เล่าเสี้ยน

เล่าเสี้ยน (ค.ศ. 207 – 271)[1][2] หรือชื่อในภาษาจีนกลางว่า หลิว ช่าน (; จีนตัวย่อ: 刘禅; จีนตัวเต็ม: 劉禪; พินอิน: Líu Shàn) มีชื่อรองว่า กงซื่อ (公嗣) เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่สองและพระองค์สุดท้ายของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก เมื่อขึ้นครองราชย์ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา ได้ทรงมอบหมายราชการแผ่นดินให้อยู่ในการดูแลของอัครมหาเสนาบดีจูกัดเหลียงและราชเลขานุการลิเงียม พระองค์ครองราชย์เป็๋นเวลา 40 ปีและถือเป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุคสามก๊ก ในรัชสมัยของเล่าเสี้ยน มีการรบกับวุยก๊กที่เป็นรัฐข้าศึกหลายครั้ง ส่วนใหญ่บัญชาการรบด้วยจูกัดเหลียงและเกียงอุยผู้สืบทอดภารกิจ แต่ได้ผลเพียงเล็กน้อย ในที่สุดเล่าเสี้ยนยอมจำนนต่อวุยก๊กในปี ค.ศ. 263 หลังเตงงายโจมตีเซงโต๋เมืองหลวงของจ๊กก๊กโดยฉับพลัน เล่าเสี้ยนย้ายไปอยู่ที่ลกเอี๋ยงเมืองหลวงของวุยก๊ก ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "อ่านลกก๋ง" (อันเล่อกง) ใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายอย่างสงบสุขก่อนจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 271 อาจด้วยสาเหตุธรรมชาติ

เล่าเสี้ยน (หลิว ช่าน)
劉禪
จักรพรรดิจีน
ภาพวาดเล่าเสี้ยนในสมัยราชวงศ์ชิง
จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก
ครองราชย์มิถุนายน ค.ศ. 223 – ธันวาคม ค.ศ. 263
ก่อนหน้าเล่าปี่
ผู้สำเร็จราชการ
รัชทายาทแห่งจ๊กก๊ก
ดำรงตำแหน่ง19 มิถุนายน ค.ศ. 221 – มิถุนายน ค.ศ. 223
ถัดไปเล่ายอย
อ่านลกก๋ง (安樂公)
ดำรงตำแหน่งค.ศ. 264 - ค.ศ. 271
ประสูติค.ศ. 207
ซินเอี๋ย มณฑลเหอหนาน
สวรรคตค.ศ. 271 (อายุ 63–64)
ลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน
คู่อภิเษก
พระราชบุตร
รายละเอียด
พระนามเต็ม
ชื่อสกุล: หลิว/เล่า (劉)
ชื่อตัว: ช่าน/เสี้ยน (禪)
ชื่อรอง: กงชื่อ (公嗣)
รัชศก
  • เจี้ยนซิง (建興; ค.ศ. 223–237)
  • เหยียนซี (延熙; ค.ศ. 238–257)
  • จิ่งเอี้ยว (景耀; ค.ศ. 258–263)
  • เหยียนซิง (炎興; ค.ศ. 263)
พระมรณนาม
  • อันเล่อซือกง (安樂思公)
  • จักรพรรดิเซี่ยวหวย (孝懷皇帝)
ราชวงศ์ราชสกุลเล่า (หลิว)
พระราชบิดาเล่าปี่
พระราชมารดากำฮูหยิน
ช่วงเวลา
เล่าเสี้ยน
อักษรจีนตัวเต็ม劉禪
อักษรจีนตัวย่อ刘禅

ทรงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างในวัยทารกนามว่า "อาเต๊า" (阿斗) เล่าเสี้ยนมักจะถูกมองว่าเป็นนักปกครองที่ไร้ความสามารถ พระองค์ยังถูกกล่าวหาว่ามัวแต่เสพสุขสำราญจนไม่ใส่ใจงานราชการแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม นักวิชาการสมัยใหม่บางคนมีความเห็นที่แตกต่างออกไปเกี่ยวกับความสามารถของเล่าเสี้ยน เนื่องจากรัชสมัยที่ปกครองยาวนานของเล่าเสี้ยนในจ๊กก๊กนั้นปราศจากการก่อรัฐประหารและการนองเลือดในราชสำนักและเป็นราชสำนักเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นในยุคสมัยสามก๊กที่ยังคงปราศจากการนองเลือด ไม่เพียงเท่านั้น ในพงศาวดารสามก๊ก จูกัดเหลียงได้เขียนบันทึกกล่าวยกย่องสรรเสริญเล่าเสี้ยนว่า มีความฉลาดปราดเปรื่อง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ชื่อของ "อาเต๊า" ยังคงใช้กันทั่วไปในภาษาจีนเพื่ออธิบายถึงผู้ที่ไร้ความสามารถซึ่งจะไม่มีวันประสบความสำเร็จใด ๆ แม้จะได้รับความช่วยเหลือมากมายก็ตาม

ตามที่ตันซิ่ว ผู้เขียนบันทึกจดหมายเหตุสามก๊กได้ตั้งข้อสังเกตว่า ตรงข้ามกับธรรมเนียม จูกัดเหลียงไม่ได้ก่อตั้งสำนักงานประวัติศาสตร์ในราชสำนักของเล่าเสี้ยน และภายหลังจูกัดเหลียงถึงแก่อสัญกรรม ปรากฏว่าเล่าเสี้ยนไม่ได้ทำการรื้อฟื้นตำแหน่งนั้น ดังนั้น เหตุการณ์หลายอย่างในรัชสมัยของพระองค์จึงไม่ได้ถูกบันทึกไว้ ทำให้รายละเอียดเกี่ยวกับรัชสมัยของเล่าเสี้ยนในบันทึกประวัติศาสตร์มีอยู่จำกัด

ประวัติช่วงต้น

เล่าเสี้ยนเป็นบุตรชายคนโตของขุนศึกเล่าปี่ที่เกิดกับกำฮูหยินภรรยา ในปี ค.ศ. 208 โจโฉศัตรูของเล่าปี่ผู้ได้ครองอาณาเขตส่วนใหญ่ทางภาคเหนือของจีนได้นำทัพรุกรานมณฑลเกงจิ๋ว เล่าปี่อพยพหนีลงใต้ ระหว่างนั้นได้ถูกทัพทหารม้าฝีมือดีของโจโฉไล่ตามตีในยุทธการที่สะพานเตียงปันเกี้ยว เล่าปี่จำต้องทิ้งกำฮูหยินและเล่าเสี้ยนไว้เบื้องหลังเพื่อหนีต่อไป จูล่งขุนพลของเล่าปี่ประจำอยู่ด้านหลังเพื่อคุ้มครองครอบครัวของเล่าปี่ จูล่งอุ้มทารกเล่าเสี้ยนไว้ในอ้อมแขนและพาทั้งกำฮูหยินและเล่าเสี้ยนไปยังที่ปลอดภัย (คาดว่ากำฮูหยินน่าจะเสียชีวิตในช่วงเวลาหนึ่งก่อนปี ค.ศ. 209 เพราะเมื่อซุนฮูหยินภรรยาอีกคนของเล่าปี่หย่าร้างกับเล่าปี่ในปี ค.ศ. 211 เล่าเสี้ยนในเวลานั้นอยู่ในการดูแลของซุนฮูหยิน)

เรื่องราวอีกกระแสเกี่ยวกับประวัติช่วงต้นของเล่าเสี้ยนมีบันทึกในเว่ยเลฺว่ (ประวัติศาสตร์ย่อวุยก๊ก) ที่เขียนโดยยฺหวี ฮฺวั่น ระบุว่าเล่าเสี้ยนซึ่งตอนนั้นอายุหลายปีแล้วได้พลัดพรากจากเล่าปี่ระหว่างที่เล่าปี่ถูกโจโฉโจมที่เสียวพ่ายในปี ค.ศ. 200 เล่าเสี้ยนพลัดไปอยู่ที่เมืองฮันต๋งและถูกขายโดยพ่อค้าทาส เมื่อเล่าปี่สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิในปี ค.ศ. 211 เล่าเสี้ยนได้กลับมาอยู่กับบิดาอีกครั้ง แต่เรื่องราวนี้ถูกคัดออกโดยเผย์ ซงจือผู้เขียนอรรถาธิบายประกอบจดหมายสามก๊กโดยคำนึงถึงบันทึกในแหล่งอื่น ๆ

หลังเล่าปี่สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กในปี ค.ศ. 221 เล่าเสี้ยนได้รับการสถาปนาเป็นองค์รัชทายาท ปีถัดมาเล่าปี่ออกจากเมืองหลวงเซงโต๋เพื่อไปรบกับซุนกวนผู้ที่ให้ลิบองไปบุกยึดมณฑลเกงจิ๋วจากเล่าปี่ในปี ค.ศ. 219 เล่าปี่พ่ายแพ้ในยุทธการที่อิเหลงและถอยหนีไปยังเมืองเป๊กเต้ ในที่สุดจึงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 223 ก่อนเสียชีวิตเล่าปี่ได้ฝากฝังเล่าเสี้ยนให้อยู่ในการดูแลของอัครมหาเสนาบดีจูกัดเหลียง เล่าปี่ยังบอกจูกัดเหลียงให้ยึดบัลลังก์มาครองไว้เองถ้าเห็นว่าเล่าเสี้ยนไร้ความสามารถ

การครองราชย์

สมัยจูกัดเหลียงเป็นผู้สำเร็จราชการ

ในขณะที่จูกัดเหลียงมีชีวิตอยู่ พระเจ้าเล่าเสี้ยนทรงปฏิบัติต่อเขาประดุจบิดา ทรงปล่อยให้จูกัดเหลียงบริหารราชการแผ่นดินเอาไว้ทั้งหมด จูกัดเหลียงได้แนะนำให้ข้าราชการที่เชื่อถือได้หลายคน รวมทั้งบิฮุย ตันอุ๋น กุยฮิวจี๋ และเฮียงทง เข้ารับตำแหน่งที่สำคัญ ด้วยคำแนะนำของจูกัดเหลียง พระเจ้าเล่าเสี้ยนได้จับมือเป็นพันธมิตรกับรัฐอู๋ตะวันออก(ง่อก๊ก) ช่วยให้ทั้งสองรัฐสามารถอยู่รอดได้จากการต่อสู้รบกับรัฐวุยก๊ก(วุยก๊ก) ที่ใหญ่กว่ามาก ในช่วงที่จูกัดเหลียงเป็นผู้สำเร็จราชการ รัฐบาลมีประสิทธิภาพอย่างมากและไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำให้รัฐขนาดเล็กอย่างรัฐจ๊กก๊ก สามารถเตรียมพร้อมสำหรับการทัพทางทหารได้

ใน ค.ศ. 223 พระเจ้าเล่าเสี้ยนได้อภิเษกสมรสกับจักรพรรดินีจิงไอ่(เตียวซี) บุตรสาวของเตียวหุย

หลังการสวรรคตของพระเจ้าเล่าปี่ ชนเผ่าลำมัน (หนานหมาน) ทางตอนใต้ได้แยกตัวออกจากการปกครองของรัฐจ๊กก๊ก ใน ค.ศ. 225 จูกัดเหลียงมุ่งลงทางใต้และประสบความสำเร็จทั้งชัยชนะทางทหารและเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวใจ ก็สามารถรวมภาคใต้กลับคืนสู่จักรวรรดิ สำหรับการสำเร็จราชการส่วนที่เหลือของจูกัดเหลียง ชนเผ่าลำมันทางตอนใต้จะเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการทัพต่อต้านรัฐวุยก๊กของรัฐจ๊กก๊ก

เริ่มต้นใน ค.ศ. 227 จูกัดเหลียงเปิดฉากการบุกขึ้นเหนือห้าครั้งเพื่อโจมตีรัฐวุยก๊ก แต่ทั้งหมดยกเว้นเพียงอย่างเดียวคือความล้มเหลวทางทหาร(แม้ว่าจะไม่ใช่ความพินาศย่อยยับทางทหาร) โดยกองทัพของเขาได้ประสบเสบียงอาหารหมดลงก่อนที่พวกเขาจะสามารถสร้างความเสียหายอย่างมีนัยสำคับกับรัฐวุยก๊ก ดังนั้นจึงถูกบีบบังคับให้ล่าถอย ในช่วงหนึ่งของการทัพของจูกัดเหลียงได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่แท้จริงเพียงครั้งเดียวในช่วงที่จูกัดเหลียงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ใน ค.ศ. 231 เนื่องจากไม่สามารถจัดส่งเสบียงอาหารได้เพียงพอ ลิเงียม ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับจูกัดเหลียง ปลอมแปลงพระราชโองการของพระเจ้าเล่าเสี้ยนรับสั่งให้จูกัดเหลียงถอยทัพกลับเสฉวน เมื่อจูกัดเหลียงจับพิรุธได้ เขาได้ถวายแนะนำให้ลิเงียมออกจากตำแหน่งและถูกกักบริเวณภายในบ้าน และพระเจ้าเล่าเสี้ยนทรงยอมทำตามคำแนะนำนั้น

ใน ค.ศ. 234 ในขณะที่จูกัดเหลียงได้ยกทัพโจมตีรัฐวุยก๊กเป็นครั้งสุดท้าย เขาได้ล้มป่วยหนัก เมื่อทรงทราบว่าจูกัดเหลียงล้มป่วย พระเจ้าเล่าเสี้ยนได้ส่งลิฮก(李福) ไปยังแนวหน้าเพื่อเยี่ยมดูอาการของจูกัดเหลียงและสอบถามเกี่ยวกับเรื่องสำคัญของแผ่นดินว่า หากจูกัดเหลียงสิ้นบุญแล้วจะให้ใครมาสืบทอดตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่อล่ะ? จูกัดเหลียงได้แนะนำให้เจียวอ้วนสืบทอดต่อจากเขา เมื่อเจียวอ้วนสิ้นแล้วก็ให้บิฮุยสืบทอดแทน ลิฮกได้ถามต่อว่า หากบิฮุยสิ้นแล้วจะให้ใครมาแทนต่อ จูกัดเหลียงไม่ได้ตอบแต่อย่างใด ภายหลังจากนั้นไม่นานจูกัดเหลียงถึงแก่อสัญกรรม พระเจ้าเล่าเสี้ยนทรงทำตามคำสั่งเสียของจูกัดเหลียง และแต่งตั้งเจียวอ้วนเป็นผู้สำเร็จราชการคนใหม่แทน

สมัยเจียวอ้วนเป็นผู้สำเร็จราชการ

เจียนอ้วนเป็นนักบริหารปกครองที่มีความสามารถ และเขายังคงดำเนินนโยบายภายในประเทศของจูกัดเหลียง ทำให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพอย่างมาก นอกจากนี้เขายังเป็นที่รู้จักในเรื่องความอดทนต่อความเห็นไม่ลงรอยกันและความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่มีความสามารถทางด้านการทหารมากนัก อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้าเขาได้ละทิ้งนโยบายต่างประเทศที่ก้าวร้าวต่อรัฐวุยก๊กของจูกัดเหลียง และใน ค.ศ. 241 ได้ถอนทหารส่วนใหญ่ออกจากฮั่นตงไปยังอำเภอฟู่ (涪縣; เหมียนหยาง, มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) จากจุดนั้น รัฐจ๊กก๊กมักจะอยู่ในสถานะการป้องกันและไม่แสดงท่าทีเป็นภัยคุกคามต่อรัฐวุยก๊กอีกต่อไป การป้องกันของฉู่ฮั่นถูกตีความโดยเหล่าข้าราชการรัฐอู๋ตะวันออกหลายคนว่า รัฐจ๊กก๊กได้ทอดทิ้งพันธมิตรและสงบศึกกับรัฐวุยก๊ก แต่ซุนกวน พระจักรพรรดิแห่งอู๋ ทรงพระราชวินิจฉัยอย่างถูกต้องว่าเป็นเพียงสัญญาณความอ่อนแอ ไม่ไช่ทอดทิ้งพันธมิตร

ใน ค.ศ. 237 จักรพรรดินีจิงไอ่ได้สิ้นพระชนม์ ในปีนั้น พระเจ้าเล่าเสี้ยนทรงรับพระขนิษฐาของพระนางเป็นพระอัครมเหสี และใน พ.ศ. 238 ทรงแต่งตั้งพระนางให้เป็นจักรพรรดินี ตำแหน่งของพระนางยังคงเหมือนกับพระเชษฐภคินีของพระนาง นามว่า จักรพรรดินีจาง(เตียวซีคนที่ 2)

ใน ค.ศ. 243 เจียวอ้วนได้ล้มป่วยและโอนอำนาจส่วนใหญ่ให้กับบิฮุย และตันอุ๋น ผู้ช่วยของเขา ในค.ศ. 224 เมื่อโจซอง ผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐวุยก๊กได้ยกทัพเข้าโจมตีฮั่นตง บิฮุยได้นำกองทัพต้านทานกองทัพของโจซองและทำให้ฝ่ายเฉาเว่ย์พ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในยุทธการที่เทือกเขาซิงซิ อย่างไรก็ตาม เจียวอ้วนยังคงมีอิทธิพลจนกระทั่งเขาถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 245 ไม่นานหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมชองเจียวอ้วน ตันอุ๋นก็เสียชีวิตเช่นกัน ปล่อยให้ขันทีนามว่า ฮุยโฮ ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าเล่าเสี้ยน ซึ่งอำนาจของตันอุ๋นได้ถูกควบคุมเอาไว้ทำให้อำนาจของเขาเสื่อมถอยลง ฮุยโฮถูกมองว่ากระทำฉ้อราษฏร์บังหลวงและฉ้อฉลคดโกงภายในประเทศ และประสิทธิภาพของรัฐบาลที่ประสบความสำเร็จในช่วงการปกครองของจูกัดเหลียงและเจียวอ้วนได้เริ่มเสื่อมถอยลง

สมัยบิฮุยเป็นผู้สำเร็จราชการ

ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของเจียวอ้วนและตันอุ๋น พระเจ้าเล่าเสี้ยนได้แต่งตั้งให้เกียงอุยเป็นผู้ช่วยของบิฮุย แต่ทั้งคู่ต่างเกี่ยวข้องส่วนใหญ่ในด้านการทหารเท่านั้น ในขณะที่พระเจ้าเล่าเสี้ยนทรงค่อย ๆ กล้าแสดงออกมากขึ้นในเรื่องที่ไม่ใช่การทหาร ในช่วงเวลานี้เองที่พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในการเสด็จประพาสชนบทมากขึ้นและใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ทำให้ท้องพระคลังเกิดร่อยหรอ แม้ว่าจะไม่ทำให้ประชาราษฎร์เดือดร้อนก็ตาม เกียงอุยได้มุ่งความสนใจที่จะนำนโยบายของจูกัดเหลียงในการโจมตีรัฐวุยก๊กอย่างอุกอาจกลับมา ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่บิฮุยเห็นด้วยเพียงแค่บางส่วน - ในขณะที่เขาได้อนุญาตให้เกียงอุยเข้าโจมตีชายแดนรัฐวุยก๊ก แต่ไม่เคยให้กองกำลังทหารจำนวนมากแก่เขา โดยให้เหตุผลว่า รัฐจ๊กก๊กนั้นไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะเผชิญหน้าทางทหารครั้งใหญ่กับรัฐวุยก๊ก

ใน ค.ศ. 253 บิฮุยถูกลอบสังหารโดยขุนพลนามว่า กวอเป่น(郭循) อดีตฝ่ายขุนพลฝ่ายเว่ย์ที่ถูกบีบบังคับให้ยอมสวามิภักดิ์ต่อรัฐจ๊กก๊กแต่ยังคงจงรักภักดีต่อรัฐวุยก๊กอย่างลับ ๆ การเสียชีวิตของบิฮุยทำให้เกียงอุยได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โดยพฤตินัย แต่ด้วยภาวะสุญญากาศทางอำนาจในภายในบ้านเมือง ในขณะที่เกียงอุยยังคงอยู่ที่ชายแดนและทำสงครามต่อต้านรัฐวุยก๊กต่อไป อิทธิพลของฮุยโฮได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก

สมัยเกียงอุยเป็นกึ่งผู้สำเร็จราชการ

ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของบิฮุย เกียงอุยได้เป็นผู้บัญชาการทหารคุมกองทัพฉู่ฮั่นและเริ่มการทัพโจมตีรัฐวุยก๊กหลายครั้ง แต่ในขณะที่พวกเขาสร้างปัญหาให้กับสุมาสู และสุมาเจียว ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการของรัฐวุยก๊ก การโจมตีส่วนใหญ่ไม่ได้สร้างความเสียหายอย่างแท้จริงต่อรัฐวุยก๊ก ในขณะที่การทัพของเกียงอุยได้ถูกรบกวนด้วยปัญหาประการหนึ่งที่จูกัดเหลียงได้ประสบมา นั้นคือการขาดแคลนเสบียงอาหารที่เพียงพอ และส่วนให่ต้องยุติลงหลังจากนั้นไม่นาน การทัพเหล่านี้กลับส่งผลเสียต่อรัฐจ๊กก๊ก ซึ่งรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพอีกต่อไปในช่วงการปกครองของจูกัดเหลียงและเจียวอ้วน ดังนั้นจึงไม่สามารถรับมือกับกับการใช้ทรัพยากรที่การทัพของเกียงอุยนั้นมีอยู่

ใน ค.ศ. 253 เกียงอุยได้บุกเข้าโจมตีรัฐวุยก๊กร่วมกับจูกัดเก๊ก ผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐอู๋ตะวันออก แต่จนในที่สุดก็ถูกบีบบังคับให้ล่าถอยกลับภายหลังจากกองทัพของเขาเกิดหมดเสบียงอาหาร ทำให้สูมาสูพุ่งความสนใจในการรับมือการโจมตีของจูกัดเก๊ก ทำให้กองทัพอู๋พ่ายแพ่อย่างย่อยยับ ด้วยความรู้สึกไม่พอใจอย่างมากในรัฐอู๋ตะวันออกทำให้จูกัดเก๊กถูกลอบสังหารในที่สุด นี่เป็นครั้งสุดท้ายของการโจมตีประสานร่วมกัยโดยรัฐฉู่และรัฐอู๋ต่อรัฐวุยก๊ก ในช่วงระยะเวลาของการเป็นพันธมิตรระหว่างฉู่และอู๋

ใน ค.ศ. 255 หนึ่งในการทัพของเกียงอุย เขาสามารถเอาชนะกองทัพเว่ย์จนพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในยุทธการที่เต๊กโตเสีย ซึ่งเกือบจะเข้ายึดเต๊กโตเเสียซึ่งเป็นเมืองชายแดนที่สำคัญของรัฐวุยก๊กมาได้ แต่ใน ค.ศ. 256 ในขณะที่เขาได้พยายามเผชิญหน้ากับกองทัพเวย์อีกครั้ง เขากลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับเตงงายแทน และนี่เป็นความสูญเสียอย่างร้ายแรงซึ่งทำให้ความนิยมของราษฎร์ที่มีต่อเกียงอุยนั้นอ่อนแอลง ตอนนี้ข้าราชการหลายคนได้ซักถามแผนการยุทธศาสตร์ของเกียงอุยอย่างเปิดเผย แต่พระเจ้าเล่าเสี้ยนทรงไม่ได้ดำเนินแต่อย่างใดเพื่อยับยั้งเกียงอุย นอกจากนี้ ภายใต้คำแนะนำของเกียงอุย พระเจ้าเล่าเสี้ยนทรงอนุมัติแผนการในการถอนกำลังทหารหลักออกจากเมืองชายแดนสำคัญเพื่อพยายามชักจูงล่อให้รัฐวุยก๊กเข้าโจมตี แผนยุทธศาสตร์ที่จะถูกใช้ในอีกหลายปีต่อมา ใน ค.ศ. 263 เมื่อรัฐวุยก๊กเข้าโจมตี แต่ได้พิสูจน์แล้วว่าประสบความล้มเหลว

ใน ค.ศ. 261 อำนาจของฮุยโฮได้แสดงประจักษ์อย่างยิ่งใหญ่ ท่ามกลางบรรดาข้าราการภายในประเทศที่สำคัญ มีเพียงตังสิ้นและจูกัดเจี๋ยม บุตรชายของจูกัดเหลียงเท่านั้นที่ยังคงรักษาตำแหน่งของตนไว้ได้โดยไม่ได้ประจบสอพลอกับฮุยโฮ ใน ค.ศ. 262 ฮุยโฮพยายามหาทางที่จะกำจัดเกียงอุยและหมายจะให้สหายของตนนามว่า เงียมอู (閻宇) เข้ามาแทนที่ตำแหน่งแม่ทัพของเขา เมื่อเกียงอุยได้รับรู้ถึงแผนการนี้เข้า ได้กราบทูลแนะนำให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนประหารชีวิตฮุยโฮ แต่พระองค์ทรงปฏิเสธ โดยกล่าวว่าขันทีเป็นเพียงคนรับใช้ที่คอยทำธุระ ด้วยความกลัวที่จะถูกแก้แค้น เกียงอุยจึงออกจากเมืองเฉิงตู(เชงโต๋) ไปประจำการรักษาการณ์ที่อำเภอท่าจง(沓中; ตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอจูชู่, มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ในเมืองหลงเส

ตามที่เอกอัครราชทูตของรัฐอู๋นามว่า Xue Xu ที่ได้มาเยือนรัฐฉู่ใน ค.ศ. 261 ตามพระราชโอการของพระจักรพรรดิแห่งรัฐอู๋นามว่า พระเจ้าซุนฮิว ได้รายงานถึงสภาพที่รัฐจ๊กก๊กเป็นอยู่โดยกล่าวว่า:

พระจักรพรรดิที่ไร้ปรีชาสามารถและไม่รู้ถึงความผิดพลาดของพระองค์เอง เหล่าข้าราชบริพารต่างเพียงแค่พยายามปล่อยปะละเลยโดยไม่สร้างปัญหาให้กับตนเอง เมื่อข้าพเจ้าไปเยี่ยมเยือนพวกเขา ข้าพเจ้าไม่ได้ยินคำพูดที่เปิดเผยอย่างใจจริง และเมื่อข้าพเจ้าไปเยือนชนบท ผู้คนดูหิวโหย ข้าพเจ้าเคยได้ยินนิทานเรื่องนกนางแอ่นและนกกระจอกทำรังบนยอดคฤหาสน์และรู้สึกพอใจเพราะเชื่อว่าเป็นที่ปลอดภัยที่สุด โดยไม่รู้ว่ากองฟางและคานค้ำได้ถูกไฟไหม้และหายนะนั้นกำลังจะมาถึง นี่อาจจะเป็นสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบ

จ๊กก๊กล่มสลาย

ใน ค.ศ. 262 ด้วยความรู้สึกรำคาญจากการถูกเกียงอุยโจมตีซ้ำแล้วซ้ำเล่า สุมาเจียว ผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐวุยก๊กได้วางแผนการทัพครั้งใหญ่เพื่อกำจัดภัยคุกคามของรัฐจ๊กก๊กหมดสิ้นไปและสำหรับทั้งหมด เมื่อได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับแผนการนี้เข้า เกียงอุยได้ส่งคำร้องขอพระราชทานไปยังพระเจ้าเล่าเสี้ยน โดยเตือนพระองค์เกี่ยวกับการรวบรวมกองทัพเว่ย์ภายใต้การนำของขุนพลนามว่า เตงงาย จูกัดสู และจงโฮยเข้าประชิดชายแดน อย่างไรก็ตาม ฮุยโฮได้หว่านล้อมพระเจ้าเล่าเสี้ยนด้วยการทำนายว่าจะไม่ดำเนินการใด ๆ กับคำร้องขอพระราชทานของเกียงอุย สำหรับการเตรียมทำสงคราม

ใน ค.ศ. สุมาเจียวได้เปิดฉากการโจมตี ซึ่งนำโดยเตงงาย จูกัดสู และจงโฮย พระเจ้าเล่าเสี้ยนทรงทำตามแผนการก่อนหน้าของเกียงอุยและสั่งให้ทหารชายแดนถอนกำลังและเตรียมดักซุ่มกองทัพเว่ย์แทนที่จะเผชิญหน้าโดยตรง อย่างไรก็ตาม แผนการดังกล่าวมีจุดบกพร่องที่ร้ายแรง พวกเขาต่างคิดว่ากองทัพเว่ย์จะเข้าปิดล้อมเมืองชายแดน ซึ่งเตงงายและจงโฮยกลับเมินเฉย และพวกเขาเข้ารุกคืบไปยังช่องเขาหยางอัน (陽安關; ฮั่นจง, มณฑลส่านซีในปัจจุบัน) แทน เกียงอุยสามารถพบเจอกองกำลังของพวกเขาและได้ขับไล่พวกเขาในตอนแรก แต่เตงงายได้นำกองทัพของเขาเดินทางผ่านเส้นทางช่องเขาที่ทุรกันดารและเข้าลึกสู่ดินแดนฉู่ฮั่น จากนั้นเขาได้เปิดฉากการโจมตีแบบไม่ทันตั้งตัวที่เจียงหยู(江油; เหมียนหยาง, มณฑลส่านซีในปัจจุบัน) ภายหลังจากเอาชนะจูกัดเจี๋ยมจากที่นั้นแล้ว เดงงายแทบไม่มีกองกำลังทหารฉู่ฮั่นหลงเหลือที่มาคอยขวางกั้นระหว่างกองทัพของเขากับเฉิงตู เมืองหลวงของรัฐจ๊กก๊ก เมื่อเผชิญหน้ากับโอกาสที่จะปกป้องเฉิงตูจากกองกำลังทหารของเตงงายโดยไร้การป้องกัน พระเจ้าเล่าเสี้ยนทรงทำตามคำแนะนำของเจียวจิ๋ว ราชเลขาธิการ และยอมสวามิภักดิ์ทันที่ ในขณะที่หลายคนต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงการยอมสวามิภักดิ์ แต่นักประวัติศาสตร์นามว่า Wang Yin (王隱) ในพงศาวดารของรัฐฉู่(蜀記) ได้อธิบายว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นนโยบายที่ให้ความสำคัญของสวัสดิภาพของราษฏร์

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 264 จงโฮยได้พยายามที่จะทำการยึดอำนาจ ซึ่งเกียงอุยที่ได้เข้ามายอมสวามิภักดิ์ต่อจงโฮย ได้พยายามที่จะใช้ประโยชน์ในการกอบกู้รัฐจ๊กก๊ก เขาแนะนำให้จงโฮยใส่ความเท็จต่อเตงงายว่าเป็นกบฎและจับกุมเขา และพร้อมด้วยกองกำลังทหารที่รวมตัวกันของเขา ก่อการกบฎต่อสุมาเจียว จงโฮยได้ทำตามเช่นนั้น และเกียงอุยได้วางแผนที่จะสังหารจงโฮยและผู้ติดตามของเขาต่อไป จากนั้นก็จะประกาศเอกราชของรัฐฉู่อีกครั้ง ภายใต้พระจักรพรรดิเล่าเสี้ยน และในความเป็นจริง มีสารไปถึงพระเจ้าเล่าเสี้ยนเพื่อแจ้งให้พระองค์ทราบถึงแผนการเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม กองกำลังทหารของจงโฮยได้ลุกขึ้นมาต่อต้าน และทั้งเกียงอุยและจงโฮยได้ถูกสังหารในสนามรบ พระเจ้าเล่าเสี้ยนก็ไม่ได้รับอันตรายจากเหตุการณ์วุ่นวาย แม้ว่าเล่ายอย องค์รัชทายาทของพระองค์จะถูกสังหารท่ามกลางภาวะสันสนวุ่นวายนี้ก็ตาม

ประวัติหลังการล่มสลายของจ๊กก๊ก

ในต้นปี ค.ศ. 264 พระเจ้าเล่าเสี้ยนและจักรพรรดินีจางและพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหมดได้ถูกย้ายไปยังลั่วหยาง เมืองหลวงแห่งรัฐวุยก๊ก ในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 264 พระองค์ได้รับพระราชทานที่ดินศักดินาในฐานะขุนนางนามว่า อันเล่อกง(安樂公) ในขณะที่พระราชโอรสและพระราชนัดดาของพระองค์กลายเป็นขุนนาง การปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่า èrwáng-sānkè [simple; zh] (二王三恪).

จดหมายเหตุฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงของราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์จิ้นที่ถูกเขียนขึ้นโดย Xi Zuochi ได้บันทึกเหตุการณ์ที่จะกลายเป็นเรื่องราวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดที่เกี้ยวข้องกับเล่าเสี้ยน: วันหนึ่ง สุมาเจียว ผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐวุยก๊กได้เชื้อเชิญเล่าเสี้ยนและผู้ติดตามมาเข้าร่วมงานเลี้ยงรื่นเริง ในขณะที่สุมาเจียวได้จัดให้เล่นดนตรีและแสดงระบำเสฉวน เหล่าอดีตข้าราชการแห่งรัฐฉู่ต่างพากันโศกเศร้า แต่เล่าเสี้ยนหาได้หวั่นไหวไม่อย่างชัดเจน สุมาเจียวคิดลองใจเลยแสร้งถามไปว่า "อันเล่อกง คิดถึงเสฉวนไหม" เล่าเสี้ยน ตอบว่า

"อยู่ที่นี่สนุกดี ไม่คิดถึงเสฉวนเลย" (此間樂,不思蜀)

คำตอบของเล่าเสี้ยนนั้นกลายมาเป็นที่มาของสำนวนจีนว่า "สุขจนลืมจ๊ก" (乐不思蜀 , lè bù sī shǔ) ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีความสุขจนลืมรากเหง้าของตนเอง[3]

ตามที่จดหมายเหตุได้เขียนไว้อีกอย่างว่า ขับเจ้ง ขุนนางของจ๊กก๊กที่อยู่ที่นั่นด้วยจึงกระซิบบอกว่า "เขาถามพระองค์เพื่อลองใจ ถ้าพระองค์ตอบว่า ศพของเสด็จพ่ออยู่ที่เสฉวน คิดถึงเสฉวนทุกวัน เขาก็จะปล่อยเรากลับไปเสฉวน" สุมาเจียวได้ยินดังนั้น จึงถามย้ำอีกครั้งว่า "คิดถึงเสฉวนไหม" เล่าเสี้ยนตอบอย่างที่ขับเจ้งสอน พร้อมกับร้องไห้พร้อมกับขุนนางของตนทั้งหมด สุมาเจียวจึงถามว่า "ทำไม ท่านถึงตอบเหมือนที่ขับเจ้งบอกเลยล่ะ" เล่าเสี้ยนก็ตอบไปอย่างซื่อว่า "ใช่ ขับเจ้งบอกข้าพเจ้าเอง" สุมาเจียวและเหล่าบรรดาขุนนางฝ่ายวุยจึงหัวเราะเยาะและวางใจได้ว่า เล่าเสี้ยนจะไม่คิดทรยศแน่นอน

นักประวัติศาสตร์บางคนได้ทั้งข้อสังเกตว่า แท้จริงนั้นการตอบของเล่าเสี้ยนนั้นเป็นการตอบอย่างฉลาดหลักแหลม โดยแสดงให้เห็นถึงความไม่ทะเยอทะยานเพื่อให้สุมาเจียวเชื่อ

เล่าเสี้ยนสวรรคตใน ค.ศ. 271 ในลั่วหยาง และได้รับพระนามหลังมรณกรรมนามว่า "อันเล่อซือกง" (安樂思公; "อันเล่อกงผู้มีความคิดลึกซึ้ง") พื้นที่ศักดินาของพระองค์ได้ถูกครอบครองมาหลายชั่วอายุคนในยุคราชวงศ์จิ้น รัฐที่สืบทอดต่อจากรัฐวุยก๊ก ก่อนที่จะมลายหายสิ้นไปในเหตุการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้นในช่วงยุคห้าชนเผ่า[4] หลิว หยวน ผู้ก่อตั้งรัฐฮั่นจ้าว หนึ่งในรัฐของสิบหกรัฐ ได้กล่าวอ้างว่า เป็นผู้สืบทอดราชวงศ์ฮั่นโดยชอบธรรม เขาได้ถวายพระนามแก่เล่าเสี้ยนว่า "จักรพรรดิเซี่ยวหวย"(孝懷皇帝; "พระจักรพรรดิผู้ทรงกตัญญูและเมตตากรุณา").

การวิเคราะห์ถึงเล่าเสี้ยน

อ้างอิง

ก่อนหน้าเล่าเสี้ยนถัดไป
จักรพรรดิฮั่นเจาเลี่ยตี้
(พระเจ้าเล่าปี่)
จักรพรรดิจีน
จ๊กก๊ก

(พ.ศ. 766 - พ.ศ. 806)
จ๊กก๊กล่มสลาย
โจฮวน
วุยก๊ก
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง