ขบวนการไซออนิสต์

อุดมการณ์และขบวนการชาตินิยมยิวบนแผ่นดินของอิสราเอล

ขบวนการไซออนิสต์ (อังกฤษ: Zionism; ฮีบรู: צִיּוֹנוּתTsiyyonut) เป็นทั้งอุดมการณ์[2] และขบวนการชาตินิยม[3] ในหมู่ชาวยิวทั้งที่เชื่อในการสถาปนาใหม่และสนับสนุน[4] รัฐยิวในบริเวณที่นิยามว่าเป็นแผ่นดินอิสราเอลในประวัติศาสตร์ (โดยประมาณตรงกับคานาอัน แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ หรือภูมิภาคปาเลสไตน์)[5][6] ขบวนการไซออนิสต์สมัยใหม่เกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกเป็นขบวนการฟื้นฟูชาติ ทั้งเป็นปฏิกิริยาต่อความเกลียดกลัวยิวที่เกิดเป็นระลอก และยุคภูมิธรรมยิว (Haskalah)[7][8][9] ไม่นานหลังจากนั้น ผู้นำขบวนการส่วนใหญ่ตั้งเป้าหมายหลักคือการสร้างรัฐในปาเลสไตน์ ซึ่งในเวลานั้นอยู่ในการควบคุมของจักรวรรดิออตโตมัน[10][11][12]

ธีโอดอร์ เฮิร์ซล์ ผู้นำลัทธิไซออน
อาณาเขตของมณฑลซีเรียปาเลสตีนาของจักรวรรดิโรมัน[a]

จนถึงปี 1948 เป้าหมายหลักของนักขบวนการไซออนิสต์คือการสถาปนาเอกราชยิวใหม่ในแผ่นดินอิสราเอล รวบรวมผู้ถูกเนรเทศ และปลดปล่อยยิวจากการเลือกปฏิบัติเกลียดกลัวยิว และการบีฑาต่าง ๆ ที่ประสบ นับแต่การสถาปนารัฐอิสราเอลในปี 1948 ขบวนการไซออนิสต์ยังส่งเสริมในนามของอิสราเอลเป็นหลัก และจัดการกับภัยคุกคามการอยู่รอดและความมั่นคงของรัฐนั้น

คำว่า "ไซออนิสต์" มาจากคำว่าไซออน ซึ่งหมายถึงนครเยรูซาเล็ม

ภาพรวม

ลักษณะร่วมของนักขบวนการไซออนิสต์ทุกประเภทคือการอ้างแผ่นดินอิสราเอลเป็นมาตุภูมิแห่งชาติของยิวและเป็นความมุ่งสนใจโดยชอบของการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของชาติยิว โดยตั้งอยู่บนพันธะทางประวัติศาสตร์และประเพณีศาสนาที่เชื่อมโยงชาวยิวกับแผ่นดินอิสราเอล นักขบวนการไซออนิสต์ไม่ได้มีอุดมการณ์แบบเดียวกันทุกคน แต่มีวิวัฒนาการในคำโต้ตอบในบรรดาอุดมการณ์ต่าง ๆ เช่น ไซออนิสต์ทั่วไป ไซออนิสต์ศาสนา ไซออนิสต์แรงงาน ไซออนิสต์แก้ ไซออนิสต์เขียว เป็นต้น

หลังยิวได้กระจัดกระจายออกจากมาตุภูมิเกือบสองสหัสวรรษ อยู่ตามประเทศต่าง ๆ โดยไม่มีรัฐชาติของตน ขบวนการไซออนิสต์ก่อตั้งขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยยิวฆราวาส ส่วนใหญ่เป็นการตอบสนองของชาวยิวอัชเคนาซิต่อการต่อต้านยิวที่เพิ่มขึ้นในทวีปยุโรป ขบวนการทางการเมืองนี้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยนักหนังสือพิมพ์ชาวออสเตรีย-ฮังการี ธีโอดอร์ เฮิร์ซล์ ในปี 1897 ขณะนั้นขบวนการดังกล่าวส่งเสริมให้ยิวอพยพไปยังปาเลสไตน์ของออตโตมัน

สมาชิกสร้างพันธมิตรกับบริเตนใหญ่และได้รับการสนับสนุนอยู่บ้างในการอพยพยิวเข้าสู่ปาเลสไตน์ สมาชิกยังกะเกณฑ์ยิวในยุโรปให้เข้าเมืองที่นั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจักรวรรดิรัสเซียที่ความเกลียดชังยิวดำเนินไปอย่างรุนแรง พันธมิตรกับบริเตนเสื่อมลงหลังบริเตนทราบเจตนาของขบวนการยิวต่อชาวอาหรับในปาเลสไตน์ แต่การดำเนินการยังดำเนินต่อไป ขบวนการดังกล่าวประสบความสำเร็จในกาสถาปนารัฐอิสราเอลในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 เป็นมาตุภูมิของชาวยิว สัดส่วนชาวยิวของโลกที่อาศัยอยู่ในอิสราเอลเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนับแต่ขบวนการนี้ถือกำเนิดขึ้น

ภูมิหลัง

ประชากรในภูมิภาคปาเลสไตน์ จำแนกตามศาสนาต่าง ๆ ไม่นับคนเร่ร่อน[13]
ปีมุสลิมชาวยิวคริสเตียนอื่นๆรวม
1922486,177 (74.91%)83,790 (12.91%)71,464 (11.01%)7,617 (1.17%)649,048
1931493,147 (64.32%)174,606 (22.77%)88,907 (11.60%)10,101 (1.32%)766,761
1941906,551 (59.68%)474,102 (31.21%)125,413 (8.26%)12,881 (0.85%)1,518,947
19461,076,783 (58.34%)608,225 (32.96%)145,063 (7.86%)15,488 (0.84%)1,845,559

ดูเพิ่ม

  • American Council for Judaism
  • Gathering of Israel
  • List of Zionist figures
  • Yehud Medinata
  • Jewish Agency for Israel

เชิงอรรถ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

ข้อมูลปฐมภูมิ
ข้อมูลทุติยภูมิ
  • Armborst-Weihs, Kerstin: The Formation of the Jewish National Movement Through Transnational Exchange: Zionism in Europe up to the First World War, European History Online, Mainz: Institute of European History, 2011, retrieved: August 17, 2011.
  • A. B. Masilamani, Zionism in Melu Kolupu (Telugu), Navajeevana Publications, Vijayanagar Colony, Hyderabad, 1984, pp. 121–126.
  • Beller, Steven. Herzl (2004)
  • Brenner, Michael, and Shelley Frisch. Zionism: A Brief History (2003) excerpt and text search
  • Butler, Judith: Parting Ways: Jewishness and the Critique of Zionism. Columbia University Press, 2013. ISBN 978-0231146111
  • Cohen, Naomi. The Americanization of Zionism, 1897–1948 (2003). 304 pp. essays on specialized topics
  • Friedman, Isaiah. "Theodor Herzl: Political Activity and Achievements," Israel Studies 2004 9(3): 46–79, online in EBSCO
  • Hacohen, Dvorah (1991), "BenGurion and the Second World War", ใน Jonathan Frankel (บ.ก.), Studies in Contemporary Jewry : Volume VII: Jews and Messianism in the Modern Era: Metaphor and Meaning, Oxford University Press, ISBN 978-0195361988
  • Hakohen, Devorah (2003), Immigrants in Turmoil: Mass Immigration to Israel and Its Repercussions in the 1950s and After, Syracuse University Press, ISBN 978-0815629696
  • David Hazony, Yoram Hazony, and Michael B. Oren, eds., "New Essays on Zionism," Shalem Press, 2007.
  • Kloke, Martin: The Development of Zionism Until the Founding of the State of Israel, European History Online, Mainz: Institute of European History, 2010, retrieved: June 13, 2012.
  • Laqueur, Walter. A History of Zionism: From the French Revolution to the Establishment of the State of Israel (2003) survey by a leading scholar excerpt and text search
  • Medoff, Rafael (1998). "Review Essay: Recent Trends in the Historiography of American Zionism". American Jewish History. 86: 117–134. doi:10.1353/ajh.1998.0002. S2CID 143834470.
  • Motyl, Alexander J. (2001). Encyclopedia of Nationalism, Volume II. Academic Press. ISBN 978-0-12-227230-1.
  • Pawel, Ernst. The Labyrinth of Exile: A Life of Theodor Herzl (1992) excerpt and text search
  • Sachar, Howard M. A History of Israel: From the Rise of Zionism to Our Time (2007) excerpt and text search
  • Shimoni, Gideon. The Zionist Ideology (1995)
  • Taub, Gadi. The Settlers and the Struggle over the Meaning of Zionism (2010, Hebrew, English)
  • Taylor, A.R., 1971, "Vision and intent in Zionist Thought'" in The transformation of Palestine, ed. by I. Abu-Lughod, ISBN 0-8101-0345-1, Northwestern University Press, Evanston, IL
  • Urofsky, Melvin I. American Zionism from Herzl to the Holocaust (1995), a standard history
  • Wigoder, Geoffrey, ed. New Encyclopedia of Zionism and Israel (2nd ed. 2 vol. 1994); 1521 pp

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง