สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน

สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน เป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น เกิดขึ้นเป็นเวลาเก้าปีตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1979 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 โดยเป็นการรบรากันระหว่างกองทัพอัฟกานิสถานที่มีโซเวียตเป็นหัวหน้า กับมุจญาฮิดีน (Mujahideen) ซึ่งเป็นกลุ่มขบถหลายชนชาติและมีพันธมิตรใหญ่สองราย คือ เปศวาร์เจ็ด (Peshawar Seven) กับเตหะรานแปด (Tehran Eight) ขบถเปศวาร์เจ็ดนั้นได้รับการฝึกฝนทางทหารจากประเทศเพื่อนบ้าน คือ ปากีสถาน และสาธารณรัฐประชาชนจีน[53] ทั้งได้รับอาวุธยุทธภัณฑ์พร้อมเงินหลายพันล้านดอลลาร์จากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ซาอุดีอาระเบีย และอีกหลายประเทศ[16][12][13][53][54] ส่วนกลุ่มชีอะฮ์ (Shia) จากฝ่ายเตหะรานแปดนั้นได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น, ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต และสงครามในอัฟกานิสถานที่ยังคงดำเนินอยู่


บน: นักรบมุญาฮิดีนในจังหวัดคูนาร์ ประเทศอัฟกานิสถาน ค.ศ. 1987
ล่าง: ทหารโซเวียตในอัฟกานิสถาน ค.ศ. 1988
วันที่24 ธันวาคม ค.ศ. 1979 – 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989
(9 ปี 1 เดือน 3 สัปดาห์ 1 วัน)
สถานที่
ผล

มุญาฮิดีนอัฟกันชนะ

  • การประชุมเจนีวา (ค.ศ. 1988)
  • ถอนกำลังกองทัพโซเวียตออกจากอัฟกานิสถาน
  • สงครามกลางเมืองอัฟกานิสถานดำเนินต่อ[33]
คู่สงคราม

 สหภาพโซเวียต
อัฟกานิสถาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถาน

กำลังกึ่งทหาร:
  • Sarandoy
  • Defense of the Revolution
  • Pader Watan
สนับสนุนโดย:

มุญาฮิดีนซุนนี:

กลุ่ม:
  • Jamiat-e Islami[4]
    • Shura-e Nazar
  • Hezb-e Islami Gulbuddin[5]
    • Maktab al-Khadamat
  • Hezb-e Islami Khalis[5]
  • Ittehad-e Islami (IULA)[4]
  • Harakat-i-Inqilab (IRM)[6]
  • Jebh-e Nejat-e Melli [7]
  • Mahaz-e Milli (NIFA)[7]

มุญาฮิดีนชีอะฮ์:

กลุ่ม:
สนับสนุนโดย:

ลัทธิเหมา:

กลุ่ม:
  • Sazman-i Rihayi (ALO)
  • SAMA
  • AMFFF
สนับสนุนโดย:
  • RIM
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

  • Muhammad Asif Muhsini
  • Abdul Ali Mazari
  • Assef Kandahari
  • Sayyid Ali Beheshti
  • Mosbah Sade

Mulavi Dawood โทษประหารชีวิต (AMFFF)
Faiz Ahmad โทษประหารชีวิต
Majid Kalakani (SAMA)
กำลัง

กองทัพโซเวียต:

เจ้าหน้าที่รวม 620,000 นาย [35]

  • กองกำลังสูงสุด 115,000 นาย[36]

กองทัพอัฟกัน:

  • ทหารประจำการสูงสุด 65,000 นาย[37]
มุญาฮิดีน:
200,000–250,000[38][39][40]
ความสูญเสีย

โซเวียต:

  • ถูกฆ่า 14,453 นาย (รวม) หรือ
    • ถูกฆ่าในสงคราม 9,500 นาย[41]
    • เสียชีวิตจากบาดแผล 4,000 นาย[41]
    • เสียชีวิตจากโรคและอุบัติเหตุ 1,000 นาย[41]
  • บาดเจ็บ 53,753 นาย[41]
  • หายตัว 264 นาย[ต้องการอ้างอิง]
  • อากาศยาน 451 อัน (รวมเฮลิคอปเตอร์ 333 เครื่อง)
  • รถถัง 147 คัน
  • 1,314 IFV/APCs
  • ปืนใหญ่และปืนครก 433 อัน
  • รถบรรทุกน้ำมันรถถังและสิ่งของ 11,369 คัน

(ประมาณการของโซเวียต)
ถูกฆ่า 26,000 คนรวมเจ้าหน้าที่ 3,000 นาย[42] (ข้อมูลอื่น)
อัฟกานิสถาน:

  • ถูกฆ่า 18,000 นาย[43]

มุญาฮิดีน:

อย่างน้อย 90,000 นาย รวมผู้เสียชีวิต 56,000 นายและผู้บาดเจ็บ 17,000 นาบ[44][45]
บาดเจ็บและเสียชีวิต 150,000–180,000 นาย (ประมาณการจากที่อื่น)[45]

ปากีสถาน:

  • ถูกฆ่า 5,775 นาย[46]
  • บาดเจ็บ 6,804 นาย[46]
  • F-16 1 เครื่องถูกยิงลงโดยพวกเดียวกันเอง[47]

อิหร่าน:

  • เฮลิคอปเตอร์ AH-1J 2 เครื่องถูกยิงตก
  • ไม่ทราบจำนวนผู้ที่ถูกฆ่า[48]

พลเมือง (อัฟกัน):

  • ถูกฆ่า 562,000[49]–2,000,000 คน[50][51]
  • ผู้ลี้ภัยนอกอัฟกานิสถาน 5 ล้านคน
  • ผู้พลัดถิ่นภายใน 2 ล้านคน
  • ชาวอัฟกันบาดเจ็บประมาณ 3 ล้านคน (ส่วนใหญ่เป็นพลเมือง)[52]

สงครามซึ่งยาวนานเกือบหนึ่งทศวรรษนี้ส่งผลให้ชาวอัฟกานิสถานหลายล้านคนลี้ภัยจากประเทศตนเอง ส่วนใหญ่เข้าไปพึ่งใบบุญปากีสถานและอิหร่าน อนึ่ง นอกจากกบฏที่ล้มตายแล้ว สงครามยังทำให้พลเรือนอัฟกานิสถานจำนวนมากเสียชีวิต

สงครามเริ่มขึ้นเมื่อกองทัพที่ 40 ซึ่งโซเวียตประจำไว้ในอัฟกานิสถาน และมีเลโอนิด เบรจเนฟ เป็นหัวหน้า เคลื่อนพลพร้อมรบในวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1979[55] และมาสิ้นสุดลงเมื่อโซเวียตซึ่งมีมีฮาอิล กอร์บาชอฟ เป็นหัวหน้า ได้ถอนทหารจากอัฟกานิสถานตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 จนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989

มีผู้เรียกสงครามครั้งนี้ตามสภาพที่ยืดเยื้อว่า "สงครามเวียดนามของสหภาพโซเวียต" (Soviet Union's Vietnam War) และ "กับดักหมี" (Bear Trap)[56][57][58]


อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง