หู จิ่นเทา

อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน

หู จิ่นเทา (จีนตัวย่อ: 胡锦涛; จีนตัวเต็ม: 胡錦濤; พินอิน: Hú Jǐntāo; 21 ธันวาคม พ.ศ. 2485 – ) เป็นนักการเมืองชาวจีนที่เป็นผู้นำประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง 2555 เขาดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง 2555 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง 2556 และประธานแห่งคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง 2555 เขาเป็นสมาชิกของคณะกรรมการประจำกรมการเมือง (中央政治局常委会; Politburo Standing Committee) คณะผู้ตัดสินสูงสุดของจีนโดยพฤตินัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ถึง 2555

หู จิ่นเทา
胡锦涛
หู จิ่นเทา ใน พ.ศ. 2554
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
(10 ปี 0 วัน)
ก่อนหน้าเจียง เจ๋อหมิน
ถัดไปสี จิ้นผิง
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม พ.ศ. 2546 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2556
(9 ปี 364 วัน)
หัวหน้ารัฐบาลเวิน เจียเป่า
รองประธานาธิบดีเจิ้ง ชิ่งหง
สี จิ้นผิง
ก่อนหน้าเจียง เจ๋อหมิน
ถัดไปสี จิ้นผิง
ประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง
ดำรงตำแหน่ง
แห่งพรรคฯ:
19 กันยายน พ.ศ. 2547 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
(8 ปี 57 วัน)
แห่งรัฐ:
13 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2556
(8 ปี 1 วัน)
รองสี จิ้นผิง
กัว ป๋อสยง
ซู ไฉโฮ่ว
เฉา กังชวน
ก่อนหน้าเจียง เจ๋อหมิน
ถัดไปสี จิ้นผิง
เลขาธิการสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
19 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
(10 ปี 27 วัน)
เลขาธิการเจียง เจ๋อหมิน
ก่อนหน้าเฉียว สือ
ถัดไปเจิ้ง ชิ่งหง
รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม พ.ศ. 2541 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2546
(5 ปี 0 วัน)
ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน
ก่อนหน้าหรง อี้เหริน
ถัดไปเจิ้ง ชิ่งหง
รองประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง
ดำรงตำแหน่ง
แห่งรัฐ:
31 ตุลาคม พ.ศ. 2542 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2548
(5 ปี 72 วัน)
แห่งพรรคฯ:
22 กันยายน พ.ศ. 2542 – 19 กันยายน พ.ศ. 2547
(4 ปี 363 วัน)
ประธานเจียง เจ๋อหมิน
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำทิเบต
ดำรงตำแหน่ง
1 ธันวาคม พ.ศ. 2531 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2535
(4 ปี 0 วัน)
เลขาธิการจ้าว จื่อหยาง
เจียง เจ๋อหมิน
ก่อนหน้าอู่ จิงฮฺวา
ถัดไปเฉิน กุยหยวน
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลกุ้ยโจว
ดำรงตำแหน่ง
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2531
(3 ปี 146 วัน)
เลขาธิการหู เย่าปัง
จ้าว จื่อหยาง
ก่อนหน้าจู โฮ่วเจ๋อ
ถัดไปหลิว เจิ้งเว่ย์
เลขาธิการคนที่ 1 ของ
สันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2527 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
(0 ปี 206 วัน)
เลขาธิการหู เย่าปัง
ก่อนหน้าหวัง จ้าวกั๋ว
ถัดไปซ่ง เต๋อฝู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 ธันวาคม พ.ศ. 2485 (81 ปี)
ไท่โจว, มณฑลเจียงซู, สาธารณรัฐจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน
คู่สมรสหลิว หย่งชิง
บุตรหู ไห่เฟิง
หู ไห่ชิง
บุพการี
  • หู จิงจือ (胡静之) (บิดา)
ที่อยู่อาศัยจงหนานไห่ (อดีต)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยชิงหฺวา (วท.บ.)
วิชาชีพวิศวกรรมชลศาสตร์
ลายมือชื่อ
หู จิ่นเทา
"หู จิ่นเทา" อักษรตัวย่อ (บน) และตัวเต็ม (ล่าง)
อักษรจีนตัวย่อ胡锦涛
อักษรจีนตัวเต็ม胡錦濤

หูเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนโดยทำงานเต็มเวลา โดยเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพรรคประจำมณฑลกุ้ยโจวและเขตปกครองตนเองทิเบต และต่อมาเป็นเลขาธิการคนแรกของสำนักเลขาธิการส่วนกลาง และรองประธานาธิบดีภายใต้การนำของเจียง เจ๋อหมิน หูเป็นผู้นำคนแรกของพรรคคอมมิวนิสต์จากชั่วรุ่นที่อายุน้อยกว่าผู้ที่เคยเข้าร่วมในสงครามกลางเมืองและการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชน[1]

ประวัติ

หู จิ่นเทา เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ในนครไท่โจว มณฑลเจียงซู[2] โดยครอบครัวประกอบธุรกิจค้าขายชา พื้นเพเดิมอพยพมาจากอำเภอจี้ซี มณฑลอานฮุย ชีวิตวัยเด็กของเขาค่อนข้างยากจน กำพร้าแม่ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ บิดาของหู จิ่นเทาตกเป็นเป้าโจมตีโดนจับแห่ประจานเช่นเดียวกับพ่อค้าวาณิชย์ ผู้ดีเก่า ปัญญาชน และกลุ่มคนหัวอนุรักษนิยมจำนวนมาก ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อเขาอย่างมาก ทำให้เขามีความพยายามอย่างยิ่งในการกอบกู้ชื่อเสียงของบิดา[3]

หู จิ่นเทาจบการศึกษาวิศวกรรมชลศาสตร์ คณะวิศวกรรมชลประทาน จากมหาวิทยาลัยชิงหฺวา กรุงปักกิ่ง ระหว่างที่เรียนอยู่เขาได้พบกับคู่ชีวิตคือ หลิว หย่งชิง และต่อมาแต่งงานสร้างครอบครัวด้วยกัน จนมีลูกชายลูกสาวอย่างละหนึ่งคน ด้วยประวัติการศึกษาและกิจกรรมดีเลิศ หู จิ่นเทาได้เป็นสมาชิกยุวชนของพรรคคอมมิวนิสต์เมื่อ เดือนเมษายน พ.ศ. 2507 ก่อนเกิดการปฏิวัติวัฒนธรรม[4]

หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาได้เป็นผู้ช่วยสอนด้านการเมืองในภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน ในปี พ.ศ. 2511 เขาถูกส่งตัวไปคุมงานก่อสร้างเขื่อนในมณฑลกานซู[5] ซึ่งอยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลความเจริญ และยังเป็นวิศวกรคุมงานสร้างเขื่อนอีกหลายแห่งเป็นเวลาต่อเนื่องนับสิบปี ได้รับคัดเลือกเป็นคณะกรรมการสำรองพรรคคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2523 การทำงานในตำแหน่งบริหารของเขาเป็นที่สนใจของหู เย่าปัง ซึ่งเป็นสมาชิกคณะกรรมการกรมการเมืองประจำพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้เขาได้รับเลื่อนขั้นเป็นเลขาธิการพรรคประจำมณฑลกุ้ยโจว มีโอกาสได้แสดงฝีมือพัฒนามณฑลกุ้ยโจวซึ่งทุรกันดารให้เจริญขึ้นได้อย่างมาก[6]: 31  และต่อมาเขาก็ถูกย้ายไปเป็นเลขาธิการพรรคประจำเขตปกครองตนเองทิเบต ซึ่งความไม่สงบและความขัดแย้งทางชาติพันธุ์กำลังก่อตัว โดยเฉพาะความรู้สึกต่อต้านชาวฮั่นในชนกลุ่มน้อยในสังคมทิเบต การปะทะกันเล็กน้อยเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และเมื่อระดับของความไม่สงบเพิ่มขึ้นสูงสุด หู จิ่นเทา ได้ร้องขอไปยังรัฐบาลปักกิ่งให้ประกาศกฎอัยการศึกในทิเบต เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2532[6]: 9 

งานการเมือง

ในปี พ.ศ. 2517 หู จิ่นเทา ได้คุมงานก่อสร้างเขื่อนแห่งหนึ่งในมณฑลกานซู ที่ได้ชื่อว่าทุรกันดารมากกว่าสิบปี จนได้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมาธิการสันนิบาตเยาวชนแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน[7] แล้วก็ขึ้นเป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งมณฑลกุ้ยโจว[8]

พ.ศ. 2531 หู จิ่นเทาได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ประจำเขตปกครองตนเองทิเบต หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2535 ได้เป็นกรรมการประจำกรมการเมืองของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ควบตำแหน่งเลขานุการสำนักงานเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ปี พ.ศ. 2541 ได้เป็นรองประธานาธิบดี และในปี พ.ศ. 2545 ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปพรรคคอมมิวนิสต์จีน และประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเขาและนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า เสนอแนวความคิดสังคมสมานฉันท์ (和谐社会; Socialist Harmonious Society) ซึ่งมุ่งลดความเหลื่อมล้ำ และเปลี่ยนรูปแบบของนโยบาย "GDP มาก่อนสวัสดิการ"[9]

หลังเกษียณ

การประชุมแห่งชาติครั้งที่ 20 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ในพิธีปิดการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 หู จิ่นเทา ซึ่งนั่งด้านข้างของเลขาธิการพรรค สี จิ้นผิง ถูกเจ้าหน้าที่เชิญตัวออกจากห้องโถง"อย่างลึกลับ"[10][11] ตามรายงานของนักข่าวจากอาชองซ์ ฟรองซ์ เปรส (AFP) "หู จิ่นเทา ดูเหมือนไม่เต็มใจที่จะลุกออกไปในตอนแรก"[12][13] สี จิ้นผิงดูเหมือนไม่แสดงปฏิกิริยาใด ๆ แต่ลี่ จ้านชู และหวัง ฮู่หนิง ซึ่งทั้งคู่นั่งทางด้านซ้ายของหู จิ่นเทามีความกังวลอย่างเห็นได้ชัด โดยลี่ จ้านชู พยายามเข้าไปช่วยเขาจนถูกห้ามโดยหวัง ฮู่หนิง จากนั้นหู จิ่นเทา ก็กระซิบกับสี จิ้นผิงและตบหลังนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ก่อนจะถูกเชิญตัวไป[14]

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่ประชุมจะมีการลงคะแนนรับรองรายงานของคณะกรรมการกลางชุดที่ 19, รายงานการทำงานของคณะกรรมการกลางตรวจสอบวินัยครั้งที่ 19 และการแก้ไขธรรมนูญของพรรค ซึ่งหู จิ่นเทา ไม่ได้ลงคะแนนเสียงเนื่องจากเหตุการณ์นี้[15][16] ผลการลงคะแนนอย่างเป็นทางการแสดงให้เห็นว่าข้อเสนอทั้งหมดได้รับมติเป็นเอกฉันท์ โดยไม่มีการงดออกเสียงหรือผู้ลงคะแนนค้าน[17] ในวันเดียวกันก็มีการเลือกคณะกรรมการกลางชุดที่ 20 โดยสี จิ้นผิง และหวัง ฮู่หนิง เป็นหนึ่งในสมาชิกของคณะกรรมการกลางชุดใหม่ ในขณะที่หลี่ เค่อเฉียง, ลี่ จ้านชู และวัง หยาง ไม่ได้รับเลือก[18][19]

สำนักข่าวซินหัวระบุในบัญชีทวิตเตอร์ภาษาอังกฤษว่า “เมื่อเขา [หู] รู้สึกไม่สบายในระหว่างการประชุม เพื่อสุขภาพของเขาเจ้าหน้าที่ได้พาเขาไปที่ห้องถัดจากสถานที่จัดประชุมเพื่อพักผ่อน ตอนนี้เขามีอาการดีขึ้นมาก"[20][21]

อัลเฟรด อู๋ มู่หลวน (吴木銮) รองศาสตราจารย์ที่วิทยาลัยนโยบายสาธารณะลี กวนยู แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ตีความเหตุการณ์นี้ว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพมากกว่าเรื่องการเมือง โดยแย้งว่าลักษณะของหู จิ่นเทา "เป็นลักษณะแบบถั่งผิง (躺平) มากกว่า"[22] เจมส์ พาลเมอร์ รองบรรณาธิการของนิตยสาร Foreign Policy ตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องการเมือง โดยบอกว่าอาจเป็นความตั้งใจของสี จิ้นผิง ที่จะ "จงใจทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสาธารณชนของผู้นำคนก่อนเขา"[23] สี จิ้นผิง เคยวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในสุนทรพจน์ก่อนที่เขาจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งพูดถึง "ปัญหาที่ผู้นำพรรคอ่อนแอลง ไม่ชัดเจน ไร้บทบาท และถูกไม่ให้ความสำคัญ" ("党的领导弱化、虚化、淡化、边缘化问题")[23][24][25]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


ก่อนหน้าหู จิ่นเทาถัดไป
เจียง เจ๋อหมิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
(15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555)
สี จิ้นผิง
เจียง เจ๋อหมิน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
(15 มีนาคม พ.ศ. 2546 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2556)
สี จิ้นผิง
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง