รณชีต สิงห์

มหาราชา รณชีต สิงห์ เป็นผู้นำของจักรวรรดิซิกข์ ซึ่งปกครองอนุทวีปอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ ราวศตวรรศที่ 19 ท่านเกือบเสียชีวิตด้วยโรคฝีดาษตั้งแต่ยังเป็นทารก แต่ท่านสามารถรอดมาได้แต่ด้วยพิษฝีดาษทำให้ท่านเสียตาข้างซ้ายไป ท่านเข้าสู่สนามรบตั้งแต่อายุเพียง 10 ปี รบเคียงข้างกับบิดาของท่าน มหา สิงห์ หลังมหา สิงห์ เสียชีวิตลง ท่านได้ยืนหยัดต่อสู้ต่อไปจนสามารถไล่ชาวอัฟกันออกจากบริเวณปัญจาบ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็น "มหาราชาแห่งปัญจาบ" ด้วยวัยเพียง 21 ปี[4][5]

รณชีต สิงห์
มหาราชาแห่งปัญจาบ
มหาราชาแห่งละฮอร์
Sher-e-Punjab (สิงห์แห่งปัญจาบ)
Sarkar-i-Wallah (ประมุข)[1]
Sarkar Khalsaji (ประมุข)
จ้าวแห่งแม่น้ำทั้งห้าสาย
สิงห์ สาหิบ[2]
มหาราชา รันจิต สิงห์
มหาราชาองค์แรก แห่ง จักรวรรดิซิกข์
ครองราชย์1792 – 1801 หัวหน้า Sukerchakia Misl
1801 - 1839 จักรพรรดิ จักรวรรดิซิกข์
ราชาภิเษก12 เมษายน 1801 at ป้อมละฮอร์
ถัดไปมหาราชา ขารัข สิงห์
ประสูติ1780[3]
Gujranwala, ภูมิภาคปัญจาบ, Sukerchakia Misl สมาพันธรัฐซิกข์ (ปากีสถานในปัจจุบัน)
บุดะ สิงห์
สวรรคต27 มิถุนายน ค.ศ. 1839(1839-06-27) (58 ปี)
ละฮอร์, ภูมิภาคปัญจาบ, จักรวรรดิซิกข์ (ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน)
ฝังพระศพสมาธิของรณชีต สิงห์, ละฮอร์, ปากีสถาน
คู่อภิเษกดูรายชื่อด้านล่าง
พระราชบุตรมหาราชา ขารัข สิงห์
อิศาร สิงห์
มหาราชา เศอระ สิงห์
ทรา สิงห์
กัศมีรา สิงห์
เปเศวรา สิงห์
มูลทนา สิงห์
มหาราชา ทุลีป สิงห์
พระราชบิดามหา สิงห์
พระราชมารดาRaj Kaur
ศาสนาศาสนาซิกข์

สภาพสังคมของปัญจาบในขณะนั้นประกอบด้วยแว่นแคว้น (misl; สมาพันธรัฐ) มากมาย 12 misl เป็นของซิกข์ และ 1 misl เป็นของมุสลิม[6] ท่านสามารถรวบรวมแว่นแคว้นทั้ง 13 เข้าด้วยกันและก่อตั้งจักรวรรดิซิกข์อันยิ่งใหญ่ขึ้น และยังสามารถรบชนะผู้รุกรานจากอัฟกานิสถานหลายต่อหลายครั้งในสงครามซิกข์-อัฟกันหลายครั้ง หลังการเข้ามาของบริทิชอินเดีย ท่านตกลงผูกมิตรกับชาวบริเทนและกลายมาเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน[7]

ท่านนำพาการลงทุน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และปฏิรูปกิจการหลายอย่าง รวมทั้งนำสาธารณูปโภคมาสู่ปัญจาบ[8][9] กองทัพซิกข์ขาลสาของท่านนั้นขึ้นชื่อว่าแข็งแกร่ง และท่านยังจัดตั้งรัฐบาลที่ประกอบด้วยทั้งชาวซิกข์ ฮินดู มุสลิม และยุโรป[10] นอกจากความเจริญทางด้านการปกครองและสังคมแล้ว สมัยของท่านยังถือเป็นยุคทองของศิลปะและวัฒนธรรม ท่านมีคำสั่งให้สร้างหริมันทิรสาหิบในอมฤตสระ ขึ้นใหม่หลังถูกทำลายในสมัยจักรวรรดิมุสลิมและจากชาวอัฟกัน และยังให้มีการสร้างคุรุทวารามากมาย รวมถึงคุรุทวาราสำคัญหลายแห่ง ประกอบด้วย ตัขตะทั้งห้า จำนวน 2 แห่ง คือ ตัขตะศรีปัฏนาสาหิบ ใน พิหาร และ หซูระสาหิบ ใน มหาราษฏระ ทั้งหมดล้วนได้รับการสนับสนุนด้านการเงงินอย่างดีจากท่าน ทำให้เศรษฐกิจของปัญจาบมีการหมุนเวียนและเจริญขึ้นตามลำดับ[11][12]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง