การประท้วงในประเทศเบลารุส พ.ศ. 2563–2564

การประท้วงในประเทศเบลารุส พ.ศ. 2563–2564 (อังกฤษ: 2020–2021 Belarusian protests) เป็นระลอกการประท้วงที่ดำเนินไปอยู่เพื่อต่อต้านประธานาธิบดีอาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา.[66][67] และเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยของเบลารุส การประท้วงได้ดำเนินต่อภายหลังลูกาแชนกาดำรงตำแหน่งต่อเป็นวาระที่หกในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี พ.ศ. 2563.[68][67] เพื่อตอบสนองต่อการประท้วง จึงมีการจัดขบวนผู้สนับสนุนรัฐบาลกลับ[46]

การประท้วงในประเทศเบลารุส พ.ศ. 2563–2564
ส่วนหนึ่งของ ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยเบลารุส
การประท้วงที่มินสค์ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563
วันที่24 พฤษภาคม 2563[1] – 25 มีนาคม 2564[2] (10 เดือน 1 วัน)
สถานที่ประเทศเบลารุส
สาเหตุ
เป้าหมาย
  • ให้อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกาลาออก
  • ให้คณะรัฐบาลลาออก
  • การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ
  • จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ให้เสรีและยุติธรรม
  • ปล่อยนักโทษทางการเมือง
  • หยุดความรุนแรงของตำรวจ
  • จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่[6]
วิธีการ
ผล
  • การประท้วงยุติลง[7]
  • ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย/ความเป็นผู้นำจากการตอบสนองต่อการประท้วง[8]
  • ผู้นำฝ่ายค้านหลักหลบหนีออกนอกประเทศหรือถูกจำคุก[9]
  • เกิดขบวนการพลพรรคเบลารุส
คู่ขัดแย้ง

สภาประสานงาน (ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม)[10]
คณะกรรมการนัดหยุดงานแห่งชาติ (ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม)[11]


ฝ่ายค้านเบลารุส[12][13][14]

  • สมาคมนักศึกษาเบลารุส[15]
  • ประชาธิปัตย์คริสเตียน[16][17]
  • Congress of Democratic Trade Unions[17]
  • พรรคอนุรักษ์นิยมคริสเตียน[18]
  • พรรคกรีน
  • พรรคฝ่ายซ้าย[19]
  • ขบวนการเพื่อเสรีภาพ[16]
  • พรรคเสรีภาพและการก้าวหน้า[17]
  • พรรคแนวร่วมประชาชน[17]
  • สมัชชาสังคมประชาธิปไตย
  • พรรคสังคมประชาธิปไตย (สมัชชา)[17]
  • พรรคสังคมประชาธิปไตย (สมัชชาประชาชน)[20]
  • พรรค United Civic[16][17]
  • ยังฟรอนต์[20]

อนาธิปไตย:[21]

  • Revolutionary Action[22]
  • Anarchist Black Cross[23]
  • ปราเม็น[24]

สนับสนุนโดย:

รัฐบาล:

  • AMAP/OMON[27]
  • KGB
    • Belarusian Alpha Group[28]
  • กระทรวงกิจการภายใน
    • กองกำลังภายใน
    • อัลมัซ
    • มิลิตซียา
    • GUBOPiK
  • กองพลจู่โจมทางอากาศที่ 38[29]
  • กองพลสเปรตซ์นาซที่ 5[30][31][32][33][34][35]
  • หน่วยรักษาความปลอดภัยประธานาธิบดี (บางส่วน)

พรรคการเมือง:

  • พรรคเกษตรกรรม
  • พรรคคอมมิวนิสต์[36]
  • LDPB
  • Patriotic Party
  • BSSP
  • พรรคริพับลิกัน
  • RPTS
  • SDPPA

สมาคมสาธารณะ:

  • เบลายารุซ
  • สหพันธ์สหภาพการค้าเบลารุส
  • สหภาพยุวชนสาธารณรัฐ
  • ผู้ประท้วงที่สนับสนุนลูกาแชนกา

สนับสนุนโดย:
  • 20 ประเทศให้การสนับสนุน
ผู้นำ
  • สเวียตลานา ซีคานอว์สกายา
  • เซอร์เกย์ ตีคานอฟสกี
  • วิกตาร์ บาบารึกา
  • วาเลรี เซปกาโล[37]
  • เวโรนีกา เซปกาโล
  • มารีอา กาเลสนีกาวา[38][39]
  • ปาเวล ลาตุชโก
  • มีโกลา สตัตเกวิช
  • สเวตลานา อาเล็กซีเอวิช
  • ปาวัล ซีเอเวียรึเนียก
  • ซมิตเซอร์ ดัชเกวิช[20]
  • มักซิม ซนัก
  • I. Salei
  • ตาเดวุช กันดรูซีเอวิช
    [40][41]
  • อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา
  • รามัน ฮาลอว์แชนกา
  • ลิเดีย เยอร์โมชินา[42][43]
  • ยูรี การาเยฟ[44][45]
  • อีวัน กูบรากอฟ
  • อันเดรย์ รัฟกอฟ
  • วาเลรี วากูลชิก
  • อเล็กซานเดอร์ วอลโฟวิช
  • วิกตอร์ คเรนิน
  • นีโกไล คาร์เป็นกอฟ
  • วิกตอร์ ลูกาแชนกา
  • วลาดีมีร์ มาเก
จำนวน
16 สิงหาคม:
  • มินสค์: ~5,000–65,000[46]
รวม:
  • ตำรวจและทหาร ~100,000 นาย[55]
ความสูญเสีย
บาดเจ็บ 1,373 คน รวมเด็ก[56]
เสียชีวิต 4–11 คน[57]
ถูกจับกุมมากกว่า 30,000 คน[58][59][60]
หายตัวอย่างน้อย 6 คน[61][62]
บาดเจ็บ 121 คน[63][64]
นักข่าวบาดเจ็บอย่างน้อยไม่กี่คน[65]

บล็อกเกอร์และนักธุรกิจชาวเบลารุส เซอร์เกย์ ซีคานอฟสกี ผู้เริ่มเรียกลูกาแชนกาว่าเป็น "แมลงสาบ" ในกลอนสำหรับเด็ก "แมลงสาบผู้ยิ่งใหญ่" (The Mighty Cockroach) และใช้รูปรองเทาแตะบี้แมลงสาบตัวนั้นเป็นสัญลักษณ์ ได้ถูกรัฐบาลจับกุมตัวในปลายเดือนพฤษภาคม 2020 ในฐานความผิดเป็นสายลับต่างชาติ[69] ในเดือนมิถุนายน 2020 ลูกาแชนกาล้มเหลวในการจัดการกับการระบาดของโคโรนาไวรัสและปฏิเสธอันตรายของโรคไวรัสโควิด-19ได้นำไปสู่ความโกรธเคืองของประชาชนและการประท้วง[70] นอกจากนี้ผู้นำฝ่ายค้านจำนวนมากที่ลงสมัครในการเลือกตั้งรอบถัดไปถูกจับกุมด้วยข้อหาต่าง ๆ[69]

ในวันที่ 19 มิถุนายน ลูกาแชนกาประกาศว่าเขาได้ "ยับยั้งความพยายามจะรัฐประหาร" โดยการจับกุมผู้นำฝ่ายค้าน วิกตาร์ บาบารีกา[71] ซึ่งถูกตั้งข้อหาฉ้อโกงและสินบน บาบารีกาปฏิเสธว่าข้อหาเหล่านี้เป็นเท็จแต่การจับกุมนั้นเป็นไปเพื่อเหตุผลทางการเมือง ลูกาแชนกากลัวว่าบาบารีกามีสิทธิ์ที่จะเอาชนะลูกาแชนกาในการเลือกตั้งครั้งถัดไปได้[72]

ผู้ประท้วงเผชิญกับการก่อกวนจากเจ้าหน้าที่อย่างรุนแรง โดยข้อมูลจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในวันที่ 1 กันยายน มีรายงานการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายต่อผู้ต้องขังมากกว่า 450 คดี เช่นเดียวกันกับการล่วงละเมิดทางเพศและการขมขืน[73] ในช่วงปลาย พ.ศ. 2563 ศูนย์สิทธิมนุษยชนเวียสนามีคำให้การจากเหยื่อที่ถูกทรมาน 1,000 คดี[74]

ภูมิหลัง

อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของประเทศเบลารุสมาตั้งแต่ พ.ศ. 2537 และไม่มีคู่ต่อสู้คนใดเอาชนะเขาในการเลือกตั้ง 5 ครั้งได้ ทำให้สื่อมวลชนกล่าวถึงเขาเป็น "เผด็จการคนสุดท้ายของยุโรป"[75] ภายใต้การปกครองแบบอำนาจนิยม[76] รัฐบาลมักปราบปรามฝ่ายค้านอยู่เสมอ[75][76]

ลูกาแชนกาเผชิญหน้ากับการต่อต้านของประชาชนมากขึ้นท่ามกลางการบริหารจัดการต่อการระบาดทั่วของโควิด-19 ซึ่งลูกาแชนกาปฏิเสธว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรง[5][75] ในการเลือกตั้ง 5 ครั้งที่ลูกาแชนกาชนะ มีแค่ครั้งเดียวใน พ.ศ. 2537 ที่ต่างประเทศถือว่าเสรีและยุติธรรม[77]

ก่อนการเลือกตั้ง

ชื่อเล่น "แมลงสาบ" ที่ใช้เรียกลูกาแชนกา มาจากบทกวีของเด็กชื่อ Tarakanishche โดย Korney Chukovsky ใน ค.ศ. 1921

การประท้วงนี้มีชื่อเล่นว่า การปฏิวัติรองเท้าแตะ (Slipper Revolution)[78][79] หรือ การปฏิวัติล้มล้างแมลงสาบ (Anti-Cockroach Revolution)[66]

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง