ภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง

ภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง (อังกฤษ: cryovolcano) หรือ ภูเขาไฟน้ำแข็ง (ice volcano) เป็นภูเขาไฟประเภทหนึ่งที่ปะทุสารระเหยง่าย เช่น น้ำ แอมโมเนียหรือมีเทนออกสู่สภาพแวดล้อมเย็นจัดที่อุณหภูมิเท่ากับ/ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง สารเหล่านี้เรียกรวม ๆ ว่าหินหนืดเย็นยวดยิ่ง (cryomagma) หรือหินหลอมเหลวเย็นยวดยิ่ง (cryolava) มักเป็นของเหลวที่สามารถก่อควันแต่บางครั้งอยู่ในรูปไอ หินหนืดเย็นยวดยิ่งนี้จะควบแน่นเป็นของแข็งเมื่อสัมผัสกับสภาพแวดล้อมอุณหภูมิต่ำมากหลังการปะทุ เป็นไปได้ที่ภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งจะเกิดบนดาวบริวารน้ำแข็งหรือวัตถุอื่นที่อุดมไปด้วยน้ำที่อยู่พ้นแนวหิมะของระบบสุริยะ เช่น พลูโต[2] ไททัน เซเรสและบางส่วนของยูโรปา[3][4] นอกจากนี้อาจพบไกเซอร์น้ำแข็งซึ่งเป็นปรากฏการณ์คล้ายกันบนเอนเซลาดัสและไทรทัน

ดูมมอนส์ หนึ่งในภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งที่น่าเชื่อถือบนไททัน ดาวบริวารของดาวเสาร์[1]

แหล่งพลังงานที่เป็นไปได้ที่วัตถุในระบบสุริยะใช้ละลายน้ำแข็งและเกิดเป็นภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งคือแรงเสียดทานน้ำขึ้นลง (tidal friction)[5] โดยตะกอนเยือกแข็งที่โปร่งแสงจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกใต้พื้นผิว ซึ่งจะสะสมความร้อนไว้จนตะกอนละลาย

อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นของควาอัวร์[6] วัตถุแถบไคเปอร์ดวงหนึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจเคยมีภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งบนดาวดวงนี้ เนื่องจากพบการสลายให้กัมมันตรังสีซึ่งให้พลังงานในการละลายน้ำผสมแอมโมเนียที่มีจุดหลอมเหลวที่ -95 องศาเซลเซียส เกิดเป็นของเหลวเย็นจัดปะทุขึ้นจากภูเขาไฟ

การสังเกต

แผนภาพระบบภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งที่เป็นไปได้บนเอนเซลาดัส

วันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ยานอวกาศ กัสซีนี ถ่ายภาพไกเซอร์ที่ขั้วโลกใต้ของเอนเซลาดัส[7]

มีการพบหลักฐานทางอ้อมถึงภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งต่อมาบนดาวบริวารน้ำแข็งหลายดวงในระบบสุริยะ เช่น ยูโรปา ไททัน แกนีมีดและมิแรนดา ยานอวกาศ กัสซีนี สังเกตปรากฏการณ์ที่คาดว่าเป็นภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งบนไททัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเทือกเขาดูมมอนส์และโซตราพาเทราที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งเป็น "หลักฐานที่ดีที่สุดของภูมิลักษณ์ภูเขาไฟบนดาวบริวารน้ำแข็ง"[8] ภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้คาดการณ์ถึงแหล่งสะสมมีเทนในชั้นบรรยากาศ[9]

ในปี ค.ศ. 2007 หอดูดาวเจมิไนพบร่องรอยแอมโมเนียไฮเดรตและผลึกน้ำบนพื้นผิวแครอน ดาวบริวารของพลูโต แสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งหรือไกเซอร์เย็นยวดยิ่ง[10][11] ต่อมาในปี ค.ศ. 2015 ยานอวกาศ นิวฮอไรซันส์ พบว่าพื้นผิวแครอนยังมีอายุไม่มาก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง[12] ขณะที่มีการพบภูเขายอดแหว่งบนพลูโต ซึ่งเป็นองค์ประกอบของภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง[13]

ในปี ค.ศ. 2015 ยานอวกาศ ดอว์น จับภาพจุดสว่างสองแห่งในแอ่งบนเซเรส นำไปสู่การคาดการณ์ถึงภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง[14] ต่อมาเดือนกันยายน ค.ศ. 2016 นักวิทยาศาสตร์นาซารายงานผลการศึกษาภูเขาอะฮูนามอนส์บนเซเรสว่าเป็น "โดมภูเขาไฟที่ไม่เหมือนที่ใดในระบบสุริยะ ภูเขาขนาดใหญ่นี้มีแนวโน้มเกี่ยวข้องกับภูเขาไฟ โดยเฉพาะภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง ซึ่งปะทุของเหลวจากสารระเหยง่ายอย่างน้ำ แทนที่จะเป็นซิลิเกต ... เป็นตัวอย่างเดียวของภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งที่อาจเกิดจากของผสมโคลนเค็ม และก่อตัวเมื่อไม่นานมานี้"[15] นอกจากนี้แอ่งออเคเตอร์บนเซเรสที่มีจุดสว่างอาจมีภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง[16][17] การศึกษาในปี ค.ศ. 2017 ระบุว่าการปะทุครั้งใหญ่ล่าสุดของแอ่งออเคเตอร์เกิดขึ้นเมื่อ 4 ล้านปีก่อน และน่าจะยังคงมีพลัง[18]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง