ละหมาดวันศุกร์

ในศาสนาอิสลาม ละหมาดวันศุกร์ หรือ การละหมาดรวมหมู่ (อาหรับ: صَلَاة ٱلْجُمُعَة, Ṣalāt al-Jumuʿah) เป็นการละหมาดที่ชาวมุสลิมจัดขึ้นทุกวันศุกร์ในช่วงเวลาหลังเที่ยงแทนละหมาดซุฮรี ตามปกติแล้ว มุสลิมจะละหมาด 5 เวลาทุกวันตามเส้นทางของดวงอาทิตย์ โดยไม่คำนึงถึงเส้นเวลา[1] ญุมุอะฮ์ หมายถึงวันศุกร์ในภาษาอาหรับ

ละหมาดวันศุกร์ที่มหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย

ความหมาย

เศาะลาตุลญุมุอะฮ์ ("ละหมาดวันศุกร์") เป็นการขอพรทางศาสนาที่เกิดในช่วงละหมาดซุฮรี (อาหรับ: صَلَاة ٱلظُّهْر, Ṣalāt aẓ-Ẓuhr) ของวันศุกร์ โดยเป็นหนึ่งในพิธีศาสนาอิสลามที่น่ายกย่องที่สุดและเป็นหนึ่งในกิจการที่จำเป็นของมุสลิม[2]

ศัพทมูลวิทยา

อัลญุมุอะฮ์ มาจากคำกริยาว่า อิจตะอะมะ ซึ่งหมายถึงรวบรวมผู้คน[3]

ความจำเป็น

มีมติเป็นเอกฉันท์แก่มุสลิมทุกคนว่าละหมาดวันศุกร์เป็น วาญิบ จากรายงานในอายะฮ์อัลกุรอาน เช่นเดียวกันกับสายรายงานทั้งชีอะฮ์กับซุนนี ซึ่งจากสำนักซุนนีส่วนใหญ่และนักกฎหมายชีอะฮ์บางคนกล่าวว่า ละหมาดวันศุกร์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อศาสนา[4] แต่ข้อแตกต่างอยู่ที่ความจำเป็นที่ขึ้นอยู่กับผู้นำหรือผู้ลงนามแทนท่านหรือ วาญิบ โดยไม่มีเงื่อนไข สำนักฮะนะฟีกับอิมามะฮ์เชื่อว่าการมีอยู่ของผู้นำหรือผู้ลงนามแทนท่านเป็นสิ่งที่จำเป็น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่อนุญาต ก็ละหมาดวันศุกร์ไม่ได้ ตามที่อิมามะฮ์ต้องการให้ผู้นำยอมรับ (อาดิล); ไม่เช่นนั้นการมีอยู่ของท่านจะเท่ากันกับการไม่มีอยู่ ส่วนฮะนะฟี การมีอยู่ของท่านเพียงพอแล้ว ถึงแม้ว่าท่านจะไม่อนุญาตก็ตาม แต่สำนักชาฟิอี, มาลิกี และฮันบะลีกล่าวว่าไม่จำเป็นต้องให้ผู้นำอนุญาต ก็ละหมาดได้[5]

ที่มากไปกว่านั้น มีการกล่าวว่าการละหมาดวันศุกร์ไม่จำเป็นต่อคนชรา, เด็ก, ผู้หญิง, ทาส, นักเดินทาง, คนป่วย, คนตาบอด และคนพิการ เช่นเดียวกันกับคนที่ไปไกลกว่า 2 ฟาร์ซัค[6]

ในอัลกุรอาน

มีการกล่าวในอัลกุรอานว่า:

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย! เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อะซาน) เพื่อทำละหมาดในวันศุกร์ก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละทิ้งการค้าขายเสีย นั่นเป็นการดีสำหรับพวกเจ้าหากพวกเจ้ารู้ ต่อเมื่อการละหมาดได้สิ้นสุดลงแล้ว ก็จงแยกย้ายกันไปตามแผ่นดิน และจงแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺและจงรำลึกถึงอัลลอฮฺให้มาก ๆ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ

— กุรอาน ซูเราะฮ์อัลญุมุอะฮ์ (62), อายะฮ์ที่ 9-10[7]

ในฮะดีษ

รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮ์ว่า:ท่านศาสดาได้กล่าวว่า "ทุกวันศุกร์มลาอิกะฮ์จะยืนหน้าประตูมัสยิดเพื่อเขียนชื่อคนตามลำดับ (ป.ล. รายงานเวลาที่พวกเขามาละหมาดวันศุกร์) และเมื่ออิหม่ามนั่ง (บนแท่นเทศน์) พวกท่าน (มลาอิกะฮ์) จะเก็บม้วนกระดาษและเตรียมสดับฟังคำเทศนา"

มุสลิม อิบน์ ฮัจญาจ นิชาบูรีเล่าว่า ศาสดามุฮัมมัดได้อ่านซูเราะฮ์ที่ 87 (อัลอะอ์ลา) และซูเราะฮ์ที่ 88, (อัลฆอชิยะฮ์) ในละหมาดอีดและละหมาดวันศุกร์ ถ้าหนึ่งในเทศกาลตกอยู่ในวันศุกร์ ท่านจะอ่านสองซูเราะฮ์นั้นในเวลาละหมาด

ศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า "วันที่ดีที่สุดที่ดวงอาทิศย์ขึ้นคือวันศุกร์; ณ วันนั้นอัลลอฮ์ทรงสร้างอาดัม ณ วันนั้น เขาอาศัยอยู่ในสวรรค์ ณ วันนั้น เขาถูกเนรเทศออกมา และวันสุดท้ายจะไม่เกิดในวันใด นอกจากวันศุกร์" [บันทึกโดยอะฮ์มัดกับอัตติรมิซี]

เอาว์ส อิบน์ เอาว์ส รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า: “ใครก็ตามที่ทำฆุสล์ในวันศุกร์ และใช้ให้ (ภรรยาของเขา) ทำฆุสล์ แล้วไปมัสยิดก่อน และตั้งใจฟังคุตบะฮ์ตั้งแต่ต้น และอยู่ใกล้อิหม่าม และฟังด้วยความตั้งใจ อัลลอฮ์จะให้รางวัลเขาเท่ากับคนที่ถือศีลอดทั้งปี...”[บันทึกโดยอิบน์ คุซัยมะฮ์, อะฮ์มัด]

ในคำกล่าวของซุนนี

การละหมาดวันศุกร์ที่พริสทีนา

การละหมาด ญุมุอะฮ์ เป็นครึ่งหนึ่งของละหมาด ซุฮรี ซึ่งตามต่อจาก คุตบะฮ์ (การเทศนาที่แทนที่ 2 เราะกะอัต ของละหมาดซุฮรี) ซึ่งมีอิหม่ามนำละหมาด โดยส่วนใหญ่เคาะฏีบมักทำหน้าที่เป็นอิหม่าม การไปละหมาดเป็นข้อบังคับต่อผู้ชายวัยผู้ใหญ่ชายที่เป็นคนในท้องถิ่น[9] มุอัซซินจะอาซานเป็นเวลา 15–20 นาทีในตอนต้นของญุมุอะฮ์ เมื่อเคาะฏีบยืนบนมินบัร จะมีการอาซานรอบที่สอง แล้วเคาะฏีบจะกล่าวคำเทศนาสองรอบ โดยหยุดและนั่งระหว่างสองอัน หลังจากนั้นมุอัซซินจะอิกอมะฮ์ เพื่อเป็นสัญญาณให้ละหมาดญุมุอะฮ์ได้

ในคำกล่าวของชีอะฮ์

การละหมาดวันศุกร์ (เตหะราน ค.ศ. 2016) โดยอะยาตุลลอฮ์อะฮ์มัด ญันนะตี ทำหน้าที่เป็นอิหม่ามละหมาดวันศุกร์

ในนิกายชีอะฮ์ การละหมาดวันศุกร์เป็นวาญิบตัคยีรี (ณ เวลาที่ซ่อนเร้น),[10][11] ซึ่งหมายความว่า พวกเขาอาจจะละหมาดวันศุกร์ ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไข หรือจะละหมาดซุฮรี นักวิชาการชีอะฮ์แนะนำว่า การละหมาดวันศุกร์จะวาญิบ (จำเป็น) หลังจากอิหม่ามมะฮ์ดีกับนบีอีซาปรากฏตัว[12]

ในประวัติศาสตร์อิสลาม

รายงานจากประวัติศาสตร์อิสลามกับรายงานจากอับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาส ว่า จากท่านศาสดาได้กล่าวว่า: การอนุญาตละหมาดวันศุกร์ถูกประทานโดยอัลลอฮ์ในช่วนก่อนฮิจเราะห์ แต่ผู้คนยังไม่สามารถรวมตัวและปฏิบัติไต้ ท่านศาสดาจึงส่งจดหมายแก่มุสอับ อิบน์ อุมัยร์ ให้ละหมาดสองเราะกะอัตในการรวมตัวของวันศุกร์ (นั่นคือ ญุมุอะฮ์) จากนั้น หลังจากท่านศาสดาอพยพไปมะดีนะฮ์ ก็ได้มีการละหมาดญุมุอะฮ์ขึ้น[13]

ส่วนตามรายงานฝั่งชีอะฮ์ การรวมตัวละหมาดวันศุกร์ที่มีการเทศนาเป็นสิ่งที่ผิด และถูกเลื่อน (พร้อมกับการทำพิธีทางศาสนาอื่น ๆ) จนกว่ามุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี อิหม่ามคนที่ 12 จะกลับมา[14] อย่างไรก็ตาม มุฮัมมัด อิบน์ มุฮัมมัด มะฮ์ดี อัลเคาะลีซี (ค.ศ. 1890–1963) นักชีอะฮ์สมัยใหม่ อธิบายว่าชีอะฮ์ควรละหมาดวันศุกร์อย่างระมัดระวังในจุดเชื่อมกับซุนนี[15] หลังจากนั้น ได้มีการฝึกละหมาดวันศุกร์ จนกลายเป็นมาตรฐานโดยรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีในอิหร่าน และจากนั้นโดยโมฮัมมัด โมฮัมมัด ซาเด็ก อัลซัดร์ในประเทศอิรัก

เงื่อนไข

การละหมาดวันศุกร์ที่สมบูรณ์ ต้องเป็นไปตามข้อต่าง ๆ ดังนี้:

  • ละหมาดวันศุกร์ต้องละหมาดเป็นกลุ่ม
  • จะต้องมีการรวมกลุ่ม รายงานจากมัซฮับอัชชาฟิอีและฮันบาลี จำนวนผู้มาละหมาดอย่างน้อยที่สุดคือ 40 คน ส่วนมัซฮับอื่น จำนวนขั้นต่ำคือ 3 หรือ 5 (ดีกว่าคือ 7) คน โดยรวมไปถึงอิหม่ามนำละหมาด
  • รายงานจากกฎหมายของชีอะฮ์ การละหมาดวันศุกร์ต้องเกิดในบริเวณรัศมี 3 ไมล์ 720 ยาร์ด (4 กิโลเมตร 660 เมตร) ถ้ามีการละหมาดสองที่ บริเวณที่ละหมาดทีหลังจะเป็นโมฆะ
  • ต้องมีการเทศนา (คุตบะฮ์) ก่อนละหมาด และต้องมีผู้ฟังด้วยความตั้งใจอย่างน้อย 4 (หรือ 6) คน"[16]

รูปแบบ

คุตบะฮ์ ญุมุอะฮ์ (คุตบะฮ์วันศุกร์)

  • คุตบะฮ์ (ญุมุอะฮ์) เป็นการพูดหรือเทศนาในมัสยิดก่อนละหมาดวันศุกร์[17] โดยจะแบ่งเป็นสองช่วง ในระหว่างสองช่วงเคาะฏีบ (ผู้พูด) ต้องนั่งเป็นระยะเวลาสั้น ๆ[18]
  • ในกฎของคุตบะฮ์ที่หนึ่งคือ ไม่ควรทำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องในระหว่างการเทศนาและการละหมาด "[19] การเริ่มคุตบะฮ์ควรกล่าวเป็นภาษาอาหรับ โดยเฉพาะประโยคจากอัลกุรอาน ไม่เช่นนั้น จะต้องพูดด้วยภาษาที่คนส่วนมากเข้าใจ แต่ในสถานการณ์นี้ ผู้คุตบะฮ์ต้องกล่าวโองการอัลกุรอานและคำสรรเสริญต่ออัลลอฮ์และมุฮัมมัดเป็นภาษาอาหรับ[20]
  • รายงานจากหลักคำสอนส่วนใหญ่จากฝ่ายซุนนีและชีอะฮ์ รายละเอียดของคุตบะฮ์วันศูกร์ต้องมีตามรายการนี้: "[21]
  1. การสรรเสริญอัลลอฮ์
  2. การภาวนาด้วยการอวยพรต่อศาสดามุฮัมมัดกับลูกหลานของท่าน
  3. กำชับให้ตักวา, ตักเตือน และแนะนำต่อผู้ร่วมฟัง
  4. อ่านซูเราะฮ์สั้น ๆ จากอัลกุรอาน
  • บางครั้ง อาจมีการเพิ่มในการเทศนาครั้งที่สอง:
  1. อะไรคือสิ่งที่จำเป็นต่อมุสลิมในโลกนี้และโลกหน้า
  2. เหตุการณ์สำคัญทั่วโลกทั้งสิ่งที่มุสลิมชอบ หรือไม่ชอบ
  3. ให้ความสนใจต่อโลกมุสลิมเป็นพิเศษ
  4. ให้แง่มุมทางการเมืองและเศรษฐกิจต่อสังคมและทั่วโลก[22][23]
  • ในมารยาทเหล่านั้นผู้ฟังจะต้องฟังอย่างตั้งใจ และไม่ทำในสิ่งที่รบกวนผู้อื่น[22]

ละหมาดญุมุอะฮ์

  • การละหมาดญุมุอะฮ์มีความเหมือนกับละหมาดฟัจร์ (ย่ำรุ่ง) ซึ่งทำหลังจากคุตบะฮ์ (เทศนา) และเป็นการแทนที่การละหมาดซุฮรี[12]
  • รายงานจากหลักคำสอนชีอะฮ์ เป็นเรื่องที่แนะนำ (ซุนนะฮ์) ที่หลังอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์แล้ว จะมีการอ่านซูเราะฮ์ อัลญุมุอะฮ์ในเราะกะอัตแรก และซูเราะฮ์ อัลมุนาฟิกูนในเราะกะอัตที่สอง [16]

กุนูต

  • รายงานจากหลักคำสอนชีอะฮ์ จะมีสองกุนูต (ยื่นสองมือดุอาในระหว่างละหมาด) เป็นที่แนะนำในละหมาดนี้ โดยกุนูดแรกจะทำก่อนรุกูอ์ในเราะกะอัตแรก และอันที่สองหลังจากรุกูอ์ในเราะกะอัตที่สอง[16]

ความสำคัญ

มีหลายรายงานจากฮะดีษที่กล่าวถึงความสำคัญของญุมุอะฮ์ ตามรายงานดังนี้:

  • ท่านศาสดากล่าวว่า: "ญุมุอะฮ์ (ละหมาดวันศุกร์) เป็นการแสวงบุญ (ฮัจญ์) ของคนยากจน" "[24]
  • ท่านศาสดากล่าวว่า: "ใครก็ตามที่พลาดละหมาดวันศุกร์สามครั้ง โดยไม่มีเหตุอันควร อัลลอฮ์จะปิดผนึกหัวใจของเขา"[25]
  • มีฮะดีษที่บันทึกโดยอะฮ์มัดว่า ท่านศาสดากล่าวว่า: “ผู้ศรัทธาที่อาบน้ำทั้งตัวในวันศุกร์ จากนั้นมาละหมาดวันศุกร์ก่อน แล้วฟังคำเทศนาของอิหม่าม และไม่ทำอะไรผิด อัลลอฮ์จะให้ผลบุญแก่เขาเท่ากับคนที่ถือศีลอดและละหมาดหนึ่งปี[26]
  • ที่มากไปกว่านั้น ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า : “มุสลิมคนใดที่เสียชีวิตในวันหรือคืนวันศุกร์ อัลลอฮ์จะปกป้องเขาจากการสอบสวนในสุสาน” [อัตติรมิซีและอะฮ์มัด]
  • มีฮะดีษที่บันทึกโดยอัลบุคอรีว่า ท่านศาสดากล่าวว่า: "ในช่วงกลางวันของวันศุกร์ จะมีชั่วโมงหนึ่งที่ถ้าผู้ศรัทธาของอะไรจากอัลลอฮ์ ทุกสิ่งที่เขาอยากได้ในชั่วโมงนั้น พระองค์จะประทานให้และไม่ปฏิเสธ ตราบที่เขาหรือเธอไม่ได้ขอสิ่งที่ไม่ดี".[26]
  • มีรายงานที่ล้ายกันว่า ท่านศาสดากล่าวว่า: "วันศุกร์มี 12 ชั่วโมง โดยหนึ่งในชั่วโมงนั้นที่ดุอาจะถูกตอบรับแก่มุสลิม ซึ่งชั่วโมงนั้นกล่าวว่าอยู่ในช่วงตอนบ่าย หลังละหมาดอัสรี"[27]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Jumma Mubarak Information & Jumma Mubarak Wallpapers เก็บถาวร 2017-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง