็นสหราชอาณาจักรกับบริเตนใหญ่ สิ้นสุดลง
หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาสถาปนาประเทศอินโดนีเซีย
ทศวรรษ 1950
สหภาพอินเดีย พระเจ้าจอร์จที่ 6ค.ศ. 1950ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ราชอาณาจักรไมซอร์ รายาชามาราเจนดรา วาดิยาร์กลายเป็นรัฐหนึ่งของอินเดีย
ราชอาณาจักรทิเบต ทะไลลามะที่ 14ค.ศ. 1951รวบเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชัมมูและกัศมีร์ ฮาริ ซิงห์ค.ศ. 1952กลายเป็นชัมมูและกัศมีร์ (ดินแดนสหภาพ)
ราชอาณาจักรอียิปต์ พระเจ้าฟูอัดที่ 2ค.ศ. 1953การปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1952
รัฐเวียดนาม บ๋าว ดั่ยค.ศ. 1955แบ่งประเทศและลงประชามติ
รัฐปากีสถาน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ค.ศ. 1956ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
อาณาจักรอัสฮันติ โอเซย ตูตู อาเยแมน เพรมเพชที่ 2ค.ศ. 1957รวบเข้ากับประเทศกานา แต่ยังมีการสืบต่อระบอบราชาธิปไตยในอัสฮันติแลนด์
ราชอาณาจักรตูนิเซีย พระเจ้ามูฮัมหมัดที่ 8 อัล-อามินแห่งตูนิเซียรัฐประหาร
ราชอาณาจักรอิรัก พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2ค.ศ. 1958
ทศวรรษ 1960
คองโก สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงค.ศ. 1960สถาปนาสาธารณรัฐคองโก (เลออปอลวีล)
กานา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
สหภาพแอฟริกาใต้ค.ศ. 1961
ราชอาณาจักรรวันดา สมเด็จพระเจ้าคิเกลิที่ 5รัฐประหาร
แทนกันยีกา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ค.ศ. 1962ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ราชอาณาจักรมุตาวัคคิไลต์เยเมน สุลต่านมูฮัมมัดที่ 11รัฐประหาร
สิงคโปร์ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ค.ศ. 1963เข้าร่วมกับสหพันธรัฐมาลายา
ไนจีเรียล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ยูกันดา
เคนยาค.ศ. 1964
แซนซิบาร์สุลต่านจามชิด บิน อับดุลลาห์รัฐประหาร
ราชอาณาจักรบุรุนดีสมเด็จพระเจ้านทาร์ที่ 5ค.ศ. 1966
มาลาวี สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ราชอาณาจักรมัลดีฟส์ สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัด ฟารีด ดิดิค.ศ. 1968การลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราช
ราชอาณาจักรลิเบีย สมเด็จพระเจ้าไอดริสที่ 1ค.ศ. 1969รัฐประหาร
ทศวรรษ 1970
ราชอาณาจักรกัมพูชา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุค.ศ. 1970ภายหลังมีการฟื้นฟู
แกมเบีย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
กายอานา
เซียร์ราลีโอนค.ศ. 1971
ซีลอน (ศรีลังกา)ค.ศ. 1972ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน สมเด็จพระเจ้ามูฮัมเม็ด ซาฮีร์ ชาห์ค.ศ. 1973รัฐประหาร
จักรวรรดิเอธิโอเปีย สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1ค.ศ. 1974
ราชอาณาจักรกรีซ สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2การลงประชามติ; ร้อยละ 69 ต้องการให้เปลี่ยนระบอบการปกครอง
มอลตา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ราชอาณาจักรลาว พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาค.ศ. 1975การยึดครองโดยคอมมิวนิสต์
ราชอาณาจักรสิกขิม ปาร์ลเดน ทอนดับ นามกยาลผลการลงประชามติ ร้อยละ 97 ต้องการเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของอินเดีย
ตรินิแดดและโตบาโก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ค.ศ. 1976ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
จักรวรรดิอิหร่าน สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัด เรซา ปาห์เลวีค.ศ. 1979การปฏิวัติอิสลาม
จักรวรรดิแอฟริกากลาง สมเด็จพระจักรพรรดิโบคัสซาที่ 1รัฐประหาร
ทศวรรษ 1980
รัฐสุลต่านซูลู สุลต่านโมฮัมหมัดมหาราชอับดุลเลาะคีรค.ศ. 1986ล้มล้างพระราชวงศ์
ฟิจิ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ค.ศ. 1987ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ทศวรรษ 1990
มอริเชียส สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ค.ศ. 1992ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ฮ่องกงค.ศ. 1997เปลี่ยนเป็นเขตบริหารพิเศษฮ่องกง
ทศวรรษ 2000
ซามัว มาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 2ค.ศ. 2007ไม่มีผู้สืบทอดราชบัลลังก์
ราชอาณาจักรเนปาล สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะค.ศ. 2008มติของรัฐสภา จัดตั้งสาธารณรัฐ[5]
ทศวรรษ 2010
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ค.ศ. 2010ดินแดนถูกยุบ
ทศวรรษ 2020
บาร์เบโดส สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ค.ศ. 2021ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ

รายชื่อราชาธิปไตยในปัจจุบันที่ได้รับการฟื้นฟู

ประเทศปีที่ล้มล้าง (ค.ศ.)หมายเหตุปีที่ฟื้นฟู (ค.ศ.)
ราชอาณาจักรอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์1649เปลี่ยนผ่านมาจากเครือจักรภพแห่งอังกฤษและการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์1660
ราชอาณาจักรสเปน1873เปลี่ยนผ่านมาจากสาธารณรัฐสเปนที่ 11874
1931เปลี่ยนผ่านมาจากสาธารณรัฐสเปนที่ 2 แล้วจากนั้นจึงเกิดการฟื้นฟูในปี 1947 ซึ่งการฟื้นฟูมาจากคำสั่งเสียของจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก1975
อันโกเล1967ถูกล้มล้างจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของ มิลตัน โอเบเต1993
บูกันดา
บุนโยโร
โตโร
ราชอาณาจักรกัมพูชา1970เกิดการรัฐประหาร1975
1976หลังจากการล้มล้างสองครั้งท้ายที่สุดก็ได้มีการฟื้นฟูอีกครั้งในปี ค.ศ. 19931993
รเวนซูรูรู (ส่วนหนึ่งของยูกันดา)1982ถูกล้มเลิกโดยรัฐบาล2009
(พฤตินัย)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง