รัฐประหาร

รัฐประหาร (ฝรั่งเศส: coup d'état หรือ coup) เป็นความพยายามที่ผิดกฎหมายและเปิดเผยโดยกองทัพหรือชนชั้นสูงอื่น ๆ ในรัฐบาล เพื่อถอดถอนผู้นำที่ดำรงตำแหน่งอยู่[1][2] ส่วนรัฐประหารตัวเองเป็นสิ่งที่ผู้นำที่ขึ้นสู่อำนาจโดยวิธีทางกฎหมาย พยายามจะอยู่ในอำนาจด้วยวิธีที่ผิดกฎหมาย[2]

นายพล นโปเลียน โบนาปาร์ต ในช่วงรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ที่แซ็ง-กลู ภาพวาดโดยฟร็องซัว บูโช ใน ค.ศ. 1840

จากการประมาณการครั้งหนึ่ง มีการพยายามรัฐประหาร 457 ครั้งระหว่างปี พ.ศ. 2493 ถึง 2553 ซึ่งครึ่งหนึ่งทำได้สำเร็จ ในจำนวนนี้มีครึ่งหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ[1] ความพยายามรัฐประหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 แต่ก็มีความพยายามรัฐประหารจำนวนมากที่เกิดขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990[1] การรัฐประหารที่เกิดขึ้นในสมัยหลังสงครามเย็นมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดระบอบประชาธิปไตยมากกว่ารัฐประหารในสงครามเย็น[3][4][5] แม้ว่าการรัฐประหารส่วนใหญ่ยังคงปกครองแบบอำนาจนิยมต่อไป[6]

ปัจจัยที่อาจนำไปสู่การเกิดรัฐประหารและตัวกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการรัฐประหารมีอยู่หลายปัจจัย เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้น ความสำเร็จในการทำรัฐประหารจะได้รับการขับเคลื่อนด้วยความสามารถของผู้ทำรัฐประหารในการให้ชนชั้นสูงและสาธารณชนเชื่อว่าความพยายามรัฐประหารจะประสบความสำเร็จ[7] เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จมีจำนวนลดลง[1] การรัฐประหารที่ล้มเหลวในระบอบอำนาจนิยมมีแนวโน้มที่จะทำให้อำนาจของผู้ปกครองเผด็จการเข้มแข็งขึ้น[8][9] จำนวนรัฐประหารสะสมเป็นตัวทำนายการรัฐประหารในอนาคตได้อย่างชัดเจน ปรากฏการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า "กับดักรัฐประหาร" (coup trap)[10][11][12][13]

ส่วน "มาตรการป้องกันรัฐประหาร" (coup-proofing) เป็นสิ่งที่ระบอบการปกครองสร้างโครงสร้างที่ทำให้กลุ่มเล็กใด ๆ ยึดอำนาจได้ยาก ยุทธศาสตร์ป้องกันการรัฐประหารเหล่านี้อาจรวมถึงการวางครอบครัว ชาติพันธุ์ และกลุ่มศาสนาในกองทัพตามเชิงยุทธศาสตร์ และการกระจายตัวหน่วยงานทางทหารและหน่วยความมั่นคง[14] อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ทำให้ประสิทธิผลฝ่ายทหารลดลง[15][16][17][18][19][20] เหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลเผด็จการมีแนวโน้มที่จะมีทหารที่ไร้ความสามารถก็คือ รัฐบาลเผด็จการกลัวว่าทหารจะก่อรัฐประหารหรือปล่อยให้เกิดการลุกฮือในประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองเผด็จการจึงมีแรงจูงใจที่จะวางผู้จงรักภักดีที่ไร้ความสามารถในตำแหน่งสำคัญของกองทัพ[21]

ผลลัพธ์

การรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จเป็นหนึ่งในวิธีการเปลี่ยนระบอบการปกครองที่ขัดขวางการเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติ[22][23]งานวิจัยใน พ.ศ. 2559 จัดผลลัพธ์ของรัฐประหารในระบอบเผด็จการที่เป็นไปได้ 4 รูปแบบ:[4]

  • รัฐประหารล้มเหลว
  • ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เช่น เมื่อผู้นำถูกสับเปลี่ยนอำนาจอย่างผิดกฎหมาย โดยไม่เปลี่ยนสถานะกลุ่มที่มีอำนาจหรือกฎหมายในการปกครอง
  • แทนที่ผู้ดำรงตำแหน่งด้วยเผด็จการคนอื่น
  • การโค่นล้มเผด็จการที่ตามมาด้วยประชาธิปไตย (มีชื่อเรียกว่า "democratic coups")[24]

รัฐประหารที่เกิดขึ้นในสมัยหลังสงครามเย็นมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดระบอบประชาธิปไตยมากกว่ารัฐประหารในสงครามเย็น[3][4][5] แม้ว่าการรัฐประหารส่วนใหญ่ยังคงใช้ระบอบอำนาจนิยมต่อไป[6] การรัฐประหารที่เกิดขึ้นในระหว่างสงครามกลางเมืองทำให้สงครามมีระยะเวลาสั้นลง[25]

ตัวทำนาย

บทวิจารณ์วรรณกรรมทางวิชาการใน พ.ศ. 2546 พบว่า ปัจจัยดังต่อไปนี้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดรัฐประหาร

  • ความไม่พอใจส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • ความไม่พอใจของหน่วยงานทางทหาร
  • ความเป็นที่นิยมของกองทัพ
  • ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางเจตคติของกองทัพ
  • การตกต่ำทางเศรษฐกิจ
  • วิกฤตการเมืองท้องถิ่น
  • อิทธิพลจากรัฐประหารในภูมิภาค
  • ภัยคุกคามจากภายนอก
  • การเข้ามีส่วนร่วมในสงคราม
  • การสมรู้ร่วมคิดกับอำนาจทางการทหารจากต่างประเทศ
  • หลักยึดเหนี่ยวของกองทัพต่อความมั่นคงของรัฐ
  • วัฒนธรรมทางการเมืองของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • หน่วยงานที่ขาดการมีส่วนร่วมทางการบริหาร
  • ประวัติของการเป็นอาณานิคม
  • การพัฒนาเศรษฐกิจ
  • การส่งออกที่ไม่กระจายรูปแบบ
  • องค์ประกอบทางชนชั้นของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • ขนาดของกองทัพ
  • ความเข้มแข็งของสังคมภาคพลเมือง
  • ความน่าไว้วางใจของระบบการปกครอง
  • ประวัติการเกิดรัฐประหารในรัฐ[26][10]

บทวิจารณ์วรรณกรรมใน พ.ศ. 2559 มีการกล่าวถึงปัจจัยอื่นเพิ่มเข้ามา เช่น ความแตกย่อยเป็นกลุ่มของกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic factionalism), การสนับสนุนจากรัฐบาลต่างประเทศ, ความขาดประสบการณ์ของผู้นำ, การเติบโตที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า, การสูงขึ้นของค่าครองชีพอย่างฉับพลัน และความยากจน[27]

กับดักรัฐประหาร

ตัวทำนายที่สำคัญหนึ่งของการเกิดรัฐประหารในอนาคตคือจำนวนรัฐประหารสะสมในอดีต[10][11][12]

ระบอบการปกครองและการแบ่งขั้ว

ระบบการปกครองแบบผสมมีแนวโน้มที่จะเกิดรัฐประหารมากกว่ารัฐเผด็จการหรือรัฐประชาธิปไตย[28]

ความเหลื่อมล้ำทางสังคมก็เป็นอีกตัวแปรที่ทำให้มีแนวโน้มเกิดรัฐประหารเพิ่มขึ้น[29]

รายชื่อผู้นำจากรัฐประหารในปัจจุบัน

ตารางด้านล่างแสดงรายชื่อประเทศและผู้นำที่เข้าสู่อำนาจจากรัฐประหาร และยังคงอยู่ในตำแหน่งในปัจจุบัน

ตำแหน่งผู้นำจากรัฐประหารผู้นำที่ถูกปลดประเทศเหตุการณ์วันที่
ประธานาธิบดีเตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโกฟรันซิสโก มาซิอัส อึงเกมา  อิเควทอเรียลกินีรัฐประหารในประเทศอิเควทอเรียลกินี ค.ศ. 19793 สิงหาคม พ.ศ. 2522
ประธานาธิบดีโยเวรี มูเซเวนีตีโต โอเคลโล  ยูกันดาสงครามบุช ยูกันดา29 มกราคม พ.ศ. 2529
ประธานาธิบดีเอมอมาลี ราห์มอนราห์มอน นาบีเยฟ[n 1]  ทาจิกิสถานสงครามกลางเมืองทาจิกิสถาน19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
ประธานาธิบดีเดอนี ซาซู-อึนแกโซปาสกัล ลิสซูบา  คองโกสงครามกลางเมืองสาธารณรัฐคองโก25 ตุลาคม พ.ศ. 2540
ประธานาธิบดีอับดุลฟัตตาห์ อัสซีซีมุฮัมมัด มุรซี  อียิปต์รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 25563 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ประธานสภาการเมืองสูงสุดมะห์ดี อัลมาซัตอับดราบบูห์ มันซูร์ หะดี[n 2]  เยเมนรัฐประหารในประเทศเยเมน ค.ศ. 2014–20156 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ประธานาธิบดีเอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวารอเบิร์ต มูกาบี[n 3]  ซิมบับเวรัฐประหารในประเทศซิมบับเว ค.ศ. 201724 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ประธานสภาเปลี่ยนผ่านอธิปไตยอับดุลฟัตตาห์ อัลบุรฮานอุมัร อัลบะชีร  ซูดานรัฐประหารในประเทศซูดาน ค.ศ. 201921 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ประธานสภาบริหารแห่งรัฐมี่นอองไลง์อองซานซูจี  พม่ารัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 25641 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ประธานกรรมการแห่งชาติเพื่อความอยู่รอดของประชาชนอัสซิมี โกอิตาบาห์ เอ็นดาอู  มาลีรัฐประหารในประเทศมาลี ค.ศ. 202125 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ประธานาธิบดีก็อยส์ ซะอีดฮิเชม เมชิชิ[n 4]  ตูนิเซียวิกฤตการการเมืองตูนิเซีย ค.ศ. 202125 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ประธานคณะกรรมการปรองดองและพัฒนาแห่งชาติมามาดี ดูมบูยาอาลฟา กงเด  กินีรัฐประหารในประเทศกินี พ.ศ. 25645 กันยายน พ.ศ. 2564
ประธานขบวนการรักชาติเพื่อการปกป้องและการฟื้นฟูอิบราฮิม ตราโอเร่ปอล-อ็องรี ดามีบา  บูร์กินาฟาโซรัฐประหารในประเทศบูร์กินาฟาโซ กันยายน ค.ศ. 202230 กันยายน พ.ศ. 2565
ประธานสภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอนอาบดูราอามาน ชียานีมุฮัมมัด บาซูม  ไนเจอร์รัฐประหารในประเทศไนเจอร์ พ.ศ. 256626 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
หัวหน้าคณะกรรมาธิการเพื่อการเปลี่ยนผ่านและฟื้นฟูรัฐธรรมนูญบรีซ โคลแตร์ ออลีกี เงมาอาลี บองโก ออนดิมบา  กาบองรัฐประหารในประเทศกาบอง พ.ศ. 256630 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง