สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (11 มกราคม พ.ศ. 2403 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระโสทรานุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข
เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
เจ้าฟ้าชั้นพิเศษ
กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม[1]
ดำรงตำแหน่ง8 สิงหาคม พ.ศ. 2444 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453[2]
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ถัดไปพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช
ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ[3]
ดำรงตำแหน่ง1 เมษายน พ.ศ. 2435[4] – 16 มีนาคม พ.ศ. 2439[5]
1 เมษายน พ.ศ. 2442 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2444
ถัดไปพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช
ประสูติ11 มกราคม พ.ศ. 2403
พระบรมมหาราชวัง ประเทศสยาม
ทิวงคต13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 (68 ปี)
วังบูรพาภิรมย์ ประเทศสยาม
หม่อมหม่อมเลี่ยม ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมสุ่น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมลับ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมเยี่ยม ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมย้อย ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
พระบุตร14 พระองค์
ราชสกุลภาณุพันธุ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
ลายพระอภิไธย

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ชาววังมักเอ่ยพระนามอย่างลำลองว่า "สมเด็จพระราชปิตุลาฯ" ส่วนชาวบ้านมักออกพระนามว่า "สมเด็จวังบูรพา" เพราะทรงมีวังชื่อว่า "วังบูรพาภิรมย์" ซึ่งก็คือตำแหน่งที่เป็นย่านวังบูรพาในปัจจุบัน ตามพระประวัตินั้น ทรงเป็นจอมพลในรัชกาลที่ 7 ที่ทหารรักมาก เล่ากันมาว่าพวกทหารมักจะแบกพระองค์ท่านขึ้นบนบ่าแห่แหนในวาระที่มีการฉลองต่าง ๆ เช่น ฉลองคล้ายวันประสูติ เป็นต้น

เป็นผู้ให้กำเนิดกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทย เป็นต้นราชสกุลภาณุพันธุ์[6]

พระประวัติ

สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระองค์ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ ปีมะแม เอกศก จุลศักราช 1221 ตรงกับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2403[7] ณ พระตำหนักที่ประทับเดิมของสมเด็จพระศรีสุลาลัย ภายในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการสมโภชขึ้นเมื่อพระชันษาได้ 3 วัน และสมโภชเดือน ตามลำดับ ณ พระตำหนักที่ประสูติ

พระองค์มีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรเชษฐภคินีรวม 3 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์

เมื่อพระชันษาได้ 2 ปี พระมารดาเสด็จสวรรคต ต่อมาพระบิดาเสด็จสวรรคตขณะพระชันษาได้ 10 ปี พระองค์เป็นผู้โปรยข้าวตอกในกระบวนแห่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์เป็นผู้โยง

เมื่อพระชันษาได้ 12 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแห่รับพระสุพรรณบัฏเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีโสกันต์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ 13 ปี หลังจากนั้น พระองค์ผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเสด็จออกไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ประทับเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่พระองค์ออกผนวช เมื่อครบพรรษาจึงลาผนวช

การศึกษา

พระองค์ทรงเริ่มต้นการศึกษาเล่าเรียนในสำนักของครูผู้หญิงแล้วทรงเริ่มศึกษาด้วยพระองค์เองเรื่อยมา หลังจากนั้นจึงทรงเล่าเรียนหนังสือขอมและบาลีที่สำนักพระยาปริยัตติธรรมธาดา (เปี่ยม) เมื่อผนวชเป็นสามเณร พระองค์ทรงวิชาทางพุทธศาสตร์ในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

หลังจากนั้น พระองค์ทรงศึกษาวิชาการทหารในสำนักกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ตั้งแต่ พ.ศ. 2415 และทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษในสำนักของมิสเตอร์ เอฟ.ยี. แปตเตอร์ซัน ที่โรงเรียนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมประตูพิมานไชยศรีชั้นนอกภายในพระบรมมหาราชวัง และทรงเรียนวิชาภาษาไทยเพิ่มเติมจากสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) รวมทั้งศึกษาแบบอย่างราชการพระราชประเพณีในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์

การรับราชการ

พระองค์ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ รับราชการทหารครั้งแรกในตำแหน่งนายทหารพิเศษแต่งเครื่องยศชั้นนายร้อยโท กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสสิงคโปร์ (ครั้งที่ 2) และพม่าส่วนของอังกฤษตลอดประเทศอินเดีย รวมทั้งหัวเมืองขึ้นของกรุงสยามตามชายทะเลฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู ต่อมาในปี พ.ศ. 2431 ได้รับพระราชทายศเป็น นายพลเอก[8]

ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญเช่น รัฐมนตรี[9] และองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องคมนตรี[10]และนายกองเอกในกองเสือป่า[11][12] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อภิรัฐมนตรี[13]และองคมนตรี[14]ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสนาบดีกระทรวงกลาโหม จเรทัพบก[15] จเรทหารทั่วไป[16][17] ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ[18] อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นต้น

พระกรณียกิจ

หนังสือค๊อตข่าวราชการ

สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงประทับอยู่ ณ ตำหนักหอนิเพทพิทยาคม ริมประตูศรีสุนทร ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทรงศึกษาภาษาอังกฤษร่วมกับเจ้านายที่เป็นพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์อื่น ๆ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ต่อมาแม้การสอนภาษาอังกฤษที่นั่นจะยกเลิกไป แต่เจ้านายก็ยังเสด็จไปชุมนุมกันที่ตำหนักหอนิเพทพิทยาคม

สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ได้ทรงชักชวนพระเจ้าน้องยาเธอบางพระองค์ ช่วยกันจดข่าวในพระราชสำนักแต่ละวันมาพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือพิมพ์ข่าวรายวัน เจ้านายที่ทรงร่วมจดข่าวในครั้งเริ่มแรกมี 6 พระองค์ คือ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ หนังสือข่าวเล่มแรกพิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2418 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "COURT" ซึ่งแปลว่า พระราชสำนัก ต่อมาใน พ.ศ. 2419 จึงใช้ชื่อภาษาไทยว่า ข่าวราชการ ในเวลาต่อมาจึงเรียกว่า หนังสือค๊อตข่าวราชการ

สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงดำริให้มีคนเดินส่งหนังสือแก่ผู้รับหนังสือทุก ๆ คน ทุก ๆ เช้า โดยคิดเงินค่าสมาชิก และเมื่อคนส่งหนังสือไปส่งหนังสือที่บ้านสมาชิกผู้ใดแล้ว ผู้นั้นจะฝากจดหมายส่งถึงสมาชิกผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยจะต้องซื้อแสตมป์ปิดจดหมายของตนที่จะฝากไปส่งและลงชื่อของตนเองทับแสตมป์แทนตราเพื่อให้เป็นแสตมป์ที่จะนำไปใช้อีกไม่ได้ แสตมป์นั้นทำเป็นพระรูปเหมือนอย่างที่พิมพ์ไว้ข้างหน้าหนังสือ COURT ขายดวงละอัฐและให้ซื้อได้จากโรงพิมพ์หนังสือข่าวราชการ ราคาค่าจ้างส่งจดหมายมีอัตราต่างกัน ถ้าอยู่ในคูพระนครชั้นใน ติดแสตมป์หนึ่งอัฐ ถ้านอกคูพระนครออกไป ผู้ส่งต้องติดแสตมป์ 2 อัฐ

กิจการไปรษณีย์

การจัดส่ง หนังสือ COURT และ หนังสือข่าวราชการ ของคนส่งหนังสือที่ทำหน้าที่รับส่งจดหมายระหว่างสมาชิกด้วย นับเป็นจุดเริ่มของการมี บุรุษไปรษณีย์ และการใช้แสตมป์ติดบนจดหมายที่สมาชิกของหนังสือ COURT และหนังสือข่าวราชการส่งถึงกัน จึงเป็นจุดเริ่มของการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้มีการไปรษณีย์และโทรเลขขึ้นในประเทศไทย ทรงเห็นว่าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มีพระทัยใส่ในเรื่องการไปรษณีย์ จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ตั้งกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข ขึ้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ทรงได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข เป็นพระองค์แรกของประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ทั้ง 2 กรมนี้ได้รวมเป็นกรมเดียวกัน มีชื่อใหม่ว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข

การทิวงคต

พระเมรุ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประชวรพระโรคพระอันตะอักเสบมาหลายวัน จนเสด็จทิวงคตในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 เวลา 18.27 น. ณ ตำหนักวังบูรพาภิรมย์ สิริพระชันษา 68 ปี 153 วัน วันต่อมาเวลา 17.10 น. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญประกอบพระโกศทองรองทรงบนแว่นฟ้าสามชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 5 ชั้น 10 องค์ ชุมสาย 4 แถว แล้วทรงทอดผ้าไตร 40 พับ พระสงฆ์มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธาน สวดสดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนา แล้วเสด็จฯ กลับ[19]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[20]

พระโอรสและพระธิดา

สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นต้นราชสกุลภาณุพันธุ์ เสกสมรสกับหม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) ธิดาเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)[21] โดยได้รับการยกย่องให้เป็นสะใภ้หลวง และมีหม่อมอีก 6 คน ได้แก่[22]

  • หม่อมเลี่ยม (สกุลเดิม ศุภสุทธิ์) ธิดาหลวงศุภมาตรา (สะอาด ศุภสุทธิ์)
  • หม่อมสุ่น (สกุลเดิม ปักษีวงศา)
  • หม่อมลับ (สกุลเดิม จาติกรัตน์) ธิดาพระมหาสงคราม (เอี่ยม จาติกรัตน์)
  • หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยงใจยุทธ) ธิดานายกองนา (ทองดำ ยงใจยุทธ)
  • หม่อมเยี่ยม (สกุลเดิม ณ บางช้าง) ธิดาหลวงมหาดไทย (แสง ณ บางช้าง)
  • หม่อมย้อย (สกุลเดิม โกมารกุล ณ นคร) ธิดาพระยาศรีสรราชภักดี (หนูเล็ก โกมารกุล ณ นคร)

มีพระโอรส 8 พระองค์ กับ 1 องค์ และมีพระธิดา 3 พระองค์ กับ 3 องค์ รวม 15 พระองค์/องค์ ได้แก่

ราชสกุลภาณุพันธุ์
ลำดับพระรูปและพระนามเพศพระมารดาประสูติสิ้นพระชนม์พระชันษาคู่สมรส
1
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์
ญ.หม่อมเลี่ยม7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428[23]26 กรกฎาคม พ.ศ. 245123 ปี 19 วันพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
2
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช
ช.หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา7 กันยายน พ.ศ. 2428[24]22 กรกฎาคม พ.ศ. 2477[25]48 ปี 318 วัน
  • หม่อมเจ้าวิไลกัญญา (ราชสกุลเดิม เทวกุล)
  • หม่อมแผ่ว (สกุลเดิม อภัยกุล)
  • หม่อมอรุณ (สกุลเดิม เพ็งเอี่ยม)
  • หม่อมมาลี (สกุลเดิม สุขเจริญ)
  • หม่อมพเยาว์ (สกุลเดิม นายนันท์)
3
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช
ช.หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา7 มีนาคม พ.ศ. 24335 พฤษภาคม พ.ศ. 245118 ปี 59 วัน[26]
4
หม่อมเจ้า
ญ.ไม่มีข้อมูล17 พฤศจิกายน พ.ศ. 24341 ธันวาคม พ.ศ. 24340 ปี 14 วัน
5
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
ญ.หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา10 มีนาคม พ.ศ. 2436[24]23 มกราคม พ.ศ. 250063 ปี 319 วันสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
6
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยนเยี่ยมพยับ
ช.หม่อมสุ่น14 กันยายน พ.ศ. 243719 กันยายน พ.ศ. 245518 ปี 5 วัน
7
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพัลลัภดนัย
ช.หม่อมลับ16 กันยายน พ.ศ. 24422 กรกฎาคม พ.ศ. 24441 ปี 290 วัน
8
หม่อมเจ้าแดง
ช.ไม่มีข้อมูล23 เมษายน พ.ศ. 244723 เมษายน พ.ศ. 24470 ปี 0 วัน
9
หม่อมเจ้าไข่มุก
ญ.หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา23 เมษายน พ.ศ. 244729 ธันวาคม พ.ศ. 24470 ปี 250 วัน
10
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา
ญ.หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา25 กรกฎาคม พ.ศ. 2450[24]14 มิถุนายน พ.ศ. 252271 ปี 324 วันหม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล
11
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์
ช.หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา20 มิถุนายน พ.ศ. 2452[24]24 ตุลาคม พ.ศ. 252573 ปี 126 วัน
12
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช
ช.หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา15 กรกฎาคม พ.ศ. 2457[24]23 ธันวาคม พ.ศ. 252871 ปี 161 วัน
13
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านรเศรษฐสุริยลักษณ์
ช.หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา9 ธันวาคม พ.ศ. 245822 มีนาคม พ.ศ. 249738 ปี 103 วัน
14
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต
ช.หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา4 กันยายน พ.ศ. 2460[24]12 กันยายน พ.ศ. 248525 ปี 8 วันมณี สิริวรสาร (สกุลเดิม บุนนาค)
15
หม่อมเจ้าเล็ก
ญ.หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา5 กันยายน พ.ศ. 246111 กันยายน พ.ศ. 24610 ปี 6 วัน

พระนัดดา

สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มีพระนัดดารวม 24 พระองค์/องค์/คน ดังนี้

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข
เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

  • 13 มกราคม พ.ศ. 2402 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2413 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
  • 4 สิงหาคม พ.ศ. 2413 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2424 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ดำรงราชอิศริยาธิบดีศรีวิสุทธ มหามงกุฎพงษวโรภยาภิชาติ ราชโสทรานุชาธิบดินทร์ ทิพยศิรินทรพิพัฒน์ สุขุมาลรัตนราชกุมาร กรมหมื่นภาณุพันธุวงศ์วรเดช[27]
  • 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2424 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ดำรงราชอิศริยาธิบดีศรีวิสุทธ มหามงกุฎพงษวโรภยาภิชาติ ราชโสทรานุชาธิบดินทร์ ทิพยศิรินทรพิพัฒน์ สุขุมาลรัตนราชนรินทรานุชาธิบดี กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช
  • 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิเศษขัติยศักดิ อรรคอุดมชาติ บรมนราธิราชโสทรานุชาธิบดี สุจริตจารีราชการัณย์ มหันตมหาอุสาหพิริยพหลดลประสิทธิ อเนกพิธคุณากร สุนทรธรรมพิทักษ์ อรรคมโหฬารอัธยาไศรย ศรีรัตนไตรยสรณธาดา อดุลยเดชานุภาพบพิตร[28]
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2468 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิเศษขัตติยศักดิ์อัครอุดมชาติ ปรมินทรมหาราชโสทรานุชาธิเบนทร์ ปรเมนทรมหาวชิราวุธราชปิตุลา มหันตมหาอุสาห พิริยพหลดลประสิทธิ สุจริตจารีราชการัณย์ สุรพลขันธ์คณาภรณ์ สุนทรธรรมพิทักษ์ อัครมโหฬารัธยาศัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา อดุลยเดชานุภาพพิลาศ ธรรมิกนาถบพิตร[29]
  • 15 มีนาคม พ.ศ. 2468 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 : สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช[30]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พระสมัญญา

  • พระบิดาแห่งการไปรษณีย์ไทย[56]

พระยศ

สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข
เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
รับใช้  ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
กองทัพเรือสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศ จอมพล
จอมพลเรือ
นายกองเอก

พระยศทหาร

พระยศเสือป่า

  • นายกองเอก[61]
  • นายกองตรี[62]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้แก่

ราชตระกูล

อ้างอิง

เชิงอรรถ
บรรณานุกรม
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตรื กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตรื กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 77-78. ISBN 978-974-417-594-6
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้าสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชถัดไป
จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ผู้บัญชาการทหารเรือไทย
(ผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ
19 มิถุนายน พ.ศ. 2463 — 31 สิงหาคม พ.ศ. 2465)
นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
นายพลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์
(อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)
ผู้บัญชาการทหารเรือไทย
(รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
29 มกราคม พ.ศ. 2444 — 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445

ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 — 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446
)

จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
(พ.ศ. 2444 — พ.ศ. 2453)
จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
((วาระที่ 2)
1 เมษายน พ.ศ. 2442 — 8 สิงหาคม พ.ศ. 2444)
จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี
(เจิม แสง-ชูโต)
ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
((วาระที่ 1)
1 เมษายน พ.ศ. 2435 — 16 มีนาคม พ.ศ. 2439)
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง