แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995

แผ่นดินไหวใน ค.ศ. 1995 ที่โคเบะ ประเทศญี่ปุ่น

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง[ก] (ญี่ปุ่น: 阪神・淡路大震災โรมาจิHanshin Awaji daishinsai; อังกฤษ: The Great Hanshin earthquake) หรือ แผ่นดินไหวโคเบะ หรือชื่อทางการเรียกว่า แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง-อาวาจิ เกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) เวลา 05:46 น. ตามเวลาท้องถิ่น บริเวณตอนใต้ของจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาด 7.3 ตามกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น และ 6.9 ตามมาตราโมเมนต์ ลึกลงไปใต้ผิวโลก 16 กิโลเมตร จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่บริเวณเกาะอาวาจิ ซึ่งอยู่ห่างจากนครโคเบะ 20 กิโลเมตร ระยะเวลาการสั่นสะเทือนนานประมาณ 20 วินาที [8] มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 6,434 คน (นับถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2538) ในจำนวนนี้ประมาณ 4,600 คน มาจากโคเบะ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุด และมีประชากรทั้งสิ้น 1.5 ล้านคน[9]

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995
兵庫県南部地震
阪神・淡路大震災
ทางด่วนฮันชิงพังถล่มลงมา
แผนที่แรงสั่นสะเทือน (USGS)
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995ตั้งอยู่ในจังหวัดเฮียวโงะ
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995
โคเบะ
โคเบะ
เวลาสากลเชิงพิกัด1995-01-16 20:46:53
รหัสเหตุการณ์ ISC124708
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น17 มกราคม ค.ศ. 1995 (1995-01-17) (พ.ศ. 2538)
เวลาท้องถิ่น05:46:53 JST
ระยะเวลา~20 วินาที
ขนาด7.3 Mw JMA
6.9 Mw USGS[1]
ความลึก17.6 กิโลเมตร (10.9 ไมล์)[1]
ศูนย์กลาง34°35′N 135°04′E / 34.59°N 135.07°E / 34.59; 135.07[1]
รอยเลื่อนโนจิมะ
ประเภทตามแนวระดับ[2]
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบญี่ปุ่น
ความเสียหายทั้งหมด200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้XII (ภัยพิบัติ)[4][5]

ชินโดะ 7 (ความรุนแรงที่วัดโดยเครื่องมือ 6.6) [6]
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน0.91 g
891 gal
สึนามิประมาณ 10 เซนติเมตร ไม่ก่อความเสียหาย [7]
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 5,502–6,434 คน[2]
บาดเจ็บ 36,896–43,792 คน[2]
พลัดถิ่น 251,301–310,000 คน[2]

เหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ร้ายแรงที่สุดในรอบ 72 ปี นับตั้งแต่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923 ที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 140,000 คน ความเสียหายเบื้องต้น ทำให้บ้านเรือนพังพลายกว่า 200,000 หลัง, โครงสร้างยกระดับของทางด่วนฮันชิง พังทลายเป็นระยะทางประมาณ 630 เมตร[10] , ปั้นจั่นของท่าเรือโคเบะเสียหายกว่าหนึ่งร้อยตัว มูลค่าตวามเสียหายทั้งสิ้นประมาณ 10 ล้านล้านเยน (ประมาณ 102.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็น 2.5% ของจีดีพีของญี่ปุ่นในปีนั้น

แผ่นดินไหว

รอยเลื่อนโนจิมะที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้

แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในญี่ปุ่น เกิดจากการแผ่นทะเลฟิลิปปินชนกับแผ่นยูเรเชีย แผ่นดินไหวประเภทนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งโดยเฉพาะในภูมิภาคทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นประเภทที่เรียกว่า "แผ่นดินไหวระดับตื้นในแผ่นดิน" หากเกิดในขนาดที่ต่ำก็สามารถสร้างความเสียหายได้เพราะเกิดขึ้นใกล้กับพื้นที่ที่มีประชากรสูงและเนื่องจากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ตื้นแค่ 20 กม. แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทางเหนือของเกาะอาวาจิ ซึ่งอยู่ทางใต้ของนครโคเบะ แรงสั่นกระจายไปทางตะวันตกเฉียงใต้ตามรอยเลื่อนโนจิมะ และไปทางตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งวิ่งผ่านใจกลางโคเบะ บริเวณที่ถูกแรงสั่นกระจายจากตะวันออกสู่ตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเช่นเดียวกับการเกิดแผ่นดินไหวอื่น ๆ ที่บันทึกไว้ในภาคตะวันตกของญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1891 และ ค.ศ. 1948 แผ่นดินไหวใน ค.ศ. 1995 มีกลไกการชนกันระหว่างแผ่นยูเรเชียกับแผ่นทะเลฟิลิปปิน

แผ่นดินไหวขนาด 7.3 เกิดขึ้นเมื่อเวลา 05:46 น. JST ในเช้าวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1995 แผ่นดินไหวกินเวลา 20 วินาที ทิศใต้ของรอยเลื่อนโนจิมะเคลื่อนตัวไปทางขวา 1.5 เมตร และจมลงไป 1.2 เมตร และเกิดแผ่นดินไหวนำ ขนาด 3.7 เวลา 18:28 น. ของวันก่อนหน้า

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว

เป็นครั้งแรกที่แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นถูกวัดอย่างเป็นทางการที่ความรุนแรงระดับ 7 (ความรุนแรงที่วัดโดยเครื่องมือ 6.6) [6]ระดับของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น(JMA) ระดับความรุนแรงแผ่นดินไหว ระดับ 5 และ 6 แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 5- 5+ และ 6- 6+ (ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1996) หลังแผ่นดินไหวมีการตรวจสอบทันทีโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น สรุปว่าแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ที่ความรุนแรงระดับ 7 ในพื้นที่ทางเหนือของเกาะอาวาจิ และในนครโคเบะ

ความรุนแรงของคลื่นแผ่นดินไหวที่สถานีวัดความรุนแรงแผ่นดินไหวของ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[11]
ความรุนแรงที่ตั้ง
6ซูโมโตะ
5โทโยโอกะ, ฮิโกเนะ, เกียวโต
4จังหวัดเฮียวโงะ, จังหวัดชิงะ, จังหวัดเกียวโต, จังหวัดฟูกูอิ, จังหวัดกิฟุ, จังหวัดมิเอะ, จังหวัดโอซากะ, จังหวัดวากายามะ, จังหวัดทตโตริ, จังหวัดโอกายามะ, จังหวัดฮิโรชิมะ, จังหวัดโทกูชิมะ, จังหวัดคางาวะ จังหวัดโคจิ และจังหวัดนาระ
ความรุนแรงของคลื่นแผ่นดินไหวจากการสำรวจภาคพื้นดิน[12]
ความรุนแรงจังหวัดที่ตั้งแผนที่
7เฮียวโงะโคเบะ (เขตฮิงาชินาดะ, เขตนาดะ, เขตชูโอ, เขตเฮียวโงะ, เขตนางาตะ, เขตซูมะ), นิชิโนมิยะ, อาชิยะ, ทาการาซูกะ, สึนะ, โฮกูดัง, อิจิโนมิยะ
พื้นที่ความรุนแรงแผ่นดินไหวระดับ 7 (震度7)
6โอซากะโอซากะ (เขตนิชิโยโดงาวะ), โทโยนากะ, อิเกดะ
เฮียวโงะโคเบะ (เขตทารูมิ, เขตคิตะ, เขตนิชิ), อามางาซากิ, อากาชิ, อิตามิ, คาวานิชิ, อาวาจิ, ฮิงาชิอูระ, โกชิกิ

ความเสียหาย

ความเสียหายที่ย่านมินาโตะงาวะ โคเบะ

เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างและรุนแรง โครงสร้างอาคารได้รับความเสียหายที่ไม่สามารถแก้ไขได้เกือบ 400,000 แห่ง[3][13] เกิดไฟไหม้ประมาณ 300 แห่ง ไฟไหม้ได้ทำลายพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองและเกิดการขาด น้ำ ไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มในพื้นที่ ประชาชนไม่สามารถกลับบ้านได้เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวตามนานหลายวัน แผ่นดินไหวตามมีถึง 74 ครั้งที่รู้สึกได้ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เสียชีวิตในจังหวัดเฮียวโงะ

หนึ่งในห้าของอาคารในพื้นที่เสียหายอย่างรุนแรงจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ประมาณ 22% ของสำนักงานในย่านธุรกิจกลางเมืองโคเบะไม่สามารถใช้งานได้ และกว่าครึ่งหนึ่งของอาคารในพื้นที่นั้นถือว่าไม่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย อาคารสูงที่สร้างขึ้นหลังจาก ค.ศ. 1981 ได้รับความเสียหายเล็กน้อย[14] ถึงกระนั้นก็ยังมีอาคารบางหลังที่พังทลายและได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงแม้ว่าจะไม่มากเท่ากับอาคารที่สร้างขึ้นก่อน ค.ศ. 1981 อาคารที่ไม่ได้สร้างขึ้นตามมาตรฐานได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงเพราะโครงสร้างที่อ่อนแอ บ้านแบบดั้งเดิมที่มีอายุมากส่วนใหญ่มีหลังคากระเบื้องหนักซึ่งมีน้ำหนักมากโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันพายุไต้ฝุ่นที่ผ่านโคเบะ แต่เมื่อเจอกับแผ่นดินไหวบ้านที่มีน้ำหนักมากก็เสียหายอย่างง่ายดาย บ้านที่ถูกสร้างใหม่มีผนังเสริมแรงและหลังคาที่เบากว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้แต่มีความอ่อนไหวต่อพายุไต้ฝุ่นมากขึ้น

ความเสียหายจากแผ่นดินไหว

ความเสียหายต่อทางหลวงและรถไฟใต้ดินเป็นภาพที่โด่งดังที่สุดของแผ่นดินไหว ภาพของทางด่วนฮันชิงที่ถล่มลงปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วโลก คนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นเชื่อว่าโครงสร้างเหล่านั้นค่อนข้างปลอดภัยเนื่องจากมีคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ต่อมาก็แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างที่พังทลายส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นตามกฎหมายอาคารที่บังคับใช้ในช่วงทศวรรษที่ ค.ศ. 1960 ทางด่วนยกระดับ 3 แห่งเสียหายในโคเบะและนิชิโนมิยะ เส้นทางทั้งหมดปิดให้บริการจนถึงวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1996 สะพานสามแห่งบนเส้นทางที่ 2 ได้รับความเสียหาย ทางด่วนเมชิงถูกปิดจนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 เพื่อเปิดทางให้รถกู้ภัยรถไฟส่วนใหญ่ในภูมิภาคได้รับความเสียหาย รถไฟโอซากะ–โคเบะเปิดใช้งานเพียง 30% ความรุนแรงจากแผ่นดินไหวทำให้สถานีรถไฟไดไคถล่มส่งผลให้ทางหลวงหมายเลข 28 ถล่มตามลงมาด้วยทำให้ทั้งสายต้องปิดตัวลง หลังจากแผ่นดินไหวการเดินทางโดยรถไฟสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วโดยสามารถใช้งานได้ถึง 80% ในหนึ่งเดือน แต่ยังคงมีการจำกัดความเร็วจนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1995

เกาะเทียมโดยเฉพาะร็อคโกะและเกาะพอร์ต ในโคเบะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงเนื่องจากแผ่นดินเหลว แต่เกาะเทียมที่เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติคันไซไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องจากอยู่ไกลจากศูนย์กลางของแผ่นดินไหว และสร้างขึ้นตามมาตรฐานล่าสุด และสะพานอากาชิไคเกียวซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างและอยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวมาก แต่กับไม่ได้รับความเสียหาย

ผู้เสียชีวิต

เมื่อตรวจสอบข้อมูลผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง มีผู้เสียชีวิตในอาคารกว่า 86.6% ในจำนวนนั้นมีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ จากการถูกทับ การบาดเจ็บที่ศีรษะหรืออวัยวะภายใน อันเนื่องมาจากอาคารถล่มหรือการพลิกคว่ำของฟอร์นิเจอร์ 83.3% และสาเหตุการเสียชีวิตรองลงมาคือ การเสียชีวิตจากการถูกไฟไหม้ 12.2% จากการสอบสวนเพิ่มเติมพบว่าการถล่มของบ้านเรือนทำให้ไฟลุกลามได้ง่ายขึ้น กล่าวคือผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่กว่า 98-99% เกิดจากการถล่มของอาคาร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือแทบจะไม่เกิดความเสียหายต่อชีวิตเลยหากอาคารในตอนนั้นไม่พังทลายลงมา [15]

ลางสังหรณ์

จากการวิจัยในภายหลังรายงานว่ามีปรากฏการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นก่อนแผ่นดินไหว [16][17]

ความแปรปรวนของเปลือกโลกใกล้เคียง

จากการสำรวจของสถาบันวิจัยการป้องกันภัยพิบัติแห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตและหน่วยงานอื่น ๆ พบว่าตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1994 ถึง 1995 พื้นที่กว้างในคันไซเกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ซึ่งเปลี่ยนจากการบีบอัดเป็นการขยายตัวอย่างกะทันหัน การเปลี่ยนแปลงความเครียดนี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก และการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวฮันชิง-อาวาจิขึ้น [18]

ช่วงว่างแผ่นดินไหว

นักวิจัยบางคนคาดการณ์ว่าจุดที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นช่วงว่างแผ่นดินไหวระดับที่สาม หมายถึงบริเวณที่ไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวใกล้รอยเลื่อนที่มักเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นประจำ[19] การวิเคราะห์ข้อมูลในภายหลังพบว่าในช่วงท้ายปี 1992 เกิดปรากฏการณ์ช่วงว่างแผ่นดินไหวไปทั่วภูเขาโฮกูเซ็ตสึและภูเขาทันบะ [17]

ฝูงแผ่นดินไหวอินางาวะ

ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่รู้สึกได้เป็นระยะ ๆ ในบริเวณใกล้เคียงนครอินางาวะ จังหวัดเฮียวโงะ[20][17]

แผ่นดินไหวนำ

เมื่อเวลา 18:28 น. ของวันที่ 16 มกราคม เพียงหนึ่งวันก่อนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ได้เกิดแผ่นดินไหวนำขนาดเล็ก 3.3 เกิดใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาก [21][22] คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นแผ่นดินไหวนำก่อนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในวันถัดมา แต่เป็นเรื่องยากที่จะทำนายการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่จากแผ่นดินไหวนำ

การตั้งชื่อ

นอกประเทศญี่ปุ่นมีการรู้จักแผ่นดินไหวในชื่อ "แผ่นดินไหวโคเบะ" แต่ในญี่ปุ่นเรียกแผ่นดินไหวครั้งนี้อย่างเป็นทางการว่า "แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง-อาวาจิ" (阪神・淡路大震災, Hanshin-Awaji Daishinsai) ฮันชิงหมายถึงภูมิภาคระหว่างโอซากะและโคเบะ ชื่อนี้ถูกเลือกโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นใน 1 สัปดาห์หลังจากแผ่นดินไหว

จิตอาสา

อาสาสมัครจากทั่วประเทศญี่ปุ่นมาบรรจบกันที่โคเบะเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหว ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 รัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 17 มกราคมเป็น "วันป้องกันและอาสาสมัครภัยพิบัติ" ของชาติ และสัปดาห์ระหว่างวันที่ 15 ถึง 21 มกราคม เป็น "สัปดาห์ป้องกันและอาสาสมัครภัยพิบัติ" เพื่อเป็นการบรรยาย การสัมมนา และกิจกรรมอื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเตรียมพร้อมและบรรเทาภัยพิบัติโดยสมัครใจ [23]

อนุสรณ์สถาน 1.17 ในโคเบะในเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548)

อนุสรณ์

โคเบะ รูมินาริ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันครบรอบแผ่นดินไหว จัดขึ้นประมาณสองสัปดาห์ทุกเดือนธันวาคม มีการตกแต่งด้วยซุ้มประตูด้วยไฟหลากสีที่รัฐบาลอิตาลีบริจาค จากถนนาจากร้านไดมารุในโมโตมาจิไปยังสวนสาธารณะฮิงาชิยูเอ็นจิ ตัวเลข "1.17" ขนาดใหญ่จะส่องสว่างในช่วงต้นของวันที่ 17 มกราคมของทุกปี

ภาพและสื่อ

ดูภาพแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงทั้งหมดที่: ภาพแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงที่คอมมอนส์

เชิงอรรถ

ก. ^ ชื่อ ฮันชิง (ญี่ปุ่น: 阪神โรมาจิHanshin) มาจากอักษรคันจิตัวหลังของชื่อนครโอซากะ (大阪) และอักษรตัวหน้าของชื่อนครโคเบะ (神戸) ซึ่งเป็นชื่อของทางด่วนฮันชิง ที่เชื่อมระหว่างโคเบะกับโอซากะ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Kitamura, R.; Yamamoto, T.; Fujii, S. (1998). "Impacts of the Hanshin-Awaji Earthquake on Traffic and Travel – Where Did All the Traffic Go?". ใน Cairns, S.; Hass-Klau, C.; Goodwin, P. (บ.ก.). Traffic Impact of Highway Capacity Reductions: Assessment of the Evidence. London: Landor Publishing. pp. 239–261.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง