สงกรานต์

สงกรานต์ เป็นคำภาษาไทยมาจากภาษาสันสกฤต สํกฺรานฺติ (saṅkrānti) ใช้เรียกวันปีใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไท[1] ซึ่งเฉลิมฉลองในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา, พม่า, บางส่วนของอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ, เวียดนาม และสิบสองปันนาในประเทศจีน[2][3] สงกรานต์เริ่มต้นเมื่อดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษ สัญลักษณ์ดาราศาสตร์แรกในจักรราศีตามดาราศาสตร์ดาวฤกษ์[4]

สงกรานต์
สงกรานต์ในไทย, พม่า, กัมพูชา และ ลาว
ชื่อทางการตามประเทศ
ได้แก่
จัดขึ้นโดยชาวพม่า, กัมพูชา, ได, ลาว, ไทย, บังกลาเทศ, ศรีลังกา, ไทดำ และอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน
ความสำคัญวันขึ้นปีใหม่
วันที่โดยทั่วไป 13–14 เมษายน
ความถี่รายปี
ส่วนเกี่ยวข้องเมษสังกรานติ

การเฉลิมฉลองปีใหม่ในวาระเดียวกับสงกรานต์ในประเทศต่าง ๆ จะเรียกแตกต่างกันได้แก่ โจลชนัมทเมยในกัมพูชา, ปีใหม่ในลาว, ปีใหม่สิงหลในศรีลังกา, สงกรานต์ในประเทศไทย, ตะจานในพม่า, สังเกนในรัฐอรุณาจัลประเทศและอัสสัมของอินเดีย, เทศกาลพรมน้ำในสิบสองปันนาและบางส่วนของเวียดนาม[5][6]

ศัพทมูลวิทยา

คำ สงกรานต์ เป็นคำภาษาไทย[7] (เอกสารพิพิธภัณฑ์สิ่งทอ มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน ระบุว่าเป็นคำภาษาสยาม[8]) ซึ่งเป็นคำยืมจากภาษาอื่น[9] กร่อนมาจากคำว่า สังกรานต์[10] ซึ่งมีรากมาจากภาษาสันสกฤตว่า สํกฺรานฺติ[11] (Sankranti; สันสกฤต: सङ्क्रान्ति) หรือภาษาบาลีว่า สังขารา[12] (Saṅkhāra; บาลี: सङ्खार) แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไป ในที่นี้หมายถึง พระอาทิตย์โคจรหรือเคลื่อนย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง ซึ่งกินเวลาประมาณ ๑ เดือน ศ.เกียรติคุณ มณี พยอมยงค์ (ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์) ได้ให้ความหมายคำว่า สังกรานติ แปลว่า วันเดือนปีที่ล่วงไป[10] (ดวงดาวเคลื่อนเปลี่ยนผ่านแบบไม่เจาะจงราศี) ส่วนคำเจาะจงเขียนว่า เมษสังกรานติ (meṣha saṅkrānti) หมายถึง การเปลี่ยนผ่านของดวงดาวในราศีเมษ (หากดวงดาวเปลี่ยนผ่านในราศีมังกรจะเรียกว่า มกรสังกรานติ หรือราศีกุมภ์เรียกว่า กุมภสังกรานติ เป็นต้น)

แม้คำว่า สงกรานต์ จะเป็นคำยืมมาจากภาษาสันสกฤตแต่ประเทศอินเดียไม่มีประเพณีสงกรานต์[13]

ชาติพันธุ์

คำสงกรานต์มีชื่อเรียกตามกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษา หรือตามถิ่นต่าง ๆ ดังนี้

  • สง์กรน์ (คำยืมจากภาษาสันสกฤต) หรือ สงฺกนฺตะ (คำยืมจากภาษาบาลี) (ประเทศพม่า)[24]
  • ว่านอะต๊ะ (ชาวมอญ)[28]

ประเทศกัมพูชา

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศกัมพูชาพบคำจารึกว่า ซ็องกรานตะ (Sankranta) ซึ่งมีรากคำมาจากภาษาสันสกฤต ปรากฏตามศิลาจารึก ดังนี้[29]

  • ศิลาจารึกยโศธราศรมสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (Preah Theat Preah Srei) (K.650) พ.ศ. 1421-1520 พบคำจารึกว่า "...raṅko {A8} śvetatandula liḥ vyar pratidina ○ saṅkrānta raṅko thlva{A9} ṅ...".
  • ศิลาจารึกปราสาทพิมานอากาศ (Phimeanakas) (K.291) พ.ศ. 1453 จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา พบคำจารึกว่า "...raṅko liḥ 4 pratidina saṅkrā[nta] {N32} pūjā neḥ nai...".
  • ศิลาจารึกเปรี๊ยะนัน Preah Nan (Edicule F) พ.ศ. 1546 จังหวัดกำปงจาม ประเทศกัมพูชา พบคำจารึกว่า "...jalāṅgeśvara saṅkrānta raṅko je 1 pratidina liḥ 1 thlvaṅ □ {5}..."
  • ศิลาจารึกปราสาทเสกตาตุย (Prasat Sek Ta Tuy) บนกรอบประตูของซุ้มประตู 2 พ.ศ. 1569 จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา พบคำจารึกว่า "...○ kalpanā caru li[ḥ] ------- pratidina ------------- {26} ḥ mimvāy saṅkrānta..."
  • ศิลาจารึกสำโรง (Samrong) (K.258) พ.ศ. 1650 จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา พบคำจารึกว่า "...liṅgapura raṅko je mvay {C14} pratidina saṅkrānta dau pūrvvadvāra je mvay..."

แอมอนีเยร์ (Étienne Aymonier) นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาสำรวจศิลาจารึก ทำสำเนา และสำรวจภูมิประเทศดินแดนสยาม-ลาว-เขมรเพื่อสร้างแผนที่ก่อแนวเขต ได้เขียนบันทึกวันขึ้นปีใหม่ของประเทศกัมพูชาเรียกว่า มหาซ็องกราน[30] พบในเอกสารชื่อ Le groupe d'Angkor et L'histoire Vol. III : Le Cambodge ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) บันทึกของแอมอนีเยร์ ยังกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างวันสงกรานต์ของกัมพูชากับไทยว่า มหาซ็องกราน (Maha Sangkran) ของกัมพูชา หมายถึง วันขึ้นปีใหม่ที่ระบุในปฏิทินขนาดเล็กทางราชการเท่านั้น ส่วนของไทย (สยาม) หมายถึง การเคลื่อนย้ายของดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษซึ่งชาวสยามเรียกวันดังกล่าวว่า สงกรานต์ (Songkran)[30]

ส่วนบันทึกของเลอแคลร์ (Adhémard Leclère) ผู้ว่าการชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาพำนักในกัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส เรียก มหาซ็องกรานต์ (Maha sankrant) [31] หรือ ซ็องกรานต์ (Sankrant)[31] พบในเอกสารชื่อ L’almanach Cambodgien Et Son Calendrier Pour 1907–1908 ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1909 (พ.ศ. 2452) ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเทศไทย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทยพบคำ สงกรานต์ ซึ่งมีคำจารึกเป็นอักษรขอมโบราณมีความหมายการโคจรของพระอาทิตย์แบบไม่เจาะเฉพาะแค่ราศีเมษ พบได้ดังนี้

  • ศิลาจารึกวัดพระธาตุเชิงชุม[32] (สน.2, K.369) พ.ศ. 1543 จังหวัดสกลนคร พบคำจารึกบรรทัดที่ 11 ตัวอักษรขอมโบราณว่า "จำมลกฺรานฺต นุ ชา ปี ทุกฺ นา องฺคุยฺ". แปลว่า "...แด่สงกรานต์ และไว้ประจำแก่..."[33] (ผู้แปล รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ)
  • ศิลาจารึกวัดสระกำแพงใหญ่[34] (ศก.1, K.374) พ.ศ. 1585 จังหวัดศรีสะเกษ พบคำจารึกว่า วิศุวสํกรานฺต (Vishuva Sankranti) หมายถึง วันที่พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะคือเวลาเที่ยง มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน[35]: 9  (ผู้แปล อำไพ คำโท กรมศิลปากร)
  • ศิลาจารึกปราสาทหินพิมาย 2[36] (นม.29, K.953) พ.ศ. 1589 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย พบคำจารึกว่า (สงฺ)กรานฺต หมายถึง วันสงกรานต์ (คือในวันที่พระอาทิตย์โคจรจากราศีหนึ่งไปอีกราศีหนึ่ง)[35]: 9  (ผู้แปล ศ.ฉ่ำ ทองคำวรรณ)
  • ศิลาจารึกปราสาทหินพนมวัน 3[37] (นม.1, K.391) พ.ศ. 1625 จังหวัดนครราชสีมา มีคำว่าสงกรานต์ ปรากฏคำจารึกว่า "กฺฤติกาฤกษ สงฺกรานต ศุกรวาร" แปลว่าพระจันทร์เสวยฤกษ์กฤติกาวันศุกร์ และคำจารึกว่า "รงฺโก ถลวง มวยเนะต สงฺกรานต ต ปรวา ทิวสน" แปลว่าข้าวสารหนึ่งถลวง เวลาขึ้นปีใหม่และในเวลาเปลี่ยนปักษ์ (ผู้แปล อ.ทองสืบ ศุภะมารค)[38]: 5 
  • พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ มีคำว่า สงกรานต์ ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในเหตุการณ์เสด็จยกทัพไปเมืองตองอู พ.ศ. 2142 ว่า "ศักราช ๙๖๑ กุญศก วัน ๑๑ ฯ  ๑๑ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๘ บาท เสด็จพยุหบาตราไปเมืองตองอู ฟันไม้ข่มนามตําบล หล่มพลีตั้งทัพไชย ตําบลวัดตาล แลในเดือน ๑๑ นั้น สงกรานต์พระเสาร์แต่ราศีกันย์ไปราศีตุลย์"[39]: 29 

นับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ความหมายของคำ สงกรานต์ เริ่มมีความหมายแบบเจาะจงถึงการโคจรของพระอาทิตย์จากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ (ปีใหม่สุริยคติฮินดู) ปรากฏตามหลักฐานดังนี้[35]

ส่วนคำ สงกรานต์ ในภาษาอังกฤษที่ใช้ในปัจจุบันเขียนว่า Songkran[40] หมายถึง เทศกาลสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่สยาม และการสาดน้ำซึ่งมีความหมายแตกต่างจากความหมายเดิมของคำว่า สังกรานติ ในภาษาสันสกฤต กล่าวได้ว่าคำ สงกรานต์ เป็นคำภาษาไทยที่มีวิวัฒนาการผ่านการขัดเกลาด้วยวัฒนธรรมไทยมายาวนานตั้งแต่อดีตจนกลายเป็นประเพณีวันสงกรานต์ของไทยจนถึงปัจจุบัน พบในบันทึกของชาวต่างชาติร่วมสมัยดังนี้

  • De Beschryving van Japan (The History of Japan) ของหมอแกมป์เฟอร์เขียนจดบันทึกเมื่อ พ.ศ. 2233 รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาสะกดว่า Sonkraen[41] และบรรยายถึงพิธีประจำปีของชาวไทยซึ่งทำเมื่อขึ้นปีใหม่เรียกว่า สงกรานต์ (Sonkraen)[42]
  • จินดามะณี ตำราไวยากรณ์ไทยฉบับพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์[43] (Grammatica Linguæ Thai Auctore D. J. Bapt. Pallegoix) (พ.ศ. 2393) แต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สะกดว่า สงกรานต (ไม่มีการันต์) และ Songkran
  • สัพะ พะจะนะ พาสา ไท[44] (พ.ศ. 2397) ฉบับพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ บาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสซึ่งเข้ามาพำนักในสยามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นพจนานุกรมซึ่งแต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นหนังสือพจนานุกรม 4 ภาษา ประกอบด้วย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน หนังสือระบุความหมายคำ สงกรานต์ สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า SONGKRAN ความหมายในภาษาละติน:- "Ad alium locum pergere; angelus qui praesidere anno." ความหมายในภาษาฝรั่งเศส:- "Aller dans un autre endroit; ange qui preside a l'anne." ความหมายในภาษาอังกฤษ:- "To go to another place; angel preside over the year."
  • Bangkok Calendar (พ.ศ. 2404) ของหมอบลัดเลโดยสมาคมมิชชันนารีอเมริกัน
  • Travels in Siam in the Year 1863[45] (ฉบับภาษาเยอรมัน) (พ.ศ. 2406) แต่งโดย Adolf Philipp Wilhelm Bastian นักพหูสูตชาวเยอรมันศตวรรษที่ 19
  • The Siam Repository (พ.ศ. 2414) ของหมอสมิธ
  • A Journey Round the World in the Years 1875-1876-1877 (พ.ศ. 2422) โดย John Henry Gray [en]

ส่วนหลักฐานร่วมสมัยของไทยพบใน

คำประพันธ์ (บางส่วน)

๏ ทีนี้จะกล่าวเรื่องเมืองสุพรรณยามสงกรานต์คนนั้นก็พร้อมหน้า
จะทำบุญให้ทานการศรัทธาต่างมาที่วัดป่าเลไลย
หญิงชายน้อยใหญ่ไปแออัดขนทรายเข้าวัดอยู่ขวักไขว่
ก่อพระเจดีย์ทรายเรี่ยรายไปจะเลี้ยงพระกะไว้ในพรุ่งนี้
นิมนต์สงฆ์สวดมนต์เวลาบ่ายต่างฉลองพระทรายอยู่อึงมี่
แล้วกลับบ้านเตรียมการเลี้ยงเจ้าชีปิ้งจี่สารพัดจัดแจงไว้
ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ตอนพลายแก้วบวชเณร[48]


  • ประชุมพงศาวดาร เรื่อง ก่อพระทรายครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศตอนปลายกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ใช้คำว่า วันมหาสงกรานต์[49] เป็นธรรมเนียมโบราณราชประเพณีของพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาสืบมาแต่ก่อนทั้งพระราชประเพณีก่อพระทราย พระราชประเพณีถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ พระราชประเพณีขนทรายเข้าวัดและประโคมเครื่องดุริยางค์ดนตรี เป็นต้น
  • หนังสือพิมพ์รัตนโกษ (หนังสือพิมพ์มิวเซียม) ฉบับจุลศักราช ๑๒๓๙ (พ.ศ. 2420) รัชกาลที่ 5 มีคำสงกรานต์ปรากฏความว่า:- "อนึ่ง ข้าพเจ้าได้สัญญาไว้แก่ท่านทั้งหลายว่า หนังสือรวมเรื่องเล่มใหญ่นี้จะออกให้ทันในสงกรานต์หาทันไม่นั้นคือค้างช้าอยู่ ด้วยหนังสือปฏิทินต้องทำยากแลติดสงกรานต์ ผู้ที่ทำการพิมพ์ก็หยุดไปทำการสงกรานต์ตามธรรมเนียมอยู่บ้าง หนังสือจึงค้างช้าไปออกหาทันสงกรานต์ไม่"[38]: 34 

และยังปรากฏตัวสะกดอีกแบบว่า Songkrant[50] (ตัว 't' ไม่อ่านออกเสียง) ปรากฏในเอกสารของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เอกสาร The Siam Repository (พ.ศ. 2414) ของหมอสมิธ และเอกสารขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ส่วนวารสารชื่อ Kamarupa Anusandhan Samiti (Assam Research Society) ของสมาคมวิจัยรัฐอัสสัม สถาบันวิจัยเก่าแก่ที่สุดทางเหนือและตะวันออกของประเทศอินเดีย เขียนว่า Sangken หรือ Sangkran[51] ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของของกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่อาศัยอยู่ทางตะวันออก-เหนือของประเทศอินเดีย

รายชื่อสงกรานต์

ชื่อท้องถิ่นที่ตั้งเริ่มสิ้นสุด
ปีใหม่ลาวลาว14 เม.ย.16 เม.ย.
สงกรานต์ไทย13 เม.ย.15 เม.ย.
สังเกนรัฐอรุณาจัลประเทศและรัฐอัสสัม (อินเดีย)14 เม.ย.16 เม.ย.
ตะจานพม่า13 เม.ย.16 เม.ย.
โจลชนัมทเมยกัมพูชา14 เม.ย.16 เม.ย.
พัวสุ่ยเจี๋ยสิบสองปันนา, มณฑลยูนนาน (จีน)13 เม.ย.15 เม.ย.
อะรุดตา วะรุดตะดาศรีลังกา14 เม.ย.14 เม.ย.
ปีใหม่เมืองจังหวัดเชียงใหม่ และ ภาคเหนือของประเทศไทย13 เม.ย.16 เม.ย.

รูปภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

เชิงอรรถ

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สงกรานต์

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง