ทิก เญิ้ต หั่ญ

ทิก เญิ้ต หั่ญ (11 ตุลาคม พ.ศ. 2469 – 22 มกราคม พ.ศ. 2565) หรือนิยมทับศัพท์ว่า ติช นัท ฮันห์[2] (เวียดนาม: Thích Nhất Hạnh ฮันตึ: 釋一行 ; ฝรั่งเศส: Thich Nhat Hanh) เป็นพระภิกษุนิกายเซนชาวเวียดนาม ชื่อทิก เญิ้ต หั่ญ เป็นฉายาทรงธรรม โดยคำว่า "ทิก" เป็นแปลว่า "ศากยะ" ส่วน "เญิ้ต หั่ญ" มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง (One Action)" ท่านเป็นพระมหาเถระนิกายเซน กวี และผู้สนับสนุนในเรื่องสันติภาพ มีงานเขียนเผยแผ่ตีพิมพ์ภาษาต่าง ๆ มากมาย และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักปฏิบัติธรรมชาวตะวันตก ท่านมรณภาพในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2565 ด้วยอายุ 95 ปี[3]

ทิก เญิ้ต หั่ญ
Thích Nhất Hạnh
พระภิกษุทิก เญิ้ต หั่ญ ในปารีส (ค.ศ. 2006)
คำนำหน้าชื่อเถี่ยนซือ (Thiền Sư)
ชื่ออื่นเถ็ย (Thầy) (ครู)
ส่วนบุคคล
เกิด
เหงวียน ซวน บ๋าว (Nguyễn Xuân Bảo)

11 ตุลาคม ค.ศ. 1926(1926-10-11)
มรณภาพ22 มกราคม ค.ศ. 2022(2022-01-22) (95 ปี)
ศาสนาพุทธนิกายฌาน (เถี่ยน)
สำนักสำนักเลิมเต๊ (Lâm Tế; จีน: 臨濟, หลินจี่)[1]
Order of Interbeing
Plum Village Tradition
สายรุ่นที่ 42 (เลิมเต๊)[1]
รุ่นที่ 8 (เหลียวกว๊าน, Liễu Quán)[1]
ชื่ออื่นเถ็ย (Thầy) (ครู)
ตำแหน่งชั้นสูง
ครูทิก เจิน เถิต (Thích Chân Thật)
ที่อยู่อารามหมู่บ้านพลัม

ประวัติ

ทิก เญิ้ต หั่ญ เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2469[4] ที่จังหวัดกว๋างจิ ในภาคกลางของประเทศเวียดนาม ท่านมีชื่อเดิมว่า เหงวียน ซวน บ๋าว (Nguyễn Xuân Bảo)[5] ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดตื่อฮิ้ว เมื่อ พ.ศ. 2485 ขณะมีอายุได้ 16 ปี และได้อุปสมบทเป็นพระในเวลาต่อมา ช่วงแรกที่อยู่ในเวียดนาม ท่านได้พยายามฟื้นฟูพระพุทธศาสนาด้วยการเขียนบทความ แต่กลับได้รับการต่อต้านจากผู้นำองค์กรชาวพุทธและรัฐบาลเป็นอย่างมาก

ต่อมาใน พ.ศ. 2505 ท่านได้รับทุนไปศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ ณ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐ ท่านได้ศึกษาที่นั่นเป็นเวลา 1 ปี แม้จะได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียต่อ แต่ท่านก็ตัดสินใจเดินทางกลับเวียดนาม เพื่อก่อตั้งโรงเรียนยุวชนรับใช้สังคม และทำงานด้านความร่วมมือระหว่างพระพุทธศาสนานิกายมหายานและเถรวาทในเวียดนาม ท่านพยายามสอนแนวคิดเรื่องพระพุทธศาสนาเพื่อการรับใช้สังคม เพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากสงคราม ท่านพยายามพัฒนาวงการสงฆ์ด้วยการสอนและเขียนในสถาบันพระพุทธศาสนาชั้นสูง ภารกิจที่สำคัญของท่านคือ ก่อตั้ง "คณะเทียบหิน" ใน พ.ศ. 2509

ใน พ.ศ. 2510 มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ได้เสนอชื่อของท่านให้เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โดยกล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่รู้จักใครเป็นการส่วนตัวอีกที่จะมีคุณค่าพอสำหรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นอกเหนือไปจากพระผู้มีเมตตาจากเวียดนามผู้นี้"

หมู่บ้านพลัม

แต่การรณรงค์เพื่อหยุดการสนับสนุนสงครามของท่านทำให้รัฐบาลเวียดนาม ที่ถึงแม้จะรวมประเทศได้แล้วก็ตาม ไม่ยอมรับท่าน และปฏิเสธการเข้าประเทศของท่าน ทำให้ท่านต้องลี้ภัยอย่างเป็นทางการที่ประเทศฝรั่งเศส และก่อตั้ง "หมู่บ้านพลัม" เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของชุมชนสงฆ์ของท่าน ที่เมืองบอร์โด ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2525 ในระยะแรกเป็นแหล่งพักพิงของผู้ลี้ภัย ก่อนจะเริ่มมีนักบวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531

หมู่บ้านพลัมปัจจุบันได้จัดการอบรมภาวนาเกี่ยวกับการเจริญสติทั้งในยุโรปและอเมริกาเหนือให้แก่บุคคลทั่วไป ปัจจุบันมีนักบวชกว่าห้าร้อยคน จากกว่ายี่สิบประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ในหมู่บ้านพลัม และที่อื่นๆได้แก่ Green Mountain Dharma Center รัฐเวอร์มอนต์ และ Deer Park Monastery รัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา และที่วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และ วัดตื่อฮิ้ว เมืองเฮว้ ประเทศเวียดนาม

ท่านทิก เญิ้ต หั่ญ ได้จัดตั้ง "หมู่บ้านพลัม" (Plum Village) ขึ้น ณ ประเทศฝรั่งเศส อันเป็นชุมชนแบบอย่าง การปฏิบัติธรรมแห่งพุทธบริษัท 4 ที่เน้นการเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างตระหนักรู้ในแต่ละลมหายใจเข้าออก และกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ ในชุมชนปฏิบัติธรรมแห่งหมู่บ้านพลัม มีทั้งสิ้น 12 แห่ง อยู่ในประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเวียดนาม นอกจากนี้มีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่านทิก เญิ้ต หั่ญ (คณะสงฆ์) กระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลกเกือบหนึ่งพันกลุ่ม

ภายในคณะสงฆ์หมู่บ้านพลัมประกอบด้วยวัด 8 วัด ได้แก่

  • Upper Hamlet, Lower Hamlet, New Hamlet, Lower Mountain Hamlet กระจายตัวอยู่ในหมู่บ้านชนบทใกล้เมืองบอร์โด ทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส
  • Clarity Hamlet, Solidity Hamlet ที่ Deer Park Monastery รัฐแคลิฟอร์เนีย
  • Green Mountain Dharma Center, Maple Forest Monastery ที่รัฐเวอร์มอนต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ยังมีสังฆะอื่น ๆ อยู่ในหลายประเทศทั่วโลก

ผลงานเขียน

ท่านทิก เญิ้ต หั่ญ เป็นผู้ประพันธ์หนังสือธรรมะชื่อดังระดับโลกหลายเล่ม ดังนี้

  1. ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ
  2. สันติภาพทุกย่างก้าว
  3. ปัจจุบันเป็นเวลาประเสริฐสุด
  4. ศานติในเรือนใจ
  5. เดิน วิถีแห่งสติ [Walking Meditation]
  6. ดวงตะวัน ดวงใจฉัน
  7. ทางกลับคือการเดินทางต่อ
  8. กุญแจเซน
  9. สายน้ำแห่งความกรุณา
  10. วิถีแห่งบัวบาน
  11. คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ วรรณกรรมพุทธประวัติในทัศนะใหม่ เล่ม 1-2 / Old Path White Clouds : Walking in the Footsteps of the Buddha
  12. ด้วยปัญญาและความรัก
  13. เธอคือศานติ : ลำนำแห่งลมหายใจและรอยยิ้ม [Being Peace]
  14. ศาสตร์แห่งความเข้าใจ
  15. พุทธศาสนาในอนาคต
  16. อานาปนอานาสติศาสตร์
  17. พระสูตรธรรมแปดประการสำหรับมหาบุรุษ
  18. เพชรตัดทำลายมายา [The Diamond That Cuts Through Illusion]
  19. กุหลาบประดับดวงใจ
  20. ไผ่พระจันทร์
  21. ดอกบัวในทะเลเพลิง
  22. เสียงร้องของชาวเวียดนาม
  23. จุดยืนพระพุทธศาสนาท่ามกลางสงครามและการปฏิวัติ
  24. เมตตาภาวนา : คำสอนว่าด้วยรัก [Teaching on Love]
  25. เรียกฉันด้วยนามอันแท้จริง
  26. ปลูกรัก
  27. เริ่มต้นใหม่

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง