เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งการ์เทอร์ (อังกฤษ: The Most Noble Order of the Garter) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสหราชอาณาจักร ซึ่งพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1348 และถือว่าเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัศวินที่มีศักดิ์สูงสุดในประเทศอังกฤษและสหราชอาณาจักร โดยใช้ตราสัญลักษณ์ และตราอาร์มของนักบุญจอร์จ นักบุญองค์อุปถัมภ์ประเทศอังกฤษ ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งการ์เทอร์
อักษรย่อKG
ประเภทKnight/Lady
Royal Knight/Lady
Stranger Knight/Lady
วันสถาปนาค.ศ. 1348
ประเทศสหราชอาณาจักร
จำนวนสำรับ24 สำรับ
ผู้สมควรได้รับตามพระราชอัธยาศัย
สถานะอยู่ในสมัยพระราชทาน
ผู้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ
ประธานพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
สถิติการมอบ
ทั้งหมด1,031 ราย
ลำดับเกียรติ
สูงกว่ากางเขนราชอิสริยาภรณ์จอร์จ
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทริสเติล

แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์

การพระราชทานนั้นจะขึ้นอยู่พระบรมราชวินิจฉัย สมาชิกของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นจะถูกจำกัดอยู่เพียงพระมหากษัตริย์ เจ้าชายแห่งเวลส์ และสมาชิกประเภท (Companion Orders) อีกไม่เกิน 24 สำรับ ซึ่งยังไม่รวมถึงสมาชิกพิเศษ (Supernumerary members) ซึ่งไม่รวมใน 24 สำรับดังกล่าว โดยพระราชทานให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ พระราชวงศ์ต่างประเทศ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบ

พิธีพระราชทานนั้นจะกำหนดขึ้นในวันนักบุญจอร์จ (St. George's Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 23 เมษายน เนื่องจากองค์อุปถัมป์ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้คือนักบุญจอร์จ[1] โดยมีเกณฑ์พระราชทานให้เฉพาะคริสต์ศาสนิกชนเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์ สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 1891 โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ คำว่า "Garter" แปลว่า "สายรัดถุงเท้าของสตรี" โดยในสมัยนั้น ยังอยู่ในยุคอัศวินยุคกลางที่ยังยกย่องสตรีอยู่ ซึ่งสูงศักดิ์พอที่จะใช้เป็นชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ โดยมีภาษิตที่ว่า "คนที่คิดร้ายจะต้องได้บาป" (Honi soit qui mal y pense)[ต้องการอ้างอิง]

การพระราชทาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์
เสื้อคลุมเเละหมวกเเห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์ สามารถพระราชทานได้ ตามพระราชอัธยาศัย[ต้องการอ้างอิง] โดยมี 24 สำรับด้วยกัน และไม่มีการจัดสร้างเพิ่ม[ต้องการอ้างอิง]

องค์ประกอบ

สมาชิกสามัญ

Knight Companion ในระหว่างการเดินสวนสนามไปยังวิหาร St George's Chapel สำหรับพิธีการ์เทอร์

จำนวนผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์นั้นจำกัดเพียงแค่พระมหากษัตริย์ เจ้าชายแห่งเวลส์ และสำหรับผู้ได้รับพระราชทานอื่นๆ อีกไม่เกิน 24 สำรับ ซึ่งไม่รวมถึงสมาชิกประเภทพิเศษอีกจำนวนมาก โดยการพระราชทานนั้นขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัย[2] โดยการออกพระนามสำหรับพระมหากษัตริย์นั้นจะเรียกว่า "Sovereign of the Garter" และเจ้าชายแห่งเวลส์เป็น "Royal Knight Companion of the Garter"[3]

ผู้ได้รับพระราชทานที่เป็นบุรุษจะเรียกว่า "Knights Companion" และสตรี "Ladies Companion" ในอดีต ธรรมเนียมการคัดเลือกผู้ได้รับพระราชทานนั้นจะมาจากการคัดเลือกตัวแทนจากสมาชิก โดยแต่ละสมาชิกจะเสนอชื่อจำนวนเก้าชื่อ โดยจะต้องมีผู้ที่ถือบรรดาศักดิ์เอิร์ลหรือสูงกว่าจำนวน 3 คน ผู้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นบารอนหรือสูงกว่าจำนวน 3 คน และผู้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นอัศวินหรือสูงกว่าจำนวน 3 คน โดยพระมหากษัตริย์จะทรงเลือกเสนอชื่อจำนวนเท่าใดก็ได้เพื่อที่จะแทนตำแหน่งที่ว่างลง โดยพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ขาดในการเลือกผู้ที่จะพระราชทานให้ โดยมิจำเป็นจะต้องเลือกผู้ที่ได้รับเสียงมากที่สุดจากการเสนอชื่อ โดยการเสนอชื่อโดยสมาชิกนั้นกระทำครั้งสุดท้ายในปีค.ศ. 1860 และจากนั้นมาพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งโดยมิต้องมีการเสนอชื่อใดๆ โดยสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยเกณฑ์การพระราชทานนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษรในปีค.ศ. 1953[4]: 198 

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา พระมหากษัตริย์จะทรงเลือกผู้ได้รับพระราชทานโดยมีพระบรมราชวินิจฉัยจากคำเสนอแนะของคณะรัฐบาล ในปีค.ศ. 1946 โดยการตกลงระหว่างคลีเมนต์ แอตลี นายกรัฐมนตรี และวินสตัน เชอร์ชิล ผู้นำฝ่ายค้าน ได้เสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ขาดแต่เพียงพระองค์เดียวในการเลือกผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัศวินที่มีลำดับเกียรติสูงสุดอีกคราหนึ่ง[5] ซึ่งรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทริสเติล และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญแพทริก (พ้นสมัยพระราชทาน) ดังนั้นพระมหากษัตริย์จะทรงเลือก Knights Companion และ Ladies Companion โดยพระบรมราชวินิจฉัยของพระองค์เอง[6]

สมาชิกพิเศษ

จักรพรรดิไทโช ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์เต็มยศ สืบเนื่องจากการเป็นพันธมิตรระหว่างอังกฤษและญี่ปุ่น

สมาชิกพิเศษแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์ ซึ่งไม่ได้ถูกนับรวมใน 24 สำรับของสมาชิกสามัญ โดยผู้ที่ได้รับพระราชทานสมาชิกพิเศษนั้นหากเป็นสมาชิกในพระราชวงศ์ จะเรียกว่า "Royal Knights and Ladies of Garter" ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1786 ในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 3 เพื่อที่จะได้มีปริมาณเพียงพอสำหรับพระราชทานแก่พระราชโอรสของพระองค์ ต่อมาในปีค.ศ. 1805 ได้ทรงให้สร้างเพิ่มสำหรับพระราชทานให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์สายพระเจ้าจอร์จที่ 2 และต่อมาในปีค.ศ. 1831 ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สร้างเพิ่มสำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์สายพระเจ้าจอร์จที่ 1[7]

ภายหลังจากการเสด็จขึ้นครองราชย์ของจักพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียในปีค.ศ. 1813 สมาชิกพิเศษได้ถูกสร้างขึ้นเพิ่มเติมเพื่อพระราชทานให้แก่พระราชวงศ์ต่างประเทศ โดยออกพระนามผู้ที่ได้รับพระราชทานว่า "Stranger Knights and Ladies of the Garter"[8] โดยปกติแล้วการแต่งตั้งสมาชิกต่างประเทศนั้น หากเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัศวินตระกูลที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะถือว่าได้รับบรรดาศักดิ์เป็นอัศวินกิตติมศักดิ์

ตามธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว พระมหากษัตริย์แห่งยุโรปทุกพระองค์จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็น "Stranger Knights and Ladies of the Garter" แต่อย่างไรก็ตามสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ ก็ไม่ได้รับพระราชทานต่อจากพระราชบิดา เช่นกันกับสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม และสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเบลเยี่ยมเพียงสองพระองค์ที่มิได้เป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ อนึ่ง ในเวลาเดียวกัน สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ และพระราชธิดา สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ซึ่งรับราชสมบัติต่อ โดยทั้งสองพระองค์ได้เป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ในขณะที่พระราชมารดายังทรงพระชนม์ เช่นเดียวกับกรณีของสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน และสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 แห่งสเปน

สมาชิกในปัจจุบัน

สมาชิกพระราชวงศ์

สมาชิกพิเศษ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:เครื่องราชอิสริยาภรณ์สหราชอาณาจักร

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง