คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์

คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์[12] หรือ ศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย[13] (รัสเซีย: Русская православная церковь; อังกฤษ: Russian Orthodox Church) ในยุคก่อนปี ค.ศ. 1943 เรียกว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์แห่งรัสเซีย คือประชาคมของคริสต์ศาสนิกชนซึ่งรวมกันเป็นคริสจักรแบบออโตเซฟาลีในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โดยอยู่ภายใต้เขตอำนาจของอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง และรวมในคอมมิวเนียนเดียวกับเขตอัครบิดรอื่นที่อยู่ในสังกัดคริสจักรAngkorWat

Russian Orthodox Cross
คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์
(เขตอัครบิดรมอสโก)
รัสเซีย: Русская православная церковь
อาสนวิหารพระคริสต์ผู้ช่วยให้รอด มอสโก
อักษรย่อROC
กลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ความโน้มเอียงออร์ทอดอกซ์รัสเซีย
คัมภีร์ไบเบิลฉบับเอลิซาเบธ (สลาวอนิกคริสตจักร)
ไบเบิลซีนอด (รัสเซีย)
เทววิทยาเทววิทยาอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
แผนการปกครองการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล
การปกครองซีนอด
โครงสร้างคอมมูนเนียน
ไพรเมตอัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก
บิชอป382 (2019)[1]
นักบวชนักบวชเต็มเวลา 40,514 องค์ ประกอบด้วยบาทหลวง 35,677 องค์ และพันธบริกร 4,837 องค์[1]
แพริช38,649 (2019)[1]
มุขมณฑล314 (2019)[2]
อาราม972 (474 ชาย, 498 หญิง) (2019)[1]
สมาคมสภาคริสตจักรโลก[3]
ภูมิภาครัสเซีย, รัฐอดีตโซเวียต, ชาวรัสเซียโพ้นทะเล
ภาษาสลาวอนิกคริสตจักร, รัสเซีย
พิธีกรรมจารีตบีแซนทีน
ศูนย์กลางอารามดานีลอฟ มอสโก รัสเซีย
55°42′40″N 37°37′45″E / 55.71111°N 37.62917°E / 55.71111; 37.62917
ผู้ก่อตั้งวลาดีมีร์มหาราช[4][a]
ต้นกำเนิด988
กีวันรุส
เอกราช1448 โดยพฤตินัย[7]
การยอมรับ
แยกออก
  • คริสต์ศาสนาเชิงจิตวิญญาณ (ศ.16 เป็นต้นมา)
  • ผู้เชื่อเก่า (กลาง ศ.17)
  • คริสตจักรกาตากูมบ์ (1925)
  • คริสตจักรออร์ทอดอกซ์รัสเซียแท้จริง (2007; เล็กมาก)
  • คริสตจักรออร์ทอดอกซ์ยูเครน (2022)
  • คริสตจักรออร์ทอดอกซ์ลัตเวีย (2022)
สมาชิก110 ล้าน (95 ล้านอยู่ในรัสเซีย, รวม 15 ล้านในคริสตจักรเอกเทศที่เกี่ยวข้อง)[8][9][10][11]
ชื่ออื่น
  • Russian Church
  • Moscow Patriarchate
เว็บไซต์ทางการpatriarchia.ru

คริสตจักรนี้ถือเป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาคริสตจักรทั้งหมดที่สังกัดคริสจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และเป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก[14] ตามข้อมูลสถิติที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ค.ศ. 2010 คริสตจักรนี้มี 160 เขตมิสซังซึ่งประกอบด้วย 30,142 แพริช บริหารงานโดยบิชอป 207 องค์ บาทหลวง 28,434 องค์ และพันธบริกร 3,625 คน มีอารามสังกัดถึง 788 แห่ง เป็นของนักพรตชาย 386 แห่ง และของนักพรตหญิงอีก 402 แห่ง[15] ประมุขสูงสุดองค์ปัจจุบันคือ อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก

ประวัติ

คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ตามที่สืบทอดมาจากนักบุญอันดรูว์ อัครทูตคนแรกของพระเยซู ซึ่งมีตำนานระบุว่าท่านเคยทำการประกาศข่าวดีที่ภูเขาเคียฟ ส่วนข้อเท็จจริงที่ยอมรับกันในปัจจุบันก็คือ รัสเซียรับคริสต์ศาสนามาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์

บุคคลสำคัญคือนักบุญคิริลและนักบุญมิโทเดียสที่ได้เผยแผ่ศาสนาคริสต์ในรัสเซียตอนใต้ ชาวรัสเซียจึงขนานนามท่านทั้งสองว่า ผู้เป็นแสงสว่างแก่ชาวสลาฟ และเมื่อ ค.ศ. 954 นักบุญเจ้าหญิงโอลกาแห่งเคียฟ ( Princess Olga of Kiev) ได้รับศีลล้างบาป โดยทรงเป็นคริสตชนคนแรกในประวัติศาสตร์ของชาวรัสเซีย และเมื่อปี ค.ศ. 988 เจ้าชายวลาดีมีร์ (Prince Vladimir) พระนัดดาในเจ้าหญิงโอลกา ได้มีการรับศีลล้างบาปเป็นคริสตชนอย่างสมบูรณ์

ในระยะแรก ศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียขึ้นตรงกับเขตอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล จนกระทั่งได้ยกฐานะขึ้นเป็นเขตอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสเซียทั้งมวล ในปี ค.ศ. 1589 โดยมียอฟแห่งมอสโกเป็นอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งมวลเป็นองค์แรก ในศตวรรษที่ 10 - 11 โบสถ์และอารามก็เริ่มสร้างและพัฒนาขึ้นมาหลายแห่ง

ในปี ค.ศ. 1051 นักบุญแอนโทนีแห่งคูหา (St. Anthony of the Caves) ได้สร้างอารามแห่งคูหา (Monastery of the Caves) ในเมืองเคียฟ และนำประเพณีต่าง ๆ แบบอาธอเนียนเข้ามาในรัสเซีย อารามแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวรัสเซีย ในจดหมายเหตุได้บันทึกไว้หลายเล่ม ด้วยการเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาในสมัยรัสเซียโบราณ อารามมีความเจริญรุ่งเรือง และมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของชาวรัสเซีย อารามแห่งนี้ได้มีการวาดภาพไอคอน พระเป็นเจ้า ศีลปะ วรรณคดี ผลงานทางศาสนา และ ประวัติศาสตร์ผู้แปลวรรณกรรมเป็นภาษารัสเซียอยู่จำนวนมาก[16]

ศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียในประเทศไทย

อ้างอิง


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง