รัฐนิวเม็กซิโก

นิวเม็กซิโก (อังกฤษ: New Mexico, ออกเสียง: /ˌn(j)uː ˈmeksɪkoʊ/; สเปน: Nuevo México, ออกเสียง: [ˈnweβo ˈmexiko] ( ฟังเสียง); นาวาโฮ: Yootó Hahoodzo, ออกเสียง: [jòːtʰó hɑ̀hòːtsò]) เป็นรัฐหนึ่งทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ ติดกับประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงของรัฐคือแซนตาเฟ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือแอลบูเคอร์คี ถึงแม้ว่าในสหรัฐ ภาษาอังกฤษนิยมใช้กันมากที่สุด แต่รัฐนิวเม็กซิโกเป็นรัฐที่มีการใช้ภาษาสเปนมากที่สุดรัฐหนึ่งในสหรัฐ โดยประชากรในรัฐประกอบด้วยชาวอเมริกัน ชาวสเปน และชาวเม็กซิโก ใน ค.ศ. 2007 นิวเม็กซิโกมีประชากร 1,969,915 คน[5]

รัฐนิวเม็กซิโก

State of New Mexico (อังกฤษ)
Estado de Nuevo México (สเปน)
Yootó Hahoodzo (นาวาโฮ)
ธงของรัฐนิวเม็กซิโก
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของรัฐนิวเม็กซิโก
ตรา
สมญา: 
ดินแดนมนต์เสน่ห์
คำขวัญ: 
"เธอเติบโตเมื่อเธอก้าวไป"
(ละติน: Crescit eundo)
เพลง: "โอแฟร์นิวเม็กซิโก"
(อังกฤษ: O Fair New Mexico)
และ "อาซีเอสนูเอโบเมฆิโก"
(สเปน: Así Es Nuevo México)
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐนิวเม็กซิโก
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐนิวเม็กซิโก
ประเทศสหรัฐ
สถานะก่อนเป็นรัฐนูเอโบเมฆิโก (1598–1848)
ดินแดนนิวเม็กซิโก (1850–1912)
เข้าร่วมสหรัฐ1 มิถุนายน 1912; 111 ปีก่อน (1912-06-01) (ลำดับที่ 47)
เมืองหลวงแซนตาเฟ
เมืองใหญ่สุดแอลบูเคอร์คี
มหานครใหญ่สุดแอลบูเคอร์คี
การปกครอง
 • ผู้ว่าการมิเชลล์ ลูฮาน กริชัม ()
 • รองผู้ว่าการฮาววี มอราลิส (ด)
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัตินิวเม็กซิโก
 • สภาสูงวุฒิสภา
 • สภาล่างสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายตุลาการศาลสูงสุดนิวเม็กซิโก
สมาชิกวุฒิสภา
  • มาร์ติน ไฮน์ริก (ด)
  • เบน เรย์ ลูฮาน (ด)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • 1: เมลานี สแตนส์เบอรี (ด)
  • 2: เกบ แวสเคซ (ด)
  • 3: เทเรซา เลเจอร์ เฟร์นานเดส (ด)
พื้นที่
 • ทั้งหมด121,591[1] ตร.ไมล์ (314,915 ตร.กม.)
 • พื้นดิน121,298[1] ตร.ไมล์ (314,161 ตร.กม.)
 • พื้นน้ำ292[1] ตร.ไมล์ (757 ตร.กม.)  0.24%
อันดับพื้นที่อันดับที่ 5
ขนาด
 • ความยาว371 ไมล์ (596 กิโลเมตร)
 • ความกว้าง344 ไมล์ (552 กิโลเมตร)
ความสูง5,701 ฟุต (1,741 เมตร)
ความสูงจุดสูงสุด (ยอดเขาวีลเลอร์[2][3])13,161 ฟุต (4,011.4 เมตร)
ความสูงจุดต่ำสุด (อ่างเก็บน้ำเรดบลัฟฟ์ในเขตรัฐเท็กซัส[3])2,845 ฟุต (868 เมตร)
ประชากร
 (2020)
 • ทั้งหมด2,117,522 คน
 • อันดับอันดับที่ 36
 • ความหนาแน่น17.2 คน/ตร.ไมล์ (6.62 คน/ตร.กม.)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 45
 • ค่ามัธยฐานรายได้ครัวเรือน51,945 ดอลลาร์
 • อันดับรายได้อันดับที่ 45
ภาษา
 • ภาษาทางการไม่มี
 • ภาษาพูดอังกฤษ, สเปน (นิวเม็กซิโก), นาวาโฮ, เคอรีส, ซูนี[4]
เขตเวลา
ทั้งรัฐUTC−07:00 (เวลาภูเขา)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC−06:00 (เวลาออมแสงภูเขา)
อักษรย่อไปรษณีย์NM
รหัส ISO 3166US-NM
อักษรย่อเดิมN.M., N.Mex.
ละติจูด31°20′ เหนือ ถึง 37° เหนือ
ลองจิจูด103° ตะวันตก ถึง 109°3′ ตะวันตก
เว็บไซต์www.newmexico.gov

นิวเม็กซิโกเป็นรัฐที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในบรรดา 50 รัฐของประเทศ แต่มีประชากรเพียง 2.1 ล้านคน[6] และอยู่ในอันดับที่ 36 ของจำนวนประชากรและอันดับที่ 46 ในด้านความหนาแน่นของประชากร[7] และเป็นบริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐ[8][9] บริเวณตอนเหนือและตะวันออกมีภูมิอากาศแบบแอลป์ที่เย็นกว่าในขณะที่ทางตะวันตกและทางใต้นั้นอบอุ่นและแห้งแล้งกว่า โดยมีแม่น้ำรีโอแกรนด์และหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์ทอดตัวจากเหนือจรดใต้ ทำให้เกิดสภาพอากาศอบอุ่นบริเวณตอนกลางของรัฐ กว่าหนึ่งในสามของที่ดินในนิวเม็กซิโกมีรัฐบาลกลางเป็นเจ้าของ และรัฐยังมีพื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่ได้รับการคุ้มครองและประกอบไปด้วยอนุสรณ์สถานแห่งชาติหลายแห่ง รวมถึงแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก 3 แห่ง[10]

รัฐนิวเม็กซิโกถูกจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่มีความยากจน[11][12][13][14][15] แม้ว่าปัจจุบันเศรษฐกิจของรัฐมีการเติบโตขึ้นตามลำดับ โดยประชากรในนิวเม็กซิโกมีรายได้หลักมาจากหลายภาคส่วน เช่น การขุดเจาะน้ำมัน การขุดแร่ การทำฟาร์มบนที่แห้ง การเลี้ยงโค เกษตรกรรม การค้าไม้อย่างถูกกฎหมาย การค้าปลีก การทำห้องปฏิบัติการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาเทคโนโลยี และศิลปะ รวมถึงสิ่งทอและทัศนศิลป์ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด (จีดีพี) ใน ค.ศ. 2020 อยู่ที่ 95.73 พันล้านดอลลาร์ และมีจีดีพีต่อหัวอยู่ที่ 46,300 ดอลลาร์[16][17] นโยบายภาษีของรัฐมีลักษณะการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระดับต่ำถึงปานกลางตามมาตรฐานรัฐบาลกลาง โดยมีเครดิตภาษี การยกเว้น และการพิจารณาเป็นพิเศษสำหรับบุคลากรทางทหาร ต่อมา อุตสาหกรรมภาพยนตร์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดในรัฐ[18] นิวเม็กซิโกเป็นยังที่ตั้งของฐานทัพสำคัญของกองทัพสหรัฐบริเวณไวต์แซนดส์มิสไซล์เรนจ์ และหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติหลายแห่งได้เข้ามาตั้งฐานการวิจัยและทดสอบอาวุธในรัฐเช่นที่ซานดีอาและลอสแอละโมส ในคริสต์ทศวรรษ 1940 โครงการวายของโครงการแมนฮัตตันซึ่งผลิตระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกได้ทดสอบนิวเคลียร์ครั้งแรกภายใต้รหัสนาม "ทรินิตี"

สำหรับที่มาของชื่อรัฐนิวเม็กซิโกนั้น ในอดีตดินแดนแห่งนี้เคยถูกสเปนปกครอง โดยคณะสำรวจและผู้ตั้งถิ่นฐานชาวสเปนได้เดินทางมาถึงบริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และตั้งชื่ออาณาเขตว่า นูเอโบเมฆิโก ตามชื่อหุบเขาเม็กซิโก ก่อนที่เม็กซิโกจะได้รับเอกราชจากสเปนและใช้ชื่อประเทศดังปัจจุบัน ดังนั้นรัฐนี้จึงไม่ได้ตั้งชื่อตามประเทศเม็กซิโกอย่างที่หลายคนเข้าใจ[19][20] นิวเม็กซิโกถูกแยกออกจากกันด้วยภูมิประเทศที่ขรุขระและปกครองโดยชนพื้นเมือง ภายหลังการได้รับเอกราชของเม็กซิโกใน ค.ศ. 1821 บริเวณนี้ได้กลายเป็นเขตปกครองตนเองของเม็กซิโก แม้ว่าจะยังคงถูกคุกคามอยู่เรื่อย ๆ จากนโยบายการรวมชาติของรัฐบาลเม็กซิโก ในเวลาเดียวกัน ภูมิภาคนี้ได้พึ่งพากิจกรรมทางเศรษฐกิจจากสหรัฐ และในช่วงท้ายของสงครามเม็กซิโก–สหรัฐใน ค.ศ. 1848 สหรัฐได้ผนวกนิวเม็กซิโกเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนนิวเม็กซิโกที่มีขนาดใหญ่กว่า และถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการขยายตัวทางตะวันตกของสหรัฐและได้รับการยอมรับโดยสหภาพมาตราแห่งรัฐธรรมนูญของสหรัฐโดยถือเป็นรัฐที่ 47 อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1912

ธงประจำรัฐนิวเม็กซิโกเป็นที่รู้จักมากที่สุดในสหรัฐ[21] สะท้อนถึงต้นกำเนิดของรัฐจากการผสมผสานของวัฒนธรรมโดยมีสีแดงเข้มและสีทองของไม้กางเขนเบอร์กันดีของสเปน พร้อมด้วยสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์โบราณของกลุ่มชนปูเอโบล การบรรจบกันของอิทธิพลของชนพื้นเมือง สเปน เม็กซิโก ฮิสแปนิก และอเมริกันยังปรากฏชัดในวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ เช่น อาหาร ดนตรี และสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของนิวเม็กซิโก[22] นิวเม็กซิโกยังเป็นรัฐที่มีชาวลาตินอเมริกาอาศัยอยู่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมทั้งมีการพูดภาษาสเปนอย่างแพร่หลาย

ที่มาของชื่อ

ใน ค.ศ. 1598 นิวเม็กซิโกในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสเปน ในช่วงที่สเปนต้องการแผ่ขยายอำนาจของจักรพรรดิ กลุ่มผู้ก่อตั้งรกรากจากสเปนได้ตั้งชื่อแผ่นดินนี้ว่า นูเอโบเมฆิโก (Nuevo México) โดยตั้งตามพื้นที่หุบเขาในเม็กซิโก ที่ชาวแอซเทกโบราณเรียกว่า หุบเขาเม็กซิโก ดังนั้น นิวเม็กซิโกจึงไม่ได้ตั้งชื่อตามประเทศเม็กซิโก[23]

ประวัติ

ในอดีต พลเมืองในนิวเม็กซิโกยุคแรกนั้นจึงมีเชื้อสายมาจากชาวสเปน[24] พวกเขาได้ร่วมกัน "บูรณาการทางวัฒนธรรม" (Cultural integration) แต่ก็ต้องเจอปัญหาการรุกรานจากทหารเม็กซิโกที่พยายามยึดครองนิวเม็กซิโกให้เป็นอาณานิคมของเม็กซิโก[25] จึงเกิดกลุ่มกองกำลัง "กบฏชิมาโย" ที่รุกขึ้นต่อต้าน สุดท้าย นิวเม็กซิโก ก็ได้รับการรวมเข้าเป็นรัฐที่ 47 ของสหรัฐใน ค.ศ. 1912 หลังจากแยกตัวออกจากประเทศเม็กซิโกได้สำเร็จ ใน ค.ศ. 1924 รัฐสภาสหรัฐก็รับร่างกฎหมายที่อนุญาตให้ชนพื้นเมืองอเมริกันสามารถขอสัญชาติเป็นชาวอเมริกัน และมีสิทธิ์มีเสียงในการลงคะแนนเลือกตั้งจนถึงปัจจุบัน

ภูมิประเทศและสภาพอากาศ

สภาพภูมิประเทศบริเวณตอนกลางของรัฐนิวเม็กซิโก
อุทยานแห่งชาติชาโกในรัฐนิวเม็กซิโก

ภูมิประเทศของนิวเม็กซิโกส่วนใหญ่ประกอบด้วยที่ราบสูงและหุบเขาทอดยาวเหนือจรดใต้ โดยมีแม่น้ำรีโอแกรนด์ไหลผ่านจุดศูนย์กลางของรัฐ ระดับความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 4,700 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล

รัฐนิวเม็กซิโกมีชื่อเสียงมาช้านานในด้านสภาพอากาศที่อบอุ่นและเย็นสบาย[26] โดยรวมแล้วอากาศจะมีลักษณะกึ่งแห้งแล้งถึงแห้งแล้ง โดยมีพื้นที่ภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วทั้งรัฐอยู่ที่ 12.9 นิ้ว (330 มม.) ต่อปี โดยปริมาณเฉลี่ยต่อเดือนจะพุ่งสูงสุดในฤดูร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ตอนกลางและตอนเหนือที่ขรุขระกว่าทางใต้ โดยทั่วไป ทางตะวันออกของรัฐจะมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในหนึ่งปี ในขณะที่รัฐทางตะวันตกจะมีความแห้งแล้งมากที่สุด

อุณหภูมิต่อปีอาจอยู่ในช่วง 65 °F (18 °C) ทางตะวันออกเฉียงใต้ และอาจต่ำกว่า 40 °F (4 °C) ทางตอนเหนือ ในช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิในตอนกลางวันมักจะเกิน 100 °F (38 °C) ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 5,000 ฟุต (1,500 ม.) อุณหภูมิสูงเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมอยู่ในช่วง 99 °F (37 °C) ในเดือนที่อากาศหนาวเย็นระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม หลายเมืองในนิวเม็กซิโกอาจมีอุณหภูมิต่ำสุดในตอนกลางคืน อุณหภูมิสูงสุดที่บันทึกไว้ในนิวเม็กซิโกคือ 122 °F (50 °C) ที่โรงงาน Waste Isolation Pilot Plant (WIPP) ใกล้หมู่บ้าน Loving เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 1994; อุณหภูมิต่ำสุดที่บันทึกไว้คือ -50 °F (-46 °C) ที่ Gavilan ย่าน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1951[27]

ประชากร

จากการสำรวจสำมะโนประชากรใน ค.ศ. 2020 นิวเม็กซิโกมีประชากร 2,117,522 คน โดยเพิ่มขึ้น 2.8% จากจำนวน 2,059,179 คนใน ค.ศ. 2010[28] โดยถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในฝั่งตะวันตกของประเทศรองจากรัฐไวโอมิง และเป็นอัตราการเติบโตที่ช้าที่สุดในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ค.ศ. 2000 ถึง 2010 ประชากรของนิวเม็กซิโกเพิ่มขึ้น 11.7% จากจำนวน 1,819,046 คน รายงานจากสภานิติบัญญัติแห่งนิวเม็กซิโกระบุว่าการเติบโตที่ช้านั้นเป็นผลมาจากอัตราการย้ายถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 18 ปีหรืออายุน้อยกว่า[29] และอัตราการเกิดลดลงถึง 19% อย่างไรก็ตาม การเติบโตของชุมชนฮิสแปนิกและชนพื้นเมืองอเมริกันยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี

มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรที่อาศัยในปัจจุบันเกิดในรัฐนี้ (51.4%) ในขณะที่ประชากรบางส่วนอพยพมาจากรัฐอื่น (37.9%) และประชากรจำนวน 1.1% เกิดในปวยร์โตรีโกหรือในต่างประเทศกับพ่อแม่ชาวอเมริกันอย่างน้อยหนึ่งคน และอีก 9.4% เป็นชาวต่างชาติจากทวีปอื่น และเกือบหนึ่งในสี่ของประชากร (22.7%) มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และค่าเฉลี่ยอายุของประชากรในรัฐที่ 38.4 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ 38.2 เล็กน้อย ชาวฮิสแปนิกและลาตินคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของผู้อยู่อาศัยทั้งหมด (49.3%) ทำให้นิวเม็กซิโกมีสัดส่วนเชื้อสายฮิสแปนิกสูงที่สุดในบรรดาห้าสิบรัฐ รวมถึงลูกหลานของชาวอาณานิคมสเปนที่ตั้งรกรากระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 18 รวมทั้งผู้อพยพจากลาตินอเมริกา[30]

จาก ค.ศ. 2000 ถึง 2010 จำนวนคนยากจนได้เพิ่มขึ้นเป็น 400,779 คนหรือประมาณหนึ่งในห้าของประชากรทั้งหมด และการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2020 ครั้งล่าสุดได้มีการบันทึกอัตราความยากจนที่ลดลงเล็กน้อยที่ 18.2%[31]

วัฒนธรรม

ภาษา

นิวเม็กซิโกอยู่ในอันดับที่สามรองจากรัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐเท็กซัสในแง่ของรัฐที่มีความหลากหลายทางภาษามากที่สุด[32] จากการสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐใน ค.ศ. 2010 พบว่า 28.45% ของประชากรอายุ 5 ปีขึ้นไปพูดภาษาสเปนเป็นหลัก[33] ในขณะที่ 3.50% พูดภาษานาวาโฮ ผู้พูดภาษาสเปนบางส่วนสืบเชื้อสายมาจากผู้ตั้งถิ่นฐานชาวสเปนก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 18[34] นอกจากภาษานาวาโฮซึ่งพูดในรัฐแอริโซนาแล้ว ในนิวเม็กซิโกยังมีคนกลุ่มเล็ก ๆ ใช้ภาษาอเมริกันพื้นเมืองอีกหลายภาษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาเฉพาะถิ่นของรัฐและภาษาเม็กซิโกดั้งเดิม

ศาสนา

เช่นเดียวกับรัฐอื่น ๆ ในสหรัฐ ประชากรในนิวเม็กซิโกส่วนมากเป็นคริสต์ศาสนิกชน[35] และกว่าหนึ่งในสามนับถือนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ ตามข้อมูลของสมาคมคลังข้อมูลศาสนา (ARDA) นิกายที่ใหญ่ที่สุดคือโรมันคาทอลิก (สมาชิก 684,941 คน)[36] และประชากรประมาณ 1 ใน 5 ในรัฐนิวเม็กซิโกไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งรวมถึงผู้ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า[37]

อาหาร

พริกแห้ง วัตถุดิบประกอบอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดในรัฐนิวเม็กซิโก

อาหารในรัฐนิวเม็กซิโกได้รับอิทธิพลมาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศเม็กซิโกและสเปน[38] และมีความแตกต่างจากอาหารประจำชาติทั่วไปในสหรัฐ[39] เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการผสมผสานของวัตถุดิบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พริก[40] และเครื่องเทศ ที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ พริกแห้ง ซึ่งมีรสชาติเผ็ดร้อนและมักปรากฏอยู่ในรายการอาหารชั้นนำต่าง ๆ ในร้านอาหารของรัฐนิวเม็กซิโก ตั้งแต่ร้านอาหารริมทางทั่วไปจนถึงภัตตาคารขนาดใหญ่[41]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง