เลี้ยงเขียน

เลี้ยงเขียน มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เหลียง เฉียน (จีน: 梁虔; พินอิน: Liáng Qián) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เดิมรับราชการในวุยก๊ก ภายหลังแปรพักตร์มาเข้าด้วยจ๊กก๊กแล้วได้เป็นขุนนางตำแหน่งจางวางวังจักรพรรดินีในราชสำนักจ๊กก๊ก[1]

เลี้ยงเขียน (เหลียง เฉียน)
梁虔
จางวางวังจักรพรรดินี (大長秋 ต้าฉางชิว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้าอาลักษณ์ (主記 จู่จี้)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 228 (228)
กษัตริย์โจยอย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เสียชีวิตไม่ทราบ
อาชีพขุนนาง

ประวัติ

เลี้ยงเขียนเริ่มรับราชการในตำแหน่งหัวหน้าอาลักษณ์ (主記 จู่จี้) ในที่ว่าการของเมืองเทียนซุย (天水郡 เทียนฉุ่ยจฺวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครเทียนฉุ่ย มณฑลกานซู่) ของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก

ในปี ค.ศ. 228 จูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีและผู้สำเร็จราชการแห่งจ๊กก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กได้เปิดการทัพบุกวุยก๊กครั้งแรก โดยเข้ายึดเขากิสาน (祁山 ฉีซาน; พื้นที่ภูเขาโดยรอบบริเวณที่เป็นอำเภอหลี่ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) เวลานั้นเลี้ยงเขียนพร้อมด้วยเพื่อนร่วมราชการได้แก่เกียงอุย เลี้ยงซี (梁緒 เหลียง ซฺวี่) อินเชียง (尹賞 อิ๋น ฉ่าง) และคนอื่น ๆ กำลังอยู่ในระหว่างการเดินทางตรวจราชการกับม้าจุ้น (馬遵 หม่า จุน) เจ้าเมืองเทียนซุย ม้าจุ้นทราบข่าวการบุกของจ๊กก๊กและได้ยินว่าหลายอำเภอในเมืองเทียนซุยแปรพักตร์ไปเข้าด้วยข้าศึก ม้าจุ้นจึงระแวงว่าเกียงอุย เลี้ยงเขียน และคนอื่น ๆ กำลังเดินทางเพื่อไปสวามิภักดิ์ต่อจ๊กก๊กด้วย ม้าจุ้นจึงหนีไปในเวลากลางคืนและไปหลบภัยที่อำเภอเซียงเท้ง (上邽縣 ช่างกุยเซี่ยน; ปัจจุบันอยู่ในเขตนครเทียนฉุ่ย มณฑลกานซู่)[2]

เมื่อเกียงอุย เลี้ยงเขียน และคนอื่น ๆ รู้ว่าม้าจุ้นละทิ้งพวกตนและหนีไปเพียงลำพัง จึงพยายามไล่ตามม้าจุ้นไปแต่ไม่ทัน พวกเขาถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไปในอำเภอเซียงเท้งเมื่อทั้งหมดเดินทางมาถึง เกียงอุยจึงนำทั้งหมดไปยังอำเภอเอ๊กก๋วน (冀縣/兾縣 จี้เซี่ยน; ปัจจุบันคืออำเภอกานกู่ มณฑลกานซู่) แต่ขุนนางผู้รักษาอำเภอเอ๊กก๋วนก็ปฏิเสธไม่ให้พวกเขาเข้ามาเช่นกัน เลี้ยงเขียน เกียงอุย เลี้ยงซี อินเซียง และคนอื่น ๆ เห็นว่าพวกตนไม่มีทางเลือกอื่น จึงเข้าไปสวามิภักดิ์แปรพักตร์เข้าด้วยจ๊กก๊ก[3] ภายหลังทั้งหมดได้รับราชการเป็นขุนนางตำแหน่งสูงในราชสำนักจ๊กก๊ก เลี้ยงเขียนได้ดำรงตำแหน่งเป็นจางวางวังจักรพรรดินี (大長秋 ต้าฉางชิว) เลี้ยงเขียนเสียชีวิตก่อนการล่มสลายของจ๊กก๊กในปี ค.ศ. 263[4]

ในนิยายสามก๊ก

ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 เลี้ยงเขียนเป็นน้องชายของเลี้ยงซี ม้าจุ้นให้เลี้ยงเขียนไปรักษาอำเภอเซียงเท้งเพื่อป้องกันการโจมตีของทัพจ๊กก๊ก ภายหลังเลี้ยงซีสวามิภักดิ์ต่อจ๊กก๊กจึงไปเกลี้ยกล่อมให้เลี้ยงเขียนผู้เป็นน้องชายให้มาร่วมเข้าด้วยกับจ๊กก๊ก หลังเลี้ยงซีแปรพักตร์เข้าด้วยจ๊กก๊กได้รับการแต่งตั้งจากจูกัดเหลียงเป็นให้นายอำเภอเซียงเท้ง (上邽令 ช่างกุยลิ่ง)[5][6]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร