ปลาซีลาแคนท์

ซีลาแคนท์ (อังกฤษ: Coelacanth, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈsiːləkænθ/ ดัดแปลงมาจากคำละตินสมัยใหม่ Cœlacanthus เมื่อ cœl-us + acanth-us จากภาษากรีกโบราณ κοῖλ-ος [โพรง] + ἄκανθ-α [กระดูกสันหลัง]) เป็นชื่อสามัญของอันดับปลาที่รวมถึงสายพันธุ์ของปลาที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักในปัจจุบันพวก gnathostomata นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่าปลาซีลาแคนท์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปลาปอดและเตตราพอดที่เคยเชื่อกันว่าสูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งสิ้นสุดยุคครีเทเชียส จนกระทั่งมีการพบปลา แลติเมอเรีย ครั้งแรกที่นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของแอฟริกาใต้เลยแม่น้ำชาลัมนาออกมาในปี ค.ศ. 1938 และปลาเหล่านั้นจึงเป็นพวกลาซูรัส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 เป็นต้นมา ปลาซีลาแคนท์ Latimeria chalumnae ก็มีการถูกค้นพบในคอโมโรส เคนยา แทนซาเนีย โมซัมบิก มาดากัสการ์ และในอุทยานป่าชุ่มน้ำซิแมงกาลิโส กวาซูลู-นาทัล ในแอฟริกาใต้ สายพันธุ์ที่สอง Latimeria menadoensis พบที่เกาะซูลาเวซี อินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 1999[2][3] ทำให้ทราบว่าปลาซีลาแคนท์ไม่มีปอดและมีโครงสร้างที่ไม่เกี่ยวข้องกับเตตราพอดแต่อย่างใด ปลาซีลาแคนท์ไม่มีคุณค่าทางการค้าอย่างแท้จริงนอกเสียจากจะแปรสภาพเป็นวัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์และการเก็บสะสมส่วนตัว ในแง่ของการเป็นอาหารแล้ว ปลาซีลาแคนท์เกือบไม่มีค่าเอาเสียเลยด้วยเนื้อเยื่อของมันมีน้ำมันไหลซึมออกมาแม้ว่าจะตายไปแล้วก็ตาม และเนื้อของมันทั้งเหนียวและมีกลิ่นเหม็นด้วย[4]

ปลาซีลาแคนท์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่:
ยุคดีโวเนียนตอนต้น – ปัจจุบัน,[1] 409–0Ma
ตัวอย่างปลาซีลาแคนท์มหาสมุทรอินเดียตะวันตกที่จับขึ้นมาใน ค.ศ. 1974 ที่ซาลิมานี แกรนด์คอโมโร หมู่เกาะคอโมโร
ปลาซีลาแคนท์ที่มีชีวิตอยู่ที่Pumula ริม KwaZulu-Natal South Coast, แอฟริกาใต้, ค.ศ. 2019
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน:ยูแคริโอตา
อาณาจักร:สัตว์
ไฟลัม:สัตว์มีแกนสันหลัง
เคลด:ยูเทโลสโทไม
เคลด:ปลาที่มีครีบเป็นพู่
อันดับ:Actinistia
Cope, 1871
ชนิดต้นแบบ
Coelacanthus granulatus
Agassiz, 1839
วงศ์และสกุล
  • Latimeriidae
  • †Mawsoniidae

อื่น ๆ ดูข้อความ

ประวัติธรรมชาติ

ปลาซีลาแคนท์พบเป็นฟอสซิลครั้งแรกในยุคดีโวเนียนตอนกลาง[1][a] ปลาซีลาแคนท์ดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่ในน้ำในช่วงปลายของมหายุคพาลีโอโซอิกและมีโซโซอิก

ซีลาแคนท์เป็นปลาที่มีครีบมีลักษณะเป็นพูอยู่ที่ทรวงอกและก้นอยู่บนแท่งก้านเนื้อเยื่อที่รองรับโดยกระดูกและมีครีบหางที่แตกออกแยกเป็น 3 พู โดยที่พูตรงกลางจะรวมถึงชุดของโนโตคอร์ด ปลาซีลาแคนท์มีเกล็ดที่บางกว่าเกล็ดของปลาพวกคอสมอยด์จริง ๆ ปลาซีลาแคนท์มีอวัยวะพิเศษสำหรับตอบรับทางไฟฟ้าที่เรียกกันว่าอวัยวะคล้ายตะขออยู่ทางด้านหน้าของกะโหลกที่อาจจะใช้ช่วยในการตรวจจับเหยื่อ อวัยวะเล็ก ๆ นี้อาจช่วยรักษาสมดุลของตัวปลาได้ด้วย การค้นหาตำแหน่งด้วยคลื่นเสียงสะท้อนก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งในวิถีทางการเคลื่อนที่ของตัวปลา

ซากดึกดำบรรพ์

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการค้นพบรู้จักปลาซีลาแคนท์ที่มีชีวิตอยู่เพียง 2 ชนิดเท่านั้น แต่พบว่าครั้งหนึ่งพวกมันกลับเคยประสบความสำเร็จด้วยการพบเป็นฟอสซิลที่หลากหลายสกุลและหลากหลายชนิดจากยุคดีโวเนียนจนถึงสิ้นสุดยุคครีเทเชียสซึ่งเป็นจุดช่วงเวลาที่พวกมันต้องเผชิญกับความยากลำบากจนเกือบต้องสูญพันธุ์ไปทั้งหมด มักจะมีความเข้าใจกันว่าปลาซีลาแคนท์แทบจะไม่มีลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ตลอดช่วงระยะเวลาหลายล้านปีมานี้ แต่ที่แท้จริงแล้วชนิดที่มีชีวิตทั้งสองชนิดหรือแม้แต่สกุลก็ตามไม่เคยพบในรูปของฟอสซิลเลย อย่างไรก็ตามสายพันธุ์ฟอสซิลบางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสซิลยุคครีเทเชียสสกุล มาโครโปมา ที่มีลักษณะใกล้ชิดกันกับสกุลมีชีวิตในปัจจุบันมาก[5] เหตุผลในเรื่องนี้เป็นไปได้ว่าพวกที่สูญพันธุ์ไปนั้นเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในน้ำตื้น ขณะที่สายพันธุ์ฟอสซิลชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำลึกพบว่าเป็นการยากที่จะถูกยกตัวขึ้นมาให้นักบรรพชีวินวิทยาให้สามารถค้นพบเพื่อทำการศึกษาได้ ทำให้พวกที่เป็นปลาน้ำลึกไม่พบบันทึกเป็นฟอสซิลให้เห็น สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ภายใต้การสำรวจและศึกษาต่อไปโดยนักวิทยาศาสตร์

อนุกรมวิธาน

ตัวอย่างปลาซีลาแคนท์ที่ถูกเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงลอนดอน
ในสัตว์มีกระดูกสันหลังสายพันธุ์ใหม่ในช่วงตอนปลายของยุคดิโวเนียน ลูกหลานช่วงปลายที่มีครีบเป็นพูอย่าง Eusthenopteron แสดงถึงการปรับตัวเป็นลำดับ:
  • Panderichthys เหมาะกับโคลนตื้น ๆ;
  • Tiktaalik มีระยางค์คล้ายครีบที่สามารถนำมันขึ้นมาบนบกได้;
  • Early tetrapods อยู่ในหนองน้ำที่เต็มไปด้วยวัชพืช อย่างเช่น:
    • Acanthostega มีเท้าที่มี 8 นิ้ว,
    • Ichthyostega มีระยางค์
ผู้สืบทอดยังรวมถึงพวกปลาที่มีครีบเป็นพูด้วยอย่างเช่น พวกปลาซีลาแคนท์

บางทีชั้นย่อย Coelacanthimorpha (Actinistia) ก็ถูกจัดให้เป็นกลุ่มของปลา Sarcopterygian ด้วยที่รวมถึง Coelacanthiformes ด้านล่างนี้เป็นการจำแนกวงศ์และสกุลของปลาซีลาแคนท์[6]

ชั้น Sarcopterygii
ชั้นย่อย Coelacanthimorpha
  • อันดับ COELACANTHIFORMES
    • วงศ์ Coelacanthidae (สูญพันธุ์)
      • Axelia (สูญพันธุ์)
      • Coelacanthus (สูญพันธุ์)
      • Ticinepomis (สูญพันธุ์)
      • Wimania (สูญพันธุ์)
    • วงศ์ Diplocercidae (สูญพันธุ์)
      • Diplocercides (สูญพันธุ์)
    • วงศ์ Hadronectoridae (สูญพันธุ์)
      • Allenypterus (สูญพันธุ์)
      • Hadronector (สูญพันธุ์)
      • Polyosteorhynchus (สูญพันธุ์)
    • วงศ์ Mawsoniidae (สูญพันธุ์)
      • Alcoveria (สูญพันธุ์)
      • Axelrodichthys (สูญพันธุ์)
      • Chinlea (สูญพันธุ์)
      • Diplurus (สูญพันธุ์)
      • Mawsonia (สูญพันธุ์)
    • วงศ์ Miguashaiidae (สูญพันธุ์)
      • Miguashaia (สูญพันธุ์)
    • วงศ์ Latimeriidae
      • Holophagus (สูญพันธุ์)
      • Libys (สูญพันธุ์)
      • Macropoma (สูญพันธุ์)
      • Macropomoides (สูญพันธุ์)
      • Megacoelacanthus (สูญพันธุ์)
      • Latimeria (James Leonard Brierley Smith, 1939)
        • L. chalumnae (Comorese coelacanth) (James Leonard Brierley Smith, 1939)
        • L. menadoensis (Indonesian coelacanth) (Pouyaud, Wirjoatmodjo, Rachmatika, Tjakrawidjaja, et al., 1999)
      • Undina (สูญพันธุ์)
    • วงศ์ Laugiidae (สูญพันธุ์)
      • Coccoderma (สูญพันธุ์)
      • Laugia (สูญพันธุ์)
    • วงศ์ Rhabdodermatidae (สูญพันธุ์)
      • Caridosuctor (สูญพันธุ์)
      • Rhabdoderma (สูญพันธุ์)
    • วงศ์ Whiteiidae (สูญพันธุ์)
      • Whiteia (สูญพันธุ์)

ความสำคัญทางวัฒนธรรม

เนื่องด้วยธรรมชาติอันน่าประหลาดในการค้นพบซีลาแคนท์ ทำให้มีผลงานสมัยใหม่ หัตถศิลป์ และวรรณกรรมได้แรงบันดาลใจจากสิ่งนี้มาก มีอย่างน้อย 22 ประเทศที่มีมันบนแสตมป์ โดยเฉพาะคอโมโรสที่มีแสตมป์ซีลาแคนท์ถึง 12 ชุด ปลานี้ยังปรากฏในธนบัตร 1000 ฟรังก์คอโมโรสและเหรียญ 5 ฟรังก์คอโมโรส[7]

เชิงอรรถ

อ้างอิง

อ่านเพิ่มเติม

  • Smith, J. L. B. (1956). Old Fourlegs: the Story of the Coelacanth. Longmans Green.
  • Fricke, Hans (June 1988). "Coelacanths – The Fish That Time Forgot". National Geographic. Vol. 173 no. 6. pp. 824–838. ISSN 0027-9358. OCLC 643483454.
  • Wade, Nicholas (18 April 2013). "Fish's DNA May Explain How Fins Turned to Feet". The New York Times. pp. A3.
  • Thomson, Keith S. (1991). Living Fossil: the Story of the Coelacanth. W. W. Norton.
  • Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2009. สืบค้นเมื่อ 2011-05-17.
  • Weinberg, Samantha (1999). A Fish Caught in Time: The Search for the Coelacanth. Fourth Estate.
  • Bruton, Mike (2015). When I Was a Fish: Tales of an Ichthyologist. Jacana Media(Pty)Ltd.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง