การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 สืบเนื่องจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งกำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่งตามวาระ 4 ปี อย่างไรก็ดี ตำแหน่งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอยู่ตลอด โดยบางช่วงมาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรีหรือคำสั่งของคณะรัฐประหาร

การนับคะแนนในหน่วยเลือกตั้งแห่งหนึ่งในเขตบางบอนในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี 2565

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง คือ ธรรมนูญ เทียนเงิน

กฎหมายเลือกตั้ง

พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 38 นั้นกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ดังนี้

  1. มีสัญชาติไทย หรือมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง
  3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง และ
  4. คุณสมบัติอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด[1]

คณะกรรมการการเลือกตั้งระบุว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะไม่มีการจัดเลือกตั้งล่วงหน้า เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติ[2] นอกจากนี้ยังไม่เปิดช่องให้มีการเลือกตั้งนอกเขตหรือนอกราชอาณาจักร[1]

กฎหมายเลือกตั้งไม่ได้กำหนดว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องสังกัดพรรคการเมือง แต่ผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่ ณ ขณะรับสมัครเลือกตั้ง จะไม่มีสิทธิลงสมัครได้ เว้นแต่ได้ลาออกจากตำแหน่งนั้นแล้ว[3]

สรุปผลการเลือกตั้ง

บทความนี้กล่าวถึงการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเท่านั้น สำหรับรายชื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทั้งหมด รวมทั้งที่มาจากการแต่งตั้งและคำสั่งของคณะรัฐประหาร ดูที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ครั้งที่การเลือกตั้ง
(พ.ศ.)
ผู้ชนะเลือกตั้งสังกัดคะแนนที่ได้รับ
12518ธรรมนูญ เทียนเงินพรรคประชาธิปัตย์99,247
22528จำลอง ศรีเมืองกลุ่มรวมพลัง480,233
32533พรรคพลังธรรม703,671
42535กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา363,668
52539พิจิตต รัตตกุลกลุ่มมดงาน768,994
62543สมัคร สุนทรเวชพรรคประชากรไทย1,016,019
72547อภิรักษ์ โกษะโยธินพรรคประชาธิปัตย์911,441
82551991,018
92552หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร934,602
1025561,256,349
112565ชัชชาติ สิทธิพันธุ์อิสระ1,386,215

การเลือกตั้งแบ่งตามปี

พ.ศ. 2518

ดูบทความหลักที่ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518

จากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ในครั้งนั้น นายธรรมนูญ เทียนเงิน จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากการเลือกตั้งคนแรก ด้วยคะแนนเสียง 99,247 คะแนน โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง เพียงร้อยละ 13.86

การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้สมัครที่น่าสนใจคือ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ หัวหน้ากองวิชาการ ก.พ. ที่เพิ่งลาออกมาเข้าสู่ วงการเมือง เป็นครั้งแรกในนาม พรรคพลังใหม่ และในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้รับคะแนนเสียงในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในเป็นจำนวนมาก แต่พ่ายแพ้คะแนนในเขตชั้นนอก เช่น หนองแขม มีนบุรี ซึ่งมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์โดยรวมสูงถึง 80% ทำให้ นายธรรมนูญ เทียนเงิน ชนะเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งครั้งนั้น นายธรรมนูญ ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จนครบวาระ 4 ปี เนื่องจากเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ จนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ทำให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ตัดสินใจใช้อำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 ปลดนายธรรมนูญออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2520 และให้กลับไปใช้รูปแบบการแต่งตั้งเช่นเดิม

พ.ศ. 2528

ดูบทความหลักที่ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528

นับจากเหตุการณ์ปลดนายธรรมนูญ เมื่อ พ.ศ. 2520 กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการจากการแต่งตั้งอีก 4 คน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ความเห็นชอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เกิดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 2 ขึ้นในปี พ.ศ. 2528 นี้เอง

และในครั้งนั้น พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในนาม "กลุ่มรวมพลัง" ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วยคะแนนเสียง 408,237 คะแนน เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 34.65

คะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละรายเท่าที่สืบค้นได้มีดังนี้[4]

ชื่อผู้สมัครชื่อสังกัดคะแนนเลือกตั้ง
พล.ต.จำลอง ศรีเมืองกลุ่มรวมพลัง408,233
นายชนะ รุ่งแสงพรรคประชาธิปัตย์241,002
พล.ต.ต.ม.ร.ว.เจตจันทร์ ประวิตรพรรคประชากรไทย140,190
นายมงคล สิมะโรจน์พรรคก้าวหน้า63,557
นายชิงชัย ต่อประดิษฐ์พรรคมวลชน12,042

พ.ศ. 2533

ดูบทความหลักที่ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533

ในการเลือกตั้งครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2533 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ซึ่งลงสมัครในนาม พรรคพลังธรรม ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียง 703,672 คะแนน (35.85%) เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2533 มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 35.85

ในครั้งนั้นมีผู้สมัครอิสระคือ นายวรัญชัย โชคชนะ นักเคลื่อนไหว ที่ได้รับคะแนนสูงกว่า 1 หมื่นคะแนน

ชื่อผู้สมัครสังกัดคะแนนเลือกตั้ง
พล.ต.จำลอง ศรีเมืองพรรคพลังธรรม703,672
นายเดโช สวนานนท์พรรคประชากรไทย283,895
นายประวิทย์ รุจิรวงศ์พรรคประชาธิปัตย์60,947
นายนิยม ปุราคำพรรคมวลชน25,729
นายวรัญชัย โชคชนะผู้สมัครอิสระ13,143

พ.ศ. 2535

ดูบทความหลักที่ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535

การเลือกตั้งครั้งต่อมามีขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2535 เนื่องจาก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ลงสมัครโดยไม่สังกัดกลุ่มใด แต่อยู่ภายใต้การสนับสนุน ของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 363,668 คะแนน การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ไปใช้สิทธิเพียงร้อยละ 23.02

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ดร.พิจิตต รัตตกุล ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้หมายเลข 3 แต่ต้องพ่ายแพ้ให้แก่ ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา และลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งใน 4 ปีต่อมา จึงประสบความสำเร็จได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ชื่อผู้สมัครสังกัดคะแนนเลือกตั้ง
ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยาพรรคพลังธรรม363,668
นายพิจิตต รัตตกุลพรรคประชาธิปัตย์305,740
พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวชพรรคประชากรไทย70,058
นายมติ ตั้งพานิชพรรคความหวังใหม่3,685
นายบุญเทียม เขมาภิรัตน์ผู้สมัครอิสระ2,943

พ.ศ. 2539

ดูบทความหลักที่ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2539

เมื่อ ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งครบ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้สมัครอิสระภายใต้การสนับสนุนจาก พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 768,994 คะแนน (49.47%) โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 43.53 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด

ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 29 คน โดยมีอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 คน ลงสมัครด้วยคือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และ ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ได้คะแนนเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ

ในครั้งนี้ ดร.พิจิตต ที่เคยพ่ายแพ้ในการลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งก่อน ได้คะแนนมากกว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ถึงกว่า 2 แสนคะแนน และมากกว่า ร.อ.กฤษฎา ผู้ชนะการเลือกตั้งสมัยก่อนหน้าถึงกว่า 5 แสนคะแนน ซึ่งอาจวิเคราะห์ได้ว่า พล.ต.จำลอง และ ร.อ.กฤษฎา ลงแข่งตัดคะแนนกันเอง ทำให้ ดร.พิจิตต สามารถชนะการเลือกตั้งได้อย่างไม่ยากนัก


ผู้สมัครแต่ละรายได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเรียงจากมากไปน้อยดังนี้

หมายเลขชื่อผู้สมัครสังกัดคะแนนเปอร์เซนต์
5นายพิจิตต รัตตกุลผู้สมัครอิสระ ภายใต้การสนับสนุนจากพรรคประชาธิปัตย์768,99449.47%
4พล.ต.จำลอง ศรีเมืองพรรคพลังธรรม514,40133.09%
6ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยาผู้สมัครอิสระในนาม พรรคประชากรไทย244,00215.70%
2นายอากร ฮุนตระกูลพรรคชาติไทย20,9851.35%
3นายวรัญชัย โชคชนะผู้สมัครอิสระ1,0110.07%
11นายสมิตร สมิทธินันท์6160.04%
1นายดำริห์ รินวงษ์5810.04%
9พ.ต.ท.สุธี สุทธิศิริวัฒนะ5220.03%
7นายบุญญสิฐ สอนชัด5040.03%
13พ.ต.อ.กำพล ยุทธสารประสิทธิ์3900.03%
17นางสาวรัก พจนะไพบูลย์2950.02%
29นายมานิตย์ มาทวิมล2800.02%
24ส.อ.สุวัจน์ ดาราฤกษ์2240.01%
25นายสัญชัย เตียงพาณิชย์2070.01%
15นายศุภชัย สิทธิเลิศประสิทธิ์1760.01%
16พ.ต.ต.สุขุม พันธุ์เพ็ง1480.01%
8นายวารินทร์ สินสูงสุด1440.01%
14นายสถิต พุทธจักรวาล1340.01%
12นายธีเกียรติ ไม้ไทย1330.01%
10นายเทอดชน ถนอมวงศ์1010.01%
20นายบุญช่วย วัฒนาวงศ์960.01%
28ม.ร.ว.นิตยจักร จักรพันธุ์870.01%
21นายณัฐวิคม สิริอุไรกุล660.00%
26นายศิลป วรรณปักษ์650.00%
18นายสุชาติ เกิดผล640.00%
19นายชูศักดิ์ วรัคคกุล590.00%
27นายไอศูรย์ มั่นรักเรียน570.00%
23นายสอ เชื้อโพธิ์หัก510.00%
22นายพินิจ สกุลพราหมณ์400.00%

พ.ศ. 2543

ดูบทความหลักที่ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543

เมื่อ ด.ร.พิจิตต รัตตกุล ดำรงตำแหน่งครบ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 นายสมัคร สุนทรเวช อดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 1,016,096 คะแนน (45.85%) โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งถึงร้อยละ 58.87


ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 23 คน โดยผู้สมัครแต่ละรายได้รับคะแนนเสียงเรียงจากมากไปน้อยดังนี้[5]

หมายเลขชื่อผู้สมัครสังกัดคะแนนเปอร์เซนต์
7นายสมัคร สุนทรเวชพรรคประชากรไทย1,016,09645.85%
5สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์พรรคไทยรักไทย521,18423.52%
13นายธวัชชัย สัจจกุลพรรคประชาธิปัตย์247,65011.17%
2พันเอกวินัย สมพงษ์ผู้สมัครอิสระ145,6416.57%
4คุณหญิงกัลยา โสภณพนิชผู้สมัครอิสระ132,6085.98%
3นางปวีณา หงสกุลพรรคชาติพัฒนา116,7505.27%
14นายวิวัฒน์ ศัลยกำธรผู้สมัครอิสระ13,6590.62%
10พันเอกประจักษ์ สว่างจิตรผู้สมัครอิสระ10,3210.47%
6นางสาวจิตติพร อภิบาลภูวนารถผู้สมัครอิสระ2,2780.10%
1นายมณฑล ชาติสุวรรณผู้สมัครอิสระ2,0080.09%
8พันตำรวจโทกานต์ เทียนแก้วพรรคพลังประชาชน1,6130.07%
17นายสมิตร สมิทธินันท์ผู้สมัครอิสระ1,3120.06%
9นายดำริห์ รินวงษ์ผู้สมัครอิสระ1,1740.05%
12นายชัยยพร ประเสริฐเวศยากรผู้สมัครอิสระ9160.04%
23นายทรงพล สุวรรณกูฎผู้สมัครอิสระ6770.03%
15นายกิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ผู้สมัครอิสระ5780.03%
18นายชัยรัตน์ รัตนุ่มน้อยผู้สมัครอิสระ4100.02%
20นายอุดม วิบูลเทพาชาติผู้สมัครอิสระ4080.02%
11นายวรัญชัย โชคชนะผู้สมัครอิสระ3830.02%
16นายสุชาติ เกิดผลผู้สมัครอิสระ2630.01%
19นายกุลภัทร กูรมะโรหิตผู้สมัครอิสระ1830.01%
22นายณัฐธวัฒน์ เรือนเรืองพรรคไท1650.01%
21นายขจร ชูแก้วผู้สมัครอิสระ840.00%

พ.ศ. 2547

เมื่อนายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งครบ 4 ปีจึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยคะแนนเสียง 911,441 คะแนน (38.20%)

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนก่อนไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อดำรงตำแหน่งต่อ โดยเบนเข็มไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. กรุงเทพมหานคร และให้การสนับสนุน ดร.กอบศักดิ์ ชุติกุล อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศและข้าราชการประจำกระทรวงการต่างประเทศ และมี ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 ลงสมัครแข่งขันแต่ได้คะแนนเสียงเพียงประมาณ 1 แสนคะแนนจากที่เคยได้สูงถึงกว่า 7 แสนคะแนน

ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับ 2 ในครั้งนี้คือ นางปวีณา หงสกุล ที่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งในสมัยที่แล้ว ได้คะแนนเสียงเป็น อันดับที่ 6 เพียงประมาณ 1 แสนคะแนนเศษ แต่สำหรับครั้งนี้ นางปวีณา ที่ลาออกจากพรรคชาติพัฒนา ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2547 และลงสมัครในนามผู้สมัครอิสระ ได้รับคะแนนเสียงถึงกว่า 6 แสนคะแนน ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีกระแสข่าวว่าพรรคไทยรักไทย ให้การสนับสนุนนางปวีณา อย่างไม่เป็นทางการ กรณีดังกล่าวนางปวีณาและพรรคไทยรักไทยได้ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง

คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร ในขณะนั้น สรุปผลการเลือกตั้งว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งสิ้น 3,955,855 คน มีผู้มาใช้สิทธิ์รวม 2,472,486 คน คิดเป็น 62.5% ไม่ประสงค์ลงคะแนน 26,763 ราย บัตรเสีย 59,765 ใบ คิดเป็น 2.42% เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิ์มากที่สุดคือ เขตทวีวัฒนา 68.42% เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิ์น้อยที่สุดคือ เขตคลองเตย 52.26% โดยการการนับคะแนนและประมวลผลการเลือกตั้ง เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เมื่อเวลา 03.18 น. ของวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2547

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2547 มีผู้สมัครทั้งสิ้น 22 คน ได้รับคะแนนเลือกตั้งเรียงตามลำดับดังนี้

หมายเลขชื่อผู้สมัครสังกัดคะแนนเปอร์เซนต์
1นายอภิรักษ์ โกษะโยธินพรรคประชาธิปัตย์911,44138.20%
7นางปวีณา หงสกุลพรรคไทยรักไทย619,03925.95%
15นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์พรรคต้นตระกูลไทย334,16814.01%
3ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงพรรคมวลชน165,7616.95%
21ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์พรรคไทเป็นไท135,3695.67%
19ดร.พิจิตต รัตตกุลพรรคมหาชน101,2204.24%
5ดร.มานะ มหาสุวีระชัยผู้สมัครอิสระ สนับสนุนโดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง84,1473.53%
11ดร.การุญ จันทรางศุผู้สมัครอิสระ11,0700.46%
12ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ผู้สมัครอิสระ สนับสนุนโดย น.พ.เสม พริ้งพวงแก้ว และ น.พ.ประเวศ วะสี10,2430.46%
14ดร.กอบศักดิ์ ชุติกุลผู้สมัครอิสระ สนับสนุนโดย นายสมัคร สุนทรเวช3,1960.13%
8นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์กลุ่ม ฅ.คนรักกรุงเทพ2,3770.10%
9ร.อ.เมตตา เต็มชำนาญกลุ่มเมตตาธรรม1,9650.08%
18นายสุชาติ เกิดผลผู้สมัครอิสระ1,2980.05%
2นายวรัญชัย โชคชนะผู้สมัครอิสระ1,0870.05%
17นายวิทยา จังกอบพัฒนาผู้สมัครอิสระ8110.03%
16นายสุเมธ ตันธนาศิริกุลกลุ่มกรุงเทพพัฒนา7090.03%
4นายกิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ผู้สมัครอิสระ5720.02%
13นายอุดม วิบูลเทพาชาติผู้สมัครอิสระ4780.02%
22นายวรา บัณฑุนาคผู้สมัครอิสระ3870.02%
20นายโชคชัย เลาหชินบัญชรผู้สมัครอิสระ3810.02%
10นายวีระศักดิ์ อุปถัมภ์พรรคประชากรไทย2390.01%
6นางลีนา จังจรรจาผู้สมัครอิสระถูก กกต. ถอดถอน

การเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ที่เพิ่งออกใหม่ และมีข้อกำหนดแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาหลายประการ เช่น

  1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จะเข้าไปมีบทบาทดูแลการเลือกตั้ง ทั้ง กกต.กลาง และ กกต.กทม. จากเดิมเป็นหน้าที่ของปลัดกรุงเทพมหานคร
  2. ผู้สมัครต้องจ่ายเงินค่าสมัครเพิ่มขึ้นจากเดิม 5,000 บาท เป็น 50,000 บาท
  3. คุณสมบัติผู้สมัคร จากที่เคยกำหนดให้มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพฯไม่น้อยกว่า 180 วัน เพิ่มเป็นต้องมีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯไม่น้อยกว่า 1 ปี
  4. หน่วยเลือกตั้งจะมีเพิ่มขึ้นจากเดิม 5,869 หน่วย ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
  5. ห้ามผู้สมัครกระทำ จัดทำ ให้ โฆษณา จัดเลี้ยง หลอกลวง ก่อน กกต. ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน หากพบว่าผู้สมัครมีการฝ่าฝืน กกต. จะให้ใบแดง แต่หากตรวจหลักฐานคลุมเครือ และมีเหตุอันน่าเชื่อถือจะให้ใบเหลือง
  6. การเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการแจกใบเหลือง ใบแดง จึงอาจมีการเลือกตั้งซ่อมได้
  7. การนับคะแนน จากที่เคยนับที่หน่วยเลือกตั้ง และส่งคะแนนให้ศาลาว่าการ กทม.ประกาศผล ก็เปลี่ยนเป็นนับรวมที่เขตปกครอง แล้วนำผลแต่ละเขตมารวมที่ศาลาว่าการ กทม. เพื่อประกาศผลนับคะแนน จากนั้นจึงส่งผลการนับคะแนนให้ กกต. ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
  8. การประกาศผลการเลือกตั้ง จากเดิมเป็นหน้าที่ปลัดกรุงเทพมหานคร ต้องให้ กกต.กลางประกาศผลอย่างเป็นทางการ
  9. ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละคน เดิมประเมินให้คนละไม่เกิน 21 ล้านบาท แต่ครั้งนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 37 ล้านบาทต่อคน

พ.ศ. 2551

· ·
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551
อันดับที่ผู้สมัครเลือกตั้งพรรค / กลุ่มการเมืองคะแนนเสียงเปอร์เซนต์
1นายอภิรักษ์ โกษะโยธินพรรคประชาธิปัตย์991,01845.93%
2นายประภัสร์ จงสงวนพรรคพลังประชาชน543,48825.19%
3นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ผู้สมัครอิสระ340,61615.79%
4ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ผู้สมัครอิสระ260,05112.05%
5นางลีนา จังจรรจาผู้สมัครอิสระ6,2670.29%
6นายวิทยา จังกอบพัฒนาผู้สมัครอิสระ3,7590.17%
7นายวราวุธ ฐานังกรณ์ผู้สมัครอิสระ2,7710.13%
8ร้อยเอกเมตตา เต็มชำนาญกลุ่มเมตตาธรรม2,1050.10%
9นายกิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ผู้สมัครอิสระ2,1020.10%
10นางสาววชิราภรณ์ อายุยืนพรรคสาธารณชน1,1400.05%
11นายสุเมธ ตันธนาศิริกุลทีมกรุงเทพ ฯ พัฒนา1,0790.05%
12นางธรณี ฤทธีธรรมรงค์ผู้สมัครอิสระ8520.04%
13นายภพศักดิ์ ปานสีทองผู้สมัครอิสระ8110.04%
14นายอุดม วิบูลเทพาชาติผู้สมัครอิสระ6170.03%
15นายสมชาย ไพบูลย์ผู้สมัครอิสระ5030.02%
16ว่าที่ พ.ต.นิพนธ์ ซิ้มประยูรผู้สมัครอิสระ4210.02%
ผลรวม2,157,599
 
บัตรดี2,157,59997.44%
บัตรเสีย19,3760.87%
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน37,3451.69%
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ2,214,32054.18%
จำนวนผู้งดออกเสียงเลือกตั้ง1,873,00945.82%
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง4,087,329100%

พ.ศ. 2552

· ·
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 11 มกราคม พ.ศ. 2552
พรรค (หมายเลข)ผู้สมัครคะแนนนิยมร้อยละ
พรรคประชาธิปัตย์ (2)หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร934,60245.41
พรรคเพื่อไทย (10)นายยุรนันท์ ภมรมนตรี611,66929.72
อิสระ (8)หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล334,84616.27
กลุ่มกรุงเทพฯ ใหม่ (12)
(สนับสนุนโดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง)
นายแก้วสรร อติโพธิ144,7797.03
อิสระ (3)นางลีนา จังจรรจา9,0430.439
ทีมกรุงเทพฯ พัฒนา (1)นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล6,0170.292
พรรคสุวรรณภูมิ (14)
(สนับสนุนโดย ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์)
นายเอธัส มนต์เสรีนุสรณ์4,1170.200
อิสระ (9)นายวิทยา จังกอบพัฒนา3,6400.177
อิสระ (5)นายกงจักร ใจดี2,4000.117
อิสระ (11)นายธรรณม์ชัย รุ่งจิรโรจน์2,2220.108
อิสระ (4)นางธรณี ฤทธีธรรมรงค์1,8750.091
กลุ่มเมตตาธรรม (6)ร.อ.เมตตา เต็มชำนาญ1,4310.070
อิสระ (7)นายอิสระ อมรเวช9220.045
อิสระ (13)นายอุดม วิบูลเทพาชาติ6560.032
บัตรดี2,058,21997.05
ไม่ประสงค์ลงคะแนน46,3952.19
บัตรเสีย16,1070.76
มาใช้สิทธิ2,120,72151.10
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง4,150,103100.00

พ.ศ. 2556

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 3 มีนาคม พ.ศ. 2556[6]
พรรคผู้สมัครคะแนนเสียง%±
ประชาธิปัตย์ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร (16)1,256,34947.75+2.34
เพื่อไทยพล.ต.อ. พงศพัศ พงษ์เจริญ (9)1,077,89940.97+11.25
อิสระพล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (11)166,5826.33+6.33
อิสระสุหฤท สยามวาลา (17)78,8253.00+3.00
อิสระโฆสิต สุวินิจจิต (10)28,6401.09+1.09
พรรคยางพาราไทยสุขุม วงประสิทธิ (19)2,7300.104+0.104
พรรคไทยพอเพียงจำรัส อินทุมาร (15)2,5940.099+0.099
อิสระ*สุเมธ ตันธนาศิริกุล (8)2,5370.096−0.196
อิสระ**สัณหพจน์ สุขศรีเมือง (6)2,0890.079+0.079
อิสระณัฏฐ์ดนัย ภูเบศอรรถวิชญ์ (7)1,3410.051+0.051
อิสระวิละ อุดม (1)1,3140.050+0.050
อิสระร.อ. เมตตา เต็มชำนาญ (3)1,3010.049−0.021
อิสระประทีป วัชรโชคเกษม (14)1,2500.047+0.047
อิสระศ.ดร. จงจิตร์ หิรัญลาภ (12)1,1940.045+0.045
อิสระโสภณ พรโชคชัย (4)1,1280.043+0.043
อิสระธรณี ฤทธีธรรมรงค์ (21)9220.035−0.056
อิสระสมิตร สมิทธินันท์ (5)6970.026+0.026
อิสระวศิน ภิรมย์ (13)6500.025+0.025
อิสระวรัญชัย โชคชนะ (2)6380.024+0.024
อิสระนันท์นภัส โกไศยกานนท์ (18)6340.024+0.024
อิสระศุภชัย เขษมวงศ์ (22)4640.018+0.018
อิสระพ.ต.อ. ขจรศักดิ์ โกษะโยธิน (25)4610.018+0.018
อิสระกฤษณ์ สุริยผล (20)2730.010+0.010
อิสระวิทยา จังกอบพัฒนา (24)2660.010−0.167
อิสระรวิวรรณ สุทธวิรีสรรค์ (23)1120.004+0.004
บัตรดี2,630,89096.88
ไม่ประสงค์ลงคะแนน47,4481.75
บัตรเสีย37,3021.37
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง2,715,64063.98
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง4,244,465100.00
ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง

หมายเหตุ: * จากกลุ่มกรุงเทพพัฒนาฯ, ** จากกลุ่มเพื่อนสัณหพจน์ สามมหาลัยดัง


พ.ศ. 2565

ป้ายหาเสียงของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปี 2565
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
พรรคผู้สมัครคะแนนเสียง%±
อิสระชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (8)1,386,21551.84
ประชาธิปัตย์สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (4)254,6479.52
ก้าวไกลวิโรจน์ ลักขณาอดิศร (1)253,8519.49
อิสระสกลธี ภัททิยกุล (3)230,4558.61
อิสระพลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง (6)*214,6928.02
อิสระรสนา โตสิตระกูล (7)78,9932.95
ไทยสร้างไทยนาวาอากาศตรีศิธา ทิวารี (11)73,7202.75
อิสระวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ (5)20,7420.77
อิสระพันโทหญิงฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล (2)19,8470.74
อิสระวัชรี วรรณศรี (9)8,2740.30
อิสระโฆษิต สุวินิจจิต (24)3,2470.12
อิสระประยูร ครองยศ (12)2,2190.08
อิสระศุภชัย ตันติคมน์ (10)2,1890.08
อิสระศศิกานต์ วัฒนจันทร์ (16)**2,1290.07
อิสระวรัญชัย โชคชนะ (22)1,1280.04
อิสระธเนตร วงษา (14)1,0920.04
อิสระสุมนา พันธุ์ไพโรจน์ (18)9080.03
อิสระพิศาล กิตติเยาวมาลย์ (13)8680.03
อิสระวิทยา จังกอบพัฒนา (31)8120.03
อิสระอุเทน ชาติภิญโญ (17)7560.02
อิสระไกรเดช บุนนาค (19)6360.02
อิสระพลอากาศตรีทูตปรีชา เลิศสันทัดวาที (15)5740.02
อิสระอมรพรรณ อุ่นสุวรรณ (20)5580.02
ประชากรไทยกฤตชัย พยอมแย้ม (29)4940.01
อิสระประพัฒน์ บรรจงศิริเจริญ (25)4600.01
อิสระเฉลิมพล อุตรัตน์ (23)4310.01
กรีนพงศา ชูแนม (30)4240.01
อิสระภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์ (27)3910.01
อิสระพลตำรวจโทมณฑล เงินวัฒนะ (26)3590.01
อิสระนิพันธ์พนธ์ สุวรรณชนะ (21)3420.01
ผลรวม2,651,447100.00
บัตรดี2,651,44795.80
ไม่ประสงค์ลงคะแนน72,2272.70
บัตรเสีย40,0171.50
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง2,673,69660.73
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง4,402,941100.00

หมายเหตุ: *ลงสมัครในนามกลุ่มรักษ์กรุงเทพ, **ลงสมัครในนามกลุ่มใส่ใจ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง