การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557

การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557 หรือเรียก การปฏิวัติร่ม เริ่มเมื่อเดือนกันยายน 2557 เมื่อผู้สนับสนุนต่อต้านรัฐบาลในฮ่องกงประท้วงนอกสำนักงานใหญ่ของรัฐและยึดแยกสำคัญของนครหลายแยกหลังคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติประกาศคำวินิจฉัยต่อการปฏิรูปการเลือกตั้งเสนอ[12] คณะกรรมาธิการฯ ไม่อนุญาตการเสนอชื่อให้พลเมืองเลือก แต่ประกาศชัดว่า คณะกรรมการเลือกผู้สมัครจำนวน 1,200 คน ซึ่งยังมาจากการเสนอชื่อโดยกลุ่มแยกธุรกิจและถูกรัฐบาลจีนควบคุมอย่างเข้มงวด จะเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งสองถึงสามคนโดยมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งก่อนให้สาธารณะออกเสียงลงคะแนนเลือกคนเหล่านั้น[13] ซึ่งถูกมองว่าคัดกรองผู้สมัครนิยมประชาธิปไตยออกอย่างชะงัด

การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557; การปฏิวัติร่ม
ภาพผู้ชุมนุมบริเวณที่ทำการของรัฐบาลฮ่องกง ในวันที่ 10 ตุลาคม 2557
วันที่26 กันยายน – 15 ธันวาคม ค.ศ. 2014
สถานที่ฮ่องกง:
  • Admiralty (26 กันยายน – 11 ธันวาคม ค.ศ. 2014)
  • คอสเวย์ เบย์ (28 กันยายน – 15 ธันวาคม ค.ศ. 2014)
  • มงก๊ก (28 กันยายน – 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014)
  • จิมซาจุ่ย (1 ตุลาคม ค.ศ. 2014 – ตุลาคม ค.ศ. 2014)
สาเหตุการตัดสินใจของStanding Committee of the National People's Congress ให้มีการปฏิรูปการเลือกตั้ง
เป้าหมาย
  • คะแนนสากลของแท้[1][2][3][4]
  • การเพิกถอนการตัดสินของ NPCSC
  • ยกเลิกเขตเลือกตั้งของLegislative Council of Hong Kong
  • ให้ Leung Chun-ying ลาออก
วิธีการOccupations, sit-ins, การดื้อแพ่ง, การเดินขบวน, ความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต, hunger strikes, แฮกเกอร์
ผล
  • ทาง Standing Committee of the National People's Congress ไม่เปลี่ยนการตัดสินใจในเรื่องนี้[5]
  • ผู้สนับสนุนการขยายสิทธิออกเสียงเริ่มเดินประท้วง
  • สาธารณะไม่พอใจต่อค่ายประชาธิปไตยนิยม
  • การจำกัด และผู้ประท้วงฝ่ายอิสระมีมากขึ้น
  • รัฐบาลฮ่องกงและปักกิ่งควบคุมสื่อและการศึกษามากขึ้น
การยอมผ่อนปรนThe Hong Kong SAR government promises to submit a "New Occupy report" to the Chinese Central government,[6] but the content of the completed report has aroused public resentment again
คู่ขัดแย้ง

นักปฏิวัติร่ม

ผู้ประท้วงฝ่ายประชาธิปไตยนิยม
  • Hong Kong Federation of Students
  • Scholarism
  • Occupy Central with Love and Peace
  • Civic Passion
  • Pro-democracy camp
กลุ่มแฮกเกอร์
เจ้าหน้าที่
ผู้ต่อต้านการยึดครอง
  • Alliance for Peace and Democracy
  • Silent Majority for Hong Kong
  • Voice of Loving Hong Kong
  • Caring Hong Kong Power
  • Justice Alliance
  • Pro-Beijing camp
กลุ่มแฮกเกอร์
Triads[9]
  • Sun Yee On
  • Wo Shing Wo
ผู้นำ
บาดเจ็บและถูกจับ
บาดเจ็บ470+ (ในวันที่ 29 พ.ย.)[10]
ถูกจับกุม955[11]
75 คนยอมถูกจับ
Sites of significant protests
Sites of significant protests
Admiralty
Admiralty
Causeway Bay
Causeway Bay
Tsim Sha Tsui
Tsim Sha Tsui
การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557
การปฏิวัติร่ม
อักษรจีนตัวเต็ม雨傘革命
Umbrella Movement
อักษรจีนตัวเต็ม雨傘運動
Occupy Movement
อักษรจีนตัวเต็ม佔領行動

สหพันธ์นักศึกษาฮ่องกงและกลุ่มสะคอลาริซึม (Scholarism) เริ่มประท้วงนอกสำนักงานใหญ่ของรัฐเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557 คัดค้านคำวินิจฉัยของคณะกรรมาธิการฯ[14] เย็นวันที่ 26 กันยายน ผู้ประท้วงหลายร้อยคนฝ่าสิ่งกีดขวางความปลอดภัยแล้วเข้าลานหน้าศูนย์ราชการกลาง (Central Government Complex) อันเป็นพื้นที่สาธารณะที่ห้ามสาธารณะเข้าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 เจ้าหน้าที่ล้อมผู้ประท้วงไว้ในลานหน้าอาคารนั้นและจำกัดการเคลื่อนไหวข้ามคืน จนไล่ออกไปด้วยกำลังในวันรุ่งขึ้น ซึ่งรวมผู้นำนักศึกษา โจชัว หว่อง ซึ่งสุดท้ายถูกควบคุมตัวไว้นานกว่า 40 ชั่วโมง[15][16] ยึดเซ็นทรัลประกาศว่า พวกเขาจะเริ่มการรณรงค์ดื้อแพ่งทันที[17]

วันที่ 28 กันยายน ผู้ประท้วงสกัดกั้นทั้งเส้นทางสำคัญทั้งตะวันออก-ตะวันตกในตอนเหนือของเกาะฮ่องกงใกล้แอดมะรัลที (Admiralty) มีการใช้แก๊สน้ำตาต่อผู้ประท้วงที่ดูไม่มีอาวุธและสันติ ซึ่งเป็นชนวนให้มีพลเมืองเข้าร่วมการประท้วงมากขึ้นและยึดอ่าวเคิสเวย์ เซ็นทรัลและมงก๊ก กลุ่มสมาชิกไทรแอด (triad) จัดระเบียบโจมตีผู้ประท้วงอย่างสันติในวันที่ 3 ตุลาคม หลังรัฐบาลยุติปฏิบัติการกวาดล้าง ขณะนี้สหพันธ์นักศึกษาฮ่องกงและรัฐบาล กำลังมุ่งเจรจาเกี่ยวกับการปฏิรูปการเลือกตั้ง

่วันที่ 15 ธันวาคม ตำรวจฮ่องกงได้สลายการชุมนุมในเขตคอสเวย์เบย์[18][19]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง