สงครามฟอล์กแลนด์

สงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (อังกฤษ: Falklands War; สเปน: Guerra de las Malvinas) เป็นสงครามที่ไม่ได้ประกาศในระยะเวลา 10 สัปดาห์ ระหว่างอาร์เจนตินา และสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1982 บนดินแดนที่ขึ้นกับบริติชสองแห่งในแอตแลนติกทางตอนใต้: หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ และดินแดนในภาวะพึ่งพิง เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช ผลลัทธ์ของสงครามคือ บริติชชนะ

สงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
Photo montage of the Falklands War
แผนที่สรุปการยึดหมู่เกาะคืนของอังกฤษ
วันที่2 เมษายน - 14 มิถุนายน 1982[1][2]
สถานที่
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ หมู่เกาะเซาท์จอร์เจียและเซาท์แซนด์วิช รวมถึงพื้นน้ำและอากาศโดยรอบ
ผล

สหราชอาณาจักรเป็นฝ่ายชนะ

  • สถานะเดิมก่อนสงครามในพื้นที่จอร์เจียร์ใต้และหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
  • การยึดครองธูเลใต้ของอาร์เจนตินาสิ้นสุดลง
  • รัฐบาลทหารอาร์เจนตินาล้มลงในภายหลัง
  • อาร์เจนตินาถอนการสนับสนุนคอนทราส์นิการากัว
  • รัฐบาลพรรคอนุรักษนิยม นำโดยนายกรัฐมนตรีมากาเรท เท็ตเชอร์ ในสหราชอาณาจักรแข็งแกร่งขึ้น
คู่สงคราม
 อาร์เจนตินา บริเตนใหญ่
 หมู่เกาะฟอล์กแลนด์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
  • อาร์เจนตินา ปธน. เลโอโปลโด กัลติเอริ
  • อาร์เจนตินา Adm. J. Anaya
  • อาร์เจนตินา Brig.Gen. B. Lami Dozo
  • อาร์เจนตินา V Adm. J. Lombardo
  • อาร์เจนตินา Brig. E. Crespo
  • อาร์เจนตินา B.Gen. M. Menéndez
  • คณะรัฐมนตรีสงคราม[3]
  • สหราชอาณาจักร Prime Min. M. Thatcher
  • สหราชอาณาจักร Adm. Sir T. Lewin
  • สหราชอาณาจักร Adm. Sir J. Fieldhouse
  • สหราชอาณาจักร R Adm. J. Woodward
  • สหราชอาณาจักร Maj.Gen. J. Moore
  • สหราชอาณาจักร Brig. J. Thompson
ความสูญเสีย
  • เสียชีวิต 649 คน
  • บาดเจ็บ 1,657 คน[4]
  • ถูกจับเป็นเชลย 11,313 คน
  • เสียชีวิต 255 คน
  • บาดเจ็บ 775 คน
  • ถูกจับเป็นเชลย 115 คน

ความขัดแย้งครั้งนี้ได้เริ่มขึ้นในวันที่ 2 เมษายน เมื่ออาร์เจนตินาได้ทำการบุกรุกและยึดครองหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ตามมาด้วยการบุกครองเกาะเซาท์จอร์เจียในวันต่อมา เมื่อวันที่ 5 เมษายน รัฐบาลบริติชได้ส่งกองกำลังทางเรือเพื่อต่อกรกับกองทัพเรือและกองทัพอากาศของอาร์เจนติน่า ก่อนที่จะทำการโจมตีด้วยสะเทิ้นน้ำสะเทินบกบนหมู่เกาะ ความขัดแย้งครั้งนี้ได้กินเวลาไป 74 วัน และจบลงด้วยการยอมจำนนของอาร์เจนติน่าในวันที่ 14 มิถุนายน ได้ส่งคืนเกาะให้อยู่ในการควบคุมของบริติช โดยรวมแล้ว บุคคลากรทางทหารของอาร์เจนติน่า 649 นาย บุคคลากรทางทหารของบริติช 255 นาย และชาวเกาะฟอล์กแลนด์สามคนล้วนเสียชีวิตในการสงคราม

ความขัดแย้งครั้งนี้เป็นเหตุการณ์สำคัญในความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของดินแดน อาร์เจนติน่าได้แสดงสิทธิ์ (และปกปักรักษา) ว่าหมู่เกาะเหล่านี้เป็นดินแดนของอาร์เจนติน่า[5] และรัฐบาลอาร์เจนติน่าจึงได้แสดงให้เห็นถึงปฏิบัติการทางทหารว่าเป็นการเรียกคืนดินแดนของตน รัฐบาลบริติชได้ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการบุกครองดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมในพระองค์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1841 ชาวเกาะฟอล์กแลนด์ ที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะเหล่านี้นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เป็นเหล่าบรรดาลูกหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวบริติช และให้การสนับสนุนอำนาจอธิปไตยของบริติชอย่างมาก รัฐทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ แม้ว่าทั้งสองรัฐบาลจะประกาศให้หมู่เกาะเหล่านี้เป็นเขตสงครามก็ตาม

ความขัดแย้งครั้งได้มีผลอย่างมากในประเทศทั้งสองฝ่ายและเป็นเรื่องราวในหนังสือ บทความ ภาพยนตร์ และเพลงต่าง ๆ ความรู้สึกรักชาติอยู่ในระดับสูงในอาร์เจนติน่า แต่ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นใจทำให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ต่อรัฐบาลทหารที่ปกครองอยู่ ได้เร่งก่อให้เกิดการล่มสลายและกลายมาเป็นประชาธิปไตยภายในประเทศ ในสหราชอาณาจักร รัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้รับแรงสนับสนุนจากผลความสำเร็จที่ตามมา ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งโดยมีเสียงข้างมากเพิ่มขึ้นในปีถัดมา ผลกระทบทางวัตนธรรมและการเมืองของความขัดแย้งในสหราชอาณาจักรนั้นมีน้อยกว่าในอาร์เจนติน่า ซึ่งยังเป็นหัวข้อสนทนาทั่วไป[6]

ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหราชอาณาจักรและอาร์เจนติน่าได้รับการฟื้นฟูในปี ค.ศ. 1989 ภายหลังการประชุมในมาดริด ซึ่งรัฐบาลทั้งสองประเทศได้ออกแถลงการณ์ร่วมกัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในจุดยืนของประเทศใด ๆ เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์อย่างชัดเจน ในปี ค.ศ. 1994 อาร์เจนติน่าได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่[7] ซึ่งได้ประกาศให้หมู่เกาะฟอล์กแลนด์เป็นจังหวัดหนึ่งของอาร์เจนติน่าตามกฎหมาย[8] อย่างไรก็ตาม หมู่เกาะเหล่านี้ยังคงอยู่ในฐานะดินแดนโพ้นทะเลของบริติชที่ปกครองด้วยตนเอง[9]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง