รักร่วมเพศ

(เปลี่ยนทางจาก พวกรักร่วมเพศ)

รักร่วมเพศ หรือ โฮโมเซ็กชวลลิตี (อังกฤษ: Homosexuality)[1] หรือ โฮโมเซ็กชวล (Homosexual) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา"[2][3] รักร่วมเพศ, รักร่วมสองเพศ (bisexual) และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักร่วมเพศค่อนข้างยากที่จะประเมิน[4] แต่ส่วนใหญ่จากการที่ศึกษาในปัจจุบันอัตราอยู่ที่ 2–7%[5][6][7][8][9][10][11][12][13] แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจในกลุ่มคนชาวนอร์เวย์ พบว่ามีกลุ่มคนรักร่วมเพศ 12%[14]

สัญลักษณ์ของผู้รักร่วมเพศ: ชายรักชาย (ขวา) และหญิงรักหญิง (ซ้าย)

สาเหตุของการเกิดพฤติกรรมรักร่วมเพศยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ซึ่งจากการศึกษาพี่น้องฝาแฝดที่เป็นเกย์ทั้งคู่ โดย Dean Halmer นักพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล แห่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติ รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา พบว่าอาจจะเกิดจากพันธุกรรมที่โครโมโซม ตำแหน่ง Xq28[15] อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังถกเถียงเกี่ยวกับยีนตัวนี้อยู่เช่นกัน ซึ่งงานวิจัยใหม่นั้นพบว่าผลที่ออกมาขัดแย้งกับผลการศึกษาเดิม และไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน[16]

ปัจจุบันได้มีคำศัพท์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างพื้นที่ให้แก่เพศวิถีต่าง ๆ เช่น "ความหลากหลายทางเพศ"[17] หรือ "กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ"[18] เนื่องจากมีความหมายที่ครอบคลุมและตรงตัวกว่าคำว่า “รักร่วมเพศ” ที่อาจถูกตีความว่าบุคคลประเภทนี้ให้ความสำคัญต่อการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม คำว่าความหลากหลายทางเพศนั้น อาจหมายความรวมถึงผู้ที่มีรสนิยมรักสองเพศด้วย

ภาพรวม

กฎหมายทั่วโลกเกี่ยวกับความสัมพันธ์และเสรีภาพในการแสดงออกร่วมเพศ
มีเพศสัมพันธ์ร่วมเพศไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีโทษ:
  ประหารชีวิต
  ประหารชีวิต แต่ไม่บังคับใช้
  จำคุก
  จำคุก แต่ไม่บังคับใช้1
  ถูกทหารอาสาสมัครฆ่า
  ถูกกักขังแต่ไม่ดำเนินคดี
มีเพศสัมพันธ์ร่วมเพศชอบด้วยกฎหมาย การยอมรับการอยู่กินด้วยกัน:
  สมรสได้2
  สมรสนอกดินแดน3
  จำกัดในเคหะสถาน
  เฉพาะคนต่างด้าว
  คำรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรที่เลือกได้
  ไม่ยอมรับ
  ยังมีข้อจำกัดในการแสดงออก
วงแหวนระบุพื้นที่ซึ่งผู้พิพากษาท้องถิ่นอนุญาตหรือปฏิเสธการสมรสหรือกำหนดโทษประหารชีวิตในเขตอำนาจศาลซึ่งไม่ใช่กฎหมายหรือพื้นที่ซึ่งใช้แบบกรณี ๆ ไป
1ไม่มีการจับกุมในสามปีหลังสุด หรือมีการผ่อนเวลากฎหมาย
2กฎหมายอาจยังไม่มีผลบังคับในบางเขตอำนาจ
3ไม่มีการสมรสในท้องถิ่น บางเขตอำนาจอาจจัดการครองคู่ (partnership) แบบอื่น

รักร่วมเพศ มีในสังคมมนุษย์มาตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์แรก ๆ รูปแบบบางอย่างเกี่ยวกับการดึงดูดทางเพศและความต้องการทางเพศระหว่างผู้ชายด้วยกันฝั่งแน่นมานาน เป็นการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของบรรทัดฐานสังคม และมีการกล่าวถึงมากที่เกี่ยวกับกรีกโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศ (อย่างเช่นการร่วมเพศทางทวารหนักในบางวัฒนธรรม หรือการทำออรัลเซ็กซ์กับผู้อื่น) ในบางวัฒนธรรมอย่างศาสนาเอบราฮัมมีกฎหมายออกมา และโบสถ์ได้ถือว่าการร่วมเพศทางทวารหนักเป็นการละเมิดต่อกฎสวรรค์ หรือเป็น "อาชญากรรมฝืนธรรมชาติ" ที่ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษอย่างรุนแรง อย่างเช่น การประหารชีวิต โดยมากใช้ไฟเผา (เพื่อเป็นการกระทำชำระบาป) การร่วมเพศทางทวารหนักระหว่างผู้ชายด้วยกัน เกิดขึ้นก่อนยุคความเชื่อคริสเตียน โดยมากมักอ้างถึงในกรีกโบราณ ว่าเป็น "อธรรมชาติ" ย้อนไปได้ในยุคเพลโต[19]

ใน 2 ทศวรรษของศตวรรษที่ 19 มุมมองที่แตกต่างกันเริ่มครอบงำทางด้านแพทย์ศาสตร์และจิตวิทยา ถูกประเมินว่าเป็นพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงประเภทของคน ที่อธิบายและความสัมพันธ์กับอัตลักษณ์ทางเพศ Karl-Maria Kertbeny บัญญัติคำว่า โฮโมเซ็กชวล ในปี 1869 ในหนังสือโต้เถียงต่อกฎหมายปรัสเซียในการต่อต้านการร่วมเพศทางทวารหนัก[20][21] และต่อมาในหนังสือ Psychopathia Sexualis ที่เขียนโดย Richard von Krafft-Ebing ในปี 1986 ก็ได้ขยายความเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแนวคิดนี้[21]

ในปี 1897 นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษที่ชื่อ เฮฟล็อก เอลลิส พิมพ์ มุมมองที่คล้ายกันในหนังสือของเขาที่ชื่อ Sexual Inversion[22] ถึงแม้ว่าหนังสือทางแพทย์เหล่านี้จะไม่ได้แพร่หลายสู่สาธารณะในวงกว้าง แต่พวกเขาก็รับทราบจากคณะกรรมการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมทางวิทยาศาสตร์ของ Magnus Hirschfeld ซึ่งเป็นโครงการตั้งแต่ปี 1897 ถึง 1933 เพื่อต่อต้านกฎหมายต่อต้านการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ในเยอรมนี เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวอย่างไม่เป็นทางการในบรรดาหมู่ปัญญาชนชาวอังกฤษและนักเขียน นำโดย เอดเวิร์ด คาร์เพนเทอร์ และจอห์น แอดดิงทัน ไซมอนด์ส

ในศตวรรษที่ 20 รักร่วมเพศเป็นเรื่องการศึกษาที่สำคัญและถกเถียงในสังคมตะวันตก โดยเฉพาะหลังจากการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของเกย์ที่เริ่มในปี 1969 และเมื่อผ่านอำนาจผู้มีอำนาจอย่างด้านพยาธิวิทยาหรือความป่วยทางจิตที่สามารถรักษาได้ รักร่วมเพศได้มีการตรวจสอบมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เข้าใจทางด้านชีววิทยา จิตวิทยา การเมือง พันธุศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และความหลากหลายด้านวัฒนธรรมของการปฏิบัติทางเพศและอัตลักษณ์ กฎหมายและสถานภาพทางด้านสังคมของคนที่ต่อสู้ในการกระทำของชาวรักร่วมเพศ หรือการบ่งชี้ในฐานะเกย์หรือเลสเบียนแปรเปลี่ยนไปไปทั้งโลก และในบางที่ก็ยังคงต่อต้านทั้งทางด้านการเมืองและศาสนา

เพศวิถี

วิถีทางเพศ

วิถีทางเพศ ของรักร่วมเพศ อาจหมายถึง "รูปแบบความคงอยู่ของ/หรือ อารมณ์ทางเพศ หรือความสนใจด้านความรัก ต่อคนที่เป็นเพศเดียวกัน" ยังคงหมายถึง ความรู้สึกส่วนตัวต่ออัตลักษณ์และการเข้าสังคม โดยยึดจากความสนใจ พฤติกรรมการแสดงออกของพวกเขา และการเป็นสมาชิกของสังคมในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา[2][3] สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักร่วมเพศค่อนข้างยากที่จะประเมิน[4]แต่ส่วนใหญ่จากการที่ศึกษาในปัจจุบันอัตราอยู่ที่ 2–7%[5][6][7][8][9][10][11][12][13] โดยแบ่งแยกจากไบเซ็กชวลและรักต่างเพศ

นักวิจัยได้ดูเรื่องสาเหตุความหลากหลายที่เป็นไปได้ของวิถีทางเพศขอพวกรักร่วมเพศ อย่างเช่น ด้านชีววิทยา ฮอร์โมน ความเครียด ลำดับการเกิด และผลกระทบด้านสภาพแวดล้อม[23] โดย The American Psychiatric Association อ้างว่า "บางคนเชื่อว่า วิถีทางเพศ เกิดขึ้นโดยกำเนิดและคงเป็นอย่างนั้น แต่อย่างไรก็ตาม วิถีทางเพศอาจพัฒนาเปลี่ยนไปในรอบชีวิตหนึ่ง"[24] ถึงกระนั้น American Psychological Association ก็กล่าวว่า "คนส่วนใหญ่มีประสบการณ์เพียงเล็กน้อย หรือไม่มีความรู้สึกเกี่ยวกับวิถีทางเพศของพวกเขา"[25]

อัตลักษณ์ทางเพศ

อัตลักษณ์ทางเพศของ คนรักร่วมเพศอาจหมายถึง อัตลักษณ์ที่ระบุว่าเป็นเกย์หรือเลสเบียน ถ้าให้แคบกว่านี้ เกย์หมายถึง ผู้ชายรักร่วมเพศ แต่มักจะใช้ความหมายของเกย์ในทางกว้างมากกว่า โดยเฉพาะในหัวข้อหรือการรายงานจากสื่อมวลชน ความหมายของรักร่วมเพศโดยส่วนมาก ส่วนเลสเบียนจะหมายถึงผู้หญิงรักร่วมเพศ

นักวิชาการอย่างเช่น เดวิด กรีน กล่าวว่า รักร่วมเพศในโครงสร้างสังคมตะวันตกสมัยใหม่ ไม่สามารถใช้ในความหมายเดียวกับความสัมพันธ์ชาย-ชาย ในสังคมที่ไม่ใช่ชาวตะวันตก หรือ และทั้งสังคมก่อนตะวันตกสมัยใหม่[26]

พฤติกรรมทางเพศ

พฤติกรรมทางเพศของคนรักร่วมเพศ หมายถึง ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างคนสองคนที่เป็นเพศเดียวกัน การศึกษาพบว่า คู่เพศเดียวกันและคู่ต่างเพศแทบจะมีจำนวนเท่ากัน เมื่อวัดจากความพอใจในความสัมพันธ์และพันธะ[27] เลสเบียนและผู้ชายเกย์ ก่อความสัมพันธ์ยั่งยืนขึ้น อย่างเช่นจากการศึกษาชี้ว่า ระหว่าง 18% และ 28% ของคู่เกย์ และระหว่าง 8% และ 21% คู่เลสเบียนในสหรัฐอเมริกาอยู่ด้วยกัน 10 ปี หรือมากกว่านั้น[28]

ทัศนคติทางด้านสังคมเกี่ยวกับความสัมพันธ์เพศเดียวกัน แตกต่างกันไปทั้งสถานที่และเวลา มีตั้งแต่ความคาดหวังของผู้ชายที่จะต่อต้านความสัมพันธ์เพศเดียวกัน ถึงการรวมตัวอย่างไม่ตั้งใจ ผ่านการยอมรับของสังคม ถึงการเห็นที่การปฏิบัติในฐานะคนบาป ความอดกลั้นการบังคับใช้ทางกฎหมายและวิธีการตัดสินทางกฎหมาย และการห้ามปรามที่อาจมีโทษถึงตาย

หลายชาติส่วนใหญ่ไม่กีดกันการอยู่ร่วมกันของคน อำนาจศาลในบางแห่งให้ความสำคัญของสิทธิเท่าเทียมกัน การปกป้องและสิทธิของโครงสร้างครอบครัวเพศเดียวกัน รวมถึงการแต่งงานด้วยกัน ในบางชาติควบคุมออกจากคนรักต่างเพศ บางที่ห้ามกิจกรรมรักร่วมเพศและถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงตายในบางที่ที่เป็นมุสลิม อย่างเช่น อิหร่าน และบางส่วนของไนจีเรีย

ประวัติ

ทัศนคติทางสังคมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเพศเดียวกันแตกต่างกันไปในเวลาและสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่การขัดขวางความสัมพันธ์เพศเดียวกัน ยอมรับบ้างบางครั้งบางคราว หรือเปิดใจยอมรับ จากการเห็นถึงการปฏิบัติในรูปแบบ การบังคับทางกฎหมายและวิธีการพิจารณาคดี ถึงการห้ามปรามทางกฎหมายภายใต้การประหารชีวิต

ในรายละเอียดรวมของประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ของสังคมก่อนยุคอุตสาหกรรม "ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งในรักร่วมเพศ มีรายงานว่า 41% ใน 42 วัฒนธรรม รับได้หรือหลีกเลี่ยง 21% และ 12% ไม่มีแนวคิด และจาก 70 ชาติพันธุ์ มี 59% รายงานว่าชาวรักร่วมเพศหายาก และ 41% รายงานว่ามีอยู่และไม่ผิดปกติ"[29]

มีบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์อย่าง โสกราตีส, ลอร์ด ไบรอน, เอดเวิร์ดที่ 2, แฮเดรียน[30] ที่มีคำเรียกอย่าง เกย์ หรือไบเซกชวล อธิบายถึง อย่าง มิเชล โฟคอลต์ อ้างถึงว่าเป็นความภัยอันตรายที่เกิดขึ้นในชาวต่างชาติในเวลาพวกเขา[31]

นักวิเคราะห์โต้เถียงว่าไม่มีใครในยุคโบราณหรือยุคกลาง ที่มีประสบการณ์รักร่วมเพศพิเศษ แบบถาวร จอห์น บอสเวลล์ อ้างการโต้เถียงนี้โดยอ้างจากบทเขียนโบราณของเพลโต[32] ที่อธิบายหลักฐานพฤติกรรมทางเพศแบบรักร่วมเพศ

อียิปต์

รักร่วมเพศในแอฟริกาท้องถิ่น มีหลายรูปแบบ นักมานุษยวิทยาที่ชื่อสตีเฟน เมอร์เรย์และวิลล์ รอสโค รายงานว่ามีผู้หญิงจำนวนหนึ่งในเลโซโธที่เกี่ยวพันกับการลงโทษ "ในเรื่อง มีความสัมพันธ์ทางเพศกัน ที่ชื่อ motsoalle"[33] อี. อี. อีแวนส์-พริตชาร์ตยังบันทึกว่า นักรบชายที่ชื่อ Azande (ทางตอนเหนือของคองโก) มีพฤติกรรมในการนำชายหนุ่มอายุระหว่าง 12 และ 20 ปี มาช่วยงานบ้านและมีความสัมพันธ์ทางเพศ การลงโทษถึงตายหายไปช่วงต้นศตวรรษที่ 20 หลังจากที่ชาวยุโรปได้มีอำนาจในหลายประเทศในแอฟริกา

ส่วนบันทึกแรกเกี่ยวกับคู่รักร่วมเพศคือคู่ Khnumhotep และ Niankhkhnum ที่มีชีวิตอยู่ในราว 2400 ก่อนคริสต์ศักราช ที่มีบนผนังถ้ำ ของทั้งสองคนจับไหล่จับแขนแล้วสัมผัสจมูกกัน[34]

อเมริกา

การทรมานโดยสุนัข คนชายรักชายโดยชาวตะวันตกต่อชนพื้นเมืองอเมริกา

ในบรรดาชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา ก่อนการตั้งอาณานิคมของชาวยุโรป รูปแบบของพฤติกรรมเพศเดียวกัน มีอยู่ในคนสองจิตวิญญาณ (Two-Spirit) โดยทั่วไปแล้วคนพวกนี้จะได้รับการยอมรับว่าเป็นคนสองวิญญาณในช่วงเริ่มต้นของชีวิต เลือกโดยพ่อแม่พวกเขาและ ถ้าเด็กรับบทบาทนี้ โตขึ้นในแบบที่เหมาะสม เรียนรู้ถึงประเพณีของเพศที่เลือก คนสองจิตวิญญาณโดยมากจะเป็นชาแมนและได้รับความเคารพนับถือในพลังอำนาจ

คนรักร่วมเพศและคนข้ามเพศเป็นสิ่งปกติทั่วไปในยุคก่อนล่าอาณานิคมในละตินอเมริกา อย่างเช่น แอซเท็ค มายัน เกชว ม็อชเช่ ซาโปเท็ค และทูปินามบา ในบราซิล[35][36]

นักล่าอาณานิคมชาวสเปนรู้สึกขยะแขยงกับการค้นพบกับพฤติกรรมการร่วมเพศทางทวารหนักในระหว่างชนพื้นเมือง และพยายามต่อต้านโดยบังคับพวก เบอร์ดาเช ภายใต้กฎหมายการลงโทษอย่างรุนแรง รวมถึงการประหารชีวิตในที่สาธารณะ การเผาและการทรมานโดยสุนัข[37]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง