เอจออฟเอ็มไพร์ส

เอจออฟเอ็มไพร์ส (อังกฤษ: Age of Empires) เป็นชุดวิดีโอเกมวางแผนเรียลไทม์อิงประวัติศาสตร์ เดิมมีเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์เป็นผู้พัฒนา และเอ็กซ์บ็อกซ์เกมสตูดิโอส์เป็นผู้จัดจำหน่าย เกมแรกของชุด คือ เอจออฟเอ็มไพร์ส ซึ่งวางจำหน่ายในปี 2540 มีการออกเกมเจ็ดเกม และสปินออฟสามเกม

เอจออฟเอ็มไพร์ส
Age of Empires
ตราซีรีส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส
ผู้พัฒนา
  • เอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์
  • บิกฮิวจ์เกมส์
  • โรบอตเอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • เรลิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • ฮิดเดนพาธเอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • ฟะกอทึนเอ็มไพร์ส
ผู้จัดจำหน่ายเอ็กซ์บ็อกซ์เกมสตูดิโอส์
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (ครั้งแรก)
แนวเกมวางแผนเรียลไทม์
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, หลายผู้เล่น

เอจออฟเอ็มไพร์ส เน้นเหตุการณ์ในทวีปยุโรป แอฟริกาและเอเชีย กินเวลาตั้งแต่ยุคหินถึงยุคเหล็ก เกมภาคเสริมสำรวจการก่อตั้งและการขยายจักรวรรดิโรมัน ภาคต่อ เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เอจออฟคิงส์ มีฉากท้องเรื่องในยุคกลาง ส่วนภาคเสริมเน้นการพิชิตเม็กซิโกของสเปนบางส่วน เกมต่อมาสามเกม เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 สำรวจสมัยใหม่ตอนต้น เมื่อยุโรปกำลังทำให้ทวีปอเมริกาเป็นอาณานิคม และหลายประเทศในทวีปเอเชียกำลังถดถอย เกมล่าสุด เอจออฟเอ็มไพร์สออนไลน์ ใช้แนวทางใหม่เป็นเกมออนไลน์ไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยใช้ เกมฟอร์วินโดวส์ไลฟ์ เกมสปินออฟ เอจออฟมีโธโลจี มีฉากท้องเรื่องอยู่ในสมัยเดียวกับเอจออฟเอ็มไพร์ส แต่เน้นส่วนปรัมปราวิทยาของเทพปกรณัมกรีก อียิปต์และนอร์ส เกมหลักที่สี่ในชุด เอจออฟเอ็มไพร์ส 4 อยู่ระหว่างการพัฒนา

ชุด เอจออฟเอ็มไพร์ส ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ โดยขายได้กว่า 20 ล้านก๊อปปี นักวิจารณ์ยกให้ความสำเร็จบางส่วนมาจากแก่นประวัติศาสตร์และการเล่นอย่างยุติธรรม ผู้เล่นปัญญาประดิษฐ์มีข้อได้เปรียบน้อยกว่าในเกมคู่แข่งหลายเกม

เกม

ลำดับเวลาปีที่วางขาย
TBAเอจออฟเอ็มไพร์ส 4

เกมในชุดเน้นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์หลายสมัย เอจออฟเอ็มไพร์ส ครอบคลุมเหตุการณ์ระหว่างยุคหินและยุคคลาสสิกในทวีปยุโรปและเอเชีย ภาคเสริม ไรซ์ออฟโรม ติดตามการก่อตั้งและความรุ่งเรืองของจักรวรรดิโรมัน ดิเอจออฟคิงส์ และสปินออฟนินเทนโด ดีเอสติดตามทวีปยุโรปและเอเชียตลอดยุคกลาง เดอะคองคะเรอส์ ภาคเสริมของ เอจออฟคิงส์ มีฉากท้องเรื่องในสมัยเดียวกัน แต่รวมฉากเกี่ยวกับการพิชิตเม็กซิโกของสเปน เอลซิด และอัตติลา เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 และ เดอะวอร์ชีฟส์ เกิดขึ้นระหว่างการทำให้ทวีปอเมริกาเป็นอาณานิคมของยุโรป ภาคเสริมที่สอง ดิเอเชียนไดแนสตีส์ ติดตามความเจริญของทวีปเอเชียในสมัยเดียวกัน เอจออฟเอ็มไพร์สออนไลน์ เน้นอารยธรรมกรีก และอียิปต์ สปินออฟของซีรีส์ เอจออฟมีโธโลจี และภาคเสริม เดอะไททันส์ มีฉากท้องเรื่องระหว่างยุคสำริด แต่เน้นไปยังปรัมปราวิทยาเป็นแก่น แทนที่เน้นประวัติศาสตร์

ชุดหลัก

เอจออฟเอ็มไพร์ส

เอจออฟเอ็มไพร์ส วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2540[1] เป็นเกมแรกในชุด เช่นเดียวกับเป็นเกมใหญ่เกมแรกจากเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์[2] เป็นเกมวางแผนเรียลไทม์อิงประวัติศาสตร์เกมแรก ๆ ที่มีการสร้าง[3] โดยใช้เกมเอนจินจีนี เกมสปอตอธิบายว่าเกมนี้เป็นลูกผสมของ ซิวิไลเซชัน (Civilization) และ วอร์คราฟต์ (Warcraft)[4] เกมให้ผู้เล่นเลือกเล่น 12 อารยธรรมเพื่อพัฒนาจากยุคหินสู่ยุคเหล็ก ภาคเสริม ไรซ์ออฟโรม (Rise of Rome) ซึ่งไมโครซอฟท์วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2541 ริเริ่มคุณลักษณะใหม่ และอารยธรรมใหม่ 4 แห่ง รวมทั้งโรมัน แม้ทั้งสองเกมจะมีซอฟต์แวร์บั๊กหลายอย่าง แต่หลายแพทช์ก็แก้ไขปัญหาได้หลายประการ[5][6]

เอจออฟเอ็มไพร์ส โดยทั่วไปได้รับการตอบรับดี แม้มีบทปฏิทรรศน์เชิงลบอย่างสูงอยู่บ้าง เกมสปอตวินจารณ์การออกแบบที่ชวนสับสน ส่วน คอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกม ยกย่องเกมว่ามีจุดแข็งทั้งในภาวะเล่นคนเดียวและหลายผู้เล่น[7] อะคาเดมีออฟอินเตอร์แอ็กทีฟอาตส์แอนด์ไซเอินซ์ยกให้ เอจออฟเอ็มไพร์ส เป็น "เกมวางแผนคอมพิวเตอร์แห่งปี" 2541[8] เกมยังอยู่ในอันดับต้น ๆ ของชาร์ตขายดีอีกหลายปี โดยขายได้กว่าสามล้านหน่วยเมื่อถึงปี 2543[9] ไรซ์ออฟโรม ขายได้หนึ่งล้านยูนิตในปี 2543[9] และได้คะแนนสะสม 80% จากเกมแรงกิงส์[10]

ในเดือนมิถุนายน 2560 แอดัม อิสกรีน ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของไมโครซอฟท์สตูดิโอส์ประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์ส: เดฟินิทีฟเอดิชัน ที่อิเล็กทรอนิกส์เอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป 2017 เกมจะมีกราฟิกส์ที่ได้รับการยกเครื่องที่รองรับความละเอียด 4เค ซาวด์แทร็กที่ทำสำเนาใหม่และการปรับปรุงการเล่นเกมอื่น ๆ และมีแผนวางจำหน่ายในวันที่ 19 ตุลาคม 2560 แต่เลื่อนเป็นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เมื่อมีการวางจำหน่ายในไมโครซอฟท์สโตร์[11][12][13] วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าเดฟินิทีฟเอดิชันจะมีการวางขายในสตีมในอนาคต ร่วมกับเดฟินิทีฟเอดิชันของทั้งเอจออฟเอ็มไพร์ส 2 และเอจออฟเอ็มไพร์ส 3[14][15]

เอจออฟเอ็มไพร์ส 2

เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ วางจำหน่ายวันที่ 30 กันยายน 2542 โดยใช้เกมเอนจินจีนี และมีเกมการเล่นคล้ายกับเกมก่อนหน้า[16] ดิเอจออฟคิงส์ มีฉากท้องเรื่องในยุคกลางตั้งแต่ยุคมืดจนถึงยุคจักรวรรดิ เปิดให้ผู้เล่นเลือกเล่นอารยธรรมหนึ่งจาก 13 อารยธรรมจากทวีปยุโรป เอเชียและตะวันออกกลาง[17]

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2543 ไมโครซอฟท์วางจำหน่ายภาคเสริม เดอะคองคะเรอส์ เพิ่มยูนิตใหม่และห้าอารยธรรมใหม่ ซึ่งรวมอารยธรรมเมโสอเมริกาสองอารยธรรม ได้แก่ มายาและแอซเท็ก[18] ดิเอจออฟคิงส์ ประสบความสำเร็จในเชิงคำวิจารณ์มากกว่าสองเกมแรก โดยมีคะแนนเกมแรงกิงส์และเมตาคริติก 92%[19][20] ไมโครซอฟท์ส่งมอบเกมกว่าสองล้านก๊อปปีให้ผู้ค้าปลีก และเกมได้รับรางวัลและเกียรติยศมากมาย[21] นักวิจารณ์เห็นตรงกันว่า เดอะคองคะเรอส์ ต่อเติมจาก ดิเอจออฟคิงส์ ได้ดี แม้ยังมีการยกประเด็นเกมการเล่นที่ไม่สมดุล[22] ดิเอจออฟคิงส์ และ เดอะคองคะเรอส์ คว้ารางวัล "เกมวางแผนคอมพิวเตอร์แห่งปี" 2543 และ 2544 จากอะคาเดมีออฟอินเตอร์แอ็กทีฟอาตส์แอนด์ไซเอินซ์ ตามลำดับ[23][24]

ในเดือนเมษายน 2556 เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เอชดีเอดิชัน วางจำหน่ายบนแพลตฟอร์มจำหน่ายดิจิทัลสตีมสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เอชดีเอดิชันยังรวมทั้งเกมดั้งเดิมและภาคเสริม เดอะคองคะเรอส์ ตลอดจนกราฟิกส์ที่มีการปรับสำหรับหน่วยแสดงผลความละเอียดสูง[25] ในเดือนพฤศจิกายน 2556 ไมโครซอฟท์วางจำหน่ายภาคเสริมที่สองชื่อ เดอะฟะกอทึน เฉพาะสำหรับ เอชดีเอดิชัน[26] ภาคเสริมที่สามชื่อ ดิแอฟริกันคิงดัมส์ มีการวางจไหน่ายในเดือนพฤศจิกายน 2558 เฉพาะสำหรับ เอชดีเอดิชัน เช่นกัน[27] ภาคเสริมที่สี่ชื่อ ไรซ์ออฟเดอะราจาส์ มีการวางจำหน่ายในวันที่ 19 ธันวาคม 2559[28] เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ไมโครซอฟท์ประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เดฟินิทีฟเอดิชัน[29]

ในเดือนมิถุนายน 2561 แอดัม อิสกรีน ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แฟรนไชส์สำหรับเอจออฟเอ็มไพร์ส แบ่งปันสารสนเทศเพิ่มเพิมเกี่ยวกับ เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เดฟินิทีฟเอดิชัน ที่อิเล็กทรอนิกส์เอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป 2019 เขายืนยันว่า เดฟินิทีฟเอดิชัน อยู่ระหว่างพัฒนาโดยฟะกอทึนเอ็มไพร์ส, แทนทาลัสมีเดียและวิกเค็ดวิชซอฟต์แวร์ เขาประกาศว่าเกมจะใช้กราฟิกส์ 4เคใหม่ การรองรับเอ็กซ์บ็อกซ์ ไลฟ์สำหรับหลายผู้เล่น ความสำเร็จ (achievement) เฉพาะเกม อารยธรรมใหม่สี่อารยธรรม แคมเปญ (campaign) ใหม่สามแคมเปญ ภาวะสังเกตใหม่และคุณลักษณะทัวร์นาเมนต์ และการปรับปรุงเพื่อเพิ่มคุณภาพการเล่นเพิ่มเติม ขณะนี้เวลาวางจำหน่ายตามแถลงคือฤดูใบไม้ร่วงปี 2562[30][31][32] เบิร์ด บีกแมน ผู้ร่วมก่อตั้งฟะกอทึนเอ็มไพร์ส ยืนยันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายนว่าจะไม่ถอด เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เอชดีเอดิชัน ออกจากการวางขายหลังวางจำหน่าย เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เดฟินิทีฟเอดิชัน[33]

เอจออฟเอ็มไพร์ส 3

เอจออฟเอ็มไพร์ส วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548 สร้างอยู่บนรุ่นปรับปรุงของเกมเอนจิน เอจออฟมีโธโลจี ปรับปรุงโดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดได้แก่เอนจินกราฟิกส์ที่มีการปรับและการรวมเอนจินฮาว็อกฟิสิกส์มิดเดิลแวร์[34][35] เกมดังกล่าวมีฉากท้องเรื่องอยู่ในยุคระหว่างปี 1964 ถึง 2393 และผู้เล่นสามารถเลือกเล่นเป็นชาติหนึ่งในแปดชาติยุโรป เกมนี้ริเริ่มคุณลักษณะใหม่จำนวนมาก เช่น นครเหย้า เอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์อธิบายว่าเป็น "ระบบสนับสนุนสำคัญต่อความพยายามของคุณในโลกใหม่" นครเหย้าให้ทรัพยากร ยุทธภัณฑ์ ทหารและอัปเกรดแก่ผู้เล่น นครเหย้าสามารถใช้ได้ในหลายเกม และอัปเกรดหลังจบการศึกแต่ละครั้ง มีการเปรียบคุณลักษณะเป็นตัวละครเกมสวมบทบาทจากเอ็นเซิมเบิลสตูดิโอส์[36] ภาคเสริมแรกของ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 ชื่อ เดอะวอร์ชีฟส์ มีการวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2549 การเปลี่ยนแปลงการเล่นเกมในแพ็กเสริมส่วนใหญ่เล็กน้อย แต่ภาคนี้นำเสนอสามอารยธรรมใหม่ โดยเน้นชนพื้นเมืองอเมริกัน[37] สิ่งที่โดดเด่นที่สุดได้แก่การริเริ่มยูนิตวอร์ชีฟ[38] ภาคเสริมที่สอง ดิเอเชียนไดแนสตีส์ วางขายวันที่ 23 ตุลาคม 2550 เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาร่วมกัน บิกฮิวจ์เกมส์ช่วยเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์พัฒนาเกม โดยไบรอัน เรย์โนลส์เป็นหัวหน้านักออกแบบร่วมกับบรูซ เชลลี[39] เกมขยายจักรวาล เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 ไปสู่ทวีปเอเชียและแนะนำอารยธรรมใหม่สามอารยธรรม[40] การตอบรับ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 นั้นผสมกัน เกมเรโวลูชันอธิบายว่ามัน "สนุกพอ ๆ กับ" หนังสือประวัติศาสตร์ ขณะที่เกมโซนแย้งว่ามันเป็น "เกมดูดีที่สุดเกมหนึ่ง เป็นเกมอาร์ทีเอสน้อยกว่า ซึ่งออกสู่ตลอดในปัจจุบัน" เกมขายได้กว่าสองล้านก๊อปปีและคว้ารางวัล "เกมวางแผนเรียลไทม์แห่งปี" ของเกมสปาย[41][42] วอร์ชีฟส์ ไม่สามารถเทียบความสำเร็จได้เท่ากับเกมก่อนหน้า โดยมีคะแนนต่ำกว่าทั้งเกมแรงกิงส์และเมตาคริติก ส่วนคะแนนของ เอเชียนไดแนสตีส์ ยิ่งต่ำลงไปอีกอยู่ที่ 80%[43][44][45][46]

รุ่นสะสมหลายรุ่นของเอจออฟเอ็มไพร์ส 3 มีหนังสือศิลป์ปกแข็ง หน้าสุดท้ายของหนังสือศิลป์มีการพรรณนาภาพของชุด ตัวเลขโรมันใต้แผงแต่ละแผงมีตั้งแต่ I ถึง V โดยบ่งชี้ว่าชุดจะรวม เอจออฟเอ็มไพร์ส 4 และเอจออฟเอ็มไพร์ส 5 ลูกจ้างเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ แซนดี ปีเตอร์เซน กล่าวว่าภาพนั้น "เป็นการตั้งข้อสังเกตล้วน ๆ ในส่วนของ[พวกเขา]"[47]

ในปี 2561 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าพวกเขาปิดตัวเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์หลังสร้างเกม ฮาโลวอส์ สำเร็จ ลูกจ้างบางส่วนตั้งทีมใหม่เป็นส่วนหนึ่งของไมโครซอฟท์สตูดิโอส์[48] เควิน อันแนงส์ (Kevin Unangst) ผู้อำนวยการเกมส์ฟอร์วินโดวส์ ปฏิเสธว่าการปิดตัวดังกล่าวเป็นจุดจบของซีรีส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส โดยให้สัมภาษณ์เดอะซานฟรานซิสโกโครนิเคิลว่า "เราตื่นเต้นมากเกี่ยวกับศักยภาพในอนาคตสำหรับเอจออฟเอ็มไพร์ส"[49] เอดจ์ยืนยันในการสัมภาษณ์กับรองประธานฝ่ายบันเทิงเชิงโต้ตอบของบริษัทไมโครซอฟท์ เชน คิม ว่า ไมโครซอฟท์ยังเป็นเจ้าของ เอจออฟเอ็มไพร์ส และว่าพวกเขามีแผนดำเนินซีรีส์ต่อ[50] อย่างไรก็ตาม บรูซ เชลลีเขียนในบล็อกของเขาว่าเขาจะไม่เป็นส่วนหนึ่งของสตูดิโอส์ใหม่ที่เพิ่งตั้งใด ๆ[51][52]

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ไมโครซอฟท์ประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3: เดฟินิทีฟเอดิชัน[29] วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ไมโครซอฟท์ประกาศว่า เดฟินิทีฟเอดิชัน จะวางขายในสตีมในอนาคต ร่วมกับ เดฟินิทีฟเอดิชัน ของทั้ง เอจออฟเอ็มไพร์ส และเอจออฟเอ็มไพร์ส 2[14][15]

เอจออฟเอ็มไพร์ส 4

วันที่ 21 สิงหาคม 2560 ไมโครซอฟท์ประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์ส 4 พัฒนาโดยเรลิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์[53]

จวบจนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 "ไม่มีวันวางจำหน่ายที่ประกาศสำหรับเอจออฟเอ็มไพร์ส 4"[54] ฟิล สเป็นเซอร์ รองประธานบริหารของไมโครซอฟท์ฝ่ายเกม ยืนยันเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2561 ว่า เอจออฟเอ็มไพร์ส 4 ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาโดยมีสารสนเทศเพิ่มเติมตามมาในปี 2562[55]

เกมสปินออฟ

เอจออฟมีโธโลจี มีองค์ประกอบเกมการเล่นหลายอย่างเหมือนกับซีรีส์หลัก[56] และถือเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ แม้มีจุดเน้นคนละอย่างกัน[57][58] แคมเปญใน เอจออฟมีโธโลจี เล่านิยายของอาร์แคนทอสชาวแอตแลนติส และภารกิจค้นหาว่าเหตุใดประชากรของเขาจึงไม่ได้รับความโปรดปรานจากเทพเจ้าโพไซดอน[59] ไมโครซอฟท์วางจำหน่ายเกมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2545[60] และภาคเสริม เดอะไททันส์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2546[61] เดอะไททันส์ นำเสนอแอตแลนติสเป็นอารยธรรมใหม่[62] แคมเปญของเกมสั้นกว่าภาคก่อน และเน้นแคสเตอร์ บุตรของอาร์แคนทอสเป็นศูนย์กลาง ซึ่งตกหลุมพรางมุสาของเหล่าไททันและปลดปล่อยพวกมันจากทาร์ทารัส[63] เอจออฟมีโธโลจี ขายได้กว่าหนึ่งล้านก๊อปปีในสี่เดือน[64] ได้คะแนน 89% ในเกมแรงกิงส์และเมตาคริติก[65][66] เดอะไททันส์ ไม่ประสบความสำเร็จด้านยอดขายเท่ากับ เอจออฟมีโธโลจี แม้นักวิจารณ์ให้คะแนนสูง[67][68]

แบ็กโบนเอ็นเตอร์เทนเมนต์พัฒนา เอจออฟเอ็มไพร์ส: ดิเอจออฟคิงส์ เป็นเกมเทิร์นเบสสำหรับนินเทนโด ดีเอส มาเจสโกเอ็นเตอร์เทนเมนต์เผยแพร่เกมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 เกมนี้คล้ายกับเกมเทิร์นเบสอื่น ๆ เช่น แอดแวนซ์วอร์ แต่มีเกมการเล่นบนพีซี[69] Age of Empires: The Age of Kings scored 80% on Game Rankings and Metacritic.[70][71] เอจออฟเอ็มไพร์ส: ดิเอจออฟคิงส์ ได้คะแนน 80% จากเกมแรงกิงส์และเมตาคริติก โคนามินำเกมชื่อเดียวกันมาลงเพลย์สเตชัน 2 ประมาณห้าปีก่อนรุ่นดีเอส แต่เกมนั้นมีการส่งเสริมน้อยและขายได้ไม่ดี[72]

วันที่ 16 สิงหาคม 2553 ไมโครซอฟท์ประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์สออนไลน์ ซึ่งเป็นเกมออนไลน์ทางเกมส์ฟอร์วินโดวส์ที่เล่นได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พัฒนาโดยร่วมมือกับโรบอตเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เกมมีคุณลักษณะประสบการณ์เล่นได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยทางเกมส์ฟอร์วินโดวส์ไฟล์ตลอดจนเมืองหลวงออนไลน์ตลอดเวลาที่มีชีวิตและเติบโตแม้ผู้เล่นออฟไลน์ ภารกิจหลายผู้เล่นแบบร่วมมือ การค้าขายและระบบยึดระดับที่ทำให้ผู้เล่นพัฒนาได้ตามจังหวะของตนเอง[73] สำหรับเนื้อหาพรีเมียมสามารถได้หรือซื้อหาได้ เช่น การเข้าถึงพิมพ์เขียวและไอเท็มพิเศษ ตลอดจนภารกิจและคุณลักษณะเพิ่มเติม ในเดือนกันยายน 2556 มีประกาศว่าเกมจะเปิดใช้การได้จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 แล้วจะปิดตัวเนื่องจากค่าบำรุงรักษาเนื้อหาแพงเกินไป[74]

วันที่ 13 เมษายน 2557 มีการประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์ส: เวิลด์ดอมิเนชัน เคแล็บเกมส์เป็นผู้พัฒนาสำหรับไอโอเอส แอนดรอยด์และวินโดวส์ โฟน[75] It was released on December 7, 2015,[76] มีการวางตำหน่ายเกมวันที่ 7 ธันวาคม 2558 โดยยกเลิกการให้บริการในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559[77]

วันที่ 25 สิงหาคม 2557 มีการประกาศ เอจออฟเอ็มไพร์ส: แคสเซิลซีนจ์ เป็นเกมแบบสัมผัส ซึ่งสโมกกิงกันอินเตอร์แอ็กทีฟเป็นผู้พัฒนา มีการวางจำหน่ายสำหรับวินโดวส์พีซีและวินโดวส์ โฟน 8 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2557[78][79]

การพัฒนา

องค์ประกอบประวัติศาสตร์

ระยะการพัฒนาของเกม เอจออฟเอ็มไพร์ส ต่าง ๆ คล้ายกันในหลายทาง เนื่องจากเกมอิงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ทีมผู้พัฒนาจึงมักต้องศึกษาค้นคว้าปริมาณมาก[80] อย่างไรก็ดี การศึกษาค้นคว้านั้นมิได้เจาะลึก ซึ่งผู้ออกแบบ เอจออฟเอ็มไพร์ส บรูซ เชลลี ว่าเป็น "ความคิดที่ดีสำหรับผลิตภัณฑ์บันเทิงส่วนใหญ่"[80] เชลลียังว่าเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์นำหนังสืออ้างอิงส่วนใหญ่มาจากส่วนเด็กที่ห้องสมุด เขาชี้ว่าเป้าหมายคือเพื่อให้ผู้เล่นเกมสนุก "ไม่ใช่นักออกแบบหรือนักวิจัย[เกม]"[80] ที่การประชุมผู้พัฒนางานประชุมเกมปี 2550 เชลลีสานต่อความคิดนี้และอธิบายว่า ความสำเร็จของชุดตั้งอยู่บน "การทำเกมซึ่งดึงดูดทั้งผู้เล่นเกมครั้งคราวและฮาร์ดคอร์"[81] เชลลียังตั้งข้อสังเกตว่าเกม เอจออฟเอ็มไพร์ส มิได้ว่าด้วยตัวประวัติศาสตร์เอง แต่ "เกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์"[81] พวกเขามุ่งเน้นไม่เพียงแต่สิ่งที่มนุษย์เคยทำไว้แล้วเท่านั้น แต่ยังเน้นสิ่งที่มนุษย์ทำได้ในอนาคตอย่าง "การไปอวกาศ" ด้วย[81] เอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์พัฒนา เอจออฟมีโธโลจี ในทางที่ต่างไปจากสองเกมก่อนหน้า ทีมยังกังวลว่าพวกเขาจะ "ไม่สามารถเอาตัวรอด" ด้วยเกมอิงประวัติศาสตร์เกมที่สาม และเลือกปรัมปราวิทยาเป็นฉากท้องเรื่องหลังอภิปรายหลาย ๆ ตัวเลือกแล้ว[82]

ปัญญาประดิษฐ์

นักออกแบบพัฒนาและปรับปรุงปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่ใช้ในซีรีส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส อย่างสม่ำเสมอ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอ เดฟ พอตติงเจอร์ กล่าวว่า ทีมพัฒนาให้ความสำคัญกับเอไอในเกมดั้งเดิมเป็นลำดับสูงมากและใช้เวลาพัฒนากว่าหนึ่งปี เขากล่วาว่า เอไอในเกมอาศัยยุทธวิธีและยุทธศาสตร์เพื่อเอาชนะแทน "การโกง" โดยให้ทรัพยากรพิเศษแก่ตนเอง หรือดัดแปลงยูนิตให้แข็งแกร่งกว่าปกติ[83] ภายหลังพอตติงเจอร์สังเกตว่า ทีมซีรีส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส รู้สึกภาคภูมิใจที่เอไอของพวกตน "เล่นอย่างยุติธรรม"[84] และไม่ทราบว่าผู้เล่นกำลังทำอะไรอยู่ และต้องเล่นบนกฎเดียวกับคู่แข่งมนุษย์[85]

เอจออฟเอ็มไพร์ส เปิดให้ผู้เล่นเลือกเล่นตามเงื่อนไขที่มีเนื้อเรื่องรองรับและสร้างมาเป็นพิเศษหรือเล่นต่อสู้กับเอไอ (และผู้เล่นอื่น) เป็นครั้ง ๆ การเลือกต่อสู้กับเอไอแทนการเล่นตามเนื้อเรื่องทำให้เอไอสามารถปรับให้เข้ากับกลยุทธ์ของผู้เล่นและจำได้ว่าเกมใดที่มันชนะและแพ้ ในที่สุดเอไอจะเอาชนะกลยุทธ์ของผู้เล่นและทำลายหมู่บ้านของผู้เล่นได้อย่างง่ายดายหลังผ่านไปหลายเกม ตัวอย่างเช่นใน เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 สิ่งนี้เรียกว่าเล่น "สเกอร์มิช" (skirmish) อย่างไรก็ตาม เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 เปิดให้ผู้เล่นปรับแต่งกลยุทธ์ของพวกเขาเพิ่มเติมในการพบกับเอไอโดย "การสร้างสำรับ" ซึ่งช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนการส่งสินค้าจาก "นครเหย้า" ด้วยทางเลือกที่ปรับปรุง

ในเอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เดอะคองคะเรอส์ เอได้รับลำดับความสำคัญสูง ผลลัพธ์คือคุณลักษณะ "ชาวบ้านฉลาด" (smart villager) ซึ่งมีอยู่ในเกมหลังจากนั้นทุกเกม โดยหลังสร้างสิ่งก่อสร้างที่เก็บหรือผลิตทรัพยากร ชาวบ้านฉลาดจะเก็บทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งก่อสร้างนั้นทันที เช่น ธัญพืชจากไร่นา หรือแร่จากแหล่งแร่[86]

เอจออฟมีโธโลจี: เดอะไททันส์ ให้ผู้เล่นใช้โปรแกรมแก้ไขจุดบกพร่องเอไอเมื่อสร้างฉากปรับเอง ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าของผู้เล่นคอมพิวเตอร์และทำให้เอไอประพฤติตามแบบรูปบางอย่างได้[87] การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานกว่านั้นต่อเอไอเดิมสามารถเข้าถึงได้ในสองเกมแรกของซีรีส์[88]

กราฟิกส์และภาพ

กราฟิกและภาพของ เอจออฟเอ็มไพร์ส ดีขึ้นในทุกเกมที่ออกมาแต่ละครั้ง จากการออกเกมแรกถึงเกมที่สอง เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ เป็นพัฒนาการที่โดดเด่นที่ได้รับเสียงชื่นชมจากนักวิจารณ์หลายคน[89][90][91] เมื่อมีการออก เอจออฟมีโธโลจี การยกย่องยังดำเนินต่อไป[89][92][93][94] และเกมที่สี่ เอจออฟเอ็มไพร์ส 4 ได้รับการยกย่องเพิ่มอีก[95][96][97]

เกมสปอตยกย่องกราฟิกที่ได้รับการปรับปรุง[89] ในเกมที่สอง เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ ยูโรเกมเมอร์ยินดีต้อนรับการเปิดตัวชาวบ้านหญิง[98] เมื่อเทียบกับแบบเดิมที่มีเฉพาะเพศชาย ออลเกมยกย่องระบบการจัดกลุ่มและการค้นหาเส้นทางขั้นสูงในเกมที่สอง[90] แต่แม้มีกราฟิกส์ที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ออลเกมบ่นว่าบางทียูนิตใน เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ แยกแยะออกจากกันได้ยาก[90] ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้ทบทวนหลายคนเห็นตรงกัน[89][99] อย่างไรก็ตาม เกมเรโวลูชันเขียนว่าเกมที่สองเป็น "เกมอาร์ทีเอส 2ดีที่ดูดีที่สุดในตลาดขณะนี้"[91]

กราฟิกส์ยังพัฒนาอย่างต่อเนื่องใน เอจออฟมีโธโลจี และได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ส่วนใหญ่ ไอจีเอ็นจัดอันดับกราฟิกในเกมที่สามนี้ว่า "มีความสุขที่ได้ชม ... ยอดเยี่ยม"[92] เกมสปอตเห็นตรงกัน และให้คะแนนกราฟิกส์ 9 เต็ม 10[89] เกมเรโวลูชันก็เช่นกัน[93] โดยพีซีเกมเมอร์ระบุว่ากราฟิกส์ในเกมที่สาม "อัดแน่นด้วยรายละเอียด"[94]

แนวโน้มกราฟิกที่ได้รับการปรับปรุงดำเนินต่อจนถึงเกมถัดไป เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 ซึ่งผู้ทบทวนยินดีมาก ไอจีเอ็นระบุว่า "หลังจากเห็นภาพหน้าจอ ขากรรไกรของเรากระแทกกับพื้นด้วยปริมาณรายละเอียด"[95] วันอัพดอตคอมอธิบาย เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 ว่าเป็น "เกมสวยงามที่สุดเกมหนึ่งที่คุณจะติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ของคุณในอนาคตอันใกล้"[96] เกมสปายเห็นด้วย โดยระบุว่า "กราฟิกส์ เอจ 3 ไร้ที่เปรียบในประเภทวางแผน"[97] เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 สร้างบนรากฐานและนำเสนอคุณลักษณะใหม่สำหรับเกมก่อนหน้า เอจออฟมีโธโลจี เช่น การใส่เกมเอนจินมิดเดิลแวร์จำลองฟิสิกส์ฮาว็อก[100] สำหรับฉบับวินโดวส์ และฟิสเอ็กซ์สำหรับแมคโอเอสเท็น ผลลัพธ์ที่เป็นนวัตกรรมทำให้เลี่ยงแอนิเมชันสร้างล่วงหน้า แต่มีการคำนวณเหตุการณ์ตามเอนจินฟิสิกส์ ผลที่ได้ทำให้ภาพเหตุการณ์อย่างการทำลายสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้โค่นไม่มีบันทึกล่วงหน้า เกมสปอตยังยกย่องกราฟิกส์ในเกมที่สี่แต่บ่นเรื่อง "พฤติกรรมยูนิตที่ดูเก้กัง"[101] คุณลักษณะกราฟิกส์ของเกมอีกอย่างหนึ่งคือการให้แสงบลูม (bloom) และการรองรับพิกเซลเฉดเดอร์ 3.0[102]

เกมสปายให้รางวัล "กราฟิกส์ยอดเยี่ยม" แก่ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 ที่ "เกมแห่งปี 2548" ของเกมสปาย[103]

ดนตรี

สตีเฟน ริปปีเป็นผู้กำกับเพลงของซีรีส์ตั้งแต่เกมแรก บางครั้งเขาได้รับความช่วยเหลือเป็นครั้งคราวจากเดวิด ริปปี ญาติชายของเขา และเควิน แม็กมัลแลน เขาสร้างเพลงต้นฉบับใน เอจออฟเอ็มไพร์ส ด้วยเสียงเครื่องดนตรีจากยุคสมัยในเกม[104] เสียงเหล่านี้มาจากเครื่องดนตรีจริงและตัวอย่างดิจิทัล[104] ทูนเหล่านี้เป็นผลจากการวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับวัฒนธรรม ลีลาและเครื่องดนตรีที่ใช้[104] ริปปีกล่าวว่าการพัฒนาเสียงของ เอจออฟเอ็มไพร์ส ทำได้ง่าย เนื่องจากมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีที่ใช้ในยุคกลาง ฉะนั้น พวกเขาจึงสามารถผลิตซ้ำทูนสำหรับซาวน์แทร็กของเกมได้[105] ในเอจออฟมีโธโลจี มีการใช้เครื่องดนตรีออเครสตราแทน แม็กมัลแลนว่า ทีมยังรวบรวมบันทึกเสียงจำนวนมากจากสวนสัตว์ และสร้าง "คลังเสียงขนาดใหญ่ซึ่งเป็นเนื้อหาของพวกเขาเอง"[106] ดนตรีของ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 คล้ายกับ ดิเอจออฟคิงส์ ซึ่งทีมใช้เครื่องดนตรีในประวัติศาสตร์มากขึ้น ริปปีระบุว่าทีมใช้เครื่องดนตรีอย่างปี่สกอตและกลองสนามเพื่อให้ความรู้สึกสมจริง[107]

ความร่วมมือ

เอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ร่วมงานกับ บิ๊กฮิวจ์เกมส์ เพื่อพัฒนา ดิเอเชียนไดแนสตีส์ ภาคเสริมที่สองของ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 เป็นการลงทุนร่วมครั้งแรกระหว่างสองทีม เหตุผลที่ร่วมงานกันเพราะมีตารางเวลาเข้กันได้ ซึ่งขณะนั้นเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์กำลังง่วนอยู่กบโครงการอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เฮโลวอส์ ส่วนทีมวางแผนเรียลไทม์ของบิ๊กฮิวจ์เกมส์ก็มีโครงการอยู่บ้าง บิ๊กฮิวจ์เกมส์เป็นผู้สร้างหลัก แต่นักออกแบบ เกร็ก สตรีตและแซนดี ปีเตอร์สันของเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ร่วมระดมสมองด้วย และควบคุมผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย[108] สตูดิโอส์ทั้งสองมีบาทบาทในการทดสอบเกมก่อนวางขาย[109]

การตอบรับและมรดก

คะแนนปฏิทัศน์สะสม
ณ 20 พฤษภาคม 2557
เกมเกมแรงกิงส์เมตาคริติก
เอจออฟเอ็มไพร์ส (2540)87%[110]83[7]
เอจออฟเอ็มไพร์ส: ไรซ์ออฟโรม (2540)80%[10]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ (2541)92%[19]92[20]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เดอะคองคะเรอส์ (2543)88%[111]88[22]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 (2548)82%[112]81[113]
เอจออฟเอ็มไพร์ส: ดิเอจออฟคิงส์ (2549) (นินเทนโด ดีเอส)80%[70]80[71]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 3: เดอะวอร์ชีฟส์ (2549)89%[43]87[44]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 3: ดิเอเชียนไดแนสตีส์ (2550)80%[45]80[46]
เอจออฟเอ็มไพร์ส: มีโธโลจีส์ (2551) (นินเทนโด ดีเอส)79%[114]78[115]
เอจออฟเอ็มไพร์สออนไลน์ (2554)71%[116]70[117]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เอชดีเอดิชัน (2556)71%[118]68[119]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: เดอะฟะกอทึน (2556)
เอจออฟเอ็มไพร์ส: แคสเซิลซีนจ์ (2557)40%[120]
เอจออฟมีโธโลจี (2555)89%[65]89[66]
เอจออฟมีโธโลจี: เดอะไททันส์ (2546)84%[67]84[68]
เอจออฟมีโธโลจี: เอ็กซ์เทนเด็ดเอดิชัน (2557)68%[121]69[122]
เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิแอฟริกันคิงดัมส์ (2558)--
เอจออฟมีโธโลจี: เทลออฟเดอะดรากอน (2559)--
เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ไรซ์ออฟเดอะราจาส์ (2559)--

ซีรีส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ จนถึงปี 2551 เกมในซีรีส์จำนวนห้าเกมขายได้เกินหนึ่งล้านก๊อบปี เกมมาสูตราระบุว่า เอจออฟเอ็มไพร์ส ขายได้กว่าสามล้านก๊อบปี และไรซ์ออฟโรม ขายได้หนึ่งล้านก๊อบปีเมื่อถึงปี 2543[9] ในเวลาเดียวกัน ไมโครซอฟท์ประกาศว่าบริษัทส่งมอบ ดิเอจออฟคิงส์ จำนวนกว่าสองล้านก๊อบปีแล้ว[21] ในปี 2546 ไมโครซอฟท์ประกาศว่า เอจออฟมีโธโลจี ขายได้หนึ่งล้านก๊อบปี[64] จนถึงปี 2547 ก่อนการออกเอจออฟเอ็มไพร์ส 3 แฟรนไชส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส ขายได้กว่า 15 ล้านก๊อบปี[123] วันที่ 18 พฤษภาคม 2550 เอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ประกาศว่าขาย เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 ได้สองล้านก๊อบปี[41] เกมในชุดทำคะแนนได้สูงอย่างต่อเนื่องในเว็บไซต์รวบรวมบทปฏิทัศน์วิดีโอเกม เกมแรงกิงส์และเมตาคริติก ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ปฏิทัศน์หลายแห่ง จากตารางขวามือ เกมที่ได้คะแนนสูงสุด คือ เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ โดยได้คะแนน 92% จากทั้งสองเว็บไซต์[19][20]

นักวิจารณ์ให้ความชอบแก่ เอจออฟเอ็มไพร์ส สำหรับการมีอิทธิพลต่อเกมกลยุทธ์แบบเรียลไทม์ (RTS) อย่าง ไรซ์ออฟเนชันส์ (Rise of Nations), เอ็มไพร์เอิร์ธ (Empire Earth) และคอสแซ็กส์ (Cossacks)[124][125] ฝ่ายสตาร์ วอร์ส: กาแล็กติกแบตเทิลกราวส์ (Star Wars: Galactic Battlegrounds) ยังได้รับอิทธิพลจากซีรีส์ดังกล่าว คือ เกมมันใช้เกมเอนจินจีนีแบบเดียวกับ เอจออฟเอ็มไพร์ส และ เอจออฟเอ็มไพร์ส 2: ดิเอจออฟคิงส์ และนักวิจารณ์ถือว่าเป็นรูปถอดแบบเหมือนมากของเกมทั้งสอง ไอจีเอ็นเริ่มบทปฏิทัศน์ด้วยถ้อยแถลงว่า "ฉันชอบ เอจออฟสตาร์ วอร์ส ฉันหมายถึงสตาร์เอ็มไพร์ส ไม่ว่าจะเรียกอะไร ฉันเอาหมด"[126] และเกมสปอตเขียนว่า "หลักมูลของเอนจินเอจออฟเอ็มไพร์ส 2 อย่างอยู่ดีในสตาร์ วอร์ส: กาแล็กติกแบตเทิลกราวส์ จนผู้ที่เล่นเกมนั้นจนชำนาญแล้วสามารถเข้ามาเล่นได้ทันที"[127] ในเดือนตุลาคม 2548 เชลลีย์ออกความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของซีรีส์ ในบทสัมภาษณ์แก่เกมสปาย เขาอธิบายว่าบิดามารดา "บอกเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ว่าลูกของพวกตนกำลังอ่านหนังสือเกี่ยวกับกรีซโบราณเพราะพวกเขาชอบเล่นกับไตรรีมมาก หรือพวกเขาต้องการหาซื้อหนังสือประวัติศาสตร์สมัยกลางเพราะเกมสอนให้พวกเขารู้จักสิ่งที่เรียกว่าเทรบูเชต"[128]

เชลลีย์กล่าวว่ากุญแจสู่ความสำเร็จของเกมคือนวัตกรรม ไม่ใช่เลียนแบบเกมแนวเดียวกัน เขายังอ้างว่าองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ในเกม "ช่วยสร้างชื่อเสียงของเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญประเภทวางแผนเรียลไทม์"[129] มาร์ก โบซอนจากไอจีเอ็นเขียนในบทปฏิทัศน์ ดิเอจออฟคิงส์ ของเขาไว้ว่า "ซีรีส์ เอจออฟเอ็มไพร์ส เป็นเกมวางแผนเรียลไทม์บนพีซีที่เป็นนวัตกรรมมากที่สุดเกมหนึ่งในทศวรรษที่ผ่านมาหรือราวนั้น"[130] กาเมนนิกกีเรียกเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ว่า "ผู้ผลิตที่เริ่มต้นทุกสิ่ง" เมื่อพวกเขากล่าวถึงสิ่งที่ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 กระทำเพื่อพัฒนาประเภทวางแผนเรียลไทม์[131] เชลลีย์ยอมรับว่าความสำเร็จและนวัตกรรมของ เอจออฟเอ็มไพร์ส ช่วยให้เอ็นเซ็มเบิลอยู่รอดได้ในช่วงแรกตั้งแต่เป็นสตาร์ตอัป[132] ในปี 2548 เชลลีย์บ่นถึงนักวิจารณ์ที่มี "อคตินวัตกรรม" ต่อซีรีส์ โดยพาดพิงคะแนน 60% จากคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์ เขาว่าแม้ เอจออฟเอ็มไพร์ส 3 "บางทีอาจเป็นเกมพีซีขายดีที่สุดในโลก" แต่นักปฏิทัศน์คาดหมาย "สิ่งใหม่จริง ๆ" และให้คะแนนอย่างไม่ปรานี[133]

บันจีเลือกเอ็นเซ็มเบิลสตูดิโอส์ให้พัฒนาเฮโลวอร์สซึ่งเป็นเกมอาร์ทีเอสที่มาจากซีรีส์เฮโลของบริษัท พวกเขาบอกว่าเหตุผลหนึ่งที่พวกเขาเลือกร่วมงานกับเอ็นเซ็มเบิลเป็นเพราะซีรีส์เอจออฟเอ็มไพร์ส[134] พวกเขายังตั้งข้อสังเกตว่า เอ็นเซ็มเบิลเป็นตัวเลือกสมบูรณ์แบบ "เพื่อให้รับรู้ฉบับดั้งเดิมของ เฮโล" ซึ่งเริ่มต้นชีวิตในฐานะเกมอาร์ทีเอส[134]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง