รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย เป็นรายได้ภาพยนตร์จากบ็อกซ์ออฟฟิสประเทศไทย เรียงลำดับตามรายได้แบบไม่ปรับอัตราค่าเงินเฟ้อ คำนวณรายได้เฉพาะโรงภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น

สตาร์พิกส์ นิตยสารภาพยนตร์ต่างประเทศเล่มแรกของประเทศไทย เป็นหนึ่งในนิตยสารที่เก็บรวบรวมข้อมูลรายได้ภาพยนตร์จากบอกซ์ออฟฟิส ปัจจุบันปิดตัวลงไปแล้ว

เนื่องจากการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด อยู่ภายใต้การดูแลของตัวแทนผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์แต่ละภูมิภาค หรือที่เรียกกันว่า "สายหนัง" ซึ่งทำหน้าที่นำภาพยนตร์จากผู้ผลิต (หรือผู้แทนจำหน่าย หรือผู้นำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ) ไปจัดจำหน่ายต่อเองในพื้นที่ของตน แบ่งได้เป็นสายเหนือและแปดจังหวัดภาคกลาง (ไม่รวมจังหวัดเชียงใหม่), สายตะวันออกเฉียงเหนือ, สายใต้ และสายตะวันออก โดยการซื้อขายเป็นไปในลักษณะ “ซื้อขาด” ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับเนื้อหา และแนวโน้มการทำเงินของภาพยนตร์ในภูมิภาคนั้น ๆ เมื่อซื้อขายขาดแล้ว รายได้ของผู้ผลิตก็คือเงินที่ได้จากการซื้อขายขาดนั้น ส่วนรายได้จากการขายตั๋วภาพยนตร์จะตกเป็นของสายหนัง โดยแบ่งกันตามสัดส่วนที่สายหนังตกลงกับโรงภาพยนตร์ที่เอาไปขายให้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สายหนังทำหน้าที่เสมือนเป็นพ่อค้าคนกลาง แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ในเครือใดทั้ง เอสเอฟ ซีเนม่า, เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ หรือโรงภาพยนตร์ในจังหวัดซึ่งมีเจ้าของเป็นนักธุรกิจท้องถิ่น ก็ต้องรับซื้อภาพยนตร์จากสายหนังประจำภูมิภาคของตนเพียงเจ้าเดียว[1]

ขณะที่โรงภาพยนตร์ในเขต กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ผลิต (หรือผู้แทนจำหน่าย หรือผู้นำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ) ทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเอง เริ่มต้นจากผู้ผลิตทำการติดต่อกับโรงภาพยนตร์เองโดยตรง และตกลงแบ่งรายได้กันในสัดส่วนที่แน่นอน (คำนวณจากตั๋วภาพยนตร์ที่ขายได้) ซึ่งส่งผลให้ผู้ผลิตได้รายได้ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า แต่การติดต่อโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ โดยตรง ก็เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ผลิตเช่นกัน เพราะผู้ผลิตยังต้องว่าจ้างผู้ควบคุม (checker) ให้ไปตรวจสอบที่โรงภาพยนตร์ด้วยว่าขายตั๋วได้ตามจำนวนเงินที่แจ้งมาหรือไม่ ซึ่งผู้ผลิตภาพยนตร์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยเองไม่ได้มีเงินทุนสูง ดังนั้นการเลือกจัดจำหน่ายเฉพาะพื้นที่จึงช่วยประหยัดต้นทุนแก่ผู้ผลิตได้ในอีกทางหนึ่ง[2][3]

รายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นรายรับที่ตรวจสอบได้ชัดเจน และเข้าถึงบริษัทผู้ผลิตโดยตรงหลังจากหักส่วนแบ่งกับโรงภาพยนตร์แล้ว สำหรับข้อมูลรายได้รวมทั่วประเทศ รวมไปถึงข้อมูลการซื้อขายภาพยนตร์ระหว่างผู้ผลิตกับสายหนัง เป็นตัวเลขประมาณการตามที่แต่ละฝ่ายเปิดเผยและมักไม่นำมาใช้เปรียบเทียบเนื่องจากจำนวนข้อมูลที่น้อยเกินไป ปัจจุบันพบว่ามีผู้ผลิตภาพยนตร์บางราย ติดต่อเพื่อขอจัดจำหน่ายภาพยนตร์เองกับโรงภาพยนตร์บางแห่งในต่างจังหวัดแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องผ่านสายหนัง คล้ายการจัดจำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ แต่เป็นเพียงบางกรณีเท่านั้น

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก (พ.ศ. 2562) เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ด้วยรายได้เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 617.55 ล้านบาท

ลำดับภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

ในบรรดาภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด 40 อันดับแรก (เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่) ประกอบด้วย ภาพยนตร์ไทย จำนวนสิบเรื่อง โดยเป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทยของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มากถึงสี่เรื่อง มีภาพยนตร์ภาคเดียวสี่เรื่องเท่านั้นที่ทำเงินติดอันดับเข้ามา ได้แก่ พี่มาก..พระโขนง, ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้, 2012 วันสิ้นโลก และ ไททานิค ที่เหลือทั้งหมดล้วนเป็นภาพยนตร์ภาคแรก ภาคต่อ หรือภาคแยกของแฟรนไชส์

นับตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ภาพยนตร์แฟรนไชส์กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินได้ดีที่สุด โดยเฉพาะภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร มีภาพยนตร์ 13 เรื่องจาก มาร์เวลสตูดิโอส์ ที่ติดอันดับภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูน อเวนเจอร์ส ทั้งหมดสี่เรื่องนั้นติดอันดับอยู่ในภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด 20 อันดับแรก ขณะที่ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์เรื่องอื่น ๆ เช่น สไปเดอร์-แมน ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน

ภาพยนตร์แฟรนไชส์ อวตาร ของผู้กำกับ เจมส์ คาเมรอน ที่ภาคแรกสามารถทำเงินทั่วโลกสูงสุดตลอดกาล ติดอันดับที่ 11 ภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย (สูงสุดอันดับสอง ณ ขณะนั้น เป็นรองเพียงภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท) ส่วนภาคสอง อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ ที่เข้าฉายในอีก 13 ปีถัดมา ทำรายได้สูงกว่าภาคแรกประมาณ 73 ล้านบาท ขณะที่ภาพยนตร์ชุด ทรานส์ฟอร์เมอร์ส จากค่าย พาราเมาต์พิกเจอส์ และ เร็ว...แรงทะลุนรก จากค่าย ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ ทำเงินติดอันดับเข้ามาชุดละสามภาค นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์, จูราสสิค เวิลด์ ไตรภาค, จักรวาลขยายดีซี, แวมไพร์ ทไวไลท์ และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ บางเรื่องติดอันดับเข้ามาด้วย

ภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก จากค่าย มาร์เวลสตูดิโอส์ สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2562 หลังทำเงินในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 617.55 ล้านบาท แซงหน้าภาพยนตร์ พี่มาก..พระโขนง จากค่ายจีทีเอช โดยใช้เวลาเพียง 16 วัน และทำรายได้ประมาณการรวมทั่วประเทศสูงถึง 1,086.1 ล้านบาท[4]

ในตารางนี้จะแสดงภาพยนตร์เรียงลำดับตามจำนวนเงิน และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้จากการฉายโรงภาพยนตร์ เฉพาะกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น รายได้จากการนำภาพยนตร์กลับมาฉายซ้ำในภายหลัง จะไม่ถูกนำมาคิดรวมกับรายได้เดิมที่เคยทำไว้ ตารางนี้ไม่ได้แสดงข้อมูลรายได้รวมทั่วประเทศ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ และมีจำนวนข้อมูลน้อยเกินไปที่จะใช้เปรียบเทียบ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลรายได้ของภาพยนตร์บางเรื่อง มีอ้างอิงจากหลายแหล่ง (บริษัทผู้ผลิต, นิตยสารภาพยนตร์, บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ และบทความอิสระ) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันได้

 พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 30 เมษายน 2567
ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น)BG
อันดับสูงสุดปีชื่อภาพยนตร์บริษัทผู้จัดจำหน่ายDทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
112562อเวนเจอร์ส: เผด็จศึกวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์617.55[5]
212556พี่มาก..พระโขนงจีทีเอช568.55[6][7]
322561อเวนเจอร์ส: มหาสงครามล้างจักรวาลวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์420.89[5]
422558เร็ว..แรงทะลุนรก 7ยูไอพีUIP387.85[5]
552565อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์376.23[8]
622557ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้จีทีเอช330.55[5][7]
712544สุริโยไทสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล324.5R[9][10]
852560เร็ว..แรงทะลุนรก 8ยูไอพี321.96[11]
952559กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลกวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์311.21[12]
1032557ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 4: มหาวิบัติยุคสูญพันธุ์ยูไอพี310.23[5]
1122552อวตารทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์303[5][13]
1272558อเวนเจอร์ส: มหาศึกอัลตรอนถล่มโลกวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์294.77[5]
1332554ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 3ยูไอพี291.20[5]
1492558จูราสสิค เวิลด์ยูไอพี290.64[5]
15132561จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลายยูไอพี288.88[5]
1652556ไอรอนแมน 3วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์262.92[5]
17152562กัปตัน มาร์เวลวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์260.78[5]
18152561อควาแมน เจ้าสมุทรวอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส254.09[14]
1942555ดิ อเวนเจอร์สบัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล252.16[5]
20202566สัปเหร่อไทบ้าน สตูดิโอ244.95[15]
21192564สไปเดอร์แมน: โน เวย์ โฮมโซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิง239.29[16]
22192562สไปเดอร์แมน: ฟาร์ ฟรอม โฮมโซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิง238.99[5]
2342554แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2วอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส236.23[5]
24222565จอมเวทย์มหากาฬ ในมัลติเวิร์สมหาภัยวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์221.0[17]
2522550ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสาสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล219.06[13][18]
2632550ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล216.87[13][18]
27425522012 วันสิ้นโลกโซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิง214.98[13][19]
2812540ไททานิคทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์213.65[13][20]
29122556เร็ว..แรงทะลุนรก 6ยูไอพี213.58[21]
30132557ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถีสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล206.86[18]
3152552ทรานส์ฟอร์เมอร์ส อภิมหาสงครามแค้นยูไอพี201.6[13][19]
3282554ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวีสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล201.08[18]
33232561แบล็ค แพนเธอร์วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์199.04[22]
34342566ธี่หยดเอ็ม พิคเจอร์ส197.53[23]
3532548แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีวอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส190.86[24]
36132555แวมไพร์ ทไวไลท์ 4 เบรกกิ้งดอว์น ภาค 2มงคลเมเจอร์189.93[25]
3732546เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์: มหาสงครามชิงพิภพมงคลเมเจอร์184.63[24]
3842548ต้มยำกุ้งสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล183.35[18][26]
39252560สไปเดอร์แมน: โฮมคัมมิ่งโซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิง182.97[27]
40262560ธอร์: ศึกอวสานเทพเจ้าวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์182.61[28]

BGปัจจุบัน รายได้ภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ ใช้อ้างอิงจากชมรมวิจารณ์บันเทิง[29]

Dรายชื่อบริษัทผู้จัดจำหน่ายเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น ภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้าฉายในประเทศไทย อาจจัดจำหน่ายโดยบริษัทผู้แทนจำหน่าย หรือผู้นำเข้าภาพยนตร์ ไม่ใช่บริษัทผู้ผลิต

UIPภาพยนตร์จากค่ายยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์, พาราเมาต์พิกเจอส์ และบริษัทในเครือทั้งหมดที่เข้าฉายในประเทศไทย จะถูกจัดจำหน่ายผ่านบริษัทยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ส (ยูไอพี) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกัน[30]

Rรายได้ของภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท เป็นรายรับรวมจากการออกฉายภาพยนตร์ฉบับปกติครั้งแรก (ความยาว 3 ชั่วโมง) เมื่อปี พ.ศ. 2544 และภาพยนตร์ฉบับสมบูรณ์ (ตัดต่อใหม่ ความยาว 5 ชั่วโมง) เมื่อปี พ.ศ. 2546

แฟรนไชส์และภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนศตวรรษเป็นต้นมา จำนวนของภาพยนตร์ชุดก็เพิ่มมากขึ้น โดยมีมากกว่าห้าสิบภาพยนตร์ชุด[31] ส่วนหนึ่งมาจากอัตราเงินเฟ้อและการขยายของตลาดที่เปิดกว้างมากขึ้น แต่ยังรวมถึงการที่ฮอลลีวู้ดสร้างรูปแบบของภาพยนตร์ชุดใหม่ เช่น การสร้างภาพยนตร์ที่มาจากนวนิยายชื่อดังหรือการสร้างตัวละครให้เป็นที่จดจำ ซึ่งวิธีการนี้มีแนวคิดที่ว่า ภาพยนตร์ที่สร้างจากสิ่งผู้ชมมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว ทำให้สามารถขายให้กับผู้ชมเหล่านั้นได้ เรียกว่าเป็นการ "pre-sold" ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์[32]

รูปแบบแฟรนไชส์ในปัจจุบันมีแนวคิดของการข้ามฝั่งหรือการครอสโอเวอร์ หมายถึง "เป็นการนำสิ่งต่างๆ ในเรื่องแต่ง เช่นตัวละคร สถานที่ หรือจักรวาลของเรื่องแต่งสองเรื่องเป็นอย่างน้อยที่แตกต่างกันมารวมอยู่ในบริบทของเรื่องแต่งเรี่องเดียว"[33] ผลที่ตามมาของการข้ามฝั่งคือทรัพย์สินทางปัญญาอาจถูกใช้โดยแฟรนไชส์มากกว่าหนึ่งแฟรนไชส์ ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม ไม่เพียงแค่อยู่ในแฟรนไชส์ แบทแมน และ ซูเปอร์แมน เท่านั้น แต่อยู่ใน จักรวาลขยายดีซี ด้วย ซึ่งเป็น "จักรวาลร่วม"[34]

มีภาพยนตร์เพียงเก้าชุดเท่านั้นที่สามารถทำเงินรวมในประเทศไทยเกิน 1,000 ล้านบาท โดย จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ถือเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินรวมสูงที่สุดในประเทศไทย มีภาพยนตร์ในแฟรนไชส์ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท มากถึง 24 เรื่อง แต่ถ้าหากย้อนไป ภาพยนตร์ชุด โลกเวทมนตร์ เป็นแฟรนไชส์ชุดแรกที่สามารถทำเงินทะลุ 1,000 ล้านบาท หลังจากที่ภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ เข้าฉายไปได้เจ็ดภาค ขณะที่ภาพยนตร์ชุด อเวนเจอร์ส และ อวตาร เป็นเพียงสองแฟรนไชส์ต่างประเทศที่ภาพยนตร์ทุกเรื่องทำเงินมากกว่า 100 ล้านบาท มีภาพยนตร์ไทยชุดเดียวที่ติดอันดับเข้ามา นั่นคือ ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทย โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และยังไม่มีภาพยนตร์แอนิเมชันชุดใดสามารถทำเงินรวมกันในประเทศไทย ติด 20 อันดับแรกได้

 ยังมีภาพยนตร์อย่างน้อยหนึ่งเรื่องในภาพยนตร์ชุดนั้นกำลังฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 30 เมษายน 2567
ภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น)
ดูรายละเอียดภาพยนตร์ในแต่ละภาพยนตร์ชุดได้โดยการกด "ขยาย"
อันดับชื่อภาพยนตร์ชุดทำเงินรวมจำนวนทำเงินเฉลี่ยภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

Sภาพยนตร์ชุดที่ดำเนินเรื่องอยู่ในจักรวาลเดียวกัน ซึ่งบางภาพยนตร์ก็มีภาพยนตร์ชุดเป็นของตัวเอง

BWภาพยนตร์ แบล็ค วิโดว์ เข้าฉายอย่างจำกัดโรง เพียง 5 วันก่อนออกฉายผ่านบริการสตรีมมิง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 และปรากฏรายได้เฉพาะสุดสัปดาห์แรกที่เข้าฉายเท่านั้น

TSSภาพยนตร์ เดอะ ซุยไซด์ สควอด เข้าฉายอย่างจำกัดโรง เพียง 16 วันก่อนออกฉายผ่านบริการสตรีมมิง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 และปรากฏรายได้เฉพาะวันแรกที่เข้าฉายเท่านั้น

JBภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ฉบับที่นำแสดงโดยโรเจอร์ มัวร์, ฌอน คอนเนอรี, ทิโมธี ดาลตัน และจอร์จ ลาเซนบี ไม่ปรากฏข้อมูลรายได้ในประเทศไทย

SWภาพยนตร์ชุด สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม ไม่ปรากฏข้อมูลรายได้ในประเทศไทย

สถิติของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดเรียงตามปีที่ออกฉาย

ภาพยนตร์ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์: มหาสงครามชิงพิภพ เป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2546 ด้วยรายได้เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 184.63 ล้านบาท (สูงสุดเป็นอันดับสาม ณ ขณะนั้น)

มีภาพยนตร์ไทยแปดเรื่องที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปี โดยเคยทำสถิติทำเงินสูงสุดสามปีติดต่อกัน (นางนาก พ.ศ. 2542, บางระจัน พ.ศ. 2543 และ สุริโยไท พ.ศ. 2544) หากนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ภาพยนตร์ อีเรียมซิ่ง เป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปีเพียงเรื่องเดียวที่ทำรายได้ต่ำกว่า 100 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19

ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์ เป็นค่ายผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดของปีในประเทศไทยมากถึงหกเรื่อง ครึ่งหนึ่งเป็นผลงานการกำกับของ เจมส์ คาเมรอน และเคยทำสถิติทำเงินสูงสุดสี่ปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2537–2540) ต่อมาภาพยนตร์แนวแฟนตาซีชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ได้รับความนิยม และทำเงินได้อย่างถล่มทลายในช่วงเปลี่ยนผ่านศตวรรษ ก่อนที่ภาพยนตร์ชุดแนวซูเปอร์ฮีโรจะกลายเป็นภาพยนตร์กระแสหลักของผู้ชมชาวไทย และทำให้มาร์เวลสตูดิโอส์ เป็นค่ายผู้ผลิตภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จด้านรายได้อย่างมหาศาล นับจนถึงปัจจุบันมีภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดของปีในประเทศไทยมากถึงห้าเรื่อง

 พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 30 เมษายน 2567
ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดเรียงตามปีที่ออกฉายYR
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น)
ปีชื่อภาพยนตร์บริษัทผู้จัดจำหน่ายDทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
2536จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ยูไอพีUIP74.34[20]
2537เร็วกว่านรกทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์60.5[35][36]
2538ดาย ฮาร์ด 3 แค้นได้ก็ตายยากบัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล60[37]
2539ไอดี 4 สงครามวันดับโลกทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์123.42[20]
2540ไททานิคทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์213.65[13][20]
2541อาร์มาเกดดอน วันโลกาวินาศบัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล116.09[20]
2542นางนากไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์149.60[13][20]
2543บางระจันฟิล์มบางกอก151[10][13]
2544สุริโยไทสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล324.5R[9][10]
2545แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับวอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส149.81[20]
2546เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์: มหาสงครามชิงพิภพมงคลเมเจอร์184.63[24]
2547แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันวอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส161.75[24]
2548แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีวอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส190.86[24]
2549สงครามปีศาจโจรสลัดสยองโลกบัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล125.93[24]
2550ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสาสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล219.06[13][18]
2551เดอะมัมมี่ 3 คืนชีพจักรพรรดิมังกรยูไอพี123[38]
2552อวตารทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์303[5][13]
2553แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1วอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส171.4[13]
2554ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 3ยูไอพี291.20[5]
2555ดิ อเวนเจอร์สบัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล252.16[5]
2556พี่มาก..พระโขนงจีทีเอช568.55[6][7]
2557ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้จีทีเอช330.55[5][7]
2558เร็ว..แรงทะลุนรก 7ยูไอพี387.85[5]
2559กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลกวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์311.21[12]
2560เร็ว..แรงทะลุนรก 8ยูไอพี321.96[11]
2561อเวนเจอร์ส: มหาสงครามล้างจักรวาลวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์420.89[5]
2562อเวนเจอร์ส: เผด็จศึกวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์617.55[5]
2563อีเรียมซิ่งเอ็ม พิคเจอร์ส76.49[39]
2564สไปเดอร์แมน: โน เวย์ โฮมโซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิง239.29[16]
2565อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์376.23[8]
2566สัปเหร่อไทบ้าน สตูดิโอ244.95[15]
2567หลานม่าจีดีเอช156.00[40]

YRการฉายของภาพยนตร์นั้น โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ฉายช่วงปลายปี ภาพยนตร์หลายเรื่องนั้นสามารถทำเงินได้มากกว่าหนึ่งปี (ข้ามปี) ดังนั้นจำนวนเงินที่ภาพยนตร์ทำได้นั้นไม่ได้จำกัดแค่ปีที่ฉายเท่านั้น เพียงแต่ปีที่ระบุในตารางข้างต้นนี้ ยึดจากวันที่ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ เริ่มเข้าฉายในประเทศไทย รายได้จึงถูกนับรวมตลอดโปรแกรมการฉายของภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ในประเทศไทย แต่ไม่ได้นับรวมรายได้จากการนำกลับมาฉายใหม่

เส้นเวลาของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

ไททานิค (พ.ศ. 2540) เคยเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ด้วยรายได้เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 213.65 ล้านบาท สูงกว่าสถิติเดิมของ เดอะ ลอสต์ เวิลด์ จูราสสิค พาร์ค เกือบ 90 ล้านบาท

มีภาพยนตร์เพียงแปดเรื่องเท่านั้นที่ได้รับการบันทึกว่าครองสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ของผู้กำกับสตีเวน สปีลเบิร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2536 ตามด้วยภาพยนตร์เรื่อง ฅนเหล็กพยัคฆ์ร้ายพระกาฬ และ ไอดี 4 สงครามวันดับโลก ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทำเงินทะลุ 100 ล้านบาท สุดท้ายภาพยนตร์สุดคลาสสิกอย่าง ไททานิค สามารถทำลายสถิติเพียงหกเดือนของ เดอะ ลอสต์ เวิลด์ จูราสสิค พาร์ค ได้สำเร็จ หลังทำเงินในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 213.65 ล้านบาท เมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2541

ภายหลังมีภาพยนตร์ไทย ทั้งสองเรื่องอย่าง สุริโยไท และพี่มาก..พระโขนง ถือครองสถิตินี้รวมกันนานกว่า 18 ปี ก่อนที่ภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก จะทำรายได้แซงหน้าไปในที่สุด เมื่อปี พ.ศ. 2562 และถือครองสถิตินี้มายาวนานจนถึงปัจจุบัน (รวมห้าปี)

เส้นเวลาของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น)
ตั้งแต่ชื่อภาพยนตร์บริษัทผู้จัดจำหน่ายDทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
2536จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ยูไอพีUIP74.34[20]
2539ฅนเหล็กพยัคฆ์ร้ายพระกาฬวอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส79.85[20]
ไอดี 4 สงครามวันดับโลกทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์123.42[20]
2540เดอะ ลอสต์ เวิลด์ จูราสสิค พาร์คยูไอพี124.75[20]
2541ไททานิคทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์213.65[13][20]
2544สุริโยไทสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล324.5R[9][10]
2556พี่มาก..พระโขนงจีทีเอช568.55[6][7]
2562อเวนเจอร์ส: เผด็จศึกวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์617.55[5]

ภาพยนตร์ที่ทำเงินเปิดตัวสูงสุด

ภาพยนตร์จากมาร์เวลคอมิกส์ ทำเงินเปิดตัววันแรกในประเทศไทยติดสิบอันดับแรก มากถึงแปดเรื่อง มีเพียงภาพยนตร์ เร็ว..แรงทะลุนรก 7 และ เร็ว..แรงทะลุนรก 8 ที่ทำเงินติดอันดับเข้ามาได้ โดยภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก สร้างสถิติทำเงินเปิดตัววันแรกสูงสุดตลอดกาลในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ (75.32 ล้านบาท) ทั้งที่เข้าฉายวันแรกตรงกับวันธรรมดา และยังเป็นรายรับสูงสุดตลอดกาลในหนึ่งวันของภาพยนตร์ที่เข้าฉายในประเทศไทยอีกด้วย ในขณะที่ภาพยนตร์ ไอรอนแมน 3, ดิ อเวนเจอร์ส และ ไอ้แมงมุม 3 ล้วนเข้าฉายวันแรกตรงกับวันแรงงานแห่งชาติ (1 พฤษภาคม) ทั้งสิ้น

ส่วนตารางภาพยนตร์ทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกสูงสุดในประเทศไทย มีภาพยนตร์แฟรนไชส์ อเวนเจอร์ส ติดอันดับเข้ามามากที่สุดสามภาค โดยภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก สร้างสถิติทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรก 251.89 ล้านบาท ใกล้เคียงกับรายรับรวมตลอดทั้งโปรแกรมฉายของภาพยนตร์ภาคแรกในแฟรนไชส์อย่าง ดิ อเวนเจอร์ส ขณะที่ภาพยนตร์จากแฟรนไชส์ เร็ว...แรงทะลุนรก, จูราสสิค เวิลด์ ไตรภาค และ ทรานส์ฟอร์เมอร์ส ทำเงินติดอันดับเข้ามาชุดละสองภาค

 พื้นหลังสีเหลืองแสดงภาพยนตร์ที่เข้าฉายวันแรกตรงกับวันหยุดราชการ
ภาพยนตร์ที่ทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกสูงสุดOW
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น)
อันดับปีชื่อภาพยนตร์ทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
12562อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก251.89[50]
22561อเวนเจอร์ส: มหาสงครามล้างจักรวาล171.67[51]
32558เร็ว..แรงทะลุนรก 7150.95[52]
42561จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย149.20[53]
52558อเวนเจอร์ส: มหาศึกอัลตรอนถล่มโลก132.82[54]
62559กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก131.34[55]
72560เร็ว..แรงทะลุนรก 8129.64[56]
82558จูราสสิค เวิลด์127.62[57]
92557ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 4: มหาวิบัติยุคสูญพันธุ์127.0[58]
102554ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 3115.2[59]

ODรายได้เฉพาะวันแรกของการเข้าฉายปกติ ไม่นับรวมรายได้จากการเปิดรอบพิเศษล่วงหน้า (Sneak Preview)

OWรายได้เฉพาะช่วงวันพฤหัสบดี จนถึงวันอาทิตย์แรกของการเข้าฉายเท่านั้น ไม่นับรวมรายได้จากการเปิดรอบพิเศษล่วงหน้า (Sneak Preview) หรือการเข้าฉายปกติก่อนวันพฤหัสบดี

ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

พี่มาก..พระโขนง (พ.ศ. 2556) เป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ด้วยรายได้เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 568.55 ล้านบาท

ลำดับภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

ในบรรดาภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุด 40 อันดับแรก (เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่) ประกอบไปด้วย ภาพยนตร์ที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดย สหมงคลฟิล์ม มากที่สุด 11 เรื่อง เกินกว่าครึ่งมาจากผลงานภาพยนตร์ชุดอิงประวัติศาสตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ถือเป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่ประสบความสำเร็จด้านรายได้มากที่สุด ขณะที่ภาพยนตร์จากค่ายจีทีเอช ทำเงินติดอันดับเข้ามาจำนวนสิบเรื่อง โดยเป็นผลงานการกำกับของบรรจง ปิสัญธนะกูล มากถึงสี่เรื่อง (ผลงานกำกับร่วมสองเรื่อง ได้แก่ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ และห้าแพร่ง) และหากนับรวม แฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียว จากค่ายจีดีเอช ด้วย จะทำให้เขากลายเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท มากถึงห้าเรื่อง

แนวโน้มการทำเงินสูงของภาพยนตร์ไทย ยังคงมาจากภาพยนตร์แนวตลก ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ และภาพยนตร์แนวสยองขวัญเป็นส่วนใหญ่ สังเกตได้จากสัดส่วนของภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์แนวตลก และภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เกินกว่าครึ่ง อีกเจ็ดเรื่องเป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญ อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์เกี่ยวกับวิถีชีวิตตามภูมิภาค และภาพยนตร์ภาคต่อจากละครโทรทัศน์หรือซีรีส์ชื่อดัง เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในช่วงหลัง เช่น บุพเพสันนิวาส ๒, สัปเหร่อ, นาคี ๒ และ ตุ๊ดซี่ส์ แอนด์ เดอะเฟค ที่ต่างทำเงินเกิน 100 ล้านบาททุกเรื่อง

ภาพยนตร์ พี่มาก..พระโขนง จากค่ายจีทีเอช กลายเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย หลังทำเงินเฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 568.55 ล้านบาท จากการเข้าฉายนานถึงสิบสัปดาห์ รวมทั้งเคยสร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย (นับรวมภาพยนตร์ต่างประเทศแล้ว) นานกว่าหกปี ก่อนถูกภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก ทำเงินแซงหน้าไปเมื่อปี พ.ศ. 2562[5] ขณะที่รายได้ทั่วประเทศ (คิดรวมพื้นที่ในระบบสายหนัง) คาดการณ์กันว่าเกิน 1,000 ล้านบาท[60]

ในตารางนี้จะแสดงภาพยนตร์ไทยเรียงลำดับตามจำนวนเงิน และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้จากการฉายโรงภาพยนตร์ เฉพาะกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น รายได้จากการนำภาพยนตร์กลับมาฉายซ้ำใหม่ภายหลัง จะไม่ถูกนำมาคิดรวมกับรายได้เดิมที่เคยทำไว้ ตารางนี้ไม่ได้แสดงข้อมูลรายได้รวมทั่วประเทศ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลขประมาณการและมีจำนวนข้อมูลน้อยเกินไปที่จะใช้เปรียบเทียบ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลรายได้ของภาพยนตร์ไทยบางเรื่องมีอ้างอิงจากหลายแหล่ง (บริษัทผู้ผลิต, นิตยสารภาพยนตร์, บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ และบทความอิสระ) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันได้

 พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 30 เมษายน 2567
ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น)BG
อันดับสูงสุดปีชื่อภาพยนตร์บริษัทผู้จัดจำหน่ายTDทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
112556พี่มาก..พระโขนงจีทีเอช568.55[6][7]
222557ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้จีทีเอช330.55[5][7]
312544สุริโยไทสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล324.5R[9][10]
442566สัปเหร่อไทบ้าน สตูดิโอ244.95[15]
522550ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสาสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล219.06[13][18]
632550ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล216.87[13][18]
752557ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถีสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล206.86[18]
842554ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวีสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล201.08[18]
992566ธี่หยดเอ็ม พิคเจอร์ส197.53[23]
1022548ต้มยำกุ้งสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล183.35[18][26]
1192565บุพเพสันนิวาส ๒จีดีเอช167.8[61][62]
1292559หลวงพี่แจ๊ส 4Gเอ็ม พิคเจอร์ส166.53[18][62]
13102561นาคี ๒เอ็ม พิคเจอร์ส161.19[62][63]
14142567หลานม่าจีดีเอช156.00[40]
1512543บางระจันฟิล์มบางกอก151[10][13]
1672555ATM เออรัก..เออเร่อจีทีเอช150.11[18]
1712542นางนากไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์149.60[13][20]
18132561น้อง.พี่.ที่รักจีดีเอช146.45[62][63]
1972552รถไฟฟ้า มาหานะเธอจีทีเอช145.82[19]
2042548หลวงพี่เท่งพระนครฟิลม์141.86[13][18]
21172562ตุ๊ดซี่ส์ แอนด์ เดอะเฟคจีดีเอช140.02[64]
2242546แฟนฉันจีเอ็มเอ็มไทฯหับ โห้ หิ้น137.30[13][18]
23182562Friend Zone ระวัง..สิ้นสุดทางเพื่อนจีดีเอช134.15[65][66]
24112554ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรงสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล131.60[18]
25102553กวน มึน โฮจีทีเอช131.04[13][18]
26112553สุดเขตสเลดเป็ดเอ็ม เทอร์ตี้ไนน์125.03[13][18]
2732544มือปืน/โลก/พระ/จันอาร์.เอส.ฟิล์ม123[13][18]
28142554ลัดดาแลนด์จีทีเอช116.46[18]
29202558ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสาสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล115.11[18][67]
30222560ฉลาดเกมส์โกงจีดีเอช112.15[65][68]
31222559แฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียวจีดีเอช110.91[65][69]
3262547ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณจีทีเอช109.98[13][18]
33112552ห้าแพร่งจีทีเอช109.41[13][18]
3413255232 ธันวาเอ็ม เทอร์ตี้ไนน์103.8[70]
35212557คิดถึงวิทยาจีทีเอช100.7[71]
3692548แหยมยโสธรสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล99.13[72][73]
3752546องค์บากสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล99[72][73]
3822543สตรีเหล็กไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์98.70[72][73]
39142551องค์บาก 2สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล97.44[73]
40242555คุณนายโฮเอ็ม เทอร์ตี้ไนน์96[74]

TDรายชื่อบริษัทผู้จัดจำหน่ายเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น

แฟรนไชส์และภาพยนตร์ไทยชุดที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทย โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (ประกอบด้วยภาพยนตร์ สุริโยไท และภาคต่ออย่างภาพยนตร์ชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทั้งหกภาค) เป็นภาพยนตร์ไทยชุดที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาล ด้วยรายได้กว่า 1,415 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าภาพยนตร์ไทยชุดอย่าง จักรวาลไทบ้าน เดอะซีรีส์ ทั้งหกภาคที่ทำเงินตามมาเป็นอันดับสองเกือบห้าเท่าตัว ในขณะที่ภาพยนตร์ไทยชุดที่ทำเงินโดยเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมาคือ ภาพยนตร์ชุด ต้มยำกุ้ง ที่ทำเงินโดยเฉลี่ย 118.49 ล้านบาท จากทั้งสองภาค ส่วนภาพยนตร์ชุด องค์บาก และ แหยมยโสธร ต่างก็มีหนึ่งในภาพยนตร์ของชุดนั้นทำเงินเกือบแตะระดับ 100 ล้านบาททั้งคู่ แสดงให้เห็นว่าค่ายสหมงคลฟิล์ม เป็นหนึ่งในผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยที่ประสบความสำเร็จด้านรายได้จากการผลิตภาพยนตร์ชุดมากที่สุด

 ยังมีภาพยนตร์อย่างน้อยหนึ่งเรื่องในภาพยนตร์ชุดนั้นกำลังฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 30 เมษายน 2567
ภาพยนตร์ไทยชุดที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น)
ดูรายละเอียดภาพยนตร์ในแต่ละภาพยนตร์ชุดได้โดยการกด "ขยาย"
อันดับชื่อภาพยนตร์ชุดทำเงินรวมจำนวนทำเงินเฉลี่ยภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

สถิติของภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดเรียงตามปีที่ออกฉาย

ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในปีที่ฉายนั้น มีห้าเรื่องเป็นภาพยนตร์ที่กำกับและเขียนบทโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปีมากที่สุดถึงห้าเรื่อง ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง เสียดาย (พ.ศ. 2537), สุริโยไท (พ.ศ. 2544), ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา (พ.ศ. 2550), ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี (พ.ศ. 2554) และ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา (พ.ศ. 2558) ในขณะที่ค่ายจีทีเอช และสหมงคลฟิล์ม เป็นบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปีมากที่สุดร่วมกันถึงเจ็ดเรื่อง โดยค่ายจีทีเอช เคยทำสถิติทำเงินสูงสุดสามปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2555–2557) เช่นเดียวกับที่ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ทำได้ (พ.ศ. 2540–2542)

 พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 30 เมษายน 2567
ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดเรียงตามปีที่ออกฉายYR
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น)
ปีชื่อภาพยนตร์บริษัทผู้จัดจำหน่ายTDทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
2537เสียดายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล52[73]
2538โลกทั้งใบให้นายคนเดียวอาร์.เอส.ฟิล์ม55[73]
2539เด็กเสเพลไฟว์สตาร์โปรดักชั่น46[73]
25402499 อันธพาลครองเมืองไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์75[73]
2541303 กลัว/กล้า/อาฆาตไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์28.2[75]
2542นางนากไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์149.60[13][20]
2543บางระจันฟิล์มบางกอก151[10][13]
2544สุริโยไทสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล324.5R[9][10]
2545ผีหัวขาดพระนครฟิลม์73[73]
2546แฟนฉันจีเอ็มเอ็มไทฯหับ โห้ หิ้น137.30[13][18]
2547ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณจีทีเอช109.98[10][13]
2548ต้มยำกุ้งสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล183.35[18][26]
2549แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้าอาร์.เอส.ฟิล์ม94.18[73]
2550ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสาสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล219.06[13][18]
2551องค์บาก 2สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล97.44[73]
2552รถไฟฟ้า มาหานะเธอจีทีเอช145.82[19]
2553กวน มึน โฮจีทีเอช131.04[13][18]
2554ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวีสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล201.08[18]
2555ATM เออรัก..เออเร่อจีทีเอช150.11[18]
2556พี่มาก..พระโขนงจีทีเอช568.55[6][7]
2557ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้จีทีเอช330.55[5][7]
2558ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสาสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล115.11[18][67]
2559หลวงพี่แจ๊ส 4Gเอ็ม พิคเจอร์ส166.53[18][62]
2560ฉลาดเกมส์โกงจีดีเอช112.15[65]
2561นาคี ๒เอ็ม พิคเจอร์ส161.19[62][63]
2562ตุ๊ดซี่ส์ แอนด์ เดอะเฟคจีดีเอช140.02[64]
2563อีเรียมซิ่งเอ็ม พิคเจอร์ส76.49[39]
25644 คิงส์ อาชีวะ ยุค 90เอ็ม พิคเจอร์ส70.0[76]
2565บุพเพสันนิวาส ๒จีดีเอช167.8[61][62]
2566สัปเหร่อไทบ้าน สตูดิโอ244.95[15]
2567หลานม่าจีดีเอช156.00[40]

เส้นเวลาของภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุด

สุริโยไท (พ.ศ. 2544) เป็นภาพยนตร์ไทยที่ครองสถิติทำเงินสูงสุดในประเทศไทยยาวนานที่สุดถึง 12 ปี ด้วยรายได้เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 324.5 ล้านบาท

มีภาพยนตร์ไทยเพียงหกเรื่องเท่านั้นที่มีการบันทึกว่าครองสถิติเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ตั้งแต่ภาพยนตร์ โลกทั้งใบให้นายคนเดียว (พ.ศ. 2538) ตามมาด้วยภาพยนตร์ 2499 อันธพาลครองเมือง ที่ทำรายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ ถึง 75 ล้านบาท ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย หลังต้องเผชิญทั้งภาวะพิษเศรษฐกิจ และวิกฤตศรัทธาของคนดู สองปีถัดมา ภาพยนตร์เรื่อง นางนาก เข้าฉายและกลายเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ทำเงินทะลุ 100 ล้านบาท[77] ส่งผลให้นนทรีย์ นิมิบุตร กลายเป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่มีผลงานทำเงินสูงสุดมากกว่าหนึ่งเรื่อง

ภายหลัง ภาพยนตร์ สุริโยไท โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล กลายเป็นภาพยนตร์ที่ถือครองสถิตินี้ยาวนานถึง 12 ปี ก่อนที่ภาพยนตร์เรื่อง พี่มาก..พระโขนง จะสามารถทำเงินแซงหน้าได้ในที่สุดด้วยรายได้รวม 568.55 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. 2556 และถือครองสถิตินี้มายาวนานจนถึงปัจจุบัน (รวม 11 ปี)

เส้นเวลาของภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดTHG
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น)
ตั้งแต่ชื่อภาพยนตร์บริษัทผู้จัดจำหน่ายTDทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
2538โลกทั้งใบให้นายคนเดียวอาร์.เอส.ฟิล์ม55[73]
25402499 อันธพาลครองเมืองไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์75[73]
2542นางนากไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์149.60[13][20]
2543บางระจันฟิล์มบางกอก151[10][13]
2544สุริโยไทสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล324.5R[9][10]
2556พี่มาก..พระโขนงจีทีเอช568.55[6][7]

THGข้อมูลอ้างอิงบางแหล่งกล่าวว่า ภาพยนตร์เรื่อง กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ (พ.ศ. 2534) เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ทำเงินเกิน 25 ล้านบาท แต่ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุด เช่นเดียวกับภาพยนตร์เรื่อง เสียดาย (พ.ศ. 2537) ที่ทำเงิน 52 ล้านบาท[73][78]

ภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

ผจญภัยปริศนาราชินีหิมะ (พ.ศ. 2562) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ด้วยรายได้เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 129.71 ล้านบาท

ในบรรดาภาพยนตร์แอนิเมชันที่เข้าฉายในประเทศไทย มีเพียงสี่เรื่องเท่านั้นที่สามารถทำเงินได้มากกว่า 100 ล้านบาท โดย 20 อันดับแรกของภาพยนตร์แอนิเมชันทำเงินสูงสุด เป็นภาพยนตร์จากวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ มากถึงเก้าเรื่อง (เป็นผลงานร่วมกับพิกซาร์ สี่เรื่อง) ตามมาด้วยภาพยนตร์แอนิเมชันจากอิลลูมิเนชันเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และดรีมเวิกส์แอนิเมชัน ค่ายละสามเรื่อง นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์แอนิเมชันไทย และญี่ปุ่น ทำเงินติดอันดับสัญชาติละสองเรื่อง โดยภาพยนตร์อนิเมะอย่าง ดาบพิฆาตอสูร เดอะมูฟวี่: ศึกรถไฟสู่นิรันดร์ ได้สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นทำเงินสูงสุดในประเทศไทย และภาพยนตร์เอเชียทำเงินสูงสุดอันดับสาม[79]

 พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 30 เมษายน 2567
ภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
(รายได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น)
อันดับสูงสุดปีชื่อภาพยนตร์บริษัทผู้จัดจำหน่ายDทำเงิน
(ล้านบาท)
อ้างอิง
112562ผจญภัยปริศนาราชินีหิมะวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์129.71[80]
212558มินเนี่ยนยูไอพีUIP116.23[81]
322562เดอะไลอ้อนคิงTLKวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์112.03[82]
422562อภินิหารไวกิ้งพิชิตมังกร 3ยูไอพี103.16[83]
512549ก้านกล้วยสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล93.63[73]
632559นครสัตว์มหาสนุกวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์87.67[84]
772563ดาบพิฆาตอสูร เดอะมูฟวี่: ศึกรถไฟสู่นิรันดร์อะนิเพล็กซ์74.27[39]
822552ก้านกล้วย 2กันตนา73.38[73]
932556มิสเตอร์แสบร้ายเกินพิกัด 2ยูไอพี69.67[85]
1072562ทอย สตอรี่ 4วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์67.09[86]
1132554กังฟูแพนด้า 2ยูไอพี66.8[52]
1272561รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์63.43[87]
13132566สไปเดอร์-แมน: ผงาดข้ามจักรวาลแมงมุมโซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิง62.0[88]
1482561ราล์ฟตะลุยโลกอินเทอร์เน็ตวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์61.57[89]
1562558มหัศจรรย์อารมณ์อลเวงวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์59.30[90]
1682559กังฟูแพนด้า 3ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์58.79[91]
1792560มิสเตอร์แสบร้ายเกินพิกัด 3ยูไอพี57.26[92]
18172565วันพีซ ฟิล์ม เรดโทเอแอนิเมชัน56.5[17]
1912546นีโม...ปลาเล็ก หัวใจโต๊...โตบัวนา วิสต้า อินเตอร์เนชันเนล55.93[93]
2062557บิ๊กฮีโร่ 6วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์55.32[94]

TLKวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ ผู้สร้างภาพยนตร์ เดอะไลอ้อนคิง ถือว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์สัตว์แสดง ทั้ง ๆ ที่ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ (นอกจากฉากเปิดเรื่อง) สร้างด้วยคอมพิวเตอร์แอนิเมชันเสมือนจริง[95] ขณะที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำฮอลลีวูด (ผู้จัดรางวัลลูกโลกทองคำ) ถือว่าเป็นแอนิเมชันตามเกณฑ์ที่กำหนด[96]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง