กมลา แฮร์ริส

รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

กมลา เดวี แฮร์ริส (อังกฤษ: Kamala Devi Harris[1]; เกิด 20 ตุลาคม ค.ศ. 1964) นักการเมืองและทนายความชาวอเมริกัน เป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสตรีและผิวสีคนแรกของสหรัฐอเมริกา อดีตสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐแคลิฟอร์เนีย สังกัดพรรคเดโมแครต

กมลา แฮร์ริส
แฮร์ริส ใน ค.ศ. 2021
รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 49
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม ค.ศ. 2021
(3 ปี 97 วัน)
ประธานาธิบดีโจ ไบเดิน
ก่อนหน้าไมก์ เพนซ์
สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ
จาก รัฐแคลิฟอร์เนีย
ดำรงตำแหน่ง
3 มกราคม ค.ศ. 2017 – 18 มกราคม ค.ศ. 2021
(4 ปี 15 วัน)
ก่อนหน้าบาร์บารา บอกเซอร์
ถัดไปอเล็กซ์ ปาดิลา
อัยการสูงสุดรัฐแคลิฟอร์เนีย คนที่ 32
ดำรงตำแหน่ง
3 มกราคม ค.ศ. 2011 – 3 มกราคม ค.ศ. 2017
(6 ปี 0 วัน)
ผู้ว่าการเจอร์รี บราวน์
ก่อนหน้าเจอร์รี บราวน์
ถัดไปฆาบิเอร์ เบเซร์รา
อัยการเมืองซานฟรานซิสโก คนที่ 27
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม ค.ศ. 2004 – 3 มกราคม ค.ศ. 2011
(6 ปี 360 วัน)
ก่อนหน้าเทเรนซ์ แฮลลินัน
ถัดไปจอร์จ กาสคอน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1964-10-20) 20 ตุลาคม ค.ศ. 1964 (59 ปี)
โอ๊กแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
พรรคการเมืองเดโมแครต
คู่สมรสดั๊ก เอ็มฮัฟฟ์
บุพการีศยมาลา โคปาลัน (แม่)
ดอนัลด์ แฮร์ริส (พ่อ)
ความสัมพันธ์มายา แฮร์ริส (พี่/น้องสาว)
มีนา แฮร์ริส (หลานสาว)
พี.วี. โคปาลัน (ปู่/ตา)
การศึกษามหาวิทยาลัยฮอเวิร์ด (อักษรศาสตรบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตแฮสทิงส์ (นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต)
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์เว็บไซต์หาเสียง

กมลา แฮร์ริส เกิดที่เมืองโอ็คแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นบุตรของนายดอนัลด์ เจ. แฮร์ริส นักเศรษฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ชาวอเมริกันเชื้อสายจาเมกา กับนางศยามลา โฆปาลัญ นักชีวการแพทย์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 เธอได้รับชัยชนะเหนือลอเร็ตตา แซนเชซ ในการเลือกตั้งวุฒิสภาของ ค.ศ. 2016 ส่งผลให้แฮร์ริสเป็นวุฒิสมาชิกสตรีคนที่สามจากรัฐแคลิฟอร์เนีย สตรีเชื้อสายแอฟริกาคนที่สอง และสตรีเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งสภาชิกวุฒิสภาสหรัฐ[2][3]

ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา เธอสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ การยกเลิกสถานะยาเสพติดของกัญชาในระดับประเทศ การช่วยเหลือให้ผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารได้รับสถานะพลเมืองสหรัฐ รัฐบัญญัติดรีม การห้ามใช้อาวุธสังหาร และการปฏิวัติการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า เธอเป็นที่จดจำในระดับชาติภายหลังเธอได้ตั้งคำถามที่เฉียบแหลมต่อเจ้าหน้าที่ภายใต้การบริหารของทรัมป์ระหว่างการรับฟังโดยวุฒิสภา ซึ่งรวมถึงอัยการสูงสุดเจฟฟ์ เซชชันส์ และวิลเลียม บาร์[4]

เธอได้สมัครเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 2020 ก่อนยุติการชิงตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2019[5] อย่างไรก็ตาม เธอได้รับการสนับสนุนให้เป็นคู่ท้าชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต คู่กับอดีตรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2020 ส่งผลให้เธอเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาและชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้หาเสียงเคียงคู่กับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งคนสำคัญของพรรคฯ[6] และเป็นสตรีคนที่สามที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งดังกล่าว ถัดจากเจรัลดีน เฟอร์ราโร (ในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 1984) และแซราห์ เพลิน (ในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2008)[7][8][9]

อ้างอิง

ก่อนหน้ากมลา แฮร์ริสถัดไป
ไมก์ เพนซ์
รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ คนที่ 49
(20 มกราคม ค.ศ. 2021 – ปัจจุบัน)
อยู่ในตำแหน่ง
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง