ฌูแซ รามุช-ออร์ตา

ประธานาธิบดีติมอร์-เลสเตคนที่ 4 และคนที่ 7

ฌูแซ มานูแอล รามุช-ออร์ตา (โปรตุเกส: José Manuel Ramos-Horta; เกิดวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1949)[1][2] เป็นนัการเมืองชาวติมอร์-เลสเตที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีติมอร์-เลสเตตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 เขาเคยดำรงตำแหน่งนี้ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ก่อนหน้านั้นเขาเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศใน ค.ศ. 2002 ถึง 2006 และนายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเตใน ค.ศ. 2006 ถึง 2007 เขาเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1996 ร่วมกับการ์ลุช ฟีลีปึ ชีเมนึช เบลูจาก "การแก้ปัญหาความขัดแย้งในติมอร์ตะวันออกอย่างยุติธรรมและสันติ"

ฌูแซ รามุช-ออร์ตา
GColIH GCL
รามุช-ออร์ตาใน ค.ศ. 2022
ประธานาธิบดีติมอร์-เลสเต คนที่ 4 และ 7
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
นายกรัฐมนตรีตาอูร์ มาตัน รูอัก
ชานานา กุฌเมา
ก่อนหน้าฟรังซิชกู กูแตรึช
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน 2008 – 20 พฤษภาคม 2012
นายกรัฐมนตรีชานานา กุฌเมา
ก่อนหน้าฟืร์นังดู ดือ อาราอูฌู (รักษาการ)
ถัดไปตาอูร์ มาตัน รูอัก
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม 2007 – 11 กุมภาพันธ์ 2008
นายกรัฐมนตรีอึชตานิฌเลา ดา ซิลวา
ชานานา กุฌเมา
ก่อนหน้าชานานา กุฌเมา
ถัดไปวีเซงตือ กูแตรึช (รักษาการ)
นายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเตคนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
26 มิถุนายน 2006 – 19 พฤษภาคม 2007
ประธานาธิบดีชานานา กุฌเมา
ก่อนหน้ามารี อัลกาตีรี
ถัดไปอึชตานิฌเลา ดา ซิลวา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ฌูแซ มานูแอล รามุช-ออร์ตา

(1949-12-26) 26 ธันวาคม ค.ศ. 1949 (74 ปี)
ดิลี ติมอร์ของโปรตุเกส
(ปัจจุบันคือประเทศติมอร์-เลสเต)
พรรคการเมืองCNRT (2022–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
เฟรตีลิน (จนถึง ค.ศ. 1988)
อิสระ (1988–2022)
คู่สมรสAna Pessoa (หย่า)
บุตร1
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแอนติออก
The Hague Academy of International Law
International Institute of Human Rights
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

เนื่องจากรามุช-ออร์ตาเป็นผู้ก่อตั้งและอดีตสมาชิกเฟรตีลิน เขาเคยดำรงตำแหน่งโฆษกพลัดถิ่นแก่หน่วยต่อต้านติมอร์ตะวันออกในช่วงที่อินโดนีเซียยึดครอง (1975–1999) ในขณะที่รามุช-ออร์ตายังคงทำงานให้แก่เฟรตีลิน เขาลาออกจากพรรคใน ค.ศ. 1988 กลายเป็นนักการเมืองอิสระ[3]

หลังติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002 รามุช-ออร์ตาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศตนแรกของประเทศจนกระทั่งลาออกในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2006 ท่ามกลางวิกฤตทางการเมือง จากนั้นหลังนายกรัฐมนตรี มารี อัลกาตีรี ลาออกในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2006 ประธานาธิบดี ชานานา กุฌเมา จึงแต่งตั้งรามุช-ออร์ตาเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ สองสัปดาห์ต่อมาในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 เขาสาบานเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศ เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2007 จนถึง 2012

เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งใน ค.ศ. 2022

ชีวิตช่วงต้น

รามุช-ออร์ตาเกิดที่เมืองดิลีเมื่อ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1949 โดยเป็นลูกผสมระหว่างชาวโปรตุเกสกับชาวติมอร์ เขาได้เข้าร่วมกับสมาคมสังคมประชาธิปไตยชาวติมอร์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเฟรตีลิน เมื่อการลงประชามติเสร็จสิ้นลง เขากลับสู่ดิลีในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1999 และได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศหลังจากติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง