ภีมราว รามชี อามเพฑกร

อดีตรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและกระทรวงยุติธรรมของอินเดีย

ดร.ภีมราว รามชี อามเพฑกร (มราฐี: भीमराव रामजी आंबेडकर) หรือบางครั้งนิยมทับศัพท์เป็น เอมเบดการ์ หรือ อัมเบดการ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและกระทรวงยุติธรรมของอินเดีย และเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย ท่านถูกยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย" อีกด้วย อามเพฑกร เป็นผู้อุปถัมภพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย และได้เดินร่วม ขบวนกับ มหาตมา คานธี และชวาหระลาล เนห์รู เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ต่อมาเนห์รูได้เป็นนายกรัฐมนตรีและได้แต่งตั้งให้อามเพฑกร เป็นรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและกระทรวงยุติธรรม[3][4][5][6][7][8]

ดร.ภีมราว รามชี อามเพฑกร
เกิด14 เมษายน ค.ศ. 1891(1891-04-14)
เกิดใน Mhow (ปัจจุบันเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ ดร.อามเพฑกร นคร/Dr. Ambedkar Nagar ใน รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย)
เสียชีวิต6 ธันวาคม ค.ศ. 1956(1956-12-06) (65 ปี)
นิวเดลี ประเทศอินเดีย
สัญชาติอินเดีย
มีชื่อเสียงจากขบวนการสิทธิทลิต ( Dalit rights movement ) หัวหน้า

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย ( Constitution of India

ขบวนการชาวพุทธทลิต ( Dalit Buddhist movement )
คู่สมรสรามาพาอี อามเพฑกร (พ.ศ. 2449)[1]
สาวิตา อามเพฑกร (พ.ศ. 2491)[2]
บิดามารดารามชี มาโลชี สักปาล
ภีมาพาอี สักปาล
ลายมือชื่อ

การเปลี่ยนศาสนา

เนื่องจากเดิมอามเพฑกรเป็นชาวจัณฑาล ภายหลังได้เลิกนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เนื่องจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีการใช้ระบอบวรรณะ ถูกคนวรรณะอื่นรังเกียจเดียดฉันท์ ซึ่งเขาเคยเผชิญมากับตนเองตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อทำลายความอยุติธรรมนั้น อามเพฑกรจึงได้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปุระ พร้อมกับบุคคลวรรณะศูทรกว่า 500,000 คน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 โดยในการนั้นมีพระภิกษุอยู่ในพิธี ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย 3 รูป คือ ท่านพระสังฆรัตนเถระ (Ven. M. Sangharatana Thera) พระสัทธราติสสเถระ (Ven. S. Saddratissa Thera) และพระปัญญานันทเถระ (Ven. Pannanand Thera) ในพิธีมีการประดับธงธรรมจักรและสายรุ้งอย่างงดงาม ในพิธีนั้น ผู้ปฏิญาณตนได้กล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ [9][10][11][12]

อย่างไรก็ตามในการเปลี่ยนศาสนาครั้งใหญ่ในครั้งนี้ มีทั้งผู้สนับสนุน และคัดค้านเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีผู้นำคำสุนทรพจน์ของอามเพฑกรไปตีพิมพ์เป็นหนังสือ เป็นคำปราศรัยยาว 127 หน้า ขนาด 8 ยก[13][14][15][16]

ถึงแก่อสัญกรรม

หลังจากการประกาศเป็นพุทธมามกะได้เพียง 3 เดือน ก็ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2499[17] ท่ามกลางความเสียใจของเหล่าบรรดาชนชั้นวรรณะต่ำในอินเดีย ชวาหระลาล เนห์รู ได้กล่าวอย่างเศร้าสลดว่า "เพชรของรัฐบาลหมดไปเสียแล้ว" มุขมนตรีของบอมเบย์ในขณะนั้น คือนายชะวาน ได้ประกาศให้วันเกิดของอามเพฑกรถือเป็นวันหยุดราชการของรัฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ดวงวิญญาณของอามเพฑกร ภรรยาของเขาต้องการจะนำศพของท่านอามเพฑกร ไปทำพิธียังบอมเบย์ รัฐบาลก็ได้จัดเที่ยวบินพิเศษให้ เมื่อเครื่องบินนำศพมาถึงบอมเบย์ ประชาชนหลายหมื่นคนได้มารอรับศพของอามเพฑกรอย่างเนืองแน่น

หลังจากการอสัญกรรมของอามเพฑกร ชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศอินเดีย ได้กล่าวสรรเสริญนายอามเพฑกร ความว่า

ชื่ออามเพฑกร จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน โดยเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อลบล้างความอยุติธรรมในสังคมฮินดู อามเพฑกรต่อสู้กับสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่จำต้องต่อสู้ อามเพฑกร ได้เป็นคนปลุกให้สังคมฮินดูตื่นจากหลับ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง