มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ

มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ (ญี่ปุ่น: 萌え擬人化โรมาจิmoe gijinka) เป็นภาพมานุษยรูปนิยมในอนิเมะและมังงะที่ใช้กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ (เช่น สัตว์, พืช, สิ่งที่เหนือธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตในเทพปกรณัม), วัตถุ, แนวคิด หรือปรากฏการณ์[2] ตัวละครเหล่านี้ มักมีคอสเพลย์ที่แสดงถึงวัตถุหรือผลิตภัณฑ์ที่โด่งดัง

วิกิพีตัง เป็นการรวมคำว่าวิกิพีเดียในภาษาญี่ปุ่นกับคำว่า ตัง[1] เป็นมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะของวิกิพีเดีย

โดยทั่วไป มานุษยรูปนิยมนี้จะพบในวัฒนธรรมย่อยของ โอตากุ ซึ่งตัวละคร โมเอะ หลายคนเริ่มมาจาก โดจิน ยกเว้น เคโมโนมิมิ (ตัวละครเหมือนมนุษย์ที่มีคุณสมบัติของสัตว์) รูปแบบแรกของมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะคือกันดั้มเอ็มเอสเกิร์ลที่สร้างโดย มิกะ อากิตากะ ใน ค.ศ. 1982[3]

ด้านสังคมวิทยา

นักวิชาการสื่อสารมวลชน ยูจิ โซเนะ โต้แย้งว่า เนื่องจากมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ มักวาดเป็นหญิงสาวที่สวยงาม จึงเป็นตัวอย่างผลพลอยได้ของวัฒนธรรมย่อยแฮบิตัสของโอตากุให้กลายเป็นจินตนาการทางเพศ[4] นักจิตวิทยา ทามากิ ไซโต พิจารณาว่ามานุษยรูปนิยมแบบ โมเอะ เป็นตัวอย่างของศิลปะ มิตาเตะเอะ เนื่องจากการใช้ทั้งศิลปะชั้นสูงและต่ำพร้อมกัน ทำให้เกิดความหมายเพิ่มเติมที่สร้างความขบขันได้ในบางครั้ง[5]

ประเภท

สาวหูแมว หนึ่งในประเภทของ เคโมโนมิมิ ที่มีหูของแมว

สัตว์

เคโมโนมิมิ แปลตรงตัวคือ "หูสัตว์" เป็นแนวคิดของการวาดมนุษย์และตัวละครคล้ายมนุษย์มีหูของสัตว์ และอาจมีลักษณะอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น หาง แฟรนไชส์ที่มีมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะและ เคโมโนมิมิ ที่โด่งดังได้แก่ เคะโมะโนะเฟรนด์ส ที่เป็นสัตว์ในรูปมานุษยรูปนิยมของเด็กหญิงและหญิงสาว และ อูมะ มูซูเมะ ปริตตี เดอร์บี ที่เป็นม้าแข่งขันในรูปของเด็กหญิง

สิ่งมีชีวิตในเทพปกรณัมและจินตนิมิต

ตัวอย่างแรกของประเภทนี้อยู่ในซีรีส์วิดีโอเกม โทโฮโปรเจกต์ ที่เริ่มใน ค.ศ. 1997 ซึ่งมี โยไก และสิ่งมีชีวิตในเทปกรณัมที่เป็นเด็กหญิงและสาว ๆ น่ารักและสวยงามที่มีพลังเหนือธรรมชาติ[6] แล้วเป็นที่โด่งดังจากมังงะ ชีวิตป่วนรักของสาวมอนสเตอร์ และ วันวุ่นๆ ของคุณเซนทอร์ และกลายเป็นประเภทหนึ่งของตนเอง[7]

บาวเซต มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ และแปลงเพศของบาวเซอร์จากแฟรนไชส์ มาริโอ ที่ทำให้มันดูเหมือนเจ้าหญิงพีชผ่านพลัง "ซูเปอร์คราวน์" กลายเป็นหนึ่งในอินเทอร์เน็ตมีมที่โด่งดังที่สุดใน ค.ศ. 2018[8] ซึ่งทำให้มีการแปลงศัตรูตัวอื่นของ มาริโอ ให้มีความเป็นโมเอะ ตัวที่โดดเด่นที่สุดคือบูเซต (จากคิงบู)[9]

คอมพิวเตอร์

ถึงแม้ว่า ดิจิทัล เลดี้ (ค.ศ. 2001) และ ทอยส์ ไอแมคเกิร์ล (ค.ศ. 1998) มาก่อน มีมของการเปลี่ยนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ให้เป็น โมเอะ ไม่ได้เริ่มขึ้น จนกระทั่งชีตาเกะ-จัง (ญี่ปุ่น: しいたけちゃんโรมาจิShiitake-chan) ปุ่ม หยุด ในมานุษยรูปนิยมของอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ มาใน ค.ศ. 2001 บนทูแชนแนล โดยมีแนวคิดจากผู้โพสต์ว่า เขาเห็นปุ่ม หยุด เหมือนเห็ดหอม[10] เมื่อไมโครซอฟท์เผยแพร่วินโดวส์ 7 ในประเทศญี่ปุ่น ทางบริษัทได้ทำบุคลาธิษฐานโอเอสที่มีชื่อว่า "นานามิ มาโดเบะ" ด้วยตัวอย่างเสียงจากนานะ มิซูกิ และสร้างบุคลาธิษฐานเด็กหญิงสองคนชื่อว่า "ยู มาโดเบะ" และ "ไอ มาโดเบะ" เพื่อโปรโมตวินโดวส์ 8 ในประเทศญี่ปุ่น[11][12][13]

หลังจากการสร้างโอเอสตัง ซอฟต์แวร์และเว็บไซต์อื่นจึงเริ่มมีตัวละครแบบมานุษยรูปนิยมเช่นกัน ตัวอย่างเช่น วิกิพีเดียมี "วิกิพีตัง" ในขณะที่โมซิลลามี "โมเอะซิลลา" พลเมืองเครือข่ายจีนได้สร้าง "กรีนแดมเกิร์ล" เพื่อล้อเลียนGreen Dam Youth Escort ซอฟต์แวร์ควบคุมเนื้อหาของจีน[14] ใน ค.ศ. 2010 นักวาดภาพประกอบชาวไต้หวันที่รู้จักกันในบนพิซิฟในชื่อ "shinia" วาดบุคลาธิษฐานของไมโครซอฟท์ ซิลเวอร์ไลต์ที่มีชื่อว่า ฮิการุ ไอซาวะ ซึ่งทางไมโครซอฟท์ไต้หวันสนับสนุนตัวละครนี้[15][16]ใน ค.ศ. 2013 ไมโครซอฟท์สิงคโปร์ได้แนะนำอิโนริ ไอซาวะ ให้เป็นมาสคอตของอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์.

ซีรีส์มังงะและอนิเมะ World War Blue มีตัวละครที่เป็นบุคลาธิษฐานของเกมคอมพิวเตอร์ วิดีโอเกมที่มีตัวละครตามประเภทนี้ ได้แก่ โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก, มาริโอ และ เตตริส เซกาฮาร์ดเกิร์ลส มีบุคลาธิษฐานของฮาร์ดแวร์วิดีโอเกมของเซกา[17]

กฎหมายและการเมือง

ไอซิส-จัง เป็นมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ ของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์[18]

องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นถูกบุคลาธิษฐานเป็นสาวโมเอะ เช่น มาตรา 9 ที่ห้ามญี่ปุ่นก่อสงคราม "ถูกวาดเป็นเด็กหญิงผู้รักสันติภาพ"[19]

ใน ค.ศ. 2010 กลุ่มผู้ใช้บนทูแชนแนลได้สร้างฮิโนโมโตะ โอนิโกะเป็นบุคลาธิษฐานของคำเหยียดชาวญี่ปุ่นของชาวจีนว่า รีเปินกุยซือ (日本鬼子; Riben guizi) แปลตรงตัวคือ "ปีศาจญี่ปุ่น" และกลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีมในประเทศญี่ปุ่น ในภาษาญี่ปุ่น การอ่านแบบคุงโยมิของอักษรคันจิเป็นชื่อเพศหญิง ดังนั้น ตัวละครจึงถูกวาดเป็นหญิงสาวที่ใส่กิโมโนคู่กับเขาปีศาจกับคาตานะ[20]

ใน ค.ศ. 2015 ผู้ใช้ในอินเทอร์เน็ตได้สร้าง "ไอซิส-จัง" บุคลาธิษฐานแบบโมเอะ ของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ ซึ่งทางอะนอนิมัสได้นำไปใช้ เพื่อทำให้โฆษณาชวนเชื่อออนไลน์ของรัฐอิสลามเบาบางลง[18][21]

อื่น ๆ

รถรางฮ่องกงที่มีตัวละครบุคลาธิษฐานแบบโมเอะ ของตราซอสถั่วเหลืองท้องถิ่น

มีบางสิ่งที่ใส่ความเป็น โมเอะ ได้ เช่น:

ประเทศ
เหมือนกับบุคลาธิษฐานของชาติ มีหลายประเทศที่มีการแสดงแบบโมเอะ เช่น ญี่ปุ่นคือนิฮง-จัง,[22] อัฟกานิสถานคืออัฟกานิสตัง[23]—ทั้งคู่มีเว็บคอมมิกในญี่ปุ่นเป็นของตนเอง นอกเหนือไปจากนี้คือประเทศจากพลังอักษะ เฮตาเลีย โดยฮิเดกัซ ฮิมารูยะ[24][25]
โรค
ในช่วงการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก ค.ศ. 2014 ผู้ใช้จากเว็บไซต์โฟร์แชน วาดภาพแบบโมเอะของอีโบลาขึ้น[26] ในระหว่างการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 ก็มีการสร้างโคโรนา-จังจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ขึ้น[27]
ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
หนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมีบุคลาธิษฐานของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์[28][29]

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง