การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย พ.ศ. 2557

การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมียจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2557 โดยสภานิติบัญญัติไครเมีย ตลอดจนรัฐบาลท้องถิ่นเซวัสโตปอล ซึ่งทั้งสองเป็นเขตการปกครองหนึ่งของประเทศยูเครน การลงประชามตินี้ถามประชาชนของทั้งสองเขตว่า คุณจะรวมไครเมียกับรัสเซียเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย หรือคุณต้องการฟื้นฟูรัฐธรรมนูญยูเครนปี 2535 และสถานภาพของไครเมียโดยเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน ตัวเลือกที่มีอยู่นั้นไม่รวมการรักษาสถานะเดิมของไครเมียและเซวัสโตปอลขณะที่จัดการลงประชามติ นักวิจารณ์หลายคนแย้งว่า ทั้งสองตัวเลือกล้วนส่งผลให้เกิดเอกราชโดยพฤตินัย[2][3][4]

การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย พ.ศ. 2557
16 มีนาคม ค.ศ. 2014 (2014-03-16)

Map of the Crimean peninsula with its political subdivisions
เขตการปกครองไครเมียลงสีตามผลจากประชามติ
สถานที่ไครเมีย สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย
เซวัสโตปอล
วันที่16 มีนาคม ค.ศ. 2014 (2014-03-16)
Voting systemการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย[a][ต้องการอ้างอิง]
เข้าร่วมสหพันธรัฐรัสเซีย
  
96.77%
ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญฉบับ 1992
  
2.51%
บัตรเสีย
  
0.72%
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง: 83.1%
เซวัสโตปอล[1]
เข้าร่วมสหพันธรัฐรัสเซีย
  
95.60%
ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญฉบับ 1992
  
3.37%
บัตรเสีย
  
1.03%
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง: 89.5%
แบบลงประชามติ

หลังการลงมติ ทางการชี้ว่า ผู้ออกเสียงกว่า 96% สนับสนุนตัวเลือกเข้าร่วมกับประเทศรัสเซีย[5] โดยมีผู้มาใช้สิทธิกว่า 80%[6][7][8] มีรายงานว่า บุคคลสามารถออกเสียงลงคะแนนได้หลายครั้งและบุคคลออกเสียงลงคะแนนได้แม้บุคคลนั้นไม่ได้เป็นชาวไครเมีย โดยมีผู้มาใช้สิทธิเกิน 100% ในบางพื้นที่[9][10]

วันที่ 17 มีนาคม รัฐสภาไครเมียและนครเซวัสโตปอลออกคำประกาศอิสรภาพไครเมียและเซวัสโตปอล แสดงความตั้งใจเข้าร่วมกับประเทศรัสเซียในระหว่างผลสนับสนุนในการลงประชามติ[11][12]

โลกตะวันตกประณามการลงประชามตินี้อย่างกว้างขวางในเรื่องความชอบธรรมและเหตุการณ์แวดล้อม สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและอีกหลายชาติประณามการตัดสินใจจัดการลงประชามติ มาฮ์จิสชาวตาตาร์ไครเมีย สมาคมทางการเมืองอย่างไม่เป็นทางการของชาวตาตาร์ไครเมีย เรียกร้องการคว่ำบาตรการลงประชามตินี้[13][14] คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่สามารถผ่านข้อมติในการประกาศให้การลงประชามตินี้ไม่สมบูรณ์ เพราะประเทศรัสเซียใช้สิทธิยับยั้งในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีฯ สมาชิกสิบสามประเทศลงมติเห็นชอบข้อมติ และหนึ่งประเทศงดออกเสียง[15][16]

สาธารณรัฐไครเมียประกาศเอกราชจากประเทศยูเครนในวันรุ่งขึ้น โดยเริ่มแสวงการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ และร้องขอเข้าร่วมกับสหพันธรัฐรัสเซีย[17] ในวันเดียวกัน ประเทศรัสเซียรับรองว่าไครเมียเป็นรัฐเอกราช[18][19]

อ้างอิง


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง