ซุคฮอย ซู-30

ซุคฮอย ซู-30 (อังกฤษ: Sukhoi Su-30, Flanker-C) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าแฟลงเกอร์-ซี) เป็นเครื่องบินทางทหารสองเครื่องยนต์ที่สร้างโดยบริษัทการบินซุคฮอยของรัสเซียและเริ่มนำเข้ามาใช้ปฏิบัติการในปีพ.ศ. 2539 มันเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีสองที่นั่งสำหรับภารกิจขัดขวางทางอากาศและพื้นดินในทุกสภาพอากาศ มันเทียบได้กับเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล

ซุคฮอย ซู-30
Су-30
บทบาทเครื่องบินขับไล่โจมตีหลากบทบาท
ชาติกำเนิด รัสเซีย
บริษัทผู้ผลิตซุคฮอย
บินครั้งแรกพ.ศ 2532
เริ่มใช้พ.ศ. 2539
สถานะปฏิบัติการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศรัสเซีย
กองทัพอากาศอินเดีย
กองทัพอากาศแอลจีเรีย
กองทัพอากาศจีน
จำนวนที่ผลิต612+
มูลค่า37.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2555)
พัฒนามาจากซุคฮอย ซู-27
แบบอื่นซุคฮอย ซู-30เอ็มเคไอ
ซุคฮอย ซู-30เอ็มเคเค

เครื่องบินเป็นรุ่นที่ถูกทำให้ทันสมัยของซู-27ยูบีและมีแบบที่หลากหลาย ซู-30เคและซู-30เอ็มเคเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จทางการค้า แบบอื่น ๆ นั้นถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทที่เข้าแข่งขันกันคือเคเอ็นเอเอพีโอ (Komsomolsk-on-Amur Aircraft Production Association, KnAAPO) และอิร์คุต (IRKUT Corporation) ทั้งสองอยูภายใต้ข้อกำหนดของซุคฮอย บริษัทแรกทำการผลิตซู-30เอ็มเคเคและซู-30เอ็มเค2 ซึ่งออกแบบและขายให้กับจีนและอินโดนีเซีย ไอร์คัทสร้างซู-30เอ็มเคที่มีพิสัยไกลและหลากบทบาท ซึ่งรวมทั้งซู-30เอ็มเคไอที่สร้างมาเพื่อกองทัพอากาศอินเดียและแบบอื่น ๆ ที่พัฒนามาจากมันอย่าง เอ็มเคเอ็ม เอ็มเคเอ และเอ็มเควี ถูกสร้างให้กับมาเลเซีย แอลจีเรีย และเวเนซุเอลาตามลำดับ

การพัฒนา

เครื่องบินสกัดกั้นพิสัยไกลซู-27พียู

ในขณะที่ซู-27 มีพิสัยที่ยอดเยี่ยม มันก็ยังขาดความสามารถในการป้องกันที่เพียงพอตามความต้องการของกองกำลังป้องกันทางอากาศของโซเวียต ซึ่งต้องการให้มันทำการปกคลุมทั่วแผนดินอันกว้างใหญ่ของสหภาพโซเวียต ดังนั้นการพัฒนาจึงเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2529 โดยเรียกว่าซู-27พียู ด้วยความสามารถที่แตกต่างจากซู-27 ที่สามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องบินสกัดกั้นพิสัยไกลหรือกองบัญชาการทางอากาศได้ ซู-27ยูบีแบบสองที่นั่งถูกเลือกเข้าพัฒนาเป็นซู-27พียู เพราะว่ามันมีการทำงานที่เหมือนกับซู-27 ที่นั่งเดียว และยังมีจุดสำคัญที่นักบินสองนายเพื่อทำภารกิจระยะไกล การบินทดสอบเริ่มขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2530 และนำไปสู่การยกเลิกต้นแบบก่อนหน้า ซู-27พียูทำการบินครั้งแรกที่ไอร์คุทสค์ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2532 และสามลำแรกของซีรีส์สทำการบินในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2535

เพื่อใช้งานซู-27ยูบีในบทบาทใหม่ เครื่องบินจึงมีระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศเพื่อเพิ่มพิสัย ส่วนนี้ถูกติดตั้งที่ด้านซ้ายของจมูก และเพื่อให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมจึงมีการติดตั้งระบบไออาร์เอสทีเข้าไปที่ด้านขวา ระบบอิเลคทรอนิกอากาศของมันถูกเปลี่ยนใหม่ ด้วยการติดตั้งระบบการสื่อสารพิเศษและอุปกรณ์นำวิถีเพื่อควบคุมรูปขบวนของซู-27 แบบที่นั่งเดียว ห้องนักบินหลังได้รับการติดตั้งจอแสดงผล[ซีอาร์ที]ซึ่งให้ข้อมูลทางยุทธวิธี ระบบนำร่องและระบบควบคุมการบินที่บังคับด้วยข้อมูลฟลาย-บาย-ไวร์ยังถูกพัฒนาอีกเช่นกัน มันมีเรดาร์เอ็น001 ที่ให้ความสามารถในการโจมตีทางอากาศสู่พื้นและเพื่อติดตามและเข้าปะทะหลายเป้าหมายได้ในเวลาเดียวกัน

ซุคฮอยได้เสนอให้ซู-27พียูเป็นอากาศยานที่เป็นผู้สั่งการและควบคุมเครื่องบินขับไล่ในกลุ่มอื่น ๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของการแจ้งเตือนทางอากาศโดยมีผู้นั่งข้างหลังที่ทำหน้าที่ใช้เรดาร์และการแบ่งข้อมูลเพื่อสั่งการเครื่องบินลำอื่น อย่างไรก็ตามโซเวียตไม่สนใจในการซื้อซู-27พียู ซู-27พียูทั้ง 5 ลำพร้อมชื่อใหม่คือซู-30 เป็นแค่เพียงเครื่องบินฝึกในโซเวียต

ซู-30เอ็มสองที่นั่งถูกเสนอให้กับรัสเซียและสร้างออกมาในจำนวนที่น้อยมากในปีทศวรรษที่ 1990

ซูคอยได้เสนอรุ่นสำหรับส่งออก คือ ซู-30เอ็มเค โดยได้ทำการแสดงในงานที่ปารีสเมื่อปีพ.ศ. 2536

การออกแบบ

ซู-30 เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาท มันมีสองที่นั่งพร้อมระบบเบรกอากาศที่อยู่ถัดห้องนักบินไปทางด้านหลัง

เครื่องบินขับไล่ความยืดหยุ่นสูง

ซู-30เอ็มเคสามารถทำภารกิจได้อย่างหลากหลายในระยะไกลจากฐานบิน ได้ในทุกสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม ทั้งกลางวันและกลางคืน

เครื่องบินนี้มีความพอดีในด้านยุทธวิธีและการใช้งาน มันทำงานได้ตั้งแต่การตอบโต้ทางอากาศไปจนถึงการโจมตีภาคพื้นดิน การกดดันการป้องกันทางอากาศของศัตรู การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด และการโจมตีทางทะเล นอกจากนี้ซู-30เอ็มเคยังสามารถทำหน้าที่แจ้งเตือนทางอากาศเช่นเดียวกับควบคุมบัญชาการการโจมตีทางอากาศที่เข้าร่วมภารกิจ

มุมปะทะ

โครงสร้างอากาศพลศาสตร์ของซู-30เอ็มเคเป็นแบบเครื่องบินปีกสามชุดที่มีเส้นแวงที่ไม่เสถียร เพื่อเพิ่มแรงยกที่มีประสิทธิภาพและเพิ่มความคล่องแคล่วของเครื่องบินจึงมีการติดตั้งปีกปลอมเข้าไป พวกมันจะสะท้อนอัตโนมัติเพื่อทำให้การควบคุมยังอยู่ในมือของนักบินในตอนที่ทำมุมปะทะระดับสูง อย่างไรก็ตามมีเพียงซู-30 บางรุ่นอย่างเอ็มเคไดเท่านั้นที่มีปีกปลอม

กระบวนท่าพูกาเชฟส์คอบรา

กระบวนท่าพูกาเชฟคอบร้าของ ซู-27 และ ซู-30

ด้วยโครงสร้างทางอากาศพลศาสตร์ที่ผสมเข้ากับความสามารถในการควบคุมแรงขับ บวกกับความสามารถในการทรงตัวเป็นเลิศในทุกย่านความเร็ว มันส่งผลให้เกิดกระบวนท่าที่ไม่เคยมีมาก่อนและการบินขึ้น-ลงที่ไม่เหมือนใคร มันมีระบบฟลาย-บาย-ไวร์แบบดิจิตอลที่ทำให้มันสามารถทำกระบวนท่ายาก ๆ ได้ นั่นรวมทั้งพูกาเชฟส์คอบราและเบลล์ นั่นทำให้เครื่องบินสามารถลดความเร็วได้อย่างรวดเร็วจนทำให้เครื่องบินที่ตามหลังมานั้นหลุดจากการล็อกเป้า[1] เครื่องบินยังสามารถทำการเลี้ยว 360 องศาได้โดยที่ไม่สูญเสียระดับ

เครื่องยนต์หลัก

เครื่องบินมีเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแซทเทิร์น เอแอล-31เอฟพร้อมสันดาปท้ายสองเครื่องยนต์ แต่ละเครื่องให้กำลังเครื่องละ 27,550 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปโดยทำความเร็วได้ถึง 2 มัค ทำความเร็วในระดับความสูงต่ำได้ 1,350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอัตราการไต่ระดับที่ 230 เมตรต่อวินาที

ด้วยเชื้อเพลิงปกติขนาด 5,270 กิโลกรัม ซู-30เอ็มเคจะสามารถทำการบินได้ 4.5 ชั่วโมงในระยะ 3,000 กิโลเมตร ในกรณีที่เติมเชื้อเพลิงทางอากาศจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ชั่วโมงในระยะ 5,200 กิโลเมตร

ด้วยทางเลือกในการเพิ่มระยะอย่างมีประสิทธิภาพทำให้มันมักทำภารกิจตั้งแต่ลาดตระเวนระยะยาวและคุ้มกันการสกัดกั้นระยะไกลไปจนถึงการโจมตีภาคพื้นดิน

นักบินสองนาย

ด้วยนักบินสองนายใช้แนวคิดในการเพิ่มขีดสมรรถนะในการสู้รบเพราะว่าเป็นการลดภาระหลายหน้าที่ ที่นักบินหนึ่งคนจะต้องปฏิบัติ ในขณะที่นักบินคนแรกทำหน้าทีควบคุมเครื่องบิน ตัดสินใจใช้อาวุธ และหลบหนีหลีกเลี่ยง นักบินคนที่สองมีหน้าที่ควบคุมอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นเพื่อโจมตีจากระยะไกล ทำการเฝ้าดูสภาพแวดล้อมทางยุทธวิธีเพื่อระวังภัย และทำการควบคุม-บัญชาการงานในกลุ่มที่ทำภารกิจร่วม

ระบบอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนการบิน

  • มันมีทั้งเรดาร์เอ็น001วีอีและเอ็น010 ซูค หรือเอ็น011เอ็ม บาร์ส สามารถจับเป้าหมายได้ 15 เป้าหมายในอากาศในขณะที่ทำการโจมตี 4 ในนั้นได้ทันที เรดาร์เอ็น011เอ็ม บาร์สจะตรวจจับข้าศึกขนาดใหญ่ที่อยู่บนผิวน้ำจากระยะ 400 กิโลเมตร และสำหรับเป้าขนาดเล็ก
  • ระบบอื่น ระบบอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนการบินยังรวมทั้งระบบนำร่องและแสดงภาพภูมิประเทศพร้อมระบบไจโร หมวกติดจอแสดงผล แสดงภาพสถานการณ์ตรงหน้า/เฮด-อัพดิสเพลย์ จอแอวซีดี และระบบจีพีเอส
  • กระเปาะเล็งเป้าอินฟราเรดและเลเซอร์มีไว้เพื่อจับเป้าหมายและเข้าปะทะกับเป้าหมายขนาดเล็กบนพื้นดิน เครื่องบินยังทำหน้าที่รบกวนเรดาร์ของศัตรูได้เช่นกัน
  • เครื่องบินมีจุดเด่นที่นักบินอัตโนมัติที่ทำการบินได้ทั้งในระดับต่ำตามภูมิประเทศ และการบินเป็นกลุ่มเพื่อเข้าปะทะเป้าหมายบนพื้นและอากาศ ระบบควบคุมอัตโนมัติจะทำการบินตามเส้นทาง ที่หมาย และทำการลงจอดเอง

ประวัติการใช้งาน

ในปีพศ. 2547 กองทัพอากาศสหรัฐได้ส่ง เอฟ-15ซี/ดี เข้าร่วมซ้อมรบกับกองทัพอากาศอินเดีย ในปฏิบัติการ Cope-India 04 ซึ่งทางอินเดียได้ใช้ Sukhoi Su-30MKI เป็นเครื่องครองสภาพอากาศ ผลปรากฏว่าชัยชนะเป็นของฝ่ายอินเดียในการประลอง [2]

มูลค่า

  • ซู-30เคมีมูลค่าประมาณ 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
  • ซู-30เอ็มเคเคมีมูลค่าประมาณ 53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รุ่นต่าง ๆ

ซู-27พียู
เป็นเครื่องบินสกัดกั้นพิสัยไกลที่มีพื้นฐานมาจากซู-27ยูบีสองที่นั่ง ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็นซู-30
ซู-30
รุ่นทดสอบสำหรับระบบปีกปลอม
ซู-30เค
รุ่นสำหรับการตลาดของซู-30
ซู-30เคไอ
เป็นรุ่นที่ซุคฮอยเสนอให้กับกองทัพอากาศรัสเซียเพื่อพัฒนาซู-27เอสหนึ่งที่นั่ง นอกจากนี้มันยังถูกเสนอให้กับอินโดนีเซีย ซึ่งสั่งซื้อไว้ 24 ลำแต่ต่อมาต้องยกเลิกเพราะวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540[4] มันเป็นเครื่องบินในตระกูลซู-30 แบบเดียวที่มีหนึ่งที่นั่ง
ซู-30เคเอ็น
เป็นการพัฒนาของซู-27ยูบี ซู-30 และซู-30เค
ซู-30เอ็ม
เป็นการพัฒนาซู-27พียู มันเป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทลำแรกในตระกูลซู-27
ซู-30เอ็มเค
รุ่นทางการตลาดของซู-30เอ็ม ปรากฏตัวครั้งแรกในปีพ.ศ. 2536
ซู-30เอ็ม2
ซู-30เอ็มเคที่ได้รับการพัฒนาด้วยปีกปลอมและทีวีซี
ซู-30เอ็มเคไอ
เอ็มเคไอย่อมาจาก "Modernizirovannyi Kommercheskiy Indiski" ที่แปลว่า "Modernized Commercial India" หรือ แบบทางตลาดที่พัฒนาแล้วสำหรับอินเดีย มันเป็นการพัฒนาร่วมกับบริษัทของอินเดีย การควบคุมแรงขับหรือทีวีซีและปีกปลอม มันมีระบบอิเลคทรอนิกสากลที่มีพื้นฐานมาจากทั้งของ อิสราเอล อินเดีย รัสเซีย และฝรั่งเศส[5]
ซุคฮอย ซู-30เอ็มเคเค
เป็นรุ่นส่งออกให้กับจีน
ซู-30เอ็มเคเอ็ม
มีพื้นฐานมาจากรุ่นเอ็มเคไอ มันได้รับการพัฒานอย่างมากให้กับกองทัพอากาศมาเลเซียโดยมีระบบอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนการบินที่ผสมมาจากของฝรั่งเศส แอฟริกาใต้ และรัสเซีย มันมีจุดเด่นที่จอแสดงภาพสถานการณ์ตรงหน้าเฮด-อัพดิสเพลย์ ระบบอืนฟราเรดนำร่องด้านหน้า และกระเปาะเลเซอร์จากฝรั่งเศส เซ็นเซอร์เตือนขีปนาวุธ เอ็มเอดับบลิว-300 อาร์ดับบลิวเอส-50 และเซ็นเซอร์เตือนเลเซอร์จากซ้าบ[6] เช่นเดียวกับเรดาร์เอ็น001เอ็ม บาร์สจากรัสเซีย ระบบสงครามอิเลคทรอนิก ระบบระบุตำแหน่ง และห้องนักบินที่พัฒนาจอแสดงภาพดิจิตอล[7] อื่น ๆ ก็มีระบบสัญญาณให้ข้อมูล ตอบสนองการสั่งการและการคำนวณควบคุมการบินหลักจากกู้ดริชและระบบสื่อสารจากเยอรมนี
ซู-30เอ็มเควี
รุ่นส่งออกให้กับเวเนซูเอล่าที่เหมือนกับซู-30เอ็มเค2 อย่างมาก
ซู-30เอ็มเค2
เป็นซู-30เอ็มเคเคที่พัฒนาในเรื่องระบบอิเลคทรอนิกอากาศซึ่งสนับสนุนการใช้ขีปนาวุธต่อต้านเรือ
ซู-30เอ็มเค2วี
เป็นซู-30เอ็มเค2 ที่ส่งออกให้กับเวียดนามพร้อมกับการดัดแปลงอีกเล็กน้อย
ซู-30เอ็มเค3
ซู-30เอ็มเคเคที่มีเรดาร์ของซูคและมีขีปนาวุธต่อต้านเรือเคเอช-59เอ็มเค
ซู-30เอ็มเคเอ
เป็นรุ่นพิเศษของแอลจีเรียที่คล้ายกับรุ่นเอ็มเคไอ แต่ใช้ระบบอิเลคทรอนิกอากาศของรัสเซียและฝรั่งเศสแทน มันมีหน้าจอเฮด-อัพและหน้าจอหลายทางเลือกที่ทำโดยฝรั่งเศส

ประเทศผู้ใช้งาน

ประเทศผู้ใช้งานซู-30
 แอลจีเรีย
 สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • กองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชนมีซู-30เอ็มเคเค 76 ลำ (ย่อมาจาก "Modernizirovannyi Kommercheskiy Kitaya" แปลว่า "Modernized Commercial China" หรือ "แบบการตลาดที่พัฒนาแล้วสำหรับจีน") กองทัพอากาศจีนใช้งานซู-27 อยู่แล้ว 38 ลำแรกถูกส่งมอบในระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และสิ้นปีพ.ศ. 2544 อีก 38 ลำถูกสั่งซื้อในปีพ.ศ. 2544 และคาดว่าส่งมอบในปีพ.ศ. 2546
  • กองทัพเรือจีนมีซู-30เอ็มเค2 พวกมันถูกสั่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 และส่งมอบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547
 อินเดีย
  • กองทัพอากาศอินเดียหลังจากที่ทำการเจรจามาสี่ปีก็ได้ตัดสินใจซื้อซู-30 50 ลำและต้องการใบอนุญาตเพื่อทำการผลิตซู-30เอ็มเคไออีก 140 ลำ อินเดียมีซู-30เอ็มเคไอประมาณ 42 ลำในประจำการเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552[4]
 อินโดนีเซีย
  • กองทัพอากาศอินโอนีเซียได้รับซู-30เอ็มเค2 สองลำจากทั้งหมดหกลำเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ 2551 และที่เหลือจะส่งมอบในปีพ.ศ. 2552[10] กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีซู-30เอ็มเค 2 ลำและซู-30เอ็มเค2 สามลำในประจำการเมื่อต้นปีพ.ศ. 2552[4]
 มาเลเซีย
  • กองทัพอากาศมาเลเซียหลังจากที่ได้เฝ้าดูซู-30เอ็มเคไอ ได้ทำสัญญาซื้อซู-30เอ็มเอเอ็ม 18 ลำในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 ฝูงบินจะสมบูรณ์เมื่อสิ้นพ.ศ. 2551 โดยมีทั้งหมด 18 ลำ ส่วนหนึ่งในข้อตกลงคือรัสเซียรัสเซียจะส่งนักบินอวกาศของมาเลเซียขึ้นไปที่สถานีอวกาศนานาชาติ
 รัสเซีย
 เวเนซุเอลา
  • เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ 2549 รัฐบาลและกองทัพอากาศเวเนซุเอลาได้ประกาศการซื้อซู-30เอ็มเค2 24 ลำ ซู-30เอ็มเค2 สองลำแรกจะมาถึงในสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ในขณะที่อีก 8 ลำจะมาในพ.ศ. 2550 อีกสิบสี่ลำจะมาถึงในปีพ.ศ. 2550 พร้อมกับอีกสี่ลำสุดท้ายที่จะส่งมอบในเดือนสิงหาคม[11][12]
 เวียดนาม

รายละเอียดของซู-27พียู/ซู-30

ซู-30

ข้อมูลจำเพาะ[14][15][16]

  • นักบิน 2 นาย
  • ความยาว:เครื่องบินขับใล่ครองอากาศ สองที่นั่ง
  • ระยะระหว่างปลายปีทั้งสอง 17.4 เมตร
  • ความสูง 6.36 เมตร
  • พื้นที่ปีก 62 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 17,700 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 24,900 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 34,500 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเอแอล-31เอฟแอล 2 เครื่องยนต์
    • กำลังสูงสุดเครื่องละ 16,754 ปอนด์
    • เมื่อใช้สันดาปท้ายให้กำลังเครื่องละ 12,500 ปอนด์
  • ความเร็วสูงสุด 2 มัค (2,120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พิสัย 3,000 กิโลเมตร
  • เพดานบินทำการ 56,800 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 45,575 ฟุตต่อนาที
  • นำหนักบรรทุกที่ปีก่ 401 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 1.0
  • อาวุธ
    • ปืนใหญ่อากาศจีเอสเอช-30-1 ขนาด 30 ม.ม. 1 กระบอกพร้อมกระสุน 150 นัด
    • ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ
      • อาร์-27อีอาร์1 6 ลูก
      • อาร์-27อีที1 สองลูก
      • อาร์-73อี 6 ลูก
      • อาร์-77 อาร์วีวี-เออี 6 ลูก
    • ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น
      • ขีปนาวุธต่อต้านเรดาร์เคเอช-31พี/เคเอช-31เอ 6 ลูก
      • ขีปนาวุธนำวิถีด้วยเลเซอร์เคเอช-29ที/แอล 6 ลูก
      • เคเอช-59เอ็มอี 2 ลูก
    • ระเบิด
      • เคเอบี 500เคอาร์ 6 ลูก
      • เคเอบี-1500เคอาร์ 3 ลูก
      • เอฟเอบี-500ที 8 ลูก
      • โอเอฟเอบี-250-270 28 ลูก

เหตุการณ์สำคัญและอุบัติเหตุ

  • วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ที่งานแสดงในปารีส[17]
  • วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552 เครื่องบินตกใกล้กับไจซัลเมียร์[18]
  • วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ซู-30เอสเอ็มตกในซีเรียใกล้เมืองอัลลาษิกียะฮ์โดยนักบินทั้งสองเสียชีวิต ผลอย่างเป็นทางการรายงานว่าเป็นเพราะนกเข้าในเครื่องยนต์ระหว่างการนำเครื่องขึ้น[19][20]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

อ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง