ภาษาชูวัช

ภาษาชูวัช (ชูวัช: Чӑвашла, ทับศัพท์ Chăvashla, แม่แบบ:IPA-cv)[a] เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใช้พูดในบริเวณเทือกเขายูรัลทางตอนกลางของรัสเซีย เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐชูวัชในประเทศรัสเซีย มีผู้พูดราว 2 ล้านคน ภาษานี้เป็นภาษาเดียวในสาขาOghur ในกลุ่มภาษาเตอร์กิกที่ยังมีผู้พูด[2] ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาชูวัชได้แก่ ภาษาตาตาร์ ภาษากลุ่มฟินโน-อูกริก ภาษารัสเซีย ภาษามารี ภาษามองโกเลีย ภาษาอาหรับ และภาษาเปอร์เซีย

ภาษาชูวัช
Chăvashla
Чӑвашла
ออกเสียง[tɕəʋaʃˈla]
ประเทศที่มีการพูดประเทศรัสเซีย
ภูมิภาคแคว้นวอลกา
ชาติพันธุ์ชาวชูวัช
จำนวนผู้พูด1,042,989 คน  (2010 census)[1]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
  • Oghur (Lir)
    • ภาษาชูวัช
ระบบการเขียนอักษรซีริลลิก
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ สาธารณรัฐชูวัช (รัสเซีย)
รหัสภาษา
ISO 639-1cv
ISO 639-2chv
ISO 639-3chv
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

แต่โบราณ ภาษาชูวัชเขียนด้วยอักษรออร์คอน เปลี่ยนเป็นอักษรอาหรับเมื่อเข้ารับอิสลาม เมื่อถูกยึดครองโดยมองโกเลีย ระบบการเขียนได้หายไป อักษรแบบใหม่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย อีวาน ยาคอฟเลวิช ยาคอฟเลฟ ใน พ.ศ. 2416 จน พ.ศ. 2481 จึงเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรซีริลลิก โดยใช้ตัวอักษรทั้งหมดจากชุดตัวอักษรรัสเซียและเพิ่มอักษรของตนเอง 4 ตัว: Ӑ, Ӗ, Ҫ และ Ӳ

ประวัติ

ภาษาชูวัชเป็นภาษาแตกต่างจากภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆมากและไม่สามารถเข้าใจได้กับผู้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆคาดว่าภาษาแม่ของภาษานี้ที่ใช้พูดโดยชาวบุลการ์ในยุคกลางแตกต่างจากภาษากลุ่มเตอร์กิกสมัยใหม่อื่นๆและจัดเป็นภาษาพี่น้องของภาษาเตอร์กิกดั้งเดิมมากกว่าจะเป็นภาษาลูกหลาน ภาษาที่ใกล้เคียงที่สุดคือภาษาฮันนิกที่เป็นภาษาตายไปแล้ว ก่อนหน้านี้มีนักวิจารณ์เสนอว่าภาษาชูวัชไม่ใช่ภาษากลุ่มเตอร์กิกแต่เป็นกลุ่มภาษาฟินโน-ยูกริกที่ถูกทำให้เป็นแบบภาษากลุ่มเตอร์กิก[3]

แสตมป์ของสหภาพโซเวียตแสดงภาพชาวชูวัช

ระบบการเขียน

ปัจจุบัน

А аӐ ӑБ бВ вГ гД дЕ еЁ ё
Ӗ ӗЖ жЗ зИ иЙ йК кЛ лМ м
Н нО оП пР рС сҪ ҫТ тУ у
Ӳ ӳФ фХ хЦ цЧ чШ шЩ щЪ ъ
Ы ыЬ ьЭ эЮ юЯ я

การทับศัพท์อักษรชูวัช [4]

ชื่อสัทอักษรสากลKNAB [5] 1995ALA-LC[6] 1997Edward Allworth[7] 1971ISO

ระบบ A

ISO

ระบบ B

Turkkălla[8]IvanofCVLat 1.1

2007 [9]

หมายเหตุ
А аа/a/~/ɑ/aaaaaaaa
Ӑ ӑӑ/ɤ̆/, /ə/, /ɒ/äăăăĭahă/òa'
Б ббӑ/b/bbbbbbbbเฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
В ввӑ/ʋ/~/w/, /v/ (ในคำยืมที่ไม่ใช่ภาษาชูวัช)vvvvvvvv
Г ггӑ/ɡ/ggggggggเฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
Д ддӑ/d/ddddddddเฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
Е ее/ɛ/ye-, -e-ee, jeee-e-, ye-jee, je/ye
Ё ёё/jo/ หรือ /ʲo/yoëëëyoyojojo/yoเฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
Ӗ ӗӗ/ɘ/ (ɘ~ø)ĕĕöĕĭ̇ehĕ/öe'
Ж жжӑ/ʒ/zhzhžžzhjqsh (š)เฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
З ззӑ/z/zzzzzzzhsเฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
И ии/i/iiiiiiii
Й ййӑ/j/yĭjjjyjj
К ккӑ/k/, /kʲ/ (c), /k̬ʲ/ (gʲ, ɟ)kkkkkkkk
Л ллӑ/l/~/ɫ/, /lʲ/ (ʎ)llllllll, lĭ/l'l'
М ммӑ/m/mmmmmmmm
Н ннӑ/n/, /nʲ/ (ɲ)nnnnnnnn, nĭ/n'n'
О оо/o/ooooooooเฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
П ппӑ/p/, /p̬/ (b)pppppppp
Р ррӑ/r/~/ɾ/rrrrrrrrr'
С ссӑ/s/, /s̬/ (z)ssssssss
Ҫ ҫҫӑ/ɕ/, /ɕ̬/ (ʑ)s'śśşş́cş/śs'
Т ттӑ/t/, /tʲ/, /t̬ʲ/ (dʲ), /t̬/ (d)tttttttt, tĭ/t'
У уу/u/, /̯u/ (o)uuuuuuuu
Ӳ ӳӳ/y/üüűüuhüu'
Ф ффӑ/f/, /̯f̬/ (v)ffffffffเฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
Х ххӑ/χ/, /χʲ/, /χ̃/ (ɣ), /χ̃ʲ/ (ɣʲ)khkhhhxhxh/x
Ц ццӑ/ts/, /ʦ̬/ (dz)tst͡scccz, czts/zเฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
Ч ччӑ/tɕ/, /ʨ̬/ (ʥ)chchččchçchtś/c
Ш шшӑ/ʃ/, /ʃ̬/ (ʒ)shshššshşsh (š)
Щ щщӑ/ɕː/
/ɕt͡ɕ/
shchshchščŝshhthśç, şเฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
Ъ ъхытӑлӑх палли"ʺ``jเฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย ตั้งหลังพยัญชนะ ทำหน้าที่เป็น "สละหลังเงียบ"; puts a distinct j sound in front of the following iotified: Е, Ё, Ю, Я vowels with no palatalization of the preceding consonant
Ы ыы/ɯ/ïyyyy'ıyyเฉพาะตอนต้นของคำ, 1-2 ตัวอักษร
Ь ьҫемҫелӗх палли/ʲ/'' / jʹ`ĭ/'ตั้งหลังพยัญชนะ ทำหน้าที่เป็น "สระหน้าเงียบ", slightly palatalizes the preceding consonant
Э ээ/e/ëėè, eèe`eeeเฉพาะตัวอักษรแรก
Ю юю/ju/ หรือ /ʲu/͡iujuûyujujuju/yu, ‘u
Я яя/ja/ หรือ /ʲa/͡iajaâyajajaja/ya, ‘a

พ.ศ. 2416 - 2481

อักษรสำหรับภาษาชูวัชสมัยใหม่ปรับปรุงขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2416 โดยอีวาน ยาคอฟเลวิช ยาคอฟเลฟ[10]

аеыи/іуӳӑӗйвклԡмнԣпрр́сҫтт̌хш

ใน พ.ศ. 2481 จึงปรับเปลี่ยนมาสู่รูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน

ระบบก่อนหน้านี้

ระบบการเขียนที่เก่าแก่ที่สุดคืออักษรออร์คอนซึ่งหายสาบสูญไปเมื่อบริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลามโดยหันมาใช้อักษรอาหรับแทน เมื่อชาวมองโกลรุกรานเข้ามา การเขียนจึงหยุดชะงักจนถึงสมัยซาร์ปีเตอร์มหาราช ชาวชูวัชต้องใช้ภาษารัสเซียในการศึกษา[11][12]

สัทวิทยา

พยัญชนะ

ริมฝีปากฟัน/
ปุ่มเหงือก
หลัง-
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็งเพดานแข็งอ่อน
หยุดp (п)t (т) (ч)k (к)
เสียดแทรกs (c)ʃ (ш)ɕ (ҫ)x (x)
นาสิกm (м)n (н)
เปิดʋ (в)l (л)j (й)
รัวr (p)
  • /x/ สามารถออกเสียงเป็นหน่วยเสียงย่อยของ [ɣ]

สระ

รายงานจาก Krueger (1961) หน่วยเสียงของภาษาชูวัชเป็นไปตามนี้:

หน้าหลัง
ไมห่อห่อไม่ห่อห่อ
สูงi (и)y (ӳ)ɯ (ы)u (у)
ต่ำe (е)ø̆ (ӗ)a (а)ŏ (ӑ)

András Róna-Tas (1997)[13] ได้เสนอหน่วยเสียงนี้กับข้อมูลเพิ่มเติมจาก Petrov (2001) ไว้ดังนี้

หน้าหลัง
ไม่ห่อห่อไม่ห่อห่อ
สูงi (и)y (ӳ)ɯ (ы)u (у)
กลาง-ปิดӗ (ĕ)ɤ̆ (ӑ)
กลาง-เปิดɛ (е)
ต่ำa (а)

สำเนียง

ภาษาชูวัชมีสองสำเนียงคือสำเนียงวิรยัลหรือสำเนียงบน (มีเสียง o และ u) กับสำเนียงอนาตรีหรือสำเนียงล่าง (ไม่มีเสียง o ใช่เสียง u แทน) ภาษาเขียนขึ้นกับทั้งสำเนียงบนและสำเนียงล่าง ภาษาตาตาร์และกลุ่มภาษาฟินนิกมีอิทธิพลต่อภาษาชูวัชเช่นเดียวกับภาษารัสเซีย ภาษามารี ภาษามองโกเลีย ภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย

ไวยากรณ์

ภาษาชูวัชเป็นภาษารูปคำติดต่อ มีปัจจัยจำนวนมากแต่ไม่มีอุปสรรค คำคำหนึ่งอาจมีปัจจัยจำนวนมากและใช้ปัจจัยเพื่อสร้างคำใหม่ได้ หรือใช้เพื่อแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำคำนั้น

นามและคุณศัพท์

คำนามภาษาชูวัชจะมีการลงท้ายเพื่อบอกบุคคลและความเป็นเจ้าของ มีปัจจัยของนามทั้งสิ้น 6 การก

กริยา

คำกริยาของภาษาชูวัชแสดงบุคคล กาล มาลาและจุดมุ่งหมาย

การเปลี่ยนเสียงสระ

เป็นหลักการที่พบได้ทั่วไปในรากศัพท์ของภาษาชูวัช ภาษาชูวัชแบ่งสระเป็นสองแบบคือสระหน้าและสระหลัง การเปลี่ยนเสียงสระอยู่บนหลักการว่าในคำคำหนึ่งจะไม่มีทั้งสระหลังและสระหน้าอยู่ด้วยกัน

คำประสมถือว่าเป็นคำเอกเทศคำหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนเสียงสระ แต่จะไม่ใช้การเปลี่ยนเสียงสระกับคำยืมจากภาษาอื่น และมีคำดั้งเดิมในภาษาชูวัชบางคำไม่เป็นไปตามกฎการเปลี่ยนเสียงสระ

การเรียงคำ

เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา

คำศัพท์

ตัวเลข:

  • 1 – пӗрре pĕrre, пӗр pĕr
  • 2 – иккӗ ikkĕ, икӗ ikĕ, ик ik
  • 3 – виҫҫӗ vişşĕ, виҫӗ vişĕ, виҫ viş
  • 4 – тӑваттӑ tăvattă, тӑватӑ tăvată, тӑват tăvat
  • 5 – пиллӗк pillĕk, пилӗк pilĕk
  • 6 – улттӑ ulttă, แม่แบบ:IPA-cv, ултӑ ultă, แม่แบบ:IPA-cv, улт ult, แม่แบบ:IPA-cv/แม่แบบ:IPA-cv
  • 7 – ҫиччӗ şiccĕ, แม่แบบ:IPA-cv, ҫичӗ şicĕ, แม่แบบ:IPA-cv, ҫич şic, แม่แบบ:IPA-cv
  • 8 – саккӑр sakkăr, แม่แบบ:IPA-cv, сакӑр sakăr, แม่แบบ:IPA-cv
  • 9 – тӑххӑр tăhhăr, тӑхӑр tăhăr
  • 10 – вуннӑ vunnă, вун vun
  • 11 – вун пӗр vun pĕr
  • 12 – вун иккӗ vun ikkĕ, вун икӗ vun ikĕ, вун ик vun ik
  • 13 – вун виҫҫӗ vun vişşĕ, вун виҫӗ vun vişĕ, вун виҫ vun viş
  • 14 – вун тӑваттӑ vun tăvattă, вун тӑватӑ vun tăvată, вун тӑват vun tăvat
  • 15 – вун пиллӗк vun pillĕk, вун пилӗк vun pilĕk
  • 16 – вун улттӑ vun ulttă, вун ултӑ vun ultă, вун улт vun ult
  • 17 – вун ҫиччӗ vun şiccĕ, вун ҫичӗ vun şicĕ
  • 18 – вун саккӑр vun sakkăr, вун сакӑр vun sakăr
  • 19 – вун тӑххӑр vun tăhhăr, вун тӑхӑр vun tăhăr
  • 20 – ҫирӗм şirĕm
  • 30 – вӑтӑр vătăr
  • 40 – хӗрӗх hĕrĕh
  • 50 – аллӑ allă, алӑ ală, ал al
  • 60 – утмӑл utmăl
  • 70 – ҫитмӗл şitmĕl
  • 80 – сакӑрвуннӑ sakărvunnă, сакӑрвун sakărvun
  • 90 – тӑхӑрвуннӑ tăhărvunnă, тӑхӑрвун tăhărvun
  • 100 – ҫӗр şĕr
  • 1000 – пин pin
  • 834236 - сакӑр ҫӗр вӑтӑр тӑватӑ пин те ик ҫӗр вӑтӑр улттӑ sakăr şĕr vătăr tăvată pin te ik şĕr vătăr ulttă, แม่แบบ:IPA-cv, сакӑр ҫӗр вӑтӑр тӑватӑ пин те ик ҫӗр вӑтӑр ултӑ sakăr şĕr vătăr tăvată pin te ik şĕr vătăr ultă

หมายเหตุ

อ้างอิง

เฉพาะ
ทั่วไป
  • Čaušević, Ekrem (2002). "Tschuwaschisch. in: M. Okuka (ed.)" (PDF). Lexikon der Sprachen des Europäischen Ostens. Klagenfurt: Wieser. Enzyklopädie des europäischen Ostens 10: 811–815. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 March 2006. สืบค้นเมื่อ 31 August 2010.
  • Dobrovolsky, Michael (1999). "The phonetics of Chuvash stress: implications for phonology". Proceedings of the XIV International Congress of Phonetic Sciences, 539–542. Berkeley: University of California.
  • Johanson, Lars & Éva Agnes Csató, ed. (1998). The Turkic languages. London: Routledge.
  • Lars Johansen (1998). "The history of Turkic". Johanson & Csató. Encyclopædia Britannica Online CD 98. pp. 81–125. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-08. สืบค้นเมื่อ 5 September 2007.
  • Lars Johanson (1998). "Turkic languages".
  • Lars Johanson (2000). "Linguistic convergence in the Volga area". Gilbers, Dicky & Nerbonne, John & Jos Schaeken (ed.). Languages in contact Amsterdam & Atlanta: Rodopi. pp. 165–178 (Studies in Slavic and General linguistics 28.).
  • Johanson, Lars (2007). Chuvash. Encyclopedia of Language and Linguistics. Oxford: Elsevier.
  • Krueger, John (1961). Chuvash Manual. Indiana University Publications.
  • Paasonen, Heikki (1949). Gebräuche und Volksdichtung der Tschuwassen. edited by E. Karabka and M. Räsänen (Mémoires de la Société Finno-ougrinenne XCIV), Helsinki.
  • Петров, Н. П (2001). "Чувашская письменность новая". Краткая чувашская энциклопедия. – Чебоксары. pp. С. 475–476. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-11. สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.
  • Алос-и-Фонт, Эктор (2015). Преподавание чувашского языка и проблема языкового поведения родителей. Чувашский государственный институт гуманитарных наук.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง