รัฐอุตตรประเทศ

อุตตรประเทศ (ฮินดี: उत्तर प्रदेश, [ˈʊtːəɾ pɾəˈdeːʃ] ( ฟังเสียง)) เป็นรัฐในทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย มีประชากรราวสองร้อยล้านคน ถือเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศอินเดีย เช่นเดียวกับที่เป็นเขตการปกครองระดับบนที่มีประชากรมากที่สุดในโลก[12] รัฐอุตตรประเทศก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 1937 ภายใต้ชื่อจังหวัดร่วมแห่งอัคระและอูธ (United Provinces of Agra and Oudh) ในระหว่างภายใต้อาณัติปกครองของอังกฤษ และเปลี่ยนชื่อมาเป็น "อุตตรประเทศ" ในปี 1950 โดยมีอักษรย่อ ยูพี (UP) รัฐแบ่งมณฑลการปกครองออกเป็น 18 มณฑล และ 75 อำเภอ โดยมีเมืองหลวงคือลักเนา เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2000 รัฐใหม่ชื่อว่ารัฐอุตตรขัณฑ์ แยกตัวออกจากภูมิภาคเชิงเขาหิมาลัยของรัฐอุตตรประเทศ ทั้งแม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมุนา มาบรรจบกันที่เมืองอลาหาบาด ภาษาฮินดีเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในรัฐและเป็นภาษาราชการประจำรัฐควบคู่ไปกับภาษาอูรดู

รัฐอุตตรประเทศ
โลโกอย่างเป็นทางการของรัฐอุตตรประเทศ
ตรา
ที่มาของชื่อ: อุตตร (เหนือ) กับ ประเทศ (ดินแดน)
ที่ตั้งของรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งของรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งของรัฐอุตตรประเทศ
พิกัด: 26°51′N 80°55′E / 26.85°N 80.91°E / 26.85; 80.91
ประเทศ อินเดีย
ได้รับสถานะเป็นรัฐ24 มกราคม 1950[1]
เมืองหลวงลัคเนา
อำเภอ75 อำเภอ[2][3]
การปกครอง
 • ประเภทระบบสองสภา
สภานิติบัญญัติ 100
สมัชชานิติบัญญัติ 403
+1 ชาวอินเดียเชื้อสายอังกฤษ (Anglo Indian) อาจเสนอชื่อได้โดย Governor
ราชยสภา 31
โลกสภา 80
 • องค์กรรัฐบาลรัฐอุตตรประเทศ
 • ราชยปาลอานันทเพน ปเฏล (Anandiben Patel)[4][5]
 • มุขมนตรีโยคีอาทิตยนาถ (Yogi Adityanath) (พรรค BJP)
 • รองมุขมนตรีเกษว ประสัท เมารยะ (Keshav Prasad Maurya) (พรรค BJP)
ทิเนษ ศรม (Dinesh Sharma) (พรรค BJP)
พื้นที่
 • ทั้งหมด243,290 ตร.กม. (93,930 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 4
ประชากร
 (2011)[6][7]
 • ทั้งหมด199,812,341 คน
 • อันดับที่ 1
 • ความหนาแน่น820 คน/ตร.กม. (2,100 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวอุตตรประเทศี (Uttar Pradeshi)
จีดีพี (2019–20)[8]
 • รวม17.94 ล้านล้านรูปีอินเดีย
 • ต่อประชากร70,418 รูปีอินเดีย
ภาษา[9]
 • ภาษาราชการภาษาฮินดี
 • ภาษาราชการเพิ่มเติมภาษาอูรดู
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
UN/LOCODEIN-UP
ทะเบียนพาหนะUP XX—XXXX
เอชเอไอ (2018)เพิ่มขึ้น 0.596[10] Medium · ที่ 35
การรู้หนังสือ (2011)67.68%[11]
อัตราส่วนเพศ (2011)912 /1000 [11]
เว็บไซต์up.gov.in

อาณาเขตของรัฐอุตตรประเทศติดต่อกับรัฐราชสถานทางตะวันตก, รัฐหรยาณา รัฐหิมาจัลประเทศ และเดลีทางตะวันตกเฉียงเหนือ, รัฐอุตตราขัณฑ์และประเทศเนปาลทางเหนือ, รัฐพิหารทางตะวันออก, รัฐมัธยประเทศทางใต้ และติดกับรัฐฌารขัณฑ์กับรัฐฉัตตีสครห์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 243,290 ตารางกิโลเมตร (93,933 ตารางไมล์), หรือ 7.34% ของประเทศอินเดีย นับเป็นรัฐที่มีพื้นที่เป็นอันดับที่สี่ของประเทศ เกษตรกรรมและธุรกิจบริการเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของรัฐ ภาคบริการเช่นการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ประกันชีวิต และบริการปรึกษาทางการเงิน รัฐอุตตรประเทศมีจีดีพีอยู่ที่ 17.94 ล้านล้านรูปีอินเดีย หรือ 70,000 รูปีอินเดียต่อประชากร คิดเป็นอันดับที่ห้าของประเทศ[8] เอชดีไอของรัฐอยู่ที่อันดับที่ 35 ของประเทศ[10]

การแบ่งเขตการปกครอง

มณฑลของรัฐอุตตรประเทศ

รัฐอุตตรประเทศแบ่งออกเป็น 75 อำเภอ ภายใต้ 18 มณฑล (divisions)[13] ดังนี้

  1. สหรนปุระ (Saharanpur)
  2. โมราดาบาด (Moradabad)
  3. พะเรอิลลี (Bareilly)
  4. ลัคเนา
  5. เทวีปตัน (Devipatan)
  6. พัสตี (Basti)
  7. โครขปุระ (Gorakhpur)
  8. มีรุต (Meerut)
  9. อาลีครห์ (Aligarh)
  10. อัคระ
  11. กานปุระ
  12. ไฟซาลาบาด (Faizabad)
  13. อะซามครห์ (Azamgarh)
  14. ฌันสี (Jhansi)
  15. จิตรกูท (Chitrakoot)
  16. อลาหาบาด (Allahabad)
  17. พาราณสี
  18. มีรซาปุระ (Mirzapur)

รายชื่อมณฑลเรียงตามจำนวนประชากรในปี 2011[14]

อันดับ (ในประเทศอินเดีย)อำเภอประชากรอัตราการเติบโต (%)อัตราส่วนผู้หญิงต่อผู้ชาย 1000 คนอัตราการรู้หนังสือ (%)
13อลาหาบาด5,954,39120.6390172.32
26โมราดาบาด (Moradabad)4,772,00625.2290656.77
27ฆาซีบาด (Ghaziabad)4,681,64542.2788178.07
30อะซามครห์ (Azamgarh)4,613,91317.11101970.93
31ลัคเนา4,589,83825.8291777.29
32กานปุรนคร4,581,2689.9286279.65
50พะเรอิลลี (Bareilly)4,448,35922.93%88758.5
เมืองที่มีประชากรเกินหนึ่งล้านคนในรัฐอุตตรประเทศ (ข้อมูลปี 2011)
เมืองประชากรเมืองประชากร
ลัคเนา2,817,105กานปุระ2,767,348
ฆาซีอาบาด (Ghaziabad)2,358,525อัคระ1,585,704
อลาหาบาด1,540,544มีรุต (Meerut)1,424,908
พาราณสี1,201,815

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง