วิกฤตการณ์ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา พ.ศ. 2562

วิกฤตการณ์ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา พ.ศ. 2562 เป็นข้อพิพาทประธานาธิบดีซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2562 และดำเนินมาจนปัจจุบัน

วิกฤตการณ์ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา พ.ศ. 2562
ส่วนหนึ่งของ วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา
พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทั้งสองฝ่าย
(บน) นิโกลัส มาดูโร (ล่าง) ฮวน กวยโด
วันที่10 มกราคม 2562 – ปัจจุบัน (5 ปี 109 วัน)
สถานที่ประเทศเวเนซุเอลา
สาเหตุ
  • ข้อพิพาทในผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเวเนซุเอลา พ.ศ. 2561
  • สมัชชาแห่งชาติประกาศไม่รับรองนายนิโกลัส มาดูโร เป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 โดยอ้างตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโบลีวาร์แห่งเวเนซุเอลา ค.ศ. 1999
  • นายฮวน กวยโด สาบานตนเป็นรักษาราชการประธานาธิบดีตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2562
คู่ขัดแย้ง

รัฐบาลเฉพาะกาล:

  • สมัชชาแห่งชาติ
  • ศาลฎีกาพลัดถิ่นแห่งเวเนซุเอลา
  • สภาหอการค้าและการผลิตแห่งเวเนซุเอลา
  • สมาพันธ์แรงงานแห่งเวเนซุเอลา
  • การไฟฟ้าแห่งการากัส
  • ขบวนการพลเมืองแนวหน้าใหญ่เวเนซุเอลาอิสระ

องค์กรระหว่างประเทศ:


สนับสนุนโดย:

รัฐบาลมาดูโร:

  • สภาร่างรัฐธรรมนูญ
  • ศาลยุติธรรม
  • สภาการเลือกตั้งแห่งชาติ
  • การปิโตรเลียมแห่งเวเนซุเอลา

องค์กรระหว่างประเทศ:


สนับสนุนโดย:


รัฐที่มิได้รับการรับรอง:


องค์กรอื่น ๆ:

ผู้นำ

ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน นิโกลัส มาดูโร ได้รับประกาศให้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ซึ่งกระบวนการและผลของการเลือกตั้งนั้นเป็นที่พิพาทอย่างกว้างขวาง[1] วันที่ 10 มกราคม 2562 สมัชชาแห่งชาติเวเนซุเอลา ซึ่งฝ่ายค้านเป็นฝ่ายข้างมาก ระบุว่าผลการเลือกตั้งไม่ชอบ และประกาศให้ฮวน กวยโดรักษาราชการประธานาธิบดี โดยอ้างข้อความหลายตอนของรัฐธรรมนูญแห่งเวเนซุเอลา ค.ศ. 1999 ซึ่งตราขึ้นในสมัยของอูโก ชาเบซ ประธานาธิบดีคนก่อน ฝ่ายศาลยุติธรรมสูงสุดซึ่งนิยมมาดูโรวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ของสมัชชาฯ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[2]

มีการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศและโลกเมื่อวันที่ 23 มกราคมซึ่ง กวยโด เรียกร้องให้ชาวเวเนซุเอลาเดินขบวนต่อต้านมาดูโร[3][4] เกิดการเดินขบวนสนับสนุนการปฏิวัติโบลิบาร์และรัฐบาลเช่นกัน[5] การเดินขบวนใหญ่ยังคงดำเนินต่อไปจนวันที่ 30 มกราคม[6][7] ในวันที่ 24 มกราคม เกิดการปะทะระหว่างตำรวจปราบจลาจลกับผู้ประท้วงมีจำนวนผู้เสียชีวิต 13 ราย[8]ต่อมาวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีประชาชนเสียชีวิตจากอาวุธปืนอีก 2 ราย[9]

มีการประชุมพิเศษในองค์การนานารัฐอเมริกันในวันที่ 24 มกราคมและสหประชาชาติในวันที่ 26 มกราคมแต่ไม่มีความเห็นพ้อง เลขาธิการสหประชาชาติ อังตอนียู กูแตรึช เรียกร้องให้มีการเจรจา[10] ประเทศเม็กซิโกและอุรุกวัยประกาศการประชุมระหว่างประเทศสำหรับประเทศที่มีจุดยืนเป็นกลางโดยกำหนดมีขึ้นในกรุงมอนเตวิเดโอในวันที่ 7 กุมภาพันธ์[11]

รัฐบาลมาดูโรอ้างว่าวิกฤตปัจจุบันเป็นรัฐประหารของสหรัฐเพื่อโค่นเขาและควบคุมน้ำมันสำรองมหาศาลของประเทศ[12][13][14]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง