อิสลามาบาด

อิสลามาบัด (อูรดู: اسلام آباد, Islām-ābād; เสียงอ่านภาษาอูรดู: [ɪsˌlɑːmɑˈbɑːd̪]) เป็นเมืองหลวงของประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่ในเขตการปกครองเมืองหลวงอิสลามาบัด มีพื้นที่ 906 ตารางกิโลเมตร ประชากร 805,000 คน (พ.ศ. 2541) กรุงอิสลามาบัดสร้างขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 เพื่อเป็นเมืองหลวงของประเทศแทนนครการาจี อิสลามาบัดเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศปากีสถานเป็นอันดับที่ 9 ส่วนมหานครอิสลามาบัด-รวัลปินดี (Islamabad-Rawalpindi) เป็นมหานครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่สี่ของประเทศด้วยประชากร 7.4 ล้านคน[3]

อิสลามาบัด

اسلام آباد
เมืองหลวง
ตามเข็มนาฬิกาจากขวา: อนุสาวรีย์ปากีสถาน, บลูแอเรีย ย่านการค้าของเมือง, รัฐสภาปากีสถาน, มัสยิดไฟซัล, อุทยานแห่งชาติมาร์กัลลาฮีลส์
สมญา: 
Isloo,[1] เมืองสีเขียว
แผนที่ประเทศปากีสถานเน้นกรุงอิสลามาบัด
แผนที่ประเทศปากีสถานเน้นกรุงอิสลามาบัด
อิสลามาบัดตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
อิสลามาบัด
อิสลามาบัด
แผนที่ประเทศปากีสถานแสดงที่ตั้งกรุงอิสลามาบัด
พิกัด: 33°43′N 73°04′E / 33.717°N 73.067°E / 33.717; 73.067
ประเทศ ปากีสถาน
ดินแดน ดินแดนนครหลวงอิสลามาบาด
ก่อตั้งคริสต์ทศวรรษ 1960
การปกครอง
 • หน่วยงานบริหารองค์การการพัฒนาเมืองหลวง
 • ผู้บัญชาการZulfiqar Haider
 • ประธานSheikh Ansar aziz
 • รองผู้บัญชาการMujahid Sherdil
 • นายกเทศมนตรีSheikh Ansar Aziz
พื้นที่
 • เมืองหลวง906.00 ตร.กม. (349.81 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง906.00 ตร.กม. (349.81 ตร.ไมล์)
ความสูง620 เมตร (2,000 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโน พ.ศ. 2554)[2]
 • เมืองหลวง1,151,868 คน
 • ความหนาแน่น1,271 คน/ตร.กม. (3,290 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+5 (PST)
รหัสไปรษณีย์44000
รหัสพื้นที่051
เว็บไซต์www.islamabad.gov.pk

อิสลามาบัดเป็นเมืองที่มีวางผังไว้ก่อน (planned city) ซึ่งเริ่มในทศวรรษ 1960 เพื่อเป็นเมืองหลวงแทนที่การาจี อิสลามาบัดเป็นเมืองที่มีมาตรฐานการดำรงชีพที่สูง[4] มีความปลอดภัยสูง[5] และเต็มไปด้วยพืชพรรณไม้ต่าง ๆ [6] อิสลามาบัดเป็นที่ตั้งขององค์กรทางการเมืองของประเทศปากีสถาน ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นของเมืองคือองค์กรบริหารนครอิสลามาบัด (Islamabad Metropolitan Corporation) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Capital Development Authority (CDA)

อิสลามาบัดตั้งอยู่ใน ที่ราบสูงโพโธฮาร์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปากีสถาน อยู่ระหว่างเขตรวัลปินดี (Rawalpindi District) อุทยานแห่งชาติเทือกเขามาร์กัลลา (Margalla Hills National Park) ทางเหนือ พื้นที่บริเวณนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างปัญจาบ และ แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา โดยมี Margalla Pass เป็นเหมือนประตูเชื่อมต่อระหว่างสองพื้นที่นี้[7]

แผนหลักการเมือง (city's master-plan) ออกแบบโดยสถาปนิกชาวกรีก Constantinos Apostolou Doxiadis ผู้แบ่งเมืองออกเป็นแปดเขตคือเขตบริหาร (administrative), เขตผู้แทนการทูต (diplomatic enclave), เขตที่อยู่อาศัย (residential areas), เขตการศึกษา (educational sectors), เขตอุตสาหกรรม (industrial sectors), เขตธุรกิจการค้า (commercial areas) และพื้นที่สีเขียวหรือชนบท (rural and green areas) อิสลามาบัดเป็นที่รู้จักดีในฐานะเมืองที่มีสวนสาธารณะและป่าอยู่มาก เช่น Margalla Hills National Park และ Shakarparian Park[8]

ศัพทมูล

ชื่อเมืองอิสลามาบัด เกิดจากการรวมกันของสองคำคือ อิสลาม (Islam) และ อาบัด (abad) แปลว่าเมืองแห่งอิสลาม ("City of Islam") คำว่าอิสลาม (Islam) เป็นคำภาษาอูรดูหมายถึงศาสนาอิสลาม ส่วน อาบัด (-abad) เป็นคำต่อท้ายภาษาเปอร์เซียแปลว่าเมือง[9]

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของอิสลามาบาด (1961-1990)
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)26.1
(79)
30.0
(86)
34.0
(93.2)
40.6
(105.1)
45.6
(114.1)
46.0
(114.8)
44.4
(111.9)
42.0
(107.6)
38.1
(100.6)
36.7
(98.1)
32.2
(90)
27.2
(81)
46
(114.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)17.1
(62.8)
19.1
(66.4)
23.9
(75)
30.1
(86.2)
35.3
(95.5)
38.7
(101.7)
35.0
(95)
33.4
(92.1)
33.5
(92.3)
30.9
(87.6)
25.4
(77.7)
19.7
(67.5)
28.5
(83.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)10.1
(50.2)
12.1
(53.8)
16.9
(62.4)
22.6
(72.7)
27.5
(81.5)
31.2
(88.2)
29.7
(85.5)
28.5
(83.3)
27.0
(80.6)
22.4
(72.3)
16.5
(61.7)
11.6
(52.9)
21.34
(70.42)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)2.6
(36.7)
5.1
(41.2)
9.9
(49.8)
15.0
(59)
19.7
(67.5)
23.7
(74.7)
24.3
(75.7)
23.5
(74.3)
20.6
(69.1)
13.9
(57)
7.5
(45.5)
3.4
(38.1)
14.1
(57.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)−3.9
(25)
-2.0
(28.4)
−0.3
(31.5)
6.1
(43)
11.0
(51.8)
15.0
(59)
17.8
(64)
17.0
(62.6)
13.3
(55.9)
5.7
(42.3)
−0.6
(30.9)
−2.8
(27)
−3.9
(25)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)56.1
(2.209)
73.5
(2.894)
89.8
(3.535)
61.8
(2.433)
39.2
(1.543)
62.2
(2.449)
267.0
(10.512)
309.9
(12.201)
98.2
(3.866)
29.3
(1.154)
17.8
(0.701)
37.3
(1.469)
1,142.1
(44.965)
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด195.3189.3201.5252.0313.1300.0263.5251.1261.0275.9249.0195.32,947.0
แหล่งที่มา 1: HKO [10]
แหล่งที่มา 2: NOAA (extremes, daily mean temeperatures, 1961-1990) [11]

ประชากร

ประชากรในอิสลามาบัด
ค.ศ.ประชากรตัวเมือง

195195,94070%
1961117,66980%
1972237,54985%
1981340,28690%
1998805,23595%
20111,151,868100%

อ้างอิง:[12]

เมืองพี่น้อง

ประเทศเขตการปกครองเมืองปี
อิตาลีแคว้นเวเนโตเวนิสค.ศ. 1960
จีนปักกิ่งปักกิ่ง8 ตุลาคม ค.ศ. 1993[13]
ตุรกีจังหวัดอังการาอังการาค.ศ. 1982[14]
จอร์แดนเลแวนต์อัมมาน19 มีนาคม ค.ศ. 1989[15]
เกาหลีใต้จังหวัดคย็องกีโซล7 พฤศจิกายน 2008[16]
สเปนแคว้นมาดริดมาดริด5 มิถุนายน ค.ศ. 2010
อินโดนีเซียจาการ์ตาจาการ์ตาค.ศ. 1984 เริ่มใหม่ในปี ค.ศ. 2010[17]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

33°43′N 73°04′E / 33.717°N 73.067°E / 33.717; 73.067

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง