แคว้นคันธาระ

คันธาระ (อักษรโรมัน: Gandhāra) เป็นแคว้นสมัยโบราณที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ปากีสถานตะวันตกเฉียงเหนือและบางส่วนของอัฟกานิสถานตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ในบริเวณรอบนอกของอนุทวีปอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ[1][2][3] มีจุดศุนย์กลางรอบหุบเขาเปศวาร์และหุบเขาสวัต แม้ว่าอิทธิพลทางวัฒนธรรมของ "Greater Gandhara" ขยายไปทั่วแม่น้ำสินธุถึงแคว้นตักศิลาในที่ราบสูงโปโตฮาร์และทางตะวันตกถึงหุบเขาคาบูลในอัฟกานิสถาน และทางเหนือถึงเทือกเขาการาโกรัม[4][5][6]

คันธาระ
गन्धार (สันสกฤต)
ป. 800 ปีก่อน ค.ศ. – ป. ค.ศ. 1000
แคว้นคันธาระตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
Gandhara
Gandhara

ที่ตั้งของคันธาระในเอเชียกลางตอนใต้และเอเชียใต้ (อัฟกานิสถานและปากีสถาน)

ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของแคว้นคันธาระที่มีจุดศุนย์กลางในลุ่มน้ำเปศวาร์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถานตะวันตกเฉียงเหนือ
เมืองหลวงKapisi (Bagram)
Puṣkalavati (ชาร์ซัดดาฮ์)
Puruṣapura (เปศวาร์)
ตักษศิลา (ตักศิลา)
Udabhandapura (ฮุนด์)
การปกครอง
ราชา 
• ป. 550 ปีก่อน ค.ศ.
Pushkarasarin
• ป. 330ป. 316 ปีก่อน ค.ศ.
Taxiles
ยุคทางประวัติศาสตร์โบราณ
• ก่อตั้ง
ป. 800 ปีก่อน ค.ศ.
• สิ้นสุด
ป. ค.ศ. 1000
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอัฟกานิสถาน
ปากีสถาน
คันธาระตอนเหนือในแผนที่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19
ภาพถ่ายดาวเทียมของคันธาระในปัจจุบัน (ตุลาคม ค.ศ. 2020)

การมีตัวตนของแคว้นคันธาระได้รับการยืนยันตั้งแต่สมัยฤคเวท (ป. 1500 –  1200 ปีก่อน ค.ศ.)[7][8]และปรากฏในอเวสตะของโซโรอัสเตอร์ ซึ่งระบุเป็น Vaēkərəta สถานที่ที่สวยงามมากเป็นอันดับ 6 ของโลกที่สร้างโดยพระอหุระมาซดะ จากนั้นจึงเป็นหนึ่งใน 16 มหาชนบทในสมัยพระเวท[1][2][3] โดยเป็นศูนย์กลางของศาสนาพระเวทและภายหลังก่อให้เกิดศาสนาฮินดู มีการระบุชื่อคันธาระในมหากาพย์พระเวทหลายแห่ง เช่น ฤคเวท, รามายณะ และมหาภารตะ โดยเป็นที่ประทับของพระนางคานธารี เจ้าหญิงแห่งอาณาจักรคันธาระ[9]

อาณาจักรคันธาระในยุคเหล็กกลายเป็นมหาอำนาจในสมัย Pushkarasarin เมื่อประมาณ 550 ปีก่อน ค.ศ.[10] คันธาระถูกพิชิตจากจักรวรรดิอะคีเมนิดในศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. อเล็กซานเดอร์มหาราชใน 327 ปีก่อน ค.ศ. และภายหลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเมารยะก่อนกลายเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรอินโด-กรีก แคว้นนี้เคยเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธแบบกรีกของอาณาจักรอินโด-กรีกและศาสนาพุทธแบบคันธาระในราชวงศ์ยุคหลัง เช่น อินโด-ไซเทีย, อินโด-พาร์เทีย และจักรวรรดิกุษาณะ คันธาระก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเผยแผ่ศาสนาพุทธเข้าสู่เอเชียกลางและเอเชียตะวันออก[11]

แคว้นนี้เสี่อมถอยอย่างต่อเนื่องหลังการรุกรานอย่างรุนแรงโดยAlchon Hunsในคริสต์ศตวรรษที่ 6 และชื่อคันธาระหายไปจากแผนที่หลังการพิชิตของแมฮ์มูด แฆซแนวีใน ค.ศ. 1001[12]

อ้างอิง

  • ดร.สุชาติ หงษา. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจากอดีตสู่ปัจจุบัน. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], [ม.ป.ป.]. หน้า 49.

แหล่งข้อมูลอื่น

33°45′22″N 72°49′45″E / 33.7560°N 72.8291°E / 33.7560; 72.8291

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง