สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ

จักรพรรดิญี่ปุ่น

สมเด็จพระจักรพรรดิ (ญี่ปุ่น: 天皇陛下โรมาจิTennō Heika) พระนามจริงว่า นารูฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 徳仁โรมาจิNaruhito, พระราชสมภพ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ที่ 126 และพระองค์ปัจจุบัน ทรงขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกะคุชูอินและมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ทรงสนพระทัยในเรื่องของประวัติศาสตร์และดนตรี และยังโปรดปรานการสีวิโอลาอีกด้วย พระองค์ทรงอภิเษกกับมาซาโกะ โอวาดะ ที่จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และทางด้านการทูตที่กระทรวงการต่างประเทศ

สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ
สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ ในปี พ.ศ. 2566
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
พิธีขึ้น22 ตุลาคม พ.ศ. 2562
พระราชวังหลวงโตเกียว
ก่อนหน้าจักรพรรดิอากิฮิโตะ
รัชทายาทโดยสันนิษฐานเจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ
นายกรัฐมนตรี
พระราชสมภพ23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 (64 พรรษา)
พระราชวังหลวงโตเกียว
จักรพรรดินีมาซาโกะ โอวาดะ (พ.ศ. 2536–ปัจจุบัน)
พระราชบุตรเจ้าหญิงไอโกะ โทชิโนะมิยะ
รัชศก
เรวะ: 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
ราชวงศ์ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิอากิฮิโตะ
พระราชมารดามิจิโกะ โชดะ
ศาสนาชินโต

พระราชประวัติ

เจ้าชายนารูฮิโตะ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504

จักรพรรดินารูฮิโตะมีพระอิสริยยศเดิมว่า ฮิโระโนะมิยะ (ญี่ปุ่น: 浩宮) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 เวลา 16:15 น. ณ โรงพยาบาลสำนักพระราชวังหลวง ในพระราชวังหลวงโตเกียว และดำรงพระราชอิสริยยศนั้นมาจนถึงปี พ.ศ. 2534[1] จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร เป็นเวลาสองปีหลังจักรพรรดิโชวะพระราชอัยกาของพระองค์เสด็จสวรรคตปี พ.ศ. 2532

ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยกะกุชุอิง ในสาขาประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2525 และ พ.ศ. 2531 ตามลำดับ แต่ในปี พ.ศ. 2526-2528 ทรงไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยเมอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร

พระองค์โปรดการเล่นวิโอลา รวมไปถึงการวิ่งจ๊อกกิ้ง การไต่เขา และการปีนเขาในยามว่าง นอกจากนี้พระองด้ยังมีพระราชนิพนธ์หนังสือ The Thames and I: A Memoir of Two Years at Oxford ซึ่งเป็นบันทึกประจำวันขณะที่พระองค์ประทับศึกษาอยู่ในออกซฟอร์ด

ชีวิตส่วนพระองค์

การอภิเษกสมรส

เจ้าชายนารูฮิโตะอภิเษกสมรสกับสตรีวัย 29 ปี ชาวญี่ปุ่น นามว่ามะซะโกะ โอะวะดะ นักการทูตในกระทรวงการต่างประเทศ ที่เดียวกับที่ทำงานของบิดาเธอคือฮิซะชิ โอะวะดะ ที่ปัจจุบันเป็นตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และเป็นอดีตรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงอดีตทูตญี่ปุ่นประจำสหประชาชาติ โดยที่สำนักพระราชวังหลวง ได้ประกาศถึงการหมั้นหมายของทั้งสองพระองค์ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2536

พระราชพิธีอภิเษกสมรส ถูกจัดขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ที่หอชินโตของพระราชวังหลวงโตเกียว มีแขกผู้ได้รับเชิญราว 800 คน ซึ่งรวมถึงพระราชวงศ์จากราชวงศ์ในยุโรปจำนวนมาก และมีการถ่ายทอดสดไปยังผู้ชมราว 500 ล้านคนทั่วโลก ทั้งสองได้เลือกพำนักที่วังโทงู ในเขตมินะโตะ โตเกียว

ทั้งสองมีพระราชธิดา 1 พระองค์ คือ เจ้าหญิงไอโกะ โทชิโนมิยะ (敬宮愛子内親王; ประสูติ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2544)

ข้อโต้แย้งต่อพระชายา

ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 มกุฎราชกุมารนารูฮิโตะทรงพยายามให้สาธารณชนเข้าใจถึงเจ้าหญิงมาซาโกะพระชายาของพระองค์ ที่กำลังทรงประสบกับภาวะความเครียดและซึมเศร้า ซึ่งถูกวินิจฉัยว่าทรงเป็นภาวะการปรับตัวผิดปกติ เจ้าชายนารูฮิโตะ ทรงตรัสว่า "ข้าพเจ้าอยากจะให้ทุกคนเข้าใจว่า มาซาโกะจะยังคงดำเนินตามความพยายามสูงสุดของเธอต่อไปด้วยกำลังใจจากผู้คนรอบข้าง โปรดเฝ้ามองเธอต่อไปด้วยความเห็นใจ" ทั้งนี้การประชวรของจักรพรรดินีมาซาโกะ ถูกมองว่าอาจมาจากการทรงถูกกดดันให้ประสูติกาลพระราชโอรสเป็นว่าที่องค์รัชทายาท เพราะตามโบราณราชประเพณีและกฎมณเฑียรบาลแล้วสตรีไม่สามารถขึ้นครองราชย์ได้[2][3]

สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 สำนักพระราชวังหลวง ได้ประกาศว่าจักรพรรดิอากิฮิโตะ จะสละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 เนื่องจากทรงเห็นว่าทรงอยู่ในวัยพระชราภาพ อีกทั้งพระพลานามัยที่อ่อนล้าลง ทำให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ยากลำบากขึ้น และจะเปิดทางให้ เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมาร ขึ้นครองราชสมบัติแทน

เป็นครั้งแรกในรอบ 200 กว่าปี ที่จักรพรรดิญี่ปุ่นประกาศสละราชสมบัติ หลังจากที่จักรพรรดิโคกะกุได้สละราชสมบัติให้กับจักรพรรดินินโก พระราชโอรส พระองค์ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2360 (วันที่ 22 เดือน 3 ปี บุงกะ ที่ 14) ซื่งสภาสำนักพระราชวังหลวง ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี ชินโซ อะเบะ พร้อมด้วยประธานสภาผู้แทนราษฎร คณะองคมนตรี และผู้แทนสมาชิกราชวงศ์ญี่ปุ่น เจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนมิยะ เสด็จฯ ออกพร้อมด้วย เจ้าหญิงฮานาโกะ พระชายาฯ ได้มีการประชุมร่วมกันเมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดวันที่เหมาะสมในการสละราชบัลลังก์ของจักรพรรดิอากิฮิโตะ ต่อมา ชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อนักข่าวสั้น ๆ ว่า สภาสำนักพระราชวังหลวง กำหนดวันสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

จักรพรรดิอากิฮิโตะขณะนี้มีพระชนมพรรษา 84 พรรษา พระองค์ได้เคยผ่านการผ่าตัดพระหทัยและการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากมาแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา พระองค์เคยตรัสว่า

ทรงมีพระชนมพรรษามากขึ้น และพระพลานามัยอ่อนแอลง ทำให้การทรงงานและปฏิบัติพระราชกรณียกิจทำได้ไม่เต็มที่

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ประกาศนามของรัชศกใหม่ที่นำมาใช้แทนรัชศกเฮเซ ที่จะสิ้นสุดลงคือ เรวะ ซึ่งจะเริ่มต้นใช้ในวันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เมื่อการสละราชสมบัติของพระราชบิดามีผลในเที่ยงคืนวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 มกุฎราชกุมารนารูฮิโตะทรงขึ้นสืบราชสมบัติต่อในทันที

พระราชพิธีขึ้นครองราชย์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562[4] ต่อมาอีกสองปี ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 (เลื่อนมาจากกำหนดการเดิมในปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19) ซึ่งกรุงโตเกียวเป็นเจ้าภาพ ณ สนามกีฬาแห่งชาติใหม่ โดยทรงตามรอยสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ พระบรมอัยกาธิราช ซึ่งทรงเปิดการแข่งขันโอลิมปิกในปี พ.ศ. 2507สนามกีฬาแห่งชาติเดิม

พระราชอิสริยยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลเท็นโนเฮกะ (天皇陛下)
การแทนตนโบะกุ (บุรุษ) / วาตาชิ (สตรี)
การขานรับเฮกะ (陛下)
ลำดับโปเจียม1
  • 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 : เจ้าชายนารูฮิโตะ ฮิโระโนะมิยะ (浩宮徳仁親王殿下 ฮิโระ-โนะ-มิยะ นารูฮิโตะ ชินโน เดนกะ)
  • 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 – 30 เมษายน พ.ศ. 2562 : เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น (皇太子徳仁親王殿下 โคไตชิ นารูฮิโตะ ชินโน เดนกะ)
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน : สมเด็จพระจักรพรรดิ (天皇陛下 เท็นโน เฮกะ)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ประเทศปีที่ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์แพรแถบอ้างอิง
 ออสเตรียค.ศ. 1999เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทองพร้อมสายสะพาย
 เบลเยียมเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งพระเจ้าเลโอโปลด์ ชั้นที่ 1
 เดนมาร์กค.ศ. 2004เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง ชั้นอัศวิน

 เยอรมนีเครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นประถมาภรณ์
 ฟิลิปปินส์ค.ศ. 2002เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นสายสร้อย

ราชตระกูล

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น



ก่อนหน้าสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะถัดไป
จักรพรรดิอากิฮิโตะ
จักรพรรดิญี่ปุ่น
(1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน)
​ยังอยู่ในราชสมบัติ
เจ้าชายอากิฮิโตะ
มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น
(23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 – 30 เมษายน พ.ศ. 2562)
​ว่าง
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง