สกอเปีย

สกอเปีย[3] (มาซิโดเนีย: Скопје, ออกเสียง: [ˈskɔpjɛ] ( ฟังเสียง), แอลเบเนีย: Shkup) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศมาซิโดเนียเหนือ นับเป็นศูนย์กลางด้านการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการศึกษาของประเทศ

สกอเปีย

นคร
นครสกอเปีย
Град Скопје
Qyteti i Shkupit
จากบนสุด ตามเข็มนาฬิกา: สกอเปียกลางมองจากป้อมปราการกาเล, กูรชูมลีอัน, ปสานเก่า, สถานีรถไฟสกอเปียเก่า, โบสถ์นักบุญคลีเมนต์แห่งโอฮรีด, สะพานหิน
ธงของสกอเปีย
ธง
ตราราชการของสกอเปีย
ตราอาร์ม
สกอเปียตั้งอยู่ในRepublic of North Macedonia
สกอเปีย
สกอเปีย
ที่ตั้งของสกอเปียในมาซิโดเนียเหนือ
สกอเปียตั้งอยู่ในยุโรป
สกอเปีย
สกอเปีย
สกอเปีย (ยุโรป)
พิกัด: 42°0′N 21°26′E / 42.000°N 21.433°E / 42.000; 21.433
ประเทศ มาซิโดเนียเหนือ
ภูมิภาคสกอเปีย
เทศบาลเกรทเตอร์สกอเปีย
การปกครอง
 • ประเภทหน่วยพิเศษรัฐบาลท้องถิ่น
 • องค์กรสภานครสกอเปีย
 • นายกเทศมนตรีเปเตร ซีเลกอฟ (SDSM)
พื้นที่
 • นคร571.46 ตร.กม. (220.64 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง337.80 ตร.กม. (130.43 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,854.00 ตร.กม. (715.83 ตร.ไมล์)
ความสูง240 เมตร (790 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2015)[1]
 • นคร544,086 คน
 • ความหนาแน่น950 คน/ตร.กม. (2,500 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล630,873 คน
เดมะนิมสโกปยัน[2]
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์МК-10 00
รหัสพื้นที่+389 2
รหัส ISO 3166MK-85
ทะเบียนรถSK
ภูมิอากาศBSk
เว็บไซต์www.skopje.gov.mk

พื้นที่ของนครสกอเปียมีการถิ่นฐานมาตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล หลักฐานที่บ่งบอกถึงการตั้งถิ่นฐานในยุคหินใหม่ถูกพบในประภาคารกาเลอันเก่าแก่ ซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของใจกลางนคร แรกเริ่มเดิมที สกูปีเป็นนครของอาณาจักรแพโอเนีย ต่อมาได้กลายเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรดาร์ดาเนียในช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1 พื้นที่แห่งนี้ได้ถูกทหารโรมันยึดครองและใช้เป็นฐานทัพ[4][5] เมื่อจักรวรรดิโรมันถูกแบ่งออกเป็นตะวันตกและตะวันออกใน ค.ศ. 395 สกูปีได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ซึ่งรับอำนาจมาจากคอนสแตนติโนเปิล ช่วงเวลาส่วนใหญ่ของต้นยุคกลาง เมืองนี้มักถูกจักรวรรดิไบแซนไทน์และบัลแกเรียที่ 1 สลับกันยึดครอง เมืองนี้เคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 972–992

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1282 เมืองนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเซอร์เบีย และได้รับการจัดตั้งให้เป็นเมืองหลวงระหว่าง ค.ศ. 1346–1371 ต่อมาใน ค.ศ. 1392 สกอเปียถูกยึดครองโดยกลุ่มเติร์กของออตโตมันที่เรียกตนเองว่า อุซกุบ ซึ่งชื่อนี้ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในภาษาอังกฤษ เมืองอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมันเป็นระยะเวลากว่า 500 ปี โดยเคยเป็นเมืองศูนย์กลางของกลุ่มอุซกุบและจังหวัดคอซอวอ ใน ค.ศ. 1912 เมืองถูกยึดครองโดยราชอาณาจักรเซอร์เบียในช่วงสงครามบอลข่าน[6] ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยราชอาณาจักรบัลแกเรียในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากสงคราม เมืองได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรยูโกสลาเวียในฐานะเมืองศูนย์กลางของจังหวัดวาร์ดาร์บานอวีนา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองถูกยึดครองโดยบัลแกเรียอีกครั้ง และใน ค.ศ. 1944 ได้กลายเป็นเมืองหลวงของมาซิโดเนีย ซึ่งเป็นรัฐสหพันธ์ของยูโกสลาเวีย ตัวนครพัฒนาอย่างรวดเร็วแต่ก็มาหยุดชะงักเมื่อเกิดแผ่นดินไหวใน ค.ศ. 1963

สกอเปียตั้งอยู่บริเวณทางตอนต้นของแม่น้ำวาร์ดาร์ และตั้งอยู่บนเส้นทางหลักแนวเหนือ-ใต้ของคาบสมุทรบอลข่าน ระหว่างกรุงเบลเกรดกับกรุงเอเธนส์ นครเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมแปรรูปโลหะ เคมีภัณฑ์ ไม้ สิ่งทอ หนังสัตว์ และการพิมพ์ การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของนครพัฒนาขึ้นพร้อมกับการพัฒนาการค้า ลอจิสติก การธนาคาร การขนส่ง วัฒนธรรม และกีฬา ในการสำมะโนปี 2002 สกอเปียมีประชากร 506,926 คน และเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2015 มีประชากร 544,086 คน แสดงให้เห็นว่า ประชากรมากกว่าหนึ่งในสี่ของประเทศอาศัยอยู่ที่นครแห่งนี้รวมถึงพื้นที่ปริมณฑล[7]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เมืองฝาแฝด

สกอเปียเป็นเมืองฝาแฝดกับ:[8]

ภาคี

อ้างอิง

บรรณานุกรม

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • Ilká Thiessen (2007). Waiting for Macedonia: Identity in a Changing World. University of Toronto Press. ISBN 9781551117195.
  • Ivan Tomovski (1978). Skopje between the past and the future. Macedonian Review Editions.
  • Jovan Šćekić (1963). This Was Skopje. Yugoslav Federal Secretariat for Information.
  • M. Tokarev (2006). 100 години модерна архитектура. Pridonesot na Makedonija i Jugoslavija.
  • Danilo Kocevski (2008). Чај од јужните мориња. Маgor. ISBN 9789989183447.
  • D. Gjorgiev (1997). Скопје од турското освојување до крајот на XVIII vek. Institut za nacionalna istorija.
  • L. Kumbaracı-Bogoyeviç (2008). Üsküp'te osmanlı mimarî eserleri. ENKA.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง