ฟูมิโอะ คิชิดะ

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

ฟูมิโอะ คิชิดะ (ญี่ปุ่น: 岸田 文雄โรมาจิKishida Fumio; เกิด 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และหัวหน้าพรรคพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) คนปัจจุบัน

ฟูมิโอะ คิชิดะ
岸田 文雄
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการ ใน พ.ศ. 2564
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
เริ่มดำรงตำแหน่ง
4 ตุลาคม พ.ศ. 2564
กษัตริย์จักรพรรดินารูฮิโตะ
ก่อนหน้าโยชิฮิเดะ ซูงะ
หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2564
ก่อนหน้าโยชิฮิเดะ ซูงะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ
ก่อนหน้าโคอิชิโร เกมบะ
ถัดไปทาโร โคโนะ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
เขตเลือกตั้งจังหวัดฮิโรชิมะ เขต 1
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
เขตชิบูยะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พรรคการเมืองพรรคเสรีประชาธิปไตย
คู่สมรสยูโกะ คิชิดะ
บุตร3 คน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวาเซดะ

ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คิชิดะเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศภายใต้นายกรัฐมนตรีอาเบะ เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดฮิโรชิมะ เขต 1 ในสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ พ.ศ. 2536

คิชิดะชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยด้วยคะแนนร้อยละ 60.2[1] พร้อมสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีต่อจากโยชิฮิเดะ ซูงะเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564[2]

คิชิดะเกิดในครอบครัวนักการเมือง ในวัยเด็กเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนประถมในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา หลังจากเริ่มต้นอาชีพทางการเงิน คิชิดะเข้าสู่การเมืองและได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2536 ในฐานะสมาชิกพรรคแอลดีพี คิชิดะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในคณะรัฐมนตรีของชินโซ อาเบะและยาซูโอะ ฟูกูดะระหว่าง พ.ศ. 2550 ถึง 2551 ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศใน พ.ศ. 2555 หลังจากที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง คิชิดะดำรงตำแหน่งเป็นเวลาห้าปีถือเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น คิชิดะลาออกจากคณะรัฐมนตรีอาเบะใน พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นหัวหน้าสภาวิจัยนโยบายของพรรคเสรีประชาธิปไตย (ญี่ปุ่น)

คิชิดะได้รับการพิจารณาว่าอาจจะสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีในอนาคตมาอย่างยาวนาน แต่อย่างไรก็ตามในการสมัครรับเลือกตั้งผู้นำพรรค LDP ใน พ.ศ. 2563 คิชิดะพ่ายแพ้ให้กับ โยชิฮิเดะ ซูงะ แต่เขาก็ได้ลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้งใน พ.ศ. 2564 คราวนี้เขาชนะในรอบที่สองซึ่งมีคู่แข่งคือทาโร โคโนะ จากนั้นในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564 คิชิดะได้รับการยืนยันให้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยสภาแห่งชาติ และนำพรรค LDP ไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2564 ในเดือนเดียวกันนั้น

คิชิดะได้รับการวิเคราห์ว่าเขาเป็นคนหัวอนุรักษ์นิยมปานกลาง และระบุว่านโยบายของเขามุ่งเน้นไปที่ "โมเดลใหม่ของระบบทุนนิยม" โดยพยายามที่จะใช้นโยบายการกระจายความมั่งคั่งเพื่อขยายชนชั้นกลางในญี่ปุ่น ในด้านนโยบายต่างประเทศเขาได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการสนทนาจตุรภาคีว่าด้วยความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ในปี พ.ศ. 2565 เขาได้มีคำสั่งให้คณะรัฐมนตรีเพิ่มงบประมาณทางทหารของญี่ปุ่นเป็นสองเท่าขึ้นเป็น 2% ของ GDP

การศึกษาและชีวิตในวัยเด็ก

คิชิดะเกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ในครอบครัวการเมือง ในเขตชิบูยะ โตเกียว [3][4][5] มีบิดาชื่อว่าฟูมิตาเกะ คิชิดะ ซึ่งเป็นข้าราชการในกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นและเป็นผู้อำนวยการของ The Small รวมถึงหน่วยงานวิสาหกิจขนาดกลาง เนื่องจากครอบครัวของคิชิดะมาจากฮิโรชิมะเขาและครอบครัวจึงกลับไปเยือนที่นั่นทุกฤดูร้อน สมาชิกในครอบครัวหลายคนของคิชิดะเสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะ เมื่อคิชิดะเติบโตมาด้วยการได้ยินเรื่องราวจากผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณู[6] ทั้งพ่อของเขาและปู่ของเขาล้วนเป็นอดีตนักการเมืองที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น [5] และโยอิจิ มิยาซาวะซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นก็ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องของคิชิดะด้วย [7][8] คิชิดะยังมีอดีตนายกรัฐมนตรีคิอิจิ มิยาซาวะเป็นญาติคนห่าง ๆ [5]

ในวัยประถมเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนประถม New York City Department of Education ในย่านเอล์มเฮิรสต์ เทศมณฑลควีนส์ รัฐนิวยอร์ก เขาได้เรียนที่นี่ก็เนื่องจากพ่อของเขาได้รับตำแหน่งงานในสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น.[9] ต่อมาเขาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประถมโคจิมาจิและโรงเรียนมัธยมต้นโคจิมาจิ คิชิดะจบการศึกษาจากโรงเรียนไคเซอะคาเดมีเป็นที่ซึ่งเขาได้เคยเล่นในทีมเบสบอล[10]

หลังจากคิชิดะผิดหวังจากการถูกมหาวิทยาลัยโตเกียวปฏิเสธหลายครั้ง เขาได้เริ่มศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ และจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวาเซดะในปี พ.ศ. 2525 [4][10] และเขาก็เป็นเพื่อนกับทาเคชิ อิวายะต่อมากลายเป็นนักการเมืองในอนาคต[11][12]

อาชีพทางการเมือง

หลังจากที่คิชิดะทำงานที่ธนาคารเครดิตระยะยาวแห่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันยุติการให้บริการแล้ว เขาได้ทำงานต่อในฐานะเลขานุการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คิชิดะได้รับเลือกเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2536โดยเป็นตัวแทนเขตที่ 1 จังหวัดฮิโรชิมะ[13]

เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกิจการโอกินาวะตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ถึง 2551 เป็นครั้งแรกในสมัยรัฐมนตรีอาเบะ ต่อมาในสมัยยาซูโอะ ฟูกูดะเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีรับผิดชอบกิจการผู้บริโภคและความปลอดภัยของอาหาร ต่อมา พ.ศ. 2551 คิชิดะได้เป็นรัฐมนตรีรับผิดชอบด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในคณะรัฐมนตรีฟูกูดะ [14]

คิชิดะมีความใกล้ชิดกับมาโกโตะ โคงะซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มโคจิไคซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่เก่าแก่ที่สุดในพรรคเสรีประชาธิปไตย และเขาก็ได้เป็นหัวหน้ากลุ่มดังกล่าวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 หลังจากที่มาโกโตะ โคงะประกาศวางมือทางการเมือง[15]

ในสมัยรัฐบาลอาเบะ

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 หลังจากพรรคพรรคเสรีประชาธิปไตยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2555 คิชิดะได้รับเลือกให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ [16][17]

เขากลายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของญี่ปุ่นหลังสงคราม แซงหน้าชินทาโระ อาเบะซึ่งเป็นบิดาของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ เขามีส่วนสำคัญในการจัดการ การเยือนฮิโรชิมะครั้งประวัติศาสตร์ของบารัก โอบามาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ต่อมาเขาได้รับความสนใจอีกครั้งจากการปรากฏตัวร่วมกับนักแสดงตลกคาซึฮิโตะ โคซากะเพื่อโปรโมตโครงการของสหประชาชาติ [11]

คิชิดะพิจารณาลงสมัครรับเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2562 แต่เขาถูกอาเบะชักชวนไม่ให้ลงสมัคร โดยมีข้อเสนอแนะว่าอาเบะจะสนับสนุนคิชิดะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งในภายหลัง[18] ภายในกลางปี พ.ศ. 2563 สมาชิกสภานิติบัญญัติอาวุโสของพรรคเสรีประชาธิปไตย LDP หลายคนได้เปลี่ยนการสนับสนุนจากคิชิดะไปเป็นหัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซูงะ รองนายกรัฐมนตรีของอดีตนายกรัฐมนตรีทาโร อาโซก็ได้รับความนิยมจากนโยบายการส่งเงินกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับภาคครัวเรือนในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น[19] อย่างไรก็ตามคิชิดะได้ลงสมัครเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2563 แต่พ่ายแพ้ให้กับโยชิฮิเดะ ซูงะซึ่งขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[20]

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน)

คิชิดะได้รับเลือกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564

หลังจากโยชิฮิเดะ ซูงะ ประกาศเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564 ว่าเขาจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามคะแนนความนิยมที่ตกต่ำ (ณ จุดหนึ่งต่ำกว่า 30%) และการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ คิชิดะและทาโระ โคโนะแห่งพรรคเสรีประชาธิปไตย (ฝ่ายชิโกไก) เป็นผู้นำในการเข้ามาแทนที่เขา[21] การตัดสินใจของโยชิฮิเดะ ซูงะ ที่จะไม่ขอการเลือกตั้งใหม่ในฐานะหัวหน้าพรรค LDP ทำให้เกิดการเลือกตั้งผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตยอีกครั้งในเดือนกันยายน เพียงมากกว่าหนึ่งปีเล็กน้อยหลังจากการเลือกตั้งครั้งก่อนในการเลือกตั้งผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2563 ตลอดการแข่งขันโคโนะได้รับการสนับสนุนอย่างมากให้ชนะคิชิดะ โดยมีการจัดอันดับให้โคโนะอยู่ในอันดับหนึ่งในบรรดาโพล LDP ต่างๆ และอีกทั้งเขาได้รับการรับรองจากซูงะและคนอื่นๆอีกด้วย[22]

เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 คิชิดะสามารถเอาชนะทาโระ โคโนะในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2564 ที่พรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยที่เป็นรัฐบาลอยู่และเข้ามาแทนที่หัวหน้าพรรคโยชิฮิเดะ ซูงะ เขาได้รับคะแนนเสียงทั้งหมด 257 เสียง (60.19%) จากสมาชิกรัฐสภา 249 คน และสมาชิกระดับยศอีก 8 คน ทำให้คิชิดะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของญี่ปุ่นในที่สุด[23]

เกียรติยศ

อ้างอิง


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง