มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล

การประกวดนางงามระดับนานาชาติ

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล (อังกฤษ: Miss Grand International) หรือ มิสแกรนด์ (อังกฤษ: Miss Grand) เป็นการประกวดนางงามนานาชาติที่จัดขึ้นเพื่อรณรงค์การยุติสงครามและความรุนแรง ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งจัดประกวดครั้งแรกในปี ค.ศ. 2013 และมีณวัฒน์ อิสรไกรศีล เป็นประธานกองประกวด กับเทเรซ่า ชัยวิสุทธิ์ เป็นรองประธานกองประกวด มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลมีเวทีระดับประเทศที่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรโดยตรงคือมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ขณะที่มิสแกรนด์ระดับประเทศอื่น ทางองค์กรจะให้ลิขสิทธิ์แก่กองประกวดประเทศนั้นในการดูแล

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
ตราสัญลักษณ์ประจำมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
ชื่อย่อเอ็มจีไอ
(อังกฤษ: MGI)
คําขวัญยุติสงครามและความรุนแรง
(อังกฤษ: Stop the War and Violence)
ก่อตั้ง6 พฤศจิกายน 2013; 10 ปีก่อน (2013-11-06)
ผู้ก่อตั้งณวัฒน์ อิสรไกรศีล
ประเภทการประกวดความงาม
วัตถุประสงค์การบันเทิง
สํานักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ทั่วโลก
สมาชิก
มากกว่า 90 ประเทศและดินแดน
ภาษาทางการ
อังกฤษ
ผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน
ลูเซียนา ฟุสเตร์
 เปรู
บุคลากรหลัก
ณวัฒน์ อิสรไกรศีล
(ประธานกองประกวด)
เทเรซ่า ชัยวิสุทธิ์
(รองประธานกองประกวด)
องค์กรปกครอง
บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
งบประมาณ
21.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ใน ค.ศ. 2020)[1]
เว็บไซต์missgrandinternational.com

ผู้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลคนปัจจุบันคือลูเซียนา ฟุสเตร์ จากประเทศเปรู โดยได้รับการคัดเลือกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2023 ณ สนามกีฬาในร่มฟู้เถาะ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม

ประวัติ

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลเป็นเวทีการประกวดความงามระดับนานาชาติ ซึ่งก่อตั้งโดยณวัฒน์ อิสรไกรศีล นักจัดรายการโทรทัศน์และนักธุรกิจชาวไทย[2] การประกวดได้ที่ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2013 ที่จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลไทย ณ เวลานั้น[3][4] โดยในครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมประกวดทั้งหมด 71 ประเทศและดินแดน ซึ่งผู้ที่ได้รับตำแหน่งมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลคนแรกคือเยเนลิ ชาปาร์โร จากปวยร์โตรีโก[5][6] ในปี ค.ศ. 2016 เป็นครั้งแรกที่ทางกองประกวดได้จัดการประกวดนอกประเทศไทย โดยได้มีการจัดขึ้นที่ลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐ ในวันที่ 25 ตุลาคม[7] ซึ่งนับตั้งแต่การประกวดในปี ค.ศ. 2015 ทางองค์กรจะจัดการประกวดรอบแกรนด์ไฟนอลทุกวันที่ 25 ตุลาคมของทุกปี แต่ทั้งนี้จากการระบาดทั่วของโควิด-19 ทำให้วันที่จัดแกรนด์ไฟนอลไม่เป็นไปตามเดิม โดยในปี ค.ศ. 2020 ตามกำหนดการเดิมแกรนด์ไฟนอลจะถูกจัดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม ปีดังกล่าว ณ ประเทศเวเนซุเอลา แต่จากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดทำให้ทางกองประกวดได้ตัดสินใจเลื่อนการประกวดออกไปก่อนที่จะทำการจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2021[8] เช่นเดียวกันกับปี ค.ศ. 2021 ที่ทางองค์กรได้เลื่อนการจัดไปจากวันที่ 25 ตุลาคม ตามธรรมเนียมไปเป็นวันที่ 4 ธันวาคม[9]

นับตั้งแต่มีการจัดตั้งองค์กรมีเหตุการณ์ที่มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์และทำให้องค์กรได้ตัดสินใจให้รองชนะเลิศอันดับหนึ่งขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทนเพียง 1 ครั้ง หลังจากที่แคลร์ เอลิซาเบธ พาร์กเกอร์ จากประเทศออสเตรเลีย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ประจำปี ค.ศ. 2015 ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2016 แทนอาเนอา การ์ซิอา จากสาธารณรัฐโดมินิกัน ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเดิม[10][11][2][12][13] ในเวลาต่อมาพาร์กเกอร์มีความประสงค์จะไปประกวด ณ เวทีอื่นต่อ ทำให้ทางองค์กรได้ออกแถลงการณ์ว่าเธอจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางองค์กรอีกต่อไปนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2019[14][13]

การคัดเลือกผู้เข้าประกวด

ผู้เข้าประกวดในแต่ละปีจะถูกคัดเลือกผ่านผู้ถือลิขสิทธิ์ในระดับประเทศ หรือ เนชันแนลไดเรกเตอร์ (อังกฤษ: National Director) ในการคัดเลือกของประเทศและดินแดนนั้นอาจจะมีความแตกต่างกันออกไปทั้งการจัดประกวดระดับประเทศ, การคัดเลือกภายใน หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง[15][16] ซึ่งผู้เข้าประกวดจะต้องมีองค์ประกอบให้สอดคล้องกับหลัก 4 บี (อังกฤษ: 4B) ตามวัตถุประสงค์ขององค์กรซึ่งได้แก่ รูปร่าง (อังกฤษ: Body), ความงาม (อังกฤษ: Beauty), ความฉลาด (อังกฤษ: Brain) และธุรกิจ (อังกฤษ: Business)[17]

ทั้งนี้เนื่องจากมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลเป็นเวทีที่เกิดใหม่ได้ไม่นานทำให้ผู้เข้าประกวดอาจจะผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยที่ยังไม่มีการประกวดระดับประเทศ แต่การประกวดมิสแกรนด์ระดับประเทศนั้นได้รับความสนใจเป็นอย่างมากโดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันออกไกลและลาตินอเมริกา[18] ซึ่งผู้ที่ชนะการประกวดจะได้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์ตามประเทศของตนเองและมีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล[19] ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีทั้งอาทิ มิสแกรนด์กัมพูชา, มิสแกรนด์เนปาล, มิสแกรนด์ปารากวัย เป็นต้น[20][21][22] อย่างไรก็ตามในบางเวทีการประกวดระดับประเทศก็จะนิยมส่งผู้เข้าประกวดที่ได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศมาเข้าร่วม อาทิ เฟมินา มิสอินเดีย (ค.ศ. 2015 ถึง ค.ศ. 2021), บีนีบีนิงปีลีปีนัส (ค.ศ. 2013, ค.ศ. 2015 ถึง ค.ศ. 2022), มิสเม็กซิโก (ค.ศ. 2017 ถึง ค.ศ. 2020) เป็นต้น[23][24][25] ถึงแม้ว่าการประกวดความงามจะไม่ได้รับความนิยมมากในทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา แต่ก็มีหลายประเทศที่ทำการจัดประกวดในระดับประเทศ อาทิ มิสแกรนด์แอลเบเนีย,[26] มิสแกรนด์คอซอวอ,[27] มิสแกรนด์สเปน,[28][29] มิสแกรนด์ฝรั่งเศส,[30] มิสแกรนด์อิตาลี,[31] มิสแกรนด์แอฟริกาใต้, มิสแกรนด์กานา เป็นต้น

ในประเทศสเปน, ประเทศอิตาลี และหลายประเทศในทวีปเอเชียผู้เข้าประกวดจะต้องลงแข่งในระดับพื้นที่ (เช่น จังหวัด, รัฐ, แคว้น, ภูมิภาค) ให้ชนะก่อนจึงจะมีสิทธิ์เข้าประกวดในระดับประเทศ[28][31][32][33] นอกจากนี้ในประเทศสเปน, ประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย บางพื้นที่ยังมีการจัดประกวดในระดับเขตหรืออำเภอโดยผู้ชนะจะต้องมาแข่งกันในระดับจังหวัดและจะต้องชนะเลิศจึงจะมีสิทธิ์ไปแข่งในระดับประเทศ[28][34][33]

รูปแบบการประกวด

กิจกรรมก่อนรอบแกรนด์ไฟนอล

กิจกรรมก่อนรอบแกรนด์ไฟนอลหรือการประกวดใหญ่จะประกอบไปด้วย 3 กิจกรรมหลัก ซึ่งได้แก่ การประกวดรอบชุดว่ายน้ำ, การประกวดรอบชุดประจำชาติ และการประกวดรอบพรีลิมมินารี ซึ่งการประกวดรอบชุดว่ายน้ำจะถูกจัดขึ้นแยกจากสถานที่การประกวดรอบแกรนด์ไฟนอลขณะที่การประกวดรอบชุดประจำชาติและการประกวดรอบพรีลิมมินารีจะใช้สถานที่เดียวกับการประกวดรอบแกรนด์ไฟนอลในการแข่งขัน[35][36] โดยจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊กและยูทูบของกองประกวด[36] สำหรับรอบพรีลิมมินารีนั้นผู้เข้าประกวดจะต้องสวมใส่และเดินประกวดทั้งในชุดว่ายน้ำและชุดราตรีต่อคณะกรรมการบนเวที[36] ซึ่งการเดินทั้ง 2 รอบจะเป็นการตัดสินรางวัลชุดว่ายน้ำยอดเยี่ยมและรางวัลชุดราตรียอดเยี่ยม ซึ่งจะประกาศผลผู้ชนะในวันประกวดรอบแกรนด์ไฟนอล ตลอดจนรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมและมิสป็อปปูลาร์โหวตที่ทางกองประกวดจะประกาศผลในวันประกวดรอบแกรนด์ไฟนอล ทั้งนี้ในการเข้ารอบ 20 คนสุดท้ายทางประกวดจะทำการเก็บคะแนนตั้งแต่รอบการทำกิจกรรมกับทางกองประกวด, รอบการประกวดพรีลิมมินารี และรอบการสัมภาษณ์แบบปิดกับคณะกรรมการ[37]

แกรนด์ไฟนอล

การประกวดรอบแกรนด์ไฟนอลหรือการประกวดใหญ่จะถูกถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ทั่วโลกและผ่านสื่อโซเชียลมีเดียของทางกองประกวด โดยรูปแบบการคัดเลือกผู้เข้าประกวด 20 คนสุดท้ายจะมาจากทั้งการสังเกตการณ์ของเจ้าหน้าที่ในกองประกวดระหว่างอยู่ในกอง, การสัมภาษณ์แบบปิดกับคณะกรรมการ, การประกวดรอบชุดว่ายน้ำ และการประกวดรอบพรีลิมมินารี[37] อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ในปี 2020 จะมีการประกาศรางวัลประเทศแห่งปี ซึ่งเป็นการคัดเลือกจากผู้รับชมทางออนไลน์[38][39] โดยผู้ที่ได้รับรางวัลจะสามารถเข้ารอบ 20 คนสุดท้ายไปโดยอัตโนมัติ[39] ในการแข่งขันรอบ 20 คนสุดท้ายนั้น ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 คนจะต้องมาเดินประกวดในรอบชุดว่ายน้ำเพื่อทำการคัดเลือกเข้าสู่รอบ 10 คนสุดท้ายแต่ทั้งนี้ผู้เข้าประกวดที่ชนะรางวัลมิสป็อปปูลาร์โหวตจะเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายไปโดยอัตโนมัติ[37][38] ทำให้การแข่งขันรอบชุดว่ายน้ำอาจจะคัดเลือกเหลือเพียงแค่ 9 คน ในรอบ 10 คนสุดท้ายนั้นผู้เข้าประกวดจะต้องประกวดรอบสุนทรพจน์ในหัวข้อ ยุติสงครามและความรุนแรง (อังกฤษ: Stop the War and Violence) และทำการเดินประกวดในรอบชุดราตรี[40][41] ซึ่งนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2022 ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายจะได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับห้าโดยอัตโนมัติ[42][43]

หลังจากการประกวดรอบสุนทรพจน์และรอบชุดราตรีเสร็จสิ้นคณะกรรมการจะทำการตัดสินให้เหลือเพียง 5 คนสุดท้ายเพื่อเข้าสู่ในรอบตอบคำถาม[40] ในการแข่งขันรอบนี้ทางประกวดจะใช้คำถามชุดเดียวกันทั้งหมดในการตัดสินโดยหัวข้อจะเป็นสถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบัน อาทิ การระบาดทั่วของโควิด-19,[44] การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 2016,[45][46] วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา[47] เป็นต้น คณะกรรมการจะทำการตัดสินผู้ชนะจากคำตอบและภาพรวมในการทำกิจกรรมทั้งหมดของผู้เข้าประกวด ซึ่งพิธีกรจะทำการประกาศและมอบตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับห้าให้กับผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้าย[43] ก่อนที่จะประกาศตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับสี่, รองชนะเลิศอันดับสาม และรองชนะเลิศอันดับสองตามลำดับ[48][49] ก่อนที่จะเหลือเพียงแค่ 2 คนสุดท้าย ซึ่ง 1 ใน 2 คนสุดท้ายจะได้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล[38][48][50][51][49]

สรุปกระบวนการคัดเลือกผู้เข้าประกวด
เกณฑ์การคัดเลือกมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
กิจกรรม
รอบ/รางวัล
กิจกรรมเสริมกิจกรรมออนไลน์สัมภาษณ์แบบปิดการประกวดย่อยพรีลิมมินารีแกรนด์ไฟนอล
การประกวดชุดว่ายน้ำการประกวดชุดประจำชาติรอบชุดว่ายน้ำรอบชุดราตรีรอบชุดว่ายน้ำรอบสุนทรพจน์รอบชุดราตรีรอบตอบคำถาม
รอบก่อนรอบสุดท้าย (20 อันดับแรก)1 ตำแหน่ง, 2020, 2022, 2023[i]
รอบถัดจากรอบสุดท้าย (10 อันดับแรก)1 ตำแหน่ง, 2015–ปัจจุบัน[ii]
รอบสุดท้าย (5 อันดับแรก)
ผู้ชนะเลิศ
รางวัลพิเศษ
ประเทศแห่งปี2020-ปัจจุบัน[i]
ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม2016–ปัจจุบัน2013–ปัจจุบัน
ชุดว่ายน้ำยอดเยี่ยม2016–ปัจจุบัน2013–ปัจจุบัน2013–ปัจจุบัน
ชุดราตรียอดเยี่ยม2021–ปัจจุบัน2013–ปัจจุบัน
โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยม2014–2022
มิสป็อปปูลาร์โหวต[ii]2013–ปัจจุบัน
  การแข่งขัน/รอบ ที่ใช้ในการตัดสินคัดเลือก
  รางวัลดังกล่าวยังคงมีอยู่
  รางวัลดังกล่าวมีการเปลี่ยนชื่อสาขา
  รางวัลดังกล่าวไม่มีอีกต่อไป

มงกุฎและรางวัล

ตามธรรมเนียมของทางองค์กรมงกุฎของมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลจะถูกเรียกว่า โกลเดนคราวน์ (อังกฤษ: Golden Crown) ซึ่งมงกุฎประจำตำแหน่งจะมีการผลัดเปลี่ยนทุก 3 ปี[52] ตัวมงกุฎใหญ่ทุกมงกุฎจะมีโครงสร้างที่ทำจากทองคำและทองเหลืองเป็นส่วนประกอบซึ่งจะมีการตกแต่งด้วยเพชรและมรกต[53]

โกลเดนคราวน์รุ่นแรกนั้นได้ถูกจัดทำโดยก๊อดไดมอนด์ซึ่งมีชวลิต ชมเมือง ช่างทำอัญมณีชาวไทยเป็นผู้ดูแลการผลิตทั้งหมด[54] โดยมงกุฎได้มีการสวมใส่เพียงแค่ 3 ปี[53] ก่อนที่จะถูกผลัดเปลี่ยนไปในรุ่นที่สองซึ่งออกแบบและทำโดยบริษัทไม่ทราบชื่อ[53] โกลเดนคราวน์รุ่นที่สามได้ถูกใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 ถึงปี ค.ศ. 2021 โดยมีเฆออร์เฆ บิตเตลส์ ช่างทำอัญมณีชาวเวเนซุเอลาเป็นผู้ดูแลการผลิตทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันเขาเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบและผลิตโกลเดนคราวน์รุ่นที่สี่[55] ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้บิตเตลส์ยังได้ออกแบบและผลิตมงกุฎสำหรับรองชนะเลิศทั้ง 4 ตำแหน่งซึ่งได้เริ่มมีการให้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2019[55] อีกทั้งสำหรับผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2022 ทางองค์กรได้เพิ่มตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับห้าให้กับผู้ที่ผ่านเข้ารอบดังกล่าว โดยผู้ได้รับตำแหน่งจะได้รับมงกุฎด้วยเช่นกัน[56]

ในส่วนของเงินรางวัลนั้นนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ทางองค์กรได้ให้เงินรางวัลประจำปีกับผู้ที่ได้รับตำแหน่งมิสแกรนด์มิสเตอร์เนชันแนลเป็นจำนวน 40,000 ดอลลาร์สหรัฐพร้อมกับให้ปฏิบัติภารกิจกับทางองค์กรตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง[48][57] ซึ่งเงินรางวัลได้เพิ่มขึ้นจาก 30,000 ดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2013[6][57] แต่อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 2021 สื่อประเทศเวียดนามได้มีการเผยแพร่ว่าเหงียน ทุก ถวี่ เตียน มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ประจำปี ค.ศ. 2021 ได้รับเงินรางวัลเป็นจำนวน 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ[52]

สำหรับเงินรางวัลของรองชนะเลิศสำนักข่าวเอบีเอส-ซีบีเอ็นของประเทศฟิลิปปินส์ได้ทำการรายงานว่าซาแมนธา เบอร์นาร์โด รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ประจำปี ค.ศ. 2020 ได้รับเงินรางวัลจำนวน 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ[58] ขณะที่สื่อของประเทศอินเดียก็ได้ออกมาเปิดเผยว่าวาร์ตีกา สิงห์ รองชนะเลิศอันดับสอง ประจำปี ค.ศ. 2015 ได้รับเงินรางวัลจำนวน 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ[59][60] ขณะที่รองชนะเลิศอันดับสามและรองชนะเลิศอันดับสี่จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ[60] นอกจากรองชนะเลิศแล้วผู้ที่ได้รับรางวัลในการประกวดรอบอื่นจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อรางวัลโดยลำดับเงินรางวัลดังกล่าวอิงจากการประกวดในช่วงปี ค.ศ. 2013 ถึงปี ค.ศ. 2015[57][60][61][62]

หลังจากที่มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลได้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระแล้ว ทางองค์กรจะทำมงกุฎที่ระลึกให้กับผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งออกแบบและผลิตโดยช่างทำอัญมณีคนเดียวกันกับมงกุฎที่มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลคนนั้นสวมใส่

ผู้ชนะการประกวดในช่วงไม่กี่ปี

ปีประเทศและดินแดนผู้ดำรงตำแหน่งเวทีประกวดระดับชาติสถานที่จัดประกวดผู้เข้าประกวด
2023  เปรูลูเซียนา ฟุสเตร์ (Luciana Fuster)มิสแกรนด์เปรู นครโฮจิมินห์, เวียดนาม69
2022  บราซิลอีซาแบลา เมนิง (Isabella Menin)มิสแกรนด์บราซิล ชวาตะวันตก, อินโดนีเซีย68
2021  เวียดนามเหงียน ทุก ถวี่ เตียน (Nguyễn Thúc Thùy Tiên)มิสแกรนด์เวียดนาม กรุงเทพมหานคร, ไทย59
2020  สหรัฐอาเบนา อัปเปียห์ (Abena Appiah)มิสแกรนด์สหรัฐ63
2019  เวเนซุเอลาบาเลนตินา ฟิเกรา (Valentina Figuera)เอล กองกูร์โซ บาย โอสเมล โซว์ซา การากัส, เวเนซุเอลา60

ทำเนียบมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล

องค์กรมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล

ในปัจจุบันองค์กรมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมีณวัฒน์ อิสรไกรศีล เป็นประธานกองประกวด และเทเรซ่า ชัยวิสุทธิ์ เป็นรองประธานกองประกวด

ผู้ได้รับตำแหน่งในองค์กรมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล

รายชื่อดังต่อไปนี้เป็นรายชื่อของผู้ได้รับตำแหน่งในองค์กรมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลโดยตรง ซึ่งประกอบไปด้วยมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลและมิสแกรนด์ไทยแลนด์

ปีมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลประเทศและดินแดนมิสแกรนด์ไทยแลนด์จังหวัด
2024รอประกาศมาลิน ชระอนันต์ภูเก็ต
2023ลูเซียนา ฟุสเตร์เปรูทวีพร พริ้งจำรัสชุมพร
2022อีซาแบลา เมนิงบราซิลอิงฟ้า วราหะกรุงเทพมหานคร
2021เหงียน ทุก ถวี่ เตียนเวียดนามอินดี จอห์นสันปทุมธานี
2020อาเบนา อัปเปียห์สหรัฐพัชรพร จันทรประดิษฐ์ระนอง
2019บาเลนตินา ฟิเกราเวเนซุเอลาอารยะ ศุภฤกษ์นครพนม
2018กลารา โซซาปารากวัยน้ำอ้อย ชนะพาลภูเก็ต
2017มาริอา โฆเซ โลราเปรูปาเมลา ปาสิเนตตีกระบี่
2016อาริซกา ปูตรี เปอร์ตีวีอินโดนีเซียสุภาพร มะลิซ้อนสงขลา
2015อาเนอา การ์ซิอา[a]สาธารณรัฐโดมินิกันรัตติกร ขุนโสมสงขลา[b]
แคลร์ เอลิซาเบธ พาร์กเกอร์[c]ออสเตรเลีย
2014ลิส การ์ซิอาคิวบาปรภัสสร วรสิรินดานครราชสีมา[b]
2013เยเนลิ ชาปาร์โรปวยร์โตรีโกญาดา เทพนมประจวบคีรีขันธ์[b]
หมายเหตุ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง