ภาษายิดดิช

ภาษายิดดิช (ยิดดิช: ייִדיש, יידיש หรือ אידיש, yidish หรือ idish, ออกเสียง [ˈ(j)ɪdɪʃ], แปลว่า ชาวยิว; ייִדיש-טײַטש, Yidish-Taytsh, แปลว่า ยิว-เยอรมัน)[8] เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกตะวันตกที่เป็นภาษาในอดีตของชาวยิวอัชเคนาซิ โดยมีต้นกำเนิดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9[9] ที่ยุโรปกลาง ในชุมชนอัชเคนาซิช่วงเริ่มแรก ภาษานี้เป็นภาษาพื้นเมืองที่มีฐานจากภาษาเยอรมันสูงผสมกับองค์ประกอบหลายอย่างจากภาษาฮีบรู (โดยเฉพาะ Mishnaic) และบางส่วนจากภาษาแอราเมอิก สำเนียงส่วนใหญ่ได้อิทธิพลจากภาษากลุ่มสลาวิก และคำศัพท์สืบต้นตอไปถึงอิทธิพลจากภาษากลุ่มโรมานซ์[10][11][12] ภาษายิดดิชใช้อักษรฮีบรู ใน ค.ศ. 2012 ทาง Center for Applied Linguistics ประมาณการว่ามีผู้พูดภาษานี้ทั่วโลกสูงสุด 11 ล้านคน (ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง) โดยมีจำนวนผู้พูดในสหรัฐและแคนาดาในเวลานั้นรวม 150,000 คน[13] ส่วนมหาวิทยาลัยรัตเกอส์ประมาณการว่ามีผู้พูดชาวอเมริกัน 250,000 คน อิสราเอล 250,000 คน และส่วนอื่นของโลก 100,000 คน (จากทั้งหมด 600,000 คน)[14]

ภาษายิดดิช
ייִדיש, יידיש หรือ אידיש, yidish/idish
ออกเสียง[ˈ(j)ɪdɪʃ]
ประเทศที่มีการพูดยุโรปกลาง, ตะวันออก และตะวันตก
ภูมิภาคยุโรป, อิสราเอล, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ภูมิภาคอื่นที่มีประชากรยิว[1]
ชาติพันธุ์ชาวยิวอัชเคนาซิ
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (1.5 ล้านคน อ้างถึง1986–1991 + ครึ่งหนึ่งไม่ทราบวันที่)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
เยอรมันสูงเก่า
  • เยอรมันสูงกลาง[2][3]
  • ภาษายิดดิช
ระบบการเขียนอักษรฮีบรู (อักขรวิธีภาษายิดดิช)
บางครั้งใช้อักษรละติน[4]
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการรัสเซีย
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
ผู้วางระเบียบไม่มี
YIVO โดยพฤตินัย
รหัสภาษา
ISO 639-1yi
ISO 639-2yid
ISO 639-3yid – รหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
ydd – ยิดดิชตะวันออก
yih – ยิดดิชตะวันตก
Linguasphere52-ACB-g = 52-ACB-ga (ตะวันตก) + 52-ACB-gb (ตะวันออก); รวม 11 สำเนียง
หน้าแรกของหนังสือบทสวดปูริมสำหรับวันหยุดชาวยิวใน ค.ศ. 1828 Esther, oder die belohnte Tugend จากเฟือร์ท (ใกล้เนือร์นแบร์ค), รัฐบาวาเรีย

ก่อนเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ มีผู้พูดภาษายิดดิช 11–13 ล้านคนจากชาวยิว 17 ล้านคนทั่วโลก[15] จากชาวยิวที่ถูกฆ่าในฮอโลคอสต์ 6,000,000 คน 85% เป็นผู้พูดภาษายิดดิช[16] ทำให้ผู้ใช้ภาษานี้ลดลงอย่างมาก การกลืนกลายทางวัฒนธรรมหลังสงครามโลกครั้งที่สองและ aliyah การอพยพไปยังอิสราเอล ทำให้จำนวนผู้รอดชีวิตและผู้พูดภาษายิดดิชจากประเทศอื่น ๆ (เช่นในทวีปอเมริกา) ลดลงอีก อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้พูดภาษายิดดิชในชุมชน Hasidic ยังคงเพิ่มขึ้น

ประวัติ

วัฒนธรรมอาสเกนาซีมีรากฐานในช่วง พ.ศ. 1500 ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ชื่อนี้มาจาก Ashkenaz ชื่อของชาวยิวในยุคกลางในเขตที่ปัจจุบันอยุ่ในประเทศเยอรมัน ชนกลุ่มนี้เข้ากับชาวคริสต์ในเยอรมันไม่ได้สนิท ดินแดนนี้รวมถึงตอนเหนือของฝรั่งเศสไปจนถึงขอบเขตชาวยิวเชื้อสายสเปนที่กินพื้นที่เข้ามาถึงฝรั่งเศสตอนใต้ ต่อมาเขตนี้ได้ขยายออกไปทางตะวันออกด้วย

ภาษาแรกของชาวยิวในยุโรปคือภาษาอราเมอิก (Kast, 2004) ซึ่งเป็นภาษาของชาวยิวในปาเลสไตน์และเมโสโปเตเมีย ในสมัยโรมัน ชาวยิวในโรมและอิตาลีใต้ใช้ภาษากรีก ซึ่งต่อมาได้มีอิทธิพลต่อภาษายิดดิชด้วย ผู้พูดในอาสเกนาซีได้รับอิทธิพลจากภาษาเยอรมันจนถือว่าเป็นสำเนียงของภาษาเยอรมัน

พุทธศตวรรษที่ 25

ในช่วง พ.ศ. 2443 ภาษายิดดิชปรากฏชัดในฐานะของภาษาหลักในยุโรปตะวันออก มีการใช้ในวรรณคดีและภาพยนตร์มาก เป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของรัฐไบโลรัสเซียในโซเวียต การศึกษาของชาวยิวในหลายประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ใช้ภาษายิดดิชมากขึ้น (โดยเฉพาะในโปแลนด์) มีการตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์ยิดดิช เมื่อ พ.ศ. 2468 และเป็นภาษากลางของชาวยิวในยุโรปตะวันออก ซึ่งปฏิเสธลัทธิไซออนิสต์ และต้องการรักษาวัฒนธรรมยิวไว้ในยุโรป ส่วนภาษาฮีบรูสมัยใหม่เป็นภาษาหลักของชาวยิวในขบวนการไซออนิสต์

ในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีผู้พูดภาษายิดดิชราว 11 – 13 ล้านคน (Jacobs, 2005) การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวลดจำนวนผู้พูดภาษายิดดิชลงไปมาก งานทางวิชาการและศาสนาที่ใช้ภาษายิดดิชถูกทำลาย ผู้พูดภาษายิดดิชรอดชีวิตเพียงราวล้านคน (ส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกา) และจากความเข้มงวดในการใช้ภาษาเดียวของขบวนการไซออนิสต์ทำให้ผู้พูดภาษายิดดิชลดจำนวนลง เหมือนที่ภาษายิดดิชตะวันตกเคยเป็นมาก่อน

หลักฐานการเขียน

หน้าจากShemot Devarim, พจนานุกรมภาษายิดดิช-ฮีบรู-ละติน-เยอรมัน ตีพิมพ์โดย Elia Levita เมื่อ พ.ศ. 2085

หลักฐานเก่าสุดเป็นหนังสือภาษาฮีบรูในพ.ศ. 1815 ซึ่งมีคำจากภาษาเยอรมันปนอยู่น้อย คำจากภาษาเยอรมันเริ่มเข้ามามากในช่วงพ.ศ. 1900 – 2000

การใช้ในทางโลก

ภาษายิดดิชตะวันตกมีการใช้น้อยลงในช่วง พ.ศ. 2300 ซึ่งเนื่องมาจากการที่ผู้พูดภาษาเยอรมันมองว่าภาษายิดดิชเป็นภาษาที่ถูกบิดเบือน และจากการฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งของภาษาฮีบรู ทำให้ภาษายิดดิชตะวันตกเหลือใช้แต่ในผู้ที่สนิทกันเท่านั้น ในทางตะวันออกที่ส่วนใหญ่ชาวยิวยังเป็นทาส ยิดดิชเป็นคำที่นักวิชาการใช้แสดงถึงความเป็นยิว ในช่วง พ.ศ. 2433 – 2453 จัดเป็นยุคทองของวรรณกรรมยิดดิช ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาของภาษาฮีบรูใหม่ เพื่อใช้เป็นภาษาพูดและคำบางคำมีอิทธิพลต่อภาษายิดดิช

ในปัจจุบัน ภาษายิดดิชเป็นภาษาของชนส่วนน้อยในมอลโดวา และสวีเดน แต่จำนวนผู้พูดยังมีรายงานที่แตกต่างกัน ข้อมูลล่าสุดเท่าที่หาได้คือ

  • อิสราเอล 215,000 คน (6% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2529)
  • สหรัฐ 178,945 คน (2.8% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2543) ในจำนวนนี้ อายุมากกว่า 65 ปีมี 72,885 คน และอายุต่ำกว่า 18 ปีมี 39,245 คน
  • อดีตรัฐในสหภาพโซเวียต 29,998 คน (13% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2545)
  • มอลโดวา 17,000 คน (26% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2532)
  • ยูเครน 3,213 คน (3.1%ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2544)
  • เบลารุส 1,979 คน (7.1% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2542)
  • ลัตเวีย 825 คน (7.9% ของชาวยิวทั้งหมด)
  • ลิทัวเนีย570 คน (14.2% ของชาวยิวทั้งหมด)
  • เอสโตเนีย 124 คน (5.8% ของชาวยิวทั้งหมด)
  • แคนาดา 19,295 คน (5.5% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2544)
  • โรมาเนีย 951 คน (16.4% ของชาวยิวทั้งหมด)

ภาษายิดดิชมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในพุทธศตวรรษนี้ ผู้พูดในอิสราเอลจะยืมคำจากภาษาฮีบรู ส่วนผู้พูดในสหรัฐและอังกฤษจะยืมคำจากภาษาอังกฤษทำให้การสื่อสารระหว่างผู้พูดภาษายิดดิชที่อยู่คนละประเทศทำได้ยากขึ้น

ชุมชนทางศาสนา

ชุมขนชาวฮาเรคิมใช้ภาษายิดดิชในพิธีกรรมทางศาสนา แม้ว่าจะพูดภาษาฮีบรูได้ และสนับสนุนให้บุตรหลานเรียนภาษายิดดิช มีการแปลคัมภีร์เป็นภาษายิดดิชด้วย

ตัวอย่าง

นี่คือตัวอย่างภาษายิดดิชเทียบกับภาษาเยอรมันมาตรฐาน

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1
ภาษาข้อความ
ไทย[17]มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ
ยิดดิช[18]יעדער מענטש װערט געבױרן פֿרײַ און גלײַך אין כּבֿוד און רעכט. יעדער װערט באַשאָנקן מיט פֿאַרשטאַנד און געװיסן; יעדער זאָל זיך פֿירן מיט אַ צװײטן אין אַ געמיט פֿון ברודערשאַפֿט.
ยิดดิช (ทับศัพท์)[18]Yeder mentsh vert geboyrn fray un glaykh in koved un rekht. Yeder vert bashonkn mit farshtand un gevisn; yeder zol zikh firn mit a tsveytn in a gemit fun brudershaft.
เยอรมัน[19]Alle Menschen sind frei und gleich an Würde und Rechten geboren. Sie sind mit Vernunft und Gewissen begabt und sollen einander im Geist der Brüderlichkeit begegnen.
เยอรมัน (ทับศัพท์จากศัพท์ยิดดิช)Jeder Mensch wird geboren frei und gleich in Würde und Recht. Jeder wird beschenkt mit Verstand und Gewissen; jeder soll sich führen mit einem Zweiten in einem Gemüt von Brüderschaft.

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Baumgarten, Jean (2005). Frakes, Jerold C. (บ.ก.). Introduction to Old Yiddish Literature. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-927633-1.
  • Birnbaum, Solomon (2016) [1979]. Yiddish – A Survey and a Grammar (2nd ed.). Toronto.
  • Dunphy, Graeme (2007). "The New Jewish Vernacular". ใน Reinhart, Max (บ.ก.). Camden House History of German Literature, Volume 4: Early Modern German Literature 1350–1700. pp. 74–79. ISBN 978-1-57113-247-5.
  • Fishman, David E. (2005). The Rise of Modern Yiddish Culture. Pittsburgh: University of Pittsburgh Press. ISBN 0-8229-4272-0.
  • Fishman, Joshua A., บ.ก. (1981). Never Say Die: A Thousand Years of Yiddish in Jewish Life and Letters (ภาษายิดดิช และ อังกฤษ). The Hague: Mouton Publishers. ISBN 90-279-7978-2.
  • Frakes, Jerold C (2004). Early Yiddish Texts 1100–1750. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-926614-X.
  • Herzog, Marvin; และคณะ, บ.ก. (1992–2000). The Language and Culture Atlas of Ashkenazic Jewry. Tübingen: Max-Niemeyer-Verlag in collaboration with YIVO. ISBN 3-484-73013-7.
  • Katz, Hirshe-Dovid (1992). Code of Yiddish spelling ratified in 1992 by the programmes in Yiddish language and literature at Bar Ilan University, Oxford University, Tel Aviv University, Vilnius University. Oxford: Oksforder Yiddish Press in cooperation with the Oxford Centre for Postgraduate Hebrew Studies. ISBN 1-897744-01-3.
  • Katz, Dovid (1987). Grammar of the Yiddish Language. London: Duckworth. ISBN 0-7156-2162-9.
  • Katz, Dovid (2007). Words on Fire: The Unfinished Story of Yiddish (2nd ed.). New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-03730-8.
  • Kriwaczek, Paul (2005). Yiddish Civilization: The Rise and Fall of a Forgotten Nation. London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 0-297-82941-6.
  • Lansky, Aaron (2004). Outwitting History: How a Young Man Rescued a Million Books and Saved a Vanishing Civilisation. Chapel Hill: Algonquin Books. ISBN 1-56512-429-4.
  • Liptzin, Sol (1972). A History of Yiddish Literature. Middle Village, New York: Jonathan David Publishers. ISBN 0-8246-0124-6.
  • Margolis, Rebecca (2011). Basic Yiddish: A Grammar and Workbook. Routledge. ISBN 978-0-415-55522-7.
  • Rosten, Leo (2000). Joys of Yiddish. Pocket. ISBN 0-7434-0651-6.
  • Shandler, Jeffrey (2006). Adventures in Yiddishland: Postvernacular Language and Culture. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-24416-8.
  • Shmeruk, Chone (1988). Prokim fun der Yidisher Literatur-Geshikhte [Chapters of Yiddish Literary History] (ภาษายิดดิช). Tel Aviv: Peretz.
  • Shternshis, Anna (2006). Soviet and Kosher: Jewish Popular Culture in the Soviet Union, 1923–1939. Bloomington, IN: Indiana University Press.
  • Stutchkoff, Nahum (1950). Oytser fun der Yidisher Shprakh [Thesaurus of the Yiddish language] (ภาษายิดดิช). New York.
  • Weinreich, Uriel (1999). College Yiddish: An Introduction to the Yiddish language and to Jewish Life and Culture (ภาษายิดดิช และ อังกฤษ) (6th rev. ed.). New York: YIVO Institute for Jewish Research. ISBN 0-914512-26-9.
  • Weinstein, Miriam (2001). Yiddish: A Nation of Words. New York: Ballantine Books. ISBN 0-345-44730-1.
  • Wex, Michael (2005). Born to Kvetch: Yiddish Language and Culture in All Its Moods. New York: St. Martin's Press. ISBN 0-312-30741-1.
  • Witriol, Joseph (1974). Mumme Loohshen: An Anatomy of Yiddish. London.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง