การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย (อังกฤษ: Armenian Genocide) (อาร์มีเนีย: Հայոց ցեղասպանություն,[note 2] Hayots tseghaspanutyun) (ยังเป็นที่รู้จักกันอีกอย่างว่า ฮอโลคอสต์ของอาร์มีเนีย)[7] เป็นการสังหารหมู่อย่างเป็นระบบและทำการขับไล่เนรเทศชนเชื้อชาติอาร์มีเนียจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน ที่ดำเนินในตุรกีและดินแดนภูมิภาคที่อยู่ติดกันโดยรัฐบาลออตโตมันในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1914 และ ค.ศ. 1923[8][9] วันแห่งการเริ่มต้นจะถูกจัดตั้งขึ้นโดยไม่เป็นไปตามแผน เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1915 วันที่เจ้าหน้าที่ออตโตมันได้ทำการไล่ต้อน จับกุม และเนรเทศออกไปจากกรุงอิสตันบูลไปยังภูมิภาคอังโกรา(อังการา) กลุ่มปัญญาชนและผู้นำชุมชนชาวอาร์มีเนียประมาณ 235 คน ถึง 270 คน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนถูกสังหารในที่สุด

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย
พลเรือนชาวอาร์มีเนียถูกคุมตัวโดยทหารออตโตมัน ขณะเดินผ่าน Harput (Kharpert) เพื่อไปยังเรือนจำในบริเวณใกล้เคียงใน Mezireh (ปัจจุบันคือเอลาซิก) เมษายน 1915
สถานที่
วันที่1914–1923
เป้าหมายชาวอาร์มีเนีย
ประเภทการเนรเทศออกจากประเทศ, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การสังหารหมู่, ความอดอยาก
ตายประมาณ 1.5 ล้านคน (มีข้อโต้แย้ง)[note 1]
ผู้ก่อเหตุจักรวรรดิออตโตมัน
เหตุจูงใจการต่อต้านชาวอาร์มีเนีย[6]

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้ถูกดำเนินในช่วงระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และดำเนินการในขั้นที่สอง - การสังหารประชากรชายฉกรรจ์จนหมดสิ้นผ่านทางสังหารหมู่ และการเกณฑ์ทหารของกองทัพเพื่อบังคับใช้แรงงาน ตามมาด้วยการเนรเทศสตรี เด็ก ผู้สูงวัย และผู้ทุพพลภาพด้วยการเดินขบวนแห่งความตายที่นำไปสู่ทะเลทรายซีเรีย การเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยการคุ้มกันทางทหาร ผู้ถูกเนรเทศจะถูกกีดกันไม่ให้ได้รับอาหารและน้ำ และถูกปล้นชิงทรัพย์เป็นระยะๆ ข่มขืน และสังหารหมู่[10] ชุมชนชาวอาร์มีเนียที่ผลัดถิ่นส่วนใหญ่ในทั่วโลกนั้นเป็นผลโดยตรงจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[11]

กลุ่มชาติพันธ์อื่นๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกันสำหรับการกำจัดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอัสซีเรียและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกรีก และการกระทำของพวกเขาได้ถูกพิจารณาโดยนักประวัติศาสตร์บางคนว่าเป็นส่วนหนึ่งของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แบบเดียวกัน[12][13]

Raphael Lemkin ได้ถูกย้ายโดยเฉพาะเจาะจงโดยการทำลายล้างชาวอาร์มีเนียเพื่อกำหนดการกำจัดอย่างเป็นระบบและไตร่ตรองไว้ก่อนภายในการจำกัดทางกฎหมายและการประกาศใช้คำว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี ค.ศ. 1943[14] การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สมัยใหม่เป็นครั้งแรก[15][16][17] เพราะนักวิชาการได้ชี้ไปที่ลักษณะการจัดการอย่างเป็นระเบียบด้วยการสังหารได้ถูกดำเนินการ มันเป็นกรณีของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มีการศึกษาอย่างมากเป็นอันดับสองรองลงจากฮอโลคอสต์[18]

ทางตุรกีได้ออกมาปฏิเสธด้วยคำว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นคำที่ใช้อย่างถูกต้องสำหรับการก่ออาชญากรรมเหล่านี้ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ต้องเผชิญหน้ากับการเรียกร้องที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้พวกเขารับรู้[19] ในปี ค.ศ. 2019 รัฐบาลและรัฐสภาของ 32 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และเยอรมนี ได้ตระหนักถึงเหตุการณ์นี้ว่า เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ภูมิหลัง

แม่แบบ:ประวัติศาสตร์อาร์มีเนีย

ชาวอาร์มีเนียภายใต้การปกครองของออตโตมัน

พื้นที่ทางตะวันตกของอาร์มีเนียในประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าอาร์มีเนียตะวันตกได้อยู่ในภายใต้อาณัติปกครองของออตโตมันโดย Peace of Amasya (1555) และถูกตัดขาดจากอาร์มีเนียตะวันออกด้วยสนธิสัญญาซูฮับ (1639)[20][21] พื้นที่ตรงนั้นจึงถูกเรียกขานในเวลาต่อมาว่าอาร์มีเนียของ "เติร์ก" หรือ "ออตโตมัน"[22] ชาวอาร์มีเนียซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ได้รวมกลุ่มกันเป็นชุมชนกึ่งปกครองตนเองในชื่อ มิลเลต์ อาร์มีเนียซึ่งซึ่งมีผู้นำคือผู้นำทางจิตวิญญาณจากศาสนจักรอะพอสทอลิกอาร์มีเนีย ซึ่งคือพระสังฆราชอาร์ทีเนียแห่งคอนสแตนติโนเปิล ชาวอาร์มีเนียนั้นกระจุกตัวหลัก ๆ ในจังหวัดทางตะวันออกของจักรวรรดิออตโตมัน แต่ก็สามารถพบชุมชนใหญ่ ๆ ได้ในจังหวัดทางตะวันตก รวมถึงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของออตโตมัน

ชุมชนชาวอาร์มีเนียนั้นประกอบด้วยศาสนิกสามนิกาย คือ: อาร์มีเนียนคาธอลิก, อาร์มีเนียนโปรเตสแตนต์ และ อาร์มีเนียนอะพอสทอลิก ซึ่งเป็นนิกายที่ชาวอาร์มีเนียส่วนมากนับถือ ภายใต้ระบบมิลเลต (millet) ชุมชนอาร์มีเนียสามารถปกครองตนเองได้โดยมีการแทรกแซงเพียงเล็กน้อยจากรัฐบาลออตโตมัน ชาวอาร์มีเนียส่วนใหญ่ ราว 70% อาศัยอยู่ในสภาวะยากจนและอันตรายในพื้นที่ชนบทห่างไกล จะมียกเว้นเพียงชนชั้น Amira ที่มีฐานะซึ่งรวมถึงกลุ่ม Duzians (ผู้อำนวยการโรงกษาปณ์หลวง), กลุ่ม Balyans (หัวหน้าสถาปนิกหลวง) และกลุ่ม Dadians (ผู้ควบคุมโรงผลิตดินปืนและโรงงาน)[23][24]

ในจังหวัดทางตะวันออก ชาวอาร์มีเนียเป็นเป้าของการกลั่นแกล้งโดยชาวเติร์กและชาวเคิร์ดที่อยู่ติดกัน มักเก็บภาษีชาวอาร์มีเนียมากเกินปกติ, ทำให้กลายเป็นเป้าของการล่าสัตว์และอุ้มหาย, บังคับให้เข้ารีตเป็นอิสลาม ไปจนถึงขูดรีดโดยปราศจากการเหลียวแลจากเจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น[24]

การปฏิรูปทศวรรษ 1840s–1880s

ในกลางศตวรรษที่ 19 อำนาจยุโรปใหญ่ทั้งสาม สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส และรัสเซีย เริ่มที่จะสงสัยต่อการปฏิบัติของออตโตมันต่อชาวคริสต์กลุ่มน้อยและได้กดดันให้เกิดความเท่าเทียมขึ้น นับตั้งแต่ปี 1839 ไปจนถึงการประกาศรัฐธรรมนูญในปี 1876 รัฐบาลออตโตมันได้จัดตั้ง ตานซีมาต (Tanzimat) ซึ่งเป็นการปฏิรูปหลายชุดเพื่อพัฒนาสถานะของชนกลุ่มน้อย อย่างไรก็ตามการปฏิรูปดังกล่าวนั้นแทบไม่เคยถูกนำไปใช้จริงเนื่องจากประชากรมุสลิมของจักรรวรรดิปฏิเสธความเท่าเทียมสำหรับชาวคริสต์ ภายในปลายทศวรรษ 1870s ราชอาณาจักรกรีกและขาติชาวคริสต์อื่นในบอลข่าน เริ่มที่จะหงุดหงิดกับสภาพความเป็นอยู่ได้แยกตัวออกจากออตโตมัน[25]: 192 [26]

ชาวอาร์มีเนียส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสถานะไม่ตอบโต้ใด ๆ และสมยอมในระหว่างช่วงปีนี้ จนได้ชื่อว่าเป็น millet-i sadika หรือ "มิลเลตผู้ซื่อสัตย์"[27] นับแต่กลางทศวรรษ 1860s และต้นทศวรรษ 1870s ชาวอาร์มีเนียเริ่มที่จะตั้งคำถามต่อสถานะความเป็นชนชั้นสองและต้องการการปฏิบัติที่ดีกว่าโดยรัฐบาล แนวคิดนี้นำโดยปัญญาชนที่จบการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยในยุโรปหรือสถาบันมิชชันนารีของอเมริกันในตุรกี

ขบวนการปลดปล่อยชาติอาร์มีเนีย

อ้างอิง


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง