เซอมารัง

นครและเมืองหลวงของจังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย

เซอมารัง (อินโดนีเซีย: Semarang, ชวา: ꦯꦼꦩꦫꦁ) เป็นเมืองบนชายฝั่งทางเหนือของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดชวากลาง มีพื้นที่ประมาณ 373.78 ตารางกิโลเมตร และมีจำนวนประชากรประมาณ 1.6 ล้านคน เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของอินโดนีเซีย เป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญของเนเธอร์แลนด์ในยุคอาณานิคมและยังคงเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค มีประชากรชาวชวาหนาแน่น

เซอมารัง

Semarang
นคร และเมืองหลวงของจังหวัด
นครเซอมารัง
Kota Semarang
การถอดเสียงภาษาอื่น ๆ
 • อักษรชวาꦏꦸꦛꦯꦼꦩꦫꦁ
ธงของเซอมารัง
ธง
ตราราชการของเซอมารัง
ตราอาร์ม
สมญา: 
Venetië van Java, เมืองลุมปียา
คำขวัญ: 
Kota ATLAS
คำย่อของ Aman, Tertib, Lancar, Asri, Sehat
(ปลอดภัย, เป็นระเบียบ, คล่องแคล่ว, สวย, สุขภาพดี)
ที่ตั้งภายในจังหวัดชวากลาง
ที่ตั้งภายในจังหวัดชวากลาง
เซอมารังตั้งอยู่ในเกาะชวา
เซอมารัง
เซอมารัง
ที่ตั้งในเกาะชวา
เซอมารังตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
เซอมารัง
เซอมารัง
พิกัด: 06°59′24″S 110°25′21″E / 6.99000°S 110.42250°E / -6.99000; 110.42250
ประเทศธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ภูมิภาคชวา
จังหวัด ชวากลาง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีHevearita Gunaryanti Rahayu (PDI-P)
พื้นที่
 • ทั้งหมด373.78 ตร.กม. (144.32 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,643.4 ตร.กม. (634.5 ตร.ไมล์)
ความสูง4 เมตร (13 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด1,694,740 คน
 • ความหนาแน่น4,500 คน/ตร.กม. (12,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล3,183,516 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล1,900 คน/ตร.กม. (5,000 คน/ตร.ไมล์)
 [2][3]
เดมะนิมเซอมารางัน (Semarangan)
ประชากรศาสตร์
 • กลุ่มชาติพันธุ์
 • ศาสนา (ค.ศ. 2022)[4][5]
เขตเวลาUTC+7 (เวลาอินโดนีเซียตะวันตก)
รหัสโทรศัพท์(+62) 24
ทะเบียนรถH
เอชดีไอ (ค.ศ. 2022)ลดลง 0.841 (สูงมาก)
เว็บไซต์semarangkota.go.id

ประวัติ

ประวัติความเป็นมาของเซอมารังย้อนกลับไปช่วงท้ายของศตวรรษที่ 15 มีชาวชวาอิสลาม เข้ามาตั้งรกรากก่อตั้งหมู่บ้านและโรงเรียนสอนศาสนา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1547 และในศตวรรษที่ 19, เป็นที่รู้จักกันในนาม เบอร์โกตา

ในปี ค.ศ. 1678 เมืองเซอมารังก็ตกอยู่ในการควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ เพื่อเป็นการชำระหนี้ และอยู่ภายใต้อาณานิคมในเวลาต่อมา มีการขยายพื้นที่สร้างถนน และ ทำทางรถไฟ ทำให้เซอมารังเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญในยุคอาณานิคมอย่างรวดเร็ว

แม้ว่าเมืองซูราบายาจะเป็นศูนย์กลางของการปกครองและการเมืองในชวา แต่เซอมารังก็เป็นศูนย์กลางสำคัญของรัฐบาลในชวาเหนือด้วย หลังจากสิ้นสุดยุคอาณานิคม เมืองเซอมารังก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางของฝ่ายซ้ายและพรรคชาตินิยม โดยการก่อตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย เป็นที่รู้จักกันว่า "เมืองสีแดง"

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองเมืองพร้อมกับส่วนที่เหลือของเกาะชวา ในปี 1942 เมื่อสิ้นสุดสงคราม อินโดนีเซียได้ประกาศอิสรภาพในปี 1945 เซอมารังจึงกลายเป็นเมืองหลวงของจังหวัดชวากลาง

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ

เซอมารังตั้งอยู่ทางชายฝั่งด้านทิศเหนือของเกาะชวา ตั้งอยู่ที่พิกัด 6 ° 58 'ต 110 ° 25'อ พื้นที่ทางตอนเหนือของเมืองเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ในขณะที่พื้นที่ทางทิศใต้เป็นที่ราบสูง

ภูมิอากาศ

เซอมารังมีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบป่าฝนเขตร้อน ตั้งอยู่บนเส้นมรสุมเขตร้อน เป็นเมืองที่มีคุณสมบัติอากาศแบบร้อนชื้น และแห้งอย่างเห็นได้ชัดในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในเมือง โดยประมาณ 28 องศาเซลเซียส

ข้อมูลภูมิอากาศของเซอมารัง
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)29.4
(85)
29.4
(85)
30
(86)
31.1
(88)
31.7
(89)
31.7
(89)
31.7
(89)
31.7
(89)
32.2
(90)
32.2
(90)
31.1
(88)
30
(86)
31.02
(87.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)25
(77)
25
(77)
25
(77)
25.6
(78)
25.6
(78)
25
(77)
24.4
(76)
24.4
(76)
25
(77)
25.6
(78)
25.6
(78)
25
(77)
25.09
(77.2)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)430
(16.93)
360
(14.17)
320
(12.6)
230
(9.06)
160
(6.3)
80
(3.15)
80
(3.15)
60
(2.36)
100
(3.94)
160
(6.3)
220
(8.66)
330
(12.99)
2,780
(109.45)
แหล่งที่มา: Weatherbase [6]

เศรษฐกิจ

ส่วนตะวันตกของเมือง เป็นพื้นที่สวนอุตสาหกรรมและโรงงานหลายแห่ง ท่าเรือของเซอมารังตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองและเป็นท่าเรือหลักของจังหวัดชวากลาง มีการผลิตสินค้า เช่น สิ่งทอ เครื่องเรือน และอาหารแปรรูป ธนาคารหลายแห่งในอินโดนีเซียมีสำนักงานใหญ่ในเซอมารัง ส่วนใหญ่สำนักงานเหล่านี้จะตั้งอยู่ในใจกลางเมือง และยังมีโรงแรมขนาดใหญ่ไว้รองรับนักเดินทาง นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน

การขนส่ง

ทางอากาศ

เซอมารังมีการขนส่งทางอากาศด้วย โดยมีสนามบินนานาชาติ Achmad Yani ซึ่งมีเที่ยวบินต่อวันไปยังเมืองต่าง ๆ ของอินโดีเซีย และยังมีเที่ยวบินจากต่างประเทศด้วย เช่น สิงคโปร มาเลเซีย

ทางบก

เซอมารังมีบริการ แท็กซี่สาธารณะ รถโดยสารประจำทาง รวมถึงรถไฟด้วย

ทางทะเล

มีท่าเรือเพื่อขนส่งสินค้า และท่าเรือโดยสารด้วย (Tanjung Mas seaport)

วัฒนธรรม

ประชากรของเซอมารังส่วนใหญ่เป็นชาวเกาะชวา รวมถึงชาวอินโดนีเชียจากเกาะต่าง ๆ ด้วย มีชาวจีนอาศัยอยู่ในใจกลางเมือง และมีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ ภาษาพูดมีการพูดภาษาอินโดนีเซียและชวา เป็นหลักและยังมีการพูดภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนกลาง ในการติดต่อธุรกิจด้วย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง